ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและปลูกข้าวโพดเหนียวพันธุ์แฟนซีสีม่วง 111 และพันธุ์สีขาวม่วง 212 พบคุณสมบัติเยี่ยมด้านการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง เตรียมเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้รุ่นแรก เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรที่สนใจข้าวโพดดังกล่าวนี้ เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์มาจาก ข้าวโพดสีม่วงผสมกับข้าว
โพดเหนียว ทำให้ได้ข้าวโพดเหนียวสีม่วง ที่มีฝักใหญ่ รสชาตินุ่มลิ้น หวานและเหนียว โดย สีม่วงเข้มในเมล็ดนั้น เป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก เสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและชะลอความแก่
ข้าวโพดแฟนซีสีม่วง กำลังได้ความสนใจจากเกษตรกร ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง จะส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกในไม่ช้านี้ ซึ่ง เชื่อว่าข้าวโพดเหนียวสีม่วงนี้ จะเป็นที่นิยมรับประทานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรสชาติดี คุณค่าทางอาหารสูง และเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพอีกด้วยค่ะ
ถิ่นที่มาของข้าวโพดแฟนซีสีม่วง
ข้าวโพดสีม่วง จัดเป็นข้าวโพดแป้ง (flour corn, Zea mays amylacea) ที่มีแป้งชนิดอ่อน มีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขา Andes ประเทศเปรู ชาวอเมริกันอินเดียนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกา ได้แก่ เผ่า Zuni, Hopi และ Navajo ใช้ข้าวโพดสีม่วงในการประกอบพิธีกรรม จึงมีราคาสูงกว่าข้าวโพดสีชนิดอื่น ส่วนชาวอเมริกันอินเดียนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา ใช้ข้าวโพดสีม่วงเป็นอาหาร ต่อมา ได้มีการนำข้าวโพดสีม่วงไปใช้เป็นอาหารในรัฐนิวเม็กซิโก และแพร่กระจายสู่เขตต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา โดยใช้ทำ organic tortilla chips และอาหารอื่น ๆ ในภัตตาคารเม็กซิกัน เมล็ดข้าวโพดสีม่วงมีแป้ง มากกว่าเมล็ดข้าวโพดสีเหลืองและข้าวโพดสีขาว มีปริมาณกรดอะมิโนไลซีน สูงกว่าข้าวโพดสีเหลืองหัวบุบ มีปริมาณโปรตีน และแร่ธาตุสูงกว่าข้าวโพดหัวบุบ
ข้าวโพดสีม่วงจึงเป็นแหล่งของสาร antioxidants ที่สำคัญยิ่ง มีความได้เปรียบทางคุณค่าทางอาหารบางอย่าง มีเสน่ห์ที่ดึงดูดของสีม่วง มีรสชาติที่แตกต่าง และมีศักยภาพสูงสำหรับอาหารที่มีคุณค่าทางยา (nutraceutical foods) ปัจจุบัน บางโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดสีม่วงสำหรับตลาดเฉพาะ Anthocyanins เป็นสารประกอบฟีนอล เป็นเม็ดสีที่อยู่ในเนื้อเยื่อพืช anthocyanins ทำให้เกิดสีในพืชหรือผลิตภัณฑ์ของพืชที่มีเม็ดสีนี้ anthocyanins ในใบพืชทำหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต
การปลูกข้าวโพดแฟนซี สีม่วงการเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิตสูง เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ด จะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วย จึงแนะนำให้เกษตรกรไถดะและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน จึงค่อยไถแปรเพื่อย่อยดินให้แตกละเอียดเหมาะกับการงอกของเมล็ดพร้อมหว่านปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตัน ต่อไร่ ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น สามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น และเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดอีกทางหนึ่ง
การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง สามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ด ประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่หรือ ปลูกแบบแถวคู่ มีการยกร่องสูง ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็น 2 แถว ข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร 1 ต้น ต่อหลุม จะมีจำนวนต้น ประมาณ 7,000-8,500 ต้น ต่อไร่ และใช้เมล็ดประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่
ส่วนปุ๋ย แนะนำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ย 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน หากปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบางๆ ก่อนหยอดเมล็ด แต่ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัสกับเมล็ดโดยตรง เพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้
ปุ๋ยแต่งหน้า ครั้งที่ 1 แนะนำให้เลือกใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) ใส่ อัตรา 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วัน หลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยเพื่อกำจัดวัชพืชไปในตัว เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วัน หลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยข้างต้น ในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม
ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดมีวัชพืชขึ้นมาก จะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลง ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก โดยใช้อลาคลอร์ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูก ก่อนที่วัชพืชจะงอก ขณะฉีดพ่น ดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วงที่ฝนตกชุก เสี่ยงต่อการเกิดโรคราน้ำค้างได้ง่าย ควรฉีดสารเคมีป้องกันโรคราน้ำค้าง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดข้าวเหนียวขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่ก็จะน้อยลง จะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือ ระยะออกดอก การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงส่วนปลาย หรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดยปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้นคือ ช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก
โดยปกติข้าวโพดข้าวเหนียวจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 60-70 วัน หลังปลูก แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ ระยะ 18-20 วัน หลังข้าวโพดออกไหม 50% (ข้าวโพด 100 ต้น มีไหม 50 ต้น) แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก
เคล็ดลับสำคัญที่จะเพิ่มรสชาติการบริโภคข้าวโพดข้าวเหนียวให้อร่อยว่า เริ่มจากเตรียมหม้อนึ่ง และใส่น้ำ/ต้มน้ำ ให้เดือด นำฝักข้าวโพดสีม่วง (อายุเก็บเกี่ยว 67-70 วัน จะมีรสชาติดีที่สุด) ปอกเปลือกหุ้มฝักออก โดยให้เหลือเปลือกหุ้มฝักติดกับฝัก ประมาณ 2-3 ชั้น เพื่อรักษาสารแอนโทไซยานินให้คงอยู่ ในเมล็ด และทำให้เมล็ดมีความเต่งตึงน่ารับประทาน ใส่ฝักข้าวโพดวางเรียงลงในหม้อนึ่ง ที่น้ำเดือดแล้ว ปิดฝา ใช้เวลาในการนึ่ง ประมาณ 25-30 นาที สารแอนโทไซยานิน (สีม่วง) ละลายได้ดีในความเย็น
ดังนั้น ควรปล่อยให้ฝักข้าวโพดสีม่วงที่ต้มเย็นลงในระดับอุ่นๆ ก่อนรับประทาน จะทำให้สีม่วงไม่ติดมือ รสชาติและรวมทั้งคุณค่าทางอาหารยังคงเดิม
ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีม่วง 111 มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและเหนียวนุ่มหนุบหนับ เคี้ยวเพลิน ไม่ติดฟัน ที่สำคัญเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวโพด ที่เป็นสีม่วงดำเข้ม ถือว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanins) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า
คุณลักษณะพิเศษของข้าวโพดต้นข้าวโพดพันธุ์นี้ จะมีช่อดอกเป็นสีม่วงสารแอนโทไซยานิน (สีม่วง) มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่าข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง มีระบบรากและลำต้นแข็งแรง
หากผู้อ่านท่านใดสนใจ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ติดต่อได้ที่ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 พหลโยธิน ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120 โทรศัพท์ (036) 266-316-9, (036) 267-877-8 โทรสาร (036) 266-508 ตั้งแต่ เวลา 08.00-17.30 น. ทุกวัน ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์
ผลพลอยได้จากต้นข้าวโพด
ใช้เป็นอาหารสัตว์ เมล็ดข้าวโพดเป็นธัญญพืชที่มีคุณค่าอาหารสูง เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ในหลายประเทศ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สำหรับประเทศที่มีพลเมืองหนาแน่นทำให้ไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกข้าวโพด แต่ต้องการเนื้อสัตว์มากจึงจำเป็นต้องสั่งเมล็ดข้าวโพดจากประเทศที่ปลูกข้าวโพดได้มากเพื่อเอาไปเลี้ยงสัตว์ประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศทางตะวันออกกลาง เป็นต้น
สำหรับประเทศที่ปลูกข้าวโพดเองสามารถใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ กันคือ เมล็ด ซัง ต้นสด ต้นแก่ และผลพลอยได้อื่น ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมข้าวโพด ได้แก่ เปลือกเมล็ด กาก และรำ เป็นต้น ในประเทศไทยปัจจุบันมีโรงงานอาหารสัตว์ได้ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของอาหารสัตว์ ฉะนั้น ความต้องการข้าวโพดของโรงงานเหล่านี้จึงมีปริมาณสูงมาก
ข้าวโพดหมัก
เป็นอาหารหยาบที่นิยมทั่วโลกเพราะเมื่อนำมาขุนวัวแล้วจะได้เนื้อวัวที่หอมมากที่สุด ข้าวโพดเป็นพืชที่เหมาะจะนำมาหมักเพราะให้ผลผลติสูง ประมาณ 4-5 ตัน/ไร่ มีเนื้ออาหารมาก โปรตีนประมาณ 7% มี TDN ประมาณ 62% มีแป้งและน้ำตาลอยู่สูง จุลินทรีย์ใช้เปลี่ยนให้เป็นกรดแลคติกได้ดี แบคทีเรียพวกแลคโตบาซิลัส ที่ช่วยในการหมักติดมากับต้นพืชมาก ทำให้การหมักได้ผลดี มีกรดแลคติคเกิดขึ้นมาก
1. ตัดข้าวโพดระยะเมล็ดเป็นแป้ง
2. หั่นต้นและฝักข้าวโพดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 1-2 ซม
3. บรรจุในถุง 2 ชั้น อัดให้แน่นดูดอากาศออก มัดปากถุงชั้นใน แล้วเย็บปากถุงชั้นนอกแยกจากชั้นใน หรือบรรจุลงในถังใส่ถังหมักโดยทยอยใส่แล้วอัดให้แน่น (ยิ่งแน่นยิ่งดี) ในการอัดให้แน่น ก็โดยการเทใส่ไปอัดไป เทเรื่อย ๆ ย่ำอัดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเต็มถัง
จากนั้นปิดฝาล็อคให้แน่นโดยเฉลี่ยแล้วถังหมักขนาด 150 ลิตร จะใช้ต้นข้าวโพด ประมาณ 75 กิโลกรัม
4. หมักทิ้งไว้ ประมาณ 21 วัน กระบวนการหมักจะสมบูรณ์ และได้ข้าวโพดหมักที่มีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม จึงนามาให้แพะหรือวัวกินได้ ซึ่งแพะชอบกินมากกว่าสภาพสด และต้นข้าวโพดหวานหมักสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 6 เดือน เกษตรกรบางรายสามารถเก็บได้เป็นปี
โดยตามมาตรฐานแล้วต้นข้าวโพด จะให้โปรตีน ประมาณ 8% วิธีที่จะทำให้เวลาหมักต้นข้าวโพดแล้วได้โปรตีนสูงถึง 12 % นั้น ก่อนตัดทั้งต้นและฝักประมาณ 7-10 วัน ให้ใส่ยูเรียเข้าไป ต้นข้าวโพดจะดูดไปสะสมไว้ พอเราตัดมาหมักก็จะได้โปรตีนเพิ่มจากยูเรียเข้าไปอีก หรือไม่ก็ในกระบวนการหมักต้นข้าวโพดให้ผสมกากน้ำตาลเข้าไปด้วยจะเป็นการเพิ่มโปรตีนให้กับต้นข้าวโพดหมัก และทำให้ต้นข้าวโพดหมักมีกลิ่นหอมน่ากิน มากกว่าเดิม แนะนำให้เติมกากน้ำตาลลงไป ในอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนต้นข้าวโพด
1. มีอาหารหยาบคุณภาพดีไว้เลี้ยงโคตลอดทั้งปีทำให้โคได้รับอาหารสม่ำเสมอ มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตสูง และมีการสืบพันธุ์ดี
2. สามารถลดอาหารข้นลงได้บางส่วน
3. ลดภาระในการออกไปหาอาหารหยาบ ทำให้มีเวลาดูแลโคและอยู่กับครอบครัวมากขึ้น
ข้อควรระวัง
ข้าวโพดหมักมีสารอาหารมากเพราะมีเมล็ด ลำต้นและใบพืชอยู่ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีเยื่อใยต่ำกว่าหญ้าหรือพืชอาหารสัตว์โดยทั่วไป ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับโคที่ให้นมสูง ส่วนโคสาวหรือโคที่ให้นมต่ำไม่ควรใช้ในปริมาณที่สูงนักเพราะจะทำให้อ้วนเกินไปเป็นผลเสียต่อสุขภาพ การใช้ข้าวโพดหมักเป็นอาหารหยาบหลัก ควรเสริมหญ้าแห้งหรือฟางเพื่อช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะหมัก ทำให้การเคี้ยวเอื้องและการย่อยอาหารเป็นปกติด้วย
ข้อแนะนำ **เมื่อนำออกมาใช้ กากน้ำตาล ที่มีโปรตีน และสารอาหารต่างๆ สูง ( โปรตีน12% กากน้ำตาลปกติ 4% ) โดยราดให้กินตัวละ 1 กิโลกรัม หรือ ผสมน้ำอัตรา 1 ต่อ 4 ( กากน้ำตาล 1 น้ำ 4 ) จะช่วยให้โคสมบูรณ์ อัตราการเจริญเติบโตดีขึ้น ดูผลการทดลองเพิ่มเติม จาก ผลการทดลองกากน้ำตาลเป็นอาหารโค
**การใช้กากน้ำตาลวีนัส สามารถราดอาหารหยาบเช่นฟาง มัน ข้าวโพดได้เลย แต่หากจะผสมน้ำให้กิน ควรเจือจางก่อนที่อัตรา กากน้ำตาล 1 น้ำ 4 แล้วให้สัตว์กิน
เท่านี้ก็ได้อาหารเสริมที่สุดยอดแล้วล่ะค่ะ....
ขอขอบคุณ : ข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เน็ต
นามสกุล ของคุณมีไหมครับ จะอ้าวอิงไม่มีนามสกุล
ตอบลบนามสกุล ของคุณมีไหมครับ จะอ้าวอิงไม่มีนามสกุล
ตอบลบ