วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ท้องฟ้าและปุยเมฆบอกอะไร?

วันนี้บังเอิญไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับลางบอกเหตุ กับ การเกิด แผ่นดินไหว ก็เลยเอามาฝากเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ ที่สนใจเรื่องราวเหล่านี้อยู่เหมือนกัน...เคยสังเกตุไหม บางทีเราดูเมฆแล้วก็จินตนาการไปต่างๆนาๆ เห็นเหมือน รูปสัตว์น่ารักๆ ก็มี เหมือนไดโนเสาร์ก็มี รูปร่างประหลาด ต่างๆ หรือบางทีมองแล้วให้ความรู้สึกน่ากลัว..ก็เคยเห็น..มาลองดูกันนะค่ะ....ว่าเมฆบอกอะไรเราได้บ้าง??

ชนิดของเมฆ
เมฆต่างชนิดเหล่านี้อาจรวมตัวทำให้มี รูปร่างผสมระหว่างเมฆ 2 ประเภท เกิดเป็นเมฆชนิดใหม่ขึ้นหลายชนิด ซึ่งรวมทั้งสิ้นแล้วจะมีเมฆประมาณ 10 ชนิด
เมฆเซอร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus : Cc)



เมฆ ก้อนกระจุกเล็กๆแผ่เป็นแนวสีขาวประกอบขึ้นด้วย ผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ มักเกาะตัวเป็นกลุ่มเรียงกันเหมือนกับ เกล็ดปลาแมกเคอเรลเรียกในภาษาอังกฤษว่า ” mackerel sky ” ส่วนบนของเมฆคิวมูโลนิมบัส มองดูเหมือนกับรูปทั่งน้ำแข็ง

เมฆเซอร์โรสเตรทัส (Cirrostratus : Cs)



เมฆ ที่อยู่สูงมากๆมักขึ้นด้วยคำว่า “เซอร์โร” เมฆเซอร์โรสเตรทัสเกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆเซอร์โรสเตรทัสหรือเมฆอัลโทรเตรทัส ที่อยู่สูงๆ

เมฆนิมโบสเตรทัส (Nimbostratus : Ns)



เมฆ หนาเป็นชั้นชนิดนี้ก่อตัวอยู่ในระดับต่ำๆและอาจมีความหนามาก เมฆนิมโบสเตรทัส อาจทำให้เกิดฝน หรือหิมะตกหนักติดต่อกันนานเป็นชั่วโมงๆ จึงมักเรียกกันว่า “เมฆฝน”

เมฆสเตรโทคิว มูลัส (Stratocumulus : Sc)



ถ้า เรามองเห็นเมฆก่อตัวเป็นม้วนยาวๆ ในระดับความสูงปานกลางล่ะก็ มักแสดงว่าอากาศกำลังจะดีขึ้น เมฆชนิดนี้ก็คือเมฆคิวมูลัสที่ แผ่ออกเป็นชั้นๆนั่นเอง

เมฆอัลโทสเตรทัส (Altostratus : As)



เมฆ ที่อยู่สูงระดับปานกลาง จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “อัลโท” เมฆอัลโทสเตรทัสเป็นผืน เมฆแผ่นที่ประกอบด้วยหยดน้ำ

เมฆอัลโทคิว มูลัส (Altocumulus : Ac)



เมฆ อัลโทคิวมูลัส คือเมฆคิวมูลัสที่เกิดในระดับ ความสูงปานกลาง และมีลักษณะเป็นแผ่น มองเห็นคล้ายกับก้อนสำลีแบนๆ ก้อนเล็กๆมาเรียงต่อๆ กัน เป็นคลื่นหรือเป็นลอน

เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus : Cb)



เมฆ ชนิดนี้มีรูปร่างเป็นหอคอยสูง เสียดฟ้า ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง หรือพายุได้และอาจรุนแรงจนกลาย เป็นพายุทอร์นาโดหรือที่เรียกว่า “เมฆฟ้าคะนอง”ได้ เมฆคิวมูโลนิมบัสขนาดใหญ่ๆ อาจสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์เสียอีก

สีของเมฆ
สีของ เมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อน เมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่าง ระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ

โดยสีของเมฆนั้นสามารถใช้ในการบอกสภาพอากาศได้

- เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบน้ำ แข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัส ที่มีสีเขียวนั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด

- เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยสีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ

- เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก โดยเกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น แต่ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆเป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด









นอกจากนี้ยังมี

ก้อนเมฆแปลกตาบนท้องฟ้า
ความงาม ของ ธรรมชาติ
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์

เสน่ห์ขั้ว โลก “เมฆสีมุก” เหนือท้องฟ้าแอนตาร์กติกา



เมฆสีมุกมีลักษณะคล้ายเลนส์และมีสีสันต่าง ๆ ชัดเจน เช่น สีเขียว ชมพู หรือสีรุ้ง ฯลฯ เหมือนกับกาบหอยมุก (mother of pearl) โดยสามารถมองเห็นสีต่าง ๆ สว่างสวยงามเมื่อดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า โดยแสงอาทิตย์กระทบกับเกล็ดน้ำแข็งและสะท้อนเข้ากับบรรยากาศชั้นสตาร์โต สเฟียร์ ซึ่งกลุ่มเมฆนีเครอัสมักจะปรากฏอยู่ไม่สูงจากพื้นมากนัก อย่างในภาพชิ้นนี้เมฆอยู่ห่างจากพื้นน้ำแข็งเพียงแค่ 8-10 กิโลเมตร


ลักษณะของเมฆที่จะบอกก่อนแผ่นดินไหวมี

1  เมฆเส้นตรง หรือ เมฆรูปงู
2  เมฆ คลื่น
3  เมฆรูปพัด
4  เมฆขนนก
5 เมฆรูปตะเกียง
6  เมฆรูปรัศมี

ซึงเหล่านี้อธิบายไม่ได้ด้วยวิชาอุตุนิยมวิทยา  ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า  ก่อนแผ่นดินไหว จะมีเมฆรูปประหลาด  เกิดประกายแสง มีรุ้งกินน้ำ


**ข้อมูลดีๆ**
ขอขอบคุณ : Allweare9999's Blog

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเรียนกับ มสธ.

การหาหลักการเรียนของ มสธ. และเทคนิคหลายๆอย่างเนี้ย มันยากจริงๆ เล๊ย สำหรับตัวของเจ้าของบล๊อกเองนะค่ะ คือว่าบางทีเราไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือ อีกอย่างต้องทำงานด้วย มองไปเห็นหนังสือก็เล่มใหญ๊ ใหญ่ เฮ้อ!!! เห็นแล้วก็ท้อใจ แต่ก็นะ... ไหน ๆ ก็ไหนๆแระ ลองมันดูสักตั้ง ก็เลยลองหาเทคนิคใน เวปต่างๆ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับตัวเองและเพื่อนๆน้องๆบ้างค่ะ และแล้วก็เจอค่ะ ขออนุญาติเจ้าของข้อมูลดีๆนะค่ะ เอามาเผยแพร่กันเยอะๆ เผื่อจะมีประโยชน์สำหรับคนที่กำลังหาอยู่หรือกำลังเริ่มเรียนค่ะ... ลองอ่าน่ข้อมูลของท่านผู้นี้ดูนะค่ะ.....

"ก่อนอื่นต้องขอ ออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ได้เป็นผู้รู้หรือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา แต่มีเพื่อนหลายท่านถามมาเกี่ยวกับเทคนิคการเรียน เรียนอย่างไรให้ประสบความสำร็จ และต้องทำอย่างไร ผมถือว่าถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับรู้มาละกันนะครับเริ่มแรกที่สมัครเรียน แต่ละท่านก็คงจะมีจุดประสงค์แตกต่างกัน เช่นอยากปรับต่ำแหน่งหน้าที่การงาน อยากเพิ่มคุณวุฒิ อยากเปลี่ยนงาน อยากได้ปริญญาสักใบ หรือเรียนเป็นเพื่อนลูก เรียนอยากให้ลูกเห็นว่าพ่อหรือแม่ก็จบปริญญานะ แต่ละคนก็มีจุดมุ่งหมายของตัวเอง ส่วนใหญ่นักศึกษาของมสธ จะอยู่ในวัยที่ทำงานแล้ว และไม่มีเวลามากพอที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป ก็เลยมาลงตัวที่ มสธ เพราะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นมหาลัยเปิดที่สมบูรณ์แบบ ขนาดเรียนในเรือนจำยังได้เลย ( ถ้าได้ย้ายไปอยู่ในนั้นชั่วคราวก็ไม่มีปัญหาในการเรียนอย่างต่อเนี่อง …อิอิ แต่คงไม่มีใครอยากเข้าไป ) ขอเข้าเรื่องเลยนะครับ"

เทคนิคที่1 เราต้องสร้างแรงจูงใจในการเรียน เรียนเพื่ออะไร จะได้อะไรในการเรียนสาขานี้ เรียนจบแล้วจะเป็นอย่างไร แรงจูงใจ จะทำให้เราอยากที่จะเรียน เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรค์ จะทำให้เราไม่ท้อถอยง่ายๆ

เทคนิคที่ 2 การมีเพื่อนหรือกลุ่ม จะทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่โดดเดี่ยวในการเรียน เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยครับ ตอนที่สมัครเรียนใหม่ๆ เราจะเรียนยังไง, สมัครเป็นเดือนแล้วหนังสือทำไมยังไม่ได้, ได้หนังสือแล้วทำไมเยอะจัง แล้วจะอ่านยังไง , ข้อสอบจะออกแนวไหน แม้กระทั่งสอบแล้วรู้สึกทำข้อสอบไม่ได้เลยคงเรียนไม่ไหว รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ไหวแล้ว (เลิกเรียนดีกว่า) การที่เรามีกลุ่มจะทำให้ขจัดปัญหาแบบนี้ มีเพื่อนปรึกษากัน อาจจะส่งสรุปให้กัน หรือให้คำแนะนำว่าข้อสอบที่เคยออกมาออกแนวไหน ถึงจะตกเราก็จะมีความรู้สึกที่ดี คือมีเพื่อนตกหลายคนไม่เป็นไร เรามาซ่อมด้วยกัน (หัวอกเดียวกัน) อาจจะมีเมล์ของเพื่อนไว้ติดต่อ หรือมาโพสข้อความไว้ในบอร์ดบ้างบางครั้ง ส่งข้อความดีๆให้เพื่อนบ้างบางโอกาส 


  เทคนิคที่ 3 จัดตารางเวลาเรียนให้ตนเอง และทำให้ได้ ข้อนี้อาจจะทำลำบากหน่อย แต่ถ้าอยากเรียนให้จบเราก็ต้องทำ ถือคติที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อาจจะกำหนดว่าอาทิตย์นี้เราจะเรียนรู้วิชาอะไรบ้าง หน่วยไหนบ้าง กำหนดเวลาว่างของเราและเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือให้ตรงกัน ถ้าไม่รู้วันหยุดของตัวเองแน่นอนก็ให้กำหนดว่าหยุดแล้วจะอ่านหน่วยไหน และทำให้ได้ เมื่อทำได้แล้วอาจจะให้รางวัลกับตัวเองบ้างเล็กๆน้อยๆ(หลายครั้งที่ผมกำหนดกับตัวเองว่าถ้าอ่านหน่วยนี้จบ ผมจะเล่นเกม แล้วก็เล่นจริงๆนะ ก่อนสอบวิศวะพื้นฐานช่วงเช้ามืดยังเปิดซีดี อัสนี- วสันต์ ร้องคาราโอเกะตามไปด้วยเสร็จแล้วก็ทบทวนเนื้อหาที่จะสอบอีก 1 รอบ ) เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทำให้เราไม่เครียดในการเรียน

เทคนิคที่ 4 อ่านจบหน่วยไหนต้องทำสรุปและวิเคราะห์เนื้อหา บางท่านอาจจะบอกอ่านยังไม่ค่อยเข้าใจเลย แล้วจะสรุปยังไง ให้วิเคราะห์อีกงงไปใหญ่ แต่อย่าลืมว่าแต่ละหน่วยเขาจะให้ไกด์ไลน์มา หรือแนวทางในการเรียนรู้ ก็คือจุดประสงค์การเรียนรู้นั่นเองเพราะจุดประสงค์การเรียนรู้คือสิ่งที่ทางอาจารย์ อยากให้นักศึกษารู้และให้เข้าใจ และข้อสอบก็จะออกตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ถ้าเราอยากทำข้อสอบได้เราต้องตอบคำถามจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ได้ แปรจุดประสงค์ให้เป็นคำถามและเอาเนื้อหาในหนังสือมาตอบ ก็คือทำสรุปย่อนั่นเอง ยกตัวอย่างบางหน่วยอาจจะมี 150 หน้า แต่เราสรุปตามจุดประสงค์การเรียนรู้เหลือ 10 หน้า แล้วเวลาใกล้สอบเราก็นำสรุปย่อนี้มาอ่านอีกครั้งหนึ่ง หรืออ่านหลายๆครั้งถ้ามีเวลา อ่านสรุปแล้วงงไม่แน่ใจที่มาที่ไปก็มาดูเนี้อหาสาระรายละเอียด ในหนังสือได้อีก
เทคนิคที่ 5 บันทึกสรุปย่อเป็น MP3 ไว้ฟัง ผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องบอกว่าส่วนตัวขี้เกียจอ่านหนังสือ ถ้าอ่านไปแล้วก็ไม่อยากอ่านซ้ำอีกรอบ ผมก็จะนำสรุปที่ทำมาอ่านใส่เครื่องเล่น MP3 แล้วเปิดฟัง อาจจะฟังช่วงขึ้นรถไปทำงาน ไปต่างจังหวัด นอนฟัง บางครั้งก็สลับกับการฟังเพลงบ้าง จะทำให้เราจำเนี้อหาได้ดียิ่งขึ้น เมื่อก่อนเรียนกฎหมายต้องใช้ความจำมากก็เลยอ่านใส่เครื่องบันทึกฟังก่อนนอนคือหลับก็ยังฟังอยู่ใช้ได้ผลแฮะ พอตอนสอบจำได้แม้กระทั้งมาตรา ตัวเลข จำนวน ตอนทำข้อสอบยังงงตัวเองเลยว่าจำไปได้ยังไง ก็ถือว่าเป็นเทคนิคที่น่าสนใจครับ
เทคนิคที่ 6 ทบทวนทำแบบฝึกหัดและแบบประเมินก่อนเรียนหลังเรียน การที่เราทำและทบทวนจะช่วยในแง่การคิดและวิเคราะห์ตาม หลายครั้งที่ข้อสอบจะเอามาจากแบบประเมินก่อนและหลังเรียน แต่อาจจะเปลี่ยนคำถาม หรือคำตอบ แต่เนี้อหาจะคล้ายกัน

เทคนิคที่ 7 สอนเสริมต้องดู วิชาไหนถ้ามีการสอนเสริมจะมีประโยชน์มากควรจะหาโอกาสดูเช่นสอนเสริมผ่านอินเตอร์เน็ต เราจะได้ความรู้ใหม่ และอาจารย์ก็อาจจะบอกแนวข้อสอบ แต่เราควรเตรียมตัวก่อนคือรู้ว่าจะสอนเสริมเรื่องอะไรและควรดูหนังสือล่วงหน้า เพื่อจะได้เข้าใจดียิ่งขึ้น พยายามทำโนตย่อหรือทำสรุปสอนเสริม จะเป็นประโยชน์ในการสอบมาก


ก่อนจบขอเสริมอีกเรี่องหนึ่งคือ หลักการใช้ อิทธิบาท4 หรือหลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มาประยุกต์ในการเรียน ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ฉันทะ = มีความพอใจมีใจรักในการเรียน และชอบที่จะเรียนวิชานี้ เช่นผมชอบวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพราะรู้สึกว่ามีประโยชน์ได้ช่วยเหลือตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนที่ทำงาน ก็จะเกิดความรักและอยากที่จะเรียน
วิริยะ = เมื่อมีความรักในการเรียนแล้วจะมีวิริยะตามมาคือ ความพากเพียร ขยันในการดูหนังสือ เพราะใจเรามีความชอบยิ่งดูก็รู้สึกได้ประโยชน์ เป็นความรู้ที่ดี ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
จิตตะ = มีความเพียรแล้วเราก็จะต้องมีความเอาใจใส่ ความตั้งใจ สมาธิ ในการดูหนังสือตามมา ก็คือจิตตะ
วิมังสา = การพินิจพิเคราะห์ หรือความเข้าใจ ทำความเข้าใจกับเนี้อหาในการเรียน คือใช้ปัญญาคิดตามไม่อ่านลวกๆเพื่อให้จบ อ่านแล้วคิดตาม
ท่านที่ถามมาผมขอตอบในนี้นะ จะได้เป็นประโยชน์กับ เพื่อนท่านอื่นบ้าง วันนี้ว่างก็เลยนั่งเขียนบทความ หวังว่าคงไม่เป็นการ นำมะพร้าวห้าวมาขายสวน นะครับ

มีประโยคหนึ่ง อาจารย์วันเดิม พูดไว้น่าสนใจ
ถ้าเป้าหมายหลักของท่านคือต้องการความรู้ ท่านจะได้ทั้งปริญญาบัตรและความรู้
ถ้าเป้าหมายหลักของท่านคือต้องการปริญญาบัตร ท่านอาจจะได้เพียงใบปริญญาบัตรเท่านั้นโดยไม่ได้ความรู้ไปด้วย หรือท่านอาจจะไม่ได้ทั้งสองอย่างเลยก็ได้

manasu

เทคนิคการทำแบบประเมินตนเองก่อน-หลังเรียน มสธ.

การทำแบบประเมินตนเองก่อน-หลังเรียน

    1. ข้อสอบจะออกตามวัตถุประสงค์  สังเกตได้จากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน( อาจารย์-รุ่นพี่ๆ ที่สำเร็จ ยืนยันตามนี้)
    2. ประเมินผลตนเอง ควรทำใบสรุปคะแนนแบบประเมินผลก่อนและหลังเรียนทุกหน่วยไว้ในแผ่นเดียวกัน  เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าหน่วยได้คะแนนมาก/น้อย  ผ่านเกณฑ์หรือไม่อย่างไร?  (สอบจริงต้องได้ 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจึงผ่าน)  จะทำให้เราเห็นภาพรวมว่าหน่วยไหน? ยาก/ง่าย  ควรทบทวน/เน้นย้ำมากน้อยแค่ไหน?  หรือบางหน่วยต้องท่อง เช่น ชื่อนักทฤษฎี  ต้องจดมาและหาวิธีการท่องในแบบฉบับของเรา  เช่น ผูกเรื่องใกล้ตัว  คนที่เราคุ้น  บทกลอน  จะได้ป้องกันยามสับสน  ยังมีการเชื่อมโยง ให้เห็นเค้าที่มาได้บ้าง

    3. การทำแบบประเมินนั้น ขอแนะนำให้ใช้ดินสอ (จะได้ลบได้  ในการทำรอบต่อๆ ไป) ควรทำเครื่องหมายไว้หน้าข้อ(ติดขอบกระดาษ) ไม่ควรวงหรือขีดคำตอบ ที่ข้อ ก โดยตรง  เพื่อในรออบ ๒ จะได้ไม่เห็นข้อถูกเดิมที่ขีดไว้  เป็นการประเมินจริงๆ หลังจากอ่านจบทุกหน่วย 
    4. และข้อไหนยาก  ให้ใช้ปากกาเน้นคำขีดไว้  ยามใกล้สอบจริงจะได้ดูเน้นๆ   เฉพาะข้อสำคัญ  บริหารเวลาให้ได้ประโยชน์สูงสุด  ถ้ายังจำไม่ได้  ต้องจด  ดึงมาให้ใกล้ชิด  “รักมากอยากใกล้ชิดนิดหนึ่งนะ”
    5. ต้องวิเคราะห์  และถามว่าทำไมจึงตอบเช่นนี้  ถ้าเรายังไม่รู้  ก็ต้องหาคำตอบให้ได้  เป็นการพัฒนาสมองให้พินิจพิจารณา  จนสามารถนำไปใช้ในสนามสอบจริงได้  และควรจดประเด็นที่เราทำผิดไว้ในข้อสอบ  เพื่อทราบข้อผิดพลาด  จะได้ระวังแก้ไขไม่ให้ประวัติศาสตร์ช้ำๆๆๆ ซ้ำรอยแผลเก่า 
  ข้อสอบจะเน้นวัดความรู้ด้าน
  1. ความจำ
  2. ความเข้าใจ
  3. วิเคราะห์
  4. สังเคราะห์
  5. นำไปใช้ได้

  เทคนิคและวิธีเลือกคำตอบในข้อสอบ
 1. ตัดตัวเลือกที่ผิดโต้งๆ  เพื่อกำจัดเจ้าตัวกวนประสาท   จะได้มุ่งสติปัญญากล้าแข็งไปพิจารณาตัดสินใจในข้ออื่นๆ ที่เห็นว่าถูก
    2. ระวังตัวลวง  โจทย์ลวง  เช่น ไม่ใช่, ใช่  เพียงแค่คำ สองคำ  ก็มีนัยที่ร้ายกาจ  ถ้าพลาดเป็นศพ  เมื่อพบลักษณะนี้  หมายหัวไว้  อย่าเผลอ  เพราะจะทำให้เราหลงประเด็น  เราจะกระเด็นเอง สิบอกไห่
    3. วิเคราะห์  แยกแยะ  เปรียบเทียบ ทุกๆ ตัวเลือกจะคล้ายๆ กันมาก  ยากทีเดียว  แต่มองให้ดีใช่เลย  ข้อนี้ถูกสุด  ไม่แพง  ไม่ต้องซ่อมไง!
    4. สังเคราะห์  มีลักษณะประมวลตัวเลือกอื่นๆ ที่ถูกมาอยู่ในข้อนี้  อมความหมายไว้ทั้งหมดเป็นลักษณะ  ถูกทุกข้อ  แต่ไม่ใช้คำนี้ ใช้ความหมายแทน  ประสบการณ์เท่านั้นที่จะช่วยท่านได้  ฝึกคิดพิจารณาแก้ปัญหา ได้ด้วยปัญญาได้จากแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน 
    5. นำไปใช้ได้  คือ  สามารถประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์จริง  ยกตัวอย่างประกอบได้  แก้ไขสถานการณ์จำลองเหมือนจริงต่างๆ ได้
โชคดี  มีชัยด้วยใจทุกๆ ท่าน
ประเมินแนวข้อสอบและเตรียมพร้อมรบ
  1. แนวข้อสอบเทียบเคียงได้กับแบบประเมินผลตนเองก่อน-หลังเรียน   ดังนั้นจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ให้ได้ชัดแจ้งว่าผิด ถูกอย่างไร  และควรอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนประเด็นที่เราทำผิดไว้ในแบบประเมิน  เพื่อทราบข้อผิดพลาด  จะได้ระวังแก้ไขไม่ให้ประวัติศาสตร์ช้ำๆๆๆ ซ้ำรอยแผลเก่า  ฝึกฝนอบรมตนบ่อย  จะมีความชำนาญมากขึ้น  ไม่นานก็เป็นแชมป์  หมั่นชกเก็บแต้ม(เก็บหน่วยครบ จบปริญญาเห็นๆ)
    2. อาจารย์ที่จัดทำหน่วยการสอนแต่ละหน่วย  ก็คนละท่านกัน  ดังนั้นต้องสังเกตแนวการออกข้อสอบ  เพื่อจะรู้ว่าท่านชอบออกลักษณะอย่างไร? ทดสอบอะไร ?
    1. ความจำ
    2. ความเข้าใจ
    3. วิเคราะห์
    4. สังเคราะห์

    5. นำไปใช้ได้
 (รู้เขารู้เรา  รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง)
    3. ระวังคำถามลวง  จนเราหลงประเด็น  เช่น บางครั้งอ่านคำตอบจนเพลิน  ลืมประเด็นคำถาม  เลยตอบผิดซะดื้อๆ  ไม่น่าเชื่อ เคยอ๊ะเปล่า
    4. ในการสอบจริง  ขณะทำข้อสอบก็ต้องประเมินว่าผ่านเกณฑ์ ที่ชัวร์ๆ จริงๆแน่นอนหรือไม่  อย่างไร? 

 เทคนิคการตอบข้อสอบปรนัย
  1. อ่านคำชี้แจงอย่างระมัดระวัง
  2. วางแผนการใช้เวลา
   3. ศึกษาข้อสอบทั้งฉบับในภาพรวม
   4. อ่านคำถามอย่างระมัดระวัง
   5. พิจารณาตัวเลือกที่เป็นคำตอบของข้อคำถามที่ถูกมากที่สุดแล้วตอบ
   6. อ่านข้อคำถามกับคำตอบทุกข้อโดยให้คิดว่าเป็นการค้นหาข้อถูกหรือข้อผิด
   7. พบข้อสอบที่ยากควรทำเครื่องหมายและข้ามไปก่อน  หลังจากนั้นกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  (และควรประเมินผลงานว่าภาพรวมเป็นอย่างไร? มั่นใจว่าผ่านหรือไม่?)
    8. หากมีเวลาเพียงพอควรทบทวน  โดยการอ่านทั้งคำถามและคำตอบอีกครั้ง  (ระวังความคิดครั้งแรกมักถูก)
 กลยุทธ์ตอบคำถามข้อที่ยากๆ
  1. ให้พิจารณาตัดตัวเลือกที่คิดว่าไม่ถูกแน่นอนออกไปก่อน
  2. พิจารณาตัวเลือก  แต่ละข้อในลักษณะถูกหรือผิด
  3. พิจารณาตัวเลือกที่อาจมี  ถูกทุกข้อ หรือ ผิดทุกข้อ  หากเห็นว่ามีลักษณะดังกล่าวมากเกิน 2 ถึง 3 ข้อ  ก็น่าจะพิจารณาตอบได้
  4. พิจารณาตัวเลือกที่น่าสงสัยในลักษณะต่างๆ
  5. หากตัวเลือกเป็นปฏิเสธซ้อน  ให้นึกถึงข้อมูลนั้นในความหมายปกติ
  6. หากไม่ทราบคำตอบให้ใช้ข้อมูลที่เป็นตัวแนะนำจากข้อคำถามอื่นๆ ที่เรามั่นใจว่าถูก

เก็บมาฝากจากชมรม มสธ.ราชบุรี