การปลูกน้อยหน่าเพชรปากช่อง
ลักษณะประจำพันธุ์
น้อยหน่าลูกผสมพันธุ์เพชรปากช่อง เกิดจากการผสมระหว่าง (Cherimoya X หนังครั่ง) X หนังเขียว #102 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบขนาดกลางรูปหอก กว้าง 7.4 ซม. ยาว 14.9 ซม. สีเขียวเข้ม เส้นใบเด่นเห็นชัด ทรงพุ่มโปร่งปานกลาง ดอกใหญ่สั้น กว้าง 0.9 ซม. ยาว 2.8 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจ เฉลี่ยกว้าง 9.0 ซม. ยาว 9.7 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 373.9 กรัม/ผล ผิวผลเรียบมีร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนังผลอ่อน สีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดสีเขียวอ่อน-ขาวนวล เปลือกบางลอกเปลือกได้ ผลไม่แตกเมื่อแก่หรือสุก เนื้อเหนียวแน่นคล้ายน้อยหน่าหนังสีเขียว ปริมาณเนื้อ 73% เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน เฉลี่ย 36 เมล็ด/ผล


ข้อแนะนำ
สำหรับวิธีการปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแต่เลือกใช้กิ่งพันธุ์คุณภาพดี ที่มีความสูงประมาณ 40-50 ซม. และปลูกโดยใช้ระยะห่าง ประมาณ 2x2 ม. ระดับความลึกประมาณ 1 คืบ ในแต่ละหลุมให้เติมปุ๋ยคอกรองใส่ก้นหลุมประมาณครึ่งปี๊บก่อน จึงนำกิ่งพันธุ์ลงปลูก หลังจากนั้นกลบดินให้แน่น สำหรับการให้น้ำในช่วงแรก ควรรอให้ต้นน้อยหน่าฟื้นตั้งต้นได้ดีก่อนสัก 3-4 วัน จึงค่อยให้น้ำอย่างเต็มที่ หากช่วงใดที่มีฝนตกมาก ก็งดให้น้ำไปเลย หลังจากนั้นสัก 2-3 อาทิตย์ จึงให้น้ำอย่างเต็มที่ หากคุณคิดจะทำสวนน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง ควรเข้าใจธรรมชาติของไม้ผลชนิดนี้สักหน่อยว่า เป็นไม้ผลที่ชอบน้ำ แต่ไม่ควรให้
น้ำมากจนดินแฉะจนเกินไป

1. แหล่งปลูกและสภาพพื้นที่ปลูก น้อยหน่าชอบอากาศร้อนแห้งไม่หนาวจัด ปริมาณน้ำฝน 800 – 1,300 มิลลิเมตร/ปี อุณหภูมิ 10-40 องศาเซลเซียส มีแสงแดดจัดส่องได้ทั่วถึง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 1,000 เมตร ดินและสภาพดินปลูกมีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึกตั้งแต่ 40เซนติเมตรขึ้นไปชอบดินร่วนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีการระบายน้ำดีไม่มีน้ำท่วมขัง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินระหว่าง 5.5 - 7.4 มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับใช้ตลอดฤดูกาลหรือในช่วงฝนทิ้งช่วงสะอาดปราศจากสารพิษปนเปื้อน

.jpg)
4. การดูแลรักษา การให้ปุ๋ยควรใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยวิทยาศาสตร์ร่วมกัน การให้น้ำ ควรรักษาความชื้นในสวนให้อยู่ระหว่าง 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้การผสมเกสรติดผลสูงขึ้นให้ผลเจริญเติบโตดีเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าปกติ ขนาดของผล จำนวนผล และคุณภาพของผลดีกว่าปล่อยให้ผสมตามธรรมชาติ มีการปลิดผลอ่อนให้เหลือผลที่สมบูรณ์ สำหรับน้อยหน่า 2 ผล/กิ่ง และน้อยหน่าลูกผสม 1 ผล/กิ่ง แล้วห่อผลก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 1 เดือนเพื่อป้องกันแมลงวันทอง

6. ศัตรูและการป้องกันกำจัด แมลงและการป้องกันกำจัด แมลงที่สำคัญคือ แมลงวันผลไม้ หนอนเจาะกิ่ง ด้วงกินใบหรือแมลงค่อมทอง ด้วงทำลายดอก หนอนผีเสื้อเจาะผล เพลี้ยแป้ง ควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะแมลงวันทองระบาดในช่วงผลแก่เริ่มสุก ถ้าหากมีการระบาดควรใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน หรือถ้าใช้สารเคมีควรเก็บผลผลิตหลังการใช้สารเคมีอย่างน้อย 30 วัน
หนอนและเพลี้ยศรัตรูของน้อยหน่า
โรคและการป้องกันกำจัด โรคที่สำคัญคือ โรคกิ่งแห้ง โรคมัมมี่ โรครากเน่า โรคผลเน่าดำ และโรคแอนแทรคโนส หากพบการระบาดโดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนสฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดรา ร่วมกับการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ลมและแสงแดดส่องได้ทั่วถึง
วัชพืชและการป้องกันกำจัด วัชพืชที่สำคัญมีทั้งชนิดฤดูเดียวและชนิดข้ามปี การป้องกันกำจัด เช่นใช้จอบดาย เครื่องตัดหญ้า สารควบคุม หรือใช้ทั้งสามวิธีร่วมกัน

วิธีการปลูก

2. ผสมดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) จำนวน 1 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
3. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
4. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
5. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
6. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
7. กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
8. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
9. หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง

11. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
ระยะปลูก 3 x 3 เมตร
จำนวนต้นต่อไร่ จำนวนต้นเฉลี่ย 150 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา
เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 เดือน ให้ตัดแต่งกิ่งที่มีขนาดเล็กและกิ่งกระโดงออกให้หมด รวมทั้งตัดยอดด้วย ตัดแต่งต้นให้เป็นทรงพุ่ม ระยะการใส่ปุ๋ยเป็น 3 ช่วง ทุกๆ 2-3 เดือน ระยะแรกให้เติมปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก่อน ระยะที่ 2 ควรเติมปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 พอถึงระยะที่ 3 ก็ให้เติมปุ๋ยสูตร 8-24-24 และเพื่อความสมบูรณ์ของต้นน้อยหน่า ควรเติมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยขี้ไก่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
และเพื่อให้มีผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ ควรเริ่มดูแลตัดแต่งสวนเมื่อต้นน้อยหน่ามีอายุ 18-24 เดือน โดยเลือกกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.5-1 ซม. เอาไว้ และควรคัดเลือกน้อยหน่าผลงามๆ ไว้สัก 30 ลูกต่อต้น จากนั้นให้ตัดแต่งกิ่งจากกิ่งง่ามออกประมาณ 20 ซม. ส่วนกิ่งฝอยและกิ่งกระโดงตัดออกให้หมดรวมทั้งใบด้วย ให้เหลือแต่ต้นตอ

น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องจะแตกใบพร้อมดอกในช่วง 30 วัน หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือนก็จะเริ่มติดลูก ช่วงนี้แนะนำให้ฉีดปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเกล็ดก็ได้ เพื่อบำรุงดอกและผล หากตรวจสอบต้นน้อยหน่าว่ามีปัญหาโรคหรือแมลงก็ให้รีบฉีดยาป้องกันโรคเชื้อราไปพร้อมกัน
การห่อผล ห่อผลในระยะที่ต้นน้อยหน่าเริ่มติดผลแล้ว 3 เดือน ซึ่งมีผลขนาดเท่ากำปั้น เพื่อป้องกันการเจาะของหนอนและแมลงวันทอง นอกจากนี้ ผลดีของการห่อผลก็คือ จะช่วยทำให้ผลของน้อยหน่ามีขนาดใหญ่ขึ้น 20-30% และทำให้ผลน้อยหน่ามีสีสวย ซึ่งจะเป็นสีออกเหลืองอมชมพู หลังจากนั้นเมื่อผลน้อยหน่ามีอายุ 150 วัน ก็ถือว่าผลแก่พอที่จะเก็บเกี่ยวได้เลย
การเก็บเกี่ยวผลผลิตน้อยหน่า
จะเริ่มเก็บตั้งแต่เวลา 07.00-11.00 น. เก็บผลน้อยหน่าที่ห่อผลทั้งถุง เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดกับผลน้อยหน่าให้น้อยที่สุด เก็บผลน้อยหน่าตามคำสั่งซื้อของแม่ค้าเท่านั้น เนื่องจากน้อยหน่าผลแก่ เมื่อตัดจากต้นแล้วจะสามารถเก็บเพื่อรอขายได้นานนับ 10 วัน


![]() |
คัดเกรด เตรียมขนส่ง |
![]() |
บรรจุใส่กล่องพลาสติก รอขนส่ง |
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว ผลน้อยหน่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 - 120 วัน จากดอกบานโดยสังเกตร่องตาน้อยหน่าเริ่มห่างและสีร่องตาเข้ม ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลือง สำหรับน้อยหน่า-หนัง,เพชรปากช่อง สำหรับพันธุ์สีครั่งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2. การเก็บเกี่ยว โดยใช้มือปลิดผลติดขั้ว ถ้าอยู่สูงจะใช้ไม่ง่ามสอย ลงมาปลดผล ใส่ตะกร้า นำมาคัดขนาด และบรรจุผลใส่ภาชนะบรรจุ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ โดยรองด้วยใบตอง
3. อายุการเก็บรักษา หลังจากขนส่งน้อยหน่าส่งตลาดผลผลิตจะเริ่มสุก ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปกติอายุการวางขยายผลผลิต จะอยู่ระหว่าง 3 - 5 วัน
ข้อมูลอื่นๆ :ใบสดและเมล็ด น้อยหน่าสามารถใช้ฆ่าเหา และโรคกลากเกลื้อน โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย มีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
- นำใบน้อยหน่า 3-4 ใบ มาบดหรือตำให้ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากัน จนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาที แล้วเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที
- นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก จะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้ และแก้ขับพยาธิลำไส้ แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม
ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
ผล ผลดิบจะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
หมายเหตุ : น้อยหน่าจะออกดอกมากเมื่อมีการตัดแต่งกิ่งและแตกยอดใหม่เท่านั้น (ออกดอกเฉพาะกิ่งที่แตกใบใหม่เท่านั้น) แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง
แหล่งที่มา : http://clgc.rdi.ku.ac.th
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต
บ้านผมมี2 ต้นซื้อจากงานเกษตร แม่โจ้ เมื่อ5 ปีก่อน มันออกลูกใหญ่มาก
ตอบลบชาวบ้านมาขอกันใหญ่ ตอนนี้ สิงหาคม บ้าผมแขกเยอะ
ผม นาย บัฟ เชียงใหม่ครับ
ตอนนี้โรงเรียนสร้างมิ่งประสิทธิ์ผลได้ปลูกน้อยหน่าเพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประสบผลสำเร็จใครอยากแวะมาชมได้นะคะ
ตอบลบต้องการพันธ์น้อยหน่าค่ะ
ตอบลบทำไมน้อยหน่าผลแตกเพราะอะไร
ตอบลบสนใจกิ่งพันธ์ไม่ทราบขายอย่างไง
ตอบลบ