Knowledge


วิธีเรียนคณิตให้เก่ง เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้ได้ดี
เชื่อว่าผู้เรียนหลายคนคงจะพบปัญหากับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แล้วเราจะมีวิธีเรียนคณิตให้เก่ง  เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้ได้ดี วันนี้จะได้พบกับกลเม็ดเคล็ด (ไม่) ลับสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์
เราต้องเริ่มฝึกฝนการเป็นผู้เรียนที่ดี โดยสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.  เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้า หรือ ถามผู้รู้ต่อไป
2.  หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง
3.  จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้ รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้า ทำไม่ได้ตาม กำหนดควรหาเวลาชดเชย
4.  ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
5.  ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจากตำราหลายๆ เล่ม ต้องทำ ความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป ถ้าต้องการเชี่ยวชาญ คณิตศาสตร์ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลกใหม่มาทำมาก ๆ เช่นโจทย์แข่งขัน เป็นต้น
6. รู้ ๆ กันอยู่ว่า คณิตศาสตร์มีสูตร มีทฤษฎีมากมาย ทำอย่างไรถึงจะจำได้หมดล่ะ ? เราต้องเรียนด้วยความเข้าใจเสียก่อน จากนั้นเราต้องหมั่นทบทวน ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การจำการลืมก่อน
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เราควรทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นๆเสียก่อน และหมั่นทบทวนทุกวันด้วย อ้อ อีกนิดหนึ่ง ถ้าอยากจำได้ดีและเข้าใจในเรื่องนั้นๆมากขึ้น เราควรที่จะ มองเปรียบเทียบคณิตเรื่องนั้นกับ เรื่องราวในชีวิตประจำวัน เช่น มองสิ่งต่างๆที่พบเจอเป็นคณิตศาสตร์ เป็นต้นแล้วถ้า เกิดไม่ชอบวิชานี้เอามากๆ จะทำอย่างไรดีล่ะ ?
**สาเหตุที่ เรียนคณิตศาสตร์ได้ไม่ดีของหลาย ๆ คน มักมาจากการที่ไม่ชอบวิชานี้เอามากๆ ทำยังไงก็อ่านมันไม่เข้าใจ ทำใจให้ชอบมันไม่ได้เสียที มีหลักการง่ายๆที่ว่า ถ้าไม่ชอบมัน ก็เกลียดมันเสียเลยค่ะ คิดซะว่ามันเป็นคู่ต่อสู้ของเรา เราต้องเอาชนะมันให้ได้ อย่าไปยอมแพ้มัน ถ้าเกิดเรายอมแพ้แก่มัน…แล้วเราก็จะไม่มีวันชนะมันได้สักที ใช่ไหมล่ะค่ะ??
**สำหรับผู้ที่ไม่ชอบชอบวิชานี้ลองเปิดใจ เปลี่ยนทัศนคติใหม่ เปิดใจยอมรับ และมองในแง่ที่ดีกว่านี้ และก็ต้องขยันให้มาก ๆ

..................................................................................................................

อ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น โดยเคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
..................................................................................................................
  
เคล็ดลับการพัฒนาความจำในการเรียน
กระบวนการในการพัฒนาความจำ
ความจำ หมายถึง กระบวนการในการแสวงหา (acquire) สะสม (store) ข้อมูล ข้อสนเทศ ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม และนำเอาออกมาใช้
(retrieve) ในรูปแบบของการระลึกได้ (recall) หรือการจำได้ (recognition) ในบางโอกาสเราอาจรู้สึกเหมือนกับลืมเนื้อหา แต่ความเป็นจริงก็คือ เราไม่สามารถที่จะระลึกขึ้นมาได้หรือดึงความจำออกมาใช้งานได้ และไม่ได้เก็บความจำตั้งแต่แรกก็ได้ ดังนั้นจึงมีกระบวน
การในการพัฒนาความจำอยู่ 3 กระบวนการ คือ
1. การเปลี่ยนรหัสข้อมูล (encoding) เป็นกระบวนการแปลงข้อมูลที่ได้รับให้เป็นรูปแบบที่ใช้งานได้ และเก็บไว้ในสมองส่วนความจำ
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล (storage) เป็นกระบวนการเก็บสะสม ความรู้ ข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนจำนวนมากไว้ในสมองนอกเหนือการรับรู้ ยกเว้นเวลาที่ต้องการที่จะเรียกใช้
3. การกู้คืนหรือเรียกใช้ (retrievall) เป็นกระบวนการนำความจำที่ถูกเก็บไว้มาใช้ในระดับจิตสำนึก (conscious awareness) หรือความจำระดับใช้งาน (working memory)รูปแบบของความจำ
1. ความจำระดับการสัมผัส (Sensory Memory) เป็นลำดับแรกของความจำในลำดับนี้ข้อมูลในระดับของการสัมผัสจากสิ่งแวดล้อมจะถูกเก็บไว้ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมากแล้วมักจะไม่นานเกินครึ่งวินาทีสำหรับการมองเห็น และ 3-4 วินาที สำหรับการได้ยิน มนุษย์เราจะเลือกรับข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงจากความจำระดับนี้ เพื่อนำไปเก็บในความจำระยะสั้นต่อไป
2. ความจำระยะสั้น (Short - term Memory - working) บางทีเราจะเรียกความจำระดับนี้ว่าเป็นความจำที่กำลังทำงานอยู่ ซึ่งหมายถึงข้อมูลที่เรากำลังตระหนักหรือคิดถึงอยู่ ความจำระยะสั้นจะอยู่กับเราเพียงระยะเวลา 20 - 30 วินาที ส่วนใหญ่แล้วมักจะถูกลืมอย่างรวดเร็ว การให้ความใส่ใจกับความจำระยะสั้น จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนข้อมูลไปเก็บไว้ในระบบความจำระยะยาว
3. ความจำระยะยาว (Long - term Memory - working) ความจำระยะยาวคือข้อมูลที่ถูกเก็บอย่างต่อเนื่อง ในแนวคิดแบบจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ จะเรียกความจำนี้ว่า "ระดับก่อนสำนึก (preconscious) และจิตใต้สำนึก (unconscious) ข้อมูลในความจำระดับนี้ ส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือการรับรู้ของเรา แต่สามารถเรียกเข้ามาใช้ในความจำระดับทำงาน ข้อมูลบางส่วนอาจเรียกออกมาใช้ได้โดยง่าย แต่บางส่วนอาจนำออกมาใช้ได้ไม่ง่ายนัก
เคล็ดลับการพัฒนาความจำในการเรียน


1. การสร้างสมาธิในการเรียน โดยการใช้พลังความสามารถทางสติปัญญาในขณะเรียนรู้ ใจจดจ่ออยู่กับเนื้อหาที่เรียน กำจัดสิ่งรบกวนจิตใจออกไป สมาธิในการเรียนที่ดี จะช่วยให้กระบวนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การเก็บข้อมูลรวบรวมไว้เป็นความจำระยะยาว
2. การกำหนดโครงสร้างการอ่านทบทวนสาระวิชา มีสิ่งสำคัญอยู่ 3 ประเด็นคือ
- เป้าหมายการอ่าน ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น เรื่องที่จะอ่าน กำหนดเวลาในการอ่าน และการทำบันทึกย่อสรุปเนื้อหา
- การจัดลำดับเรื่องที่จะอ่านให้คละวิชากันไป จะเป็นการเพิ่มความ
น่าสนใจในการเรียน และความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะถูกนำมาใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
- การจูงใจตนเอง โดยการให้รางวัลกับตนเอง เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางจิตวิทยาที่ช่วยให้บุคคลมีการพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์
3. สร้างนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพราะการอ่านอย่างเร่งรีบในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ใกล้สอบนั้น ไม่สามารถเก็บความจำได้อย่างที่ต้องการ 

4. ใช้เครื่องมือช่วยจำ เช่น การบันทึกเนื้อหาเป็นเสียงไว้ฟังแทนการอ่าน การใช้ตัวย่อหรือศัพท์เฉพาะ หรือนิยาม หรือตัวอย่างอธิบายช่วยจำ บางทีเราอาจจำคำจำกัดความทั้งหมดไม่ได้ แต่หากอ่านตัวอย่างที่ประกอบซ้ำ ก็จะช่วยให้เข้าใจความหมายได้ดีขึ้น 
5. ใช้ภาพสื่อความหมาย บางคนใช้ประโยชน์ได้ดีกับความจำแบบกล้องถ่ายรูปภาพเพียง 1 ภาพ สามารถสื่อความหมายได้มากกว่าข้อความเป็นร้อยคำ ดังนั้นเมื่อศึกษาเอกสารลองให้ความสนใจกับรูปภาพประกอบในหนังสือ แผนภูมิ หรือวาดภาพด้วยตนเองเพื่อแสดงถึง
องค์ประกอบที่แตกต่าง เมื่อระลึกถึงเนื้อหาก็สามารถทำเป็นภาพออกมาทั้งโครงสร้างและนำมาขยายความและเชื่อมโยงให้ชัดเจนเพิ่มขึ้น
6. แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน เราอาจสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อผลัดกันสอน ก็จะช่วยในการเรียนรู้ ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาความจำ และสร้างสัมพันธภาพ
ที่ดีระหว่างกัน
7. ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเนื้อหาส่วนที่ยาก ควรให้เวลาค่อนข้างมากสักนิดโดยอาศัยการทบทวนบันทึกย่อ การตั้งโจทย์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ก็จะเป็นการย้ำความจำให้คงอยู่และนำไปใช้ประโยชน์ได้

8. พยายามฝึกตัวเองให้อ่านที่ไหน หรืออ่านเมื่อไหร่ก็ได้ โดยลองปรับเปลี่ยนช่วงเวลาหรือสถานที่อ่านหนังสือบ้าง เช่น หากคุ้นเคยกับการอ่านในห้องส่วนตัว ก็ลองเปลี่ยนสถานที่อื่นบ้าง หรือเคยอ่านในช่วงตอนกลางคืน ก็ลองใช้เวลาทบทวนในตนเช้าบ้าง การเปลี่ยนบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ จะทำให้เรามีความยืดหยุ่น และฉับไวมากขึ้นในการดึงความจำระยะยาวออกมาใช้งานไม่มีใครรู้อย่างแน่ชัดว่าสมองของมนุษย์สามารถเก็บรวบรวมสะสมข้อมูลได้มากเพียงใด และมีโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลเป็นอย่างไร หากเรารู้จักวิธีการที่จะเปลี่ยนรหัสข้อมูลความรู้ ความเข้าใจ เป็นความจำ และมีการเก็บสะสมข้อมูลหรือความจำได้อย่างเป็นระบบมีกระบวนการเรียกความจำที่เป็นประโยชน์มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็จะสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ภาพประกอบ : จากอินเตอร์เน็ต
ขอบคุณ : เนื้อหาจากวารสารข่าว มสธ. เดือน ต.ค. - ธ.ค. 2550

คนที่ใช่....กับ.....คนที่ชอบ


ความแตกต่าง

คนที่ใช่ - อยู่เคียงข้างเราเสมอ
คนที่ชอบ - อยู่เคียงข้างเราเมื่อมีเวลา

คนที่ใช่ - ให้เราได้ในทุก ๆ สิ่ง
คนที่ชอบ - ให้เราได้แค่บางสิ่ง

คนที่ใช่ - บอกเราเสมอว่า คิดถึง
คนที่ชอบ - พูดคำว่า คิด..แต่นานๆจะมี ถึง... -*-

คนที่ใช่ - โทรหาเราเป็นประจำทุกวัน
คนที่ชอบ - นาน ๆ ถึงจะโทรมาสักที

คนที่ใช่ - เราไม่สบายรีบพาไปหาหมอ
คนที่ชอบ - ก็รู้นะว่าไม่สบาย รีบกินยาละกัน

คนที่ใช่ - ไปไหนก็เป็นห่วงเราเสมอ
คนที่ชอบ - ไปไหนดูแลตัวเองด้วยนะ - -*

คนที่ใช่ - มองตาก็รู้แล้วว่าคิดอะไร
คนที่ชอบ - มองตาก็รู้บ้าง ไม่รู้บ้างว่าคิดไร

คนที่ใช่ - กินข้าวด้วยกันประจำ
คนที่ชอบ - นาน ๆ ที ถึงกินข้าวด้วยกัน

คนที่ใช่ - พาไปเดินห้าง ชอปปิ้ง
คนที่ชอบ - ไม่เดินห้าง ไม่ชอบเพราะคนมันเยอะ!

คนที่ใช่ - ไปดูหนังที่อยากดูด้วยกัน
คนที่ชอบ - ใครดูเรื่องไรแล้วค่อยมาเล่าให้ฟัง

คนที่ใช่ - ไม่เคยลืมวันเกิดเราเลยสักปี
คนที่ชอบ - จำได้เป็นบางปี - -*

คนที่ใช่ - ซื้อของราคาเป็นหมื่นให้
คนที่ชอบ - ไม่ได้ซื้อให้ แต่ทำให้แทน

คนที่ใช่ - อยากได้อะไรบอก ซื้อให้หมด
คนที่ชอบ - ไม่ต้องขอ อยากให้ เดี๋ยวให้เอง

คนที่ใช่ - ขับรถมาหาเราทุกวันได้
คนที่ชอบ - ขับรถมาหาเราได้แค่บางครั้ง

คนที่ใช่ - อยากไปไหนบอก เดี๋ยวพาไป
คนที่ชอบ - อยากไปไหนไม่ต้องบอก เดี๋ยวพาไปเอง

คนที่ใช่ - รอเราอาบน้ำ แต่งตัวได้เป็นชั่วโมง
คนที่ชอบ - ให้เวลาอาบน้ำ แต่งตัว แค่ 15 นาที! - -*

คนที่ใช่ - ส่งเราเข้านอนก่อน แล้วตัวเองค่อยไป
คนที่ชอบ - นอนก่อนนะ วันนี้ไม่ไหว..ง่วง!!

คนที่ใช่ - จะทำอะไร เรารู้หมดทุกอย่าง
คนที่ชอบ - ทำไรอะไร ที่ไหน เรารู้บ้างไม่รู้บ้าง

คนที่ใช่ - เดินเคียงข้าง ไม่ก็เดินตามหลัง
คนที่ชอบ - เดินเคียงข้าง ไม่ก็เดินนำหน้า

คนที่ใช่ - ข้ามถนนรีบจับมือเราก่อนทันที
คนที่ชอบ - ต่างคนต่างข้าม แค่ระวังหลังให้

คนที่ใช่ - อยากเจอเมื่อไหร่รีบมาทันที
คนที่ชอบ - อยากเจอหรอ รอว่างก่อนนะ

คนที่ใช่ - ไปเที่ยวไหนซื้อขนมมาฝากเสมอ
คนที่ชอบ - ไปเที่ยวไหนก็มีแต่ รูปถ่ายมาให้ดู


ความเหมือน
คนที่ใช่ - มีรถกี่คัน เอามาให้ขับหมดไม่เคยงก
คนที่ชอบ - อยากนั่งรถสปอร์ตคันไหน เอามาให้นั่งไม่เคยหวง

คนที่ใช่ - เซอร์ไพรส์ด้วยของขวัญสุดซึ้งแสนจะบรรยาย จนน้ำตาจะไหล
คนที่ชอบ - เซอร์ไพรส์ด้วยการขับ Supercar(ราคาสิบล้านขึ้น) มารับ-ส่ง ที่บ้านจะไม่ให้กรี๊ดได้ไง

คนที่ใช่ - พูดกับเราว่า ยังไงก็รัก
คนที่ชอบ - พูดกับเราว่า ยังไงก็หวง

คนที่ใช่ - พูดกับเราว่า ใครๆก็ไม่เหมือนเรา
คนที่ชอบ - พูดกับเราว่า เราไม่เหมือนใครๆ

คนที่ใช่ - พูดกับเราว่า คนพิเศษที่สุดคือเรา
คนที่ชอบ - พูดกับเราว่า เราเป็นคนพิเศษที่สุด

คนที่ใช่ - พูดกับเราว่า อยู่ใกล้ๆแล้วสบายใจ
คนที่ชอบ - พูดกับเราว่า สบายใจเมื่อได้อยู่ใกล้ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น