ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงหมูหลุม
1. การสร้างโรงเรือน
- เลือกสถานที่น้ำไม่ท่วมขัง
- วัสดุการก่อสร้างหาง่าย
- อากาศถ่ายเทสะดวก
- ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคาหญ้าคา
- ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 4 x5x1.8 เมตร เลี้ยงคอกละ 20 ตัว หลังคาควรมีแสงรอดผ่านหรือมีพื้นที่รับแสงได้ 1/3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน
ตัวอย่างโรงเรือนหมูหลุมจากวัสดุในท้องถิ่น
วิธีทำพื้นคอก |
1. ขุดหลุมลึก 90 ซม.ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่จะเลี้ยง โดยมีพื้นที่ต่อตัว 1- 1.5 เมตรต่อตัว
2. ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่ต้องเทพื้น
3. วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้นๆละ 30 ซม. โดยใช้วัตถุดิบดังนี้
- แกลบดิบ 4,300 กิโลกรัม
- มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม
- รำอ่อน 185 กิโลกรัม - น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติค
วิธีการเลี้ยง
การนำหมูเข้าเลี้ยงควรเป็นหมู่ที่หย่านมแล้ว น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม โดยเตรียมคอกและอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม คัดหมูที่ขนาดใกล้เคียงกัน ไว้ด้วยกันเพื่อ ป้องกันการรังแกกันในวันแรกที่นำหมูลงเลี้ยงไม่ต้องให้อาหารเพื่อ ป้องกัน ความเครียดแต่ควรให้ดื่มน้ำ ตัวอย่างอาหารและปริมาณการให้อาหาร แสดงในตาราง
| |
ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่ไว้ใจได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม
แม่พันธุ์หมู ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงการดูแลอื่นๆ
1. ในระยะเดือนแรก ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับสุกรหย่านมมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับรำโรงสีชาวบ้าน ในอัตรา 1: 3 ให้กิน 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เป็นเวลา 15 วันแรก หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จรูปลงจนครบ 1 เดือน ไม่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปอีกต่อไป โดยในกลางวันให้กินอาหารเสริมประเภทพืช ผัก และถ้ามีกากน้ำตาลให้หั่นพืชผักหมักกับกากาน้ำตาลทิ้งไว้ 1 วัน แล้วให้กินจะเป็นการดียิ่ง
2. ในระยะเดือนที่ 2 จนถึงจำหน่าย งดให้อาหารสำเร็จรูป เกษตรกรนำกากปลาร้าต้มกับรำข้าว หรือใช้ รำปลายข้าว ในอัตราส่วน 1:1 และเศษพืชผักเป็นอาหารเสริม โดยมีระยะเวลาเลี้ยง 3-3 เดือนครึ่ง ได้น้ำหนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม
น้ำหนักหมู(กิโลกรัม) | ชนิดอาหาร | ปริมาณ (กก/ตัว/วัน) |
12-20 | อาหารสำเร็จรูป | 1.0-1.5 |
20-35 | รำ+ปลายข้าว | 1.7-2.0 |
35-60 | รำ-ปลายข้าว | 2.5-3.0 |
60-100 | รำ+ปลายข้าว | 3.5-4.0 |
ต้นทุนการผลิต
1. ค่าโรงเรือน รวมอุปกรณ์ การให้น้ำและอาหาร เงิน 3,000 บาท
2. ค่าก่อกำแพงอิฐบล็อกภายในหลุมทั้ง 4 ด้าน เงิน 1,050 บาท
3. ค่าพันธุ์หมู 20 ตัวๆละ 1.200 บาท เงิน 24,000 บาท
4. ค่าจัดทำวัสดุรองพื้น เงิน 2,080 บาท ได้แก่ แกลบ 1 คันรถ เงิน 300 บาท มูลโค- กระบือ 24 กระสอบๆละ 10 บาท เงิน 240 บาท รำข้าว 576 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 1,440 บาท สารจุลินทรีย์ 100 บาท
5. ค่าอาหารหมู เงิน 6,575 บาท
- อาหารสำเร็จรูป 150 กก. ๆละ 10 บาท เงิน 1,500 บาท
- รำข้าว 1,750 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 4,375 บาท
- กากปลาร้า เงิน 100 บาท
- ปลายข้าว 120 กก. ๆละ 5.00 บาท เงิน 600 บาท
6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่นในการจัดอาหารเสริม เงิน 2,000 บาท
7. ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงิน 400 บาท (ไม่ได้คิดค่าแรงงาน) รวมต้นทุน 39,105 บาท
รายรับ
1. จำหน่ายสุกร 20 ตัวๆละ 3,000 บาท เงิน 60,000 บาท
2. ปุ๋ยชีวภาพที่ได้ 10 ตันๆละ 2,000 บาท เงิน 20,000 บาท
รวมรับ 80,000 บาท
ผลลัพท์จากการเลี้ยงหมูหลุม
การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการผลิตที่เหมาะสมกับการทรัพยากรและการบริโภค ในท้องถิ่นทำใ ห้เศรษฐกิจฐานล่างมีความเข้มแข็ง สนับสนุนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่
· ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม พึ่งพาการผลิตการบริโภคในท้องถิ่นเกิดความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน
· ด้านสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ครอบครัวมีงานทำหมุนเวียนตลอด ก่อเกิดรายได้ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
· ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตผสมผสานปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ใช้ทรัพยากร ผืนดินให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต ใช้วงจรชีวภาพหมุนเวียนให้เกิดการผลิตหลายรอบ ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
· ด้านสุขภาพ การเลี้ยงหมูที่ไม่เครียดทำให้มีสุขภาพดี และการเลี้ยงด้วยหญ้าจะทำให้เนื้อสัตว์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอไมก้า 3 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และไขมันอุดตันในหลอดเลือดสูง และผลผลิตปลอดภัยปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ มีผลทำให้สุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง Food Quality ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเช่นเดียวกับอาหารอินทรีย์