วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

ปลูกกระเจี๊ยบเขียว ผักส่งออก ทรงคุณค่า!!

สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมบล็อกของเรานะค่ะ วันนี้จะนำเรื่องของกระเจี๊ยบเขียวมาให้เพื่อนๆได้อ่านและเรียนรู้ค่ะ ว่ากระเจี๊ยบเขียวเนี่ยทำไม๊ เป็นผักทรงคุณค่าถึงส่งออกได้ และกระเจี๊ยบเขียวเนี่ยมีการปลูกกันอย่างไร กินกันอย่างไร เพราะเชื่อว่าบางท่านอาจจะยังไม่เคยได้ลองกินผักชนิดนี้เลยก็ได้ สำหรับผู้ที่เคยกินและชื่นชอบกระเจี๊ยบเขียวก็ลองอ่านคุณประโยชน์และวิธีการปลูกกันว่าเป็นอย่างไรค่ะ มารู้จักกระเจี๊ยบเขียวกันอย่างละเอียดกันเลยค่ะ กระเจี๊ยบเขียว บางพื้นที่เรียกกันว่า มะเขือมอญ กระต้าด มะเขือมื่น ถั่วเละ แล้วแต่ล่ะพื้นที่เรียกกันค่ะ กระเจี๊ยบเขียวเป็นไม้ล้มลุก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขนหยาบ ลำต้นมีสีเขียว กลม เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1-3 ซม. มีใบเดี่ยวเป็นแฉก ลึกและกว้าง 7-26 ซม. ยาว 10-30 ซม. ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบเป็นสีม่วงแดง อับติดกันเป็นหลอด
 เป็นพืชผสมตัวเอง มีทั้งเกษรตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียวกัน
ฝักกระเจี๊ยบเขียว มีรูปเรียวยาว ปลายฝักแหลม มีทั้งชนิด ฝักกลมและฝักเหลี่ยม ซึ่งมีเหลี่ยม 5-10 เหลี่ยม ขึ้นกับพันธุ์ในแต่ละฝักมีเมล็ด 80-200 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมรี ขนาดเดียว กับถั่วเขียว เมล็ดอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่มีสีเทา ฝักแก่สีฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกออกตามแนวรอยสัน เหลี่ยมทำให้เห็น เมล็ดที่อยู่ข้างในประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียว  ผลอ่อนใช้ ลวกนึ่ง หรือเผาไฟ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำผลอ่อนมาทำเป็นแกงส้ม

สภาพแวดล้อมของกระเจี๊ยบเขียวกระเจี๊ยบเขียว เป็นผักที่ปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกและเติบโตคือ 20-30 องศาเซลเซียส กระเจี๊ยบเขียวขึ้นได้ที่อุณหภูมิต่ำสุด 18 องศาเซลเซียส ซึ่งในอุณหภูมิต่ำจะเจริญเติบโตช้าลง และถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส จะไม่
เจริญเติบโตเลย กระเจี๊ยบเขียวเติบโตได้ดี ในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีน้ำขังแฉะหรือระบายน้ำยากและดินที่เป็นกรดจัด พีเอสควรอยู่ระหว่าง 6.0-6.8การ
ปลูกจะใช้เมล็กพันธุ์ ประมาณ 500 กรัม/ไร่ พันธุ์พื้นเมืองจะมีต้นสูงใหญ่ มีหลากหลายพันธุ์เช่น  ลักกี้ไฟล์เบอร์ 473 และพันธุ์เซาท์ซี่ เบอร์ 474
ประโยชน์และสรรพคุณ  ผลแห้ง ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้ มีสารช่วยเคลือบกระเพาะ บำรุงสมอง และแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ หากรับประทานติดต่อกัน 15 วัน
คนที่ไม่เคยลองรับประทานอาจจะรับประทานยากสักหน่อยนะค่ะ เพราะฝักของกระเจี๊ยบเขียวจะมี ยางเมือกๆหุ้มเมล็ด ทำให้คนไม่เคยรับประทานจะพิอักพิอ่วน แต่ยางเมือกๆนั้นแหล่ะค่ะ มีประโยชน์ที่สุด
พันธุ์และแหล่งพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวกระเจี๊ยบเขียว มีพันธุ์ต่าง ๆ มากมายซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งความสูงของต้น ความยาวของฝักและสีฝัก พันธุ์พื้นเมืองเดิมจะมีเหลี่ยมบนฝักมากประมาณ 7-10 เหลี่ยม พันธุ์กระเจี๊ยบเขียวที่ใช้ปลูกเพื่อการส่งออกฝักสด และแช่แข็ง จะต้องเป็นพันธุ์ที่มีฝัก 5 เหลี่ยม สีฝักเขียวเข้ม มีเส้นใยน้อย ลำต้นเตี้ย ผิวฝักมีขนละเอียด ฝักดกให้ผลผลิตสูง ซึ่งพันธุ์ที่ใช้ปัจจุบันได้แก่
1. พันธุ์ของประเทศไทยปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะฝักมีสีเขียวปานกลาง ฝักเมื่อตัดตามขวางเป็นรูปห้าเหลี่ยม ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง ราคาเมล็ดพันธุ์ 50-80 บาทต่อกิโลกรัม พันธุ์เหล่านี้ผู้ส่งออกและแปรรูปสามารถนำไปทดสอบตลาดได้ โดยเฉพาะตลาดยุโรป หรืออื่น ๆ
2. พันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง จากประเทศญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ที่มีคุณสมบัติฝักอ่อนที่ตลาดญี่ปุ่นนิยมมาก ลักษณะฝักสีเขียวเข้มมาก ปลายฝักไม่มีจงอยยาว เมื่อตัดตามขวางของฝักเป็นรูป 5 เหลี่ยม ซึ่งมีเหลี่ยมเห็นได้ชัดเจน ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง ราคาเมล็ดพันธุ์แพงมากประมาณ 2,000-5,000 บาทต่อกิโลกรัม
3. พันธุ์ผสมเปิดจากต่างประเทศ ได้แก่ เคลมสัน สปายน์เลส ซึ่งฝักกลมป้อมและพันธุ์ดวอร์ฟกรีน สปายน์เลส ซึ่งมีฝักเรียวยาว เป็นพันธุ์ที่มี 8 เหลี่ยม สีเขียวปานกลางใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง
4. พันธุ์ที่เกษตรกรเก็บพันธุ์เอง ซึ่งต้องทำอย่างถูกวิธีจะมีผลต่อคุณภาพฝักมาก อย่างไรก็ตามพันธุ์ที่จะใช้ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อกำหนดเป็นประการสำคัญ ซึ่งผู้ปลูกต้องทำการตกลงกับผู้ซื้อก่อนปลูก
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชผักส่งออกที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ ทั้งในรูปของผลสดและแช่แข็ง ปีละประมาณ 5,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาทเลยทีเดียวค่ะ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะนำกระเจี๊ยบเขียวส่งไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นเพราะว่ามีระเบียบการจัดการเกี่ยวกับพืชผักที่ต้องส่งออกโดยกรมส่งเสริมการเกษตรค่ะ ต้องศึกษาให้ละเอียดค่ะ สำหรับการจะนำกระเจี๊ยบเขียวส่งออกนั้นมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
เงื่อนไขการส่ออกกระเจี๊ยบเขียวไปญี่ปุ่น
1. ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตต้องเป็นสมาชิกที่ได้รับการรับรองแหล่งผลิตกระเจี๊ยบเขียวื (GAP) หรือรับรองระบบการผลิตกระเจี๊ยบเขียว (Food Safety) จากกรมวิชาการเกษตร
2. กรมวิชาการเกษตรจะออกเลขที่สมาชิกพร้อมกับส่งเลขสมาชิกและรายละเอียดของผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกไปยังกระทรวงสารธารณะสุขของญี่ปุ่น
3. การส่งออกจะต้องแนบใบรับรองตรวจวิเคราะหืสารตกค้างของกรมวิชาการเกษตรในรูปแบบใบรับรองที่มีการตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับไทยแล้วไปพร้อมกับสินค้า และใช้ตราสัญลักษณ์ (LOGO) ของโครงการณ์นำร่องฯที่หีบห่อผลิตภัณฑ์
4. กรณีที่ผู้ผลิตผู้ส่งออกเป็นสมาชิกประเภทรับรองแหล่งผลิต (GAP) ของกรมวิชาการเกษตรหลักเกณฑ์การออกใบรับรองสารตกค้างให้ คือ ต้องสุ่มตรวจสินค้าทุกล็อตเพื่อวิเคราะห์สารตกค้าง
5. กรณีผู้ผลิตผู้ส่งออก เป็นสมาชิกประเภทรับรองระบบการผลิต (Food Safety) ของกรมวิชาการเกษตรหลักเกณฑ์การออกใบรับรองสารตกค้างให้สุ่มตรวจสินค้าบางล็อตเพื่อวิเคราะห์สารตกค้าง

ฤดูปลูก กระเจี๊ยบเขียวกระเจี๊ยบเขียว  สามารถปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย แต่การปลูกเพื่อส่งออกต่างประเทศ จะปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคมเท่านั้น เนื่องจากตลาดหลักคือประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถปลูกได้ในช่วงนี้ ญี่ปุ่นจะปลูกกระเจี๊ยบเขียวทางตอนใต้ของประเทศและจะหยุดปลูกในช่วงฤดูหนาวและเริ่มปลูกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ซึ่งผลผลิตจะออกราวเดือนพฤษภาคม การจะเริ่มปลูกเมื่อใดเกษตรกรต้องคำนึงถึงตลาดรับซื้อ ซึ่งจะต้องกำหนดแผนร่วมกันโดยมากจะหยอดเมล็ดราวเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เพื่อเก็บเกี่ยวประมาณตุลาคมถึงเมษายน หรือตามผู้ซื้อต้องการ

ระยะปลูกกระเจี๊ยบเขียวและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้
การปลูกอาจทำได้ทั้งแบบร่องสวนและแบบไร่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกจำนวน 1-2 ต้นต่อหลุม เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว 100 เมล็ดหนัก 6-7 กรัม เมล็ดหนัก 1 กิโลกรัม = 16,666-14,285 เมล็ด อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ = 1 กิโลกรัม

การเตรียมแปลงปลูกกระเจี๊ยบเขียวและการปลูกกระเจี๊ยบเขียว เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง การเตรียมดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตนานถึง 6 เดือน ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสม
การเตรียมแปลงปลูกและการปลูกแบบไร่คือปลูกในสภาพพื้นที่ซึ่งเคยปลูกอ้อยหรือปลูกข้าวโพดอ่อนไม่มีร่องน้ำ ดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี การเตรียมแปลงใช้แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ 1-2 ครั้ง แล้ว
ยกร่องไถดิน ตากดิน 3-5 วัน ไถครั้งที่ 2 พรวนดิน แล้วยกร่องด้วยแทรกเตอร์ ยกร่องกว้าง 75 เซนติเมตร (ให้น้ำแบบร่อง) ใช้จอบปรับร่องให้เสมอเพื่อน้ำจะได้เข้าแปลงได้ดี ใช้จอบตีหลุมซึ่งหลุมปลูกจะอยู่ต่ำกว่าขอบแปลงประมาณ 1 คืบ ปลูกแถวคู่ ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร
พื้นที่ 1 ไร่ เตรียมหลุมปลูก 8,480 หลุม ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ด เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น โรคฝักจุดหรือฝักลายโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเอาเมล็ดพันธุ์มาผึ่งให้แห้งพอหมาดคลุกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคในกลุ่มของเบนโนมิลและไทแรม เช่น เบนเลทที อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือสาวในกลุ่มไทอะเบนดาโซน เช่น พรอนโต อัตรา 120 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม

การให้น้ำกระเจี๊ยบเขียวกระเจี๊ยบเขียว ชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ
การให้ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียวเนื่องจากระยะเวลาในการปลูกกระเจึ๊ยบเขียวยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
อายุการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียวกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่โตเร็ว เมื่ออายุได้ 40 วัน จะเริ่มออกดอก หลังดอกบาน 5 วัน ฝักจะยาว 4-9 เซนติเมตร ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตฝักสดได้ มีขนาดและคุณภาพฝักดี คือ ฝักกระเจี๊ยบมีความอ่อนนุ่มมีรสชาด และเนื้อสัมผัสที่ผู้บริโภคพอใจ อ่อน ไม่มีเส้นใยตรงตามที่ตลาดต้องการ ฝักกระเจี๊ยบเขียวโตเร็วมากโดยเฉพาะอากาศร้อนจะเติบโตวันละ 2-3 เซนติเมตร เกษตรกรจึงต้องเก็บเกี่ยวทุกวัน และไม่ควรปล่อยทิ้งฝักที่สามารถตัดได้ให้หลงเหลืออยู่บนต้น เพราะต้นจะต้องส่งอาหารมาเลี้ยง ทำให้ผลผลิตต่ำ เกษตรกรจะสามารถเก็บฝักที่มีคุณภาพดีได้ประมาณ 1 -2 เดือน ฝักที่แตกยอดจะเริ่มหมดและไม่แข็งแรง สังเกตจะมีกิ่งแขนงออกจากต้น 2-3 กิ่ง ควรตัดต้นทิ้ง เพื่อให้แตกแขนงใหม่ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้อีกประมาณ 2 เดือน ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยตลอดฤดูปลูก 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน หรือประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก (ก.ย.-พ.ค.) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และความยาวนานในการเก็บผลผลิต

การเด็ดใบกระเจี๊ยบเขียวในแปลงที่กระเจี๊ยบเขียวเจริญและมีใบมากเกินไป ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงฝักด้านล่าง ฝักจะมีสีซีด ซึ่งตลาดไม่ต้องการ ควรตัดใบทิ้งบ้างเพื่อให้ต้นโปร่งการเด็ดใบทิ้งจะได้ผลมากในกรณีที่ปลูกแบบแน่นขนัด เพราะช่วยให้อากาศไหลเวียนดีขึ้น ป้องกันการเกิดโรค แมลงรบกวนและง่ายต่อการปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วย การตัดใบอาจทำได้โดยสะดวก โดยระหว่างเก็บเกี่ยวให้ตัดใบทิ้งทีละใบพร้อม ๆ กับการตัดฝักทุกครั้ง จนกระทั่งเหลือใบใต้บริเวณที่จะติดผลไว้ต้นละ 2-3 ใบ อย่างไรก็ตามการเด็ดใบมากเกินไป จะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโต และทำให้ฝักพองโต การเด็ดใบจึงขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย
การตัดต้นกระเจี๊ยบเขียวเมื่อเก็บเกี่ยวได้ 1 1/2 เดือน ผลผลิตจะเริ่มลดลง ควรตัดต้นทิ้งให้แตกกิ่งด้านข้าง ซึ่งจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และมีปริมาณมากกว่าเดิม การตัดต้นต้องตัดให้เหลือตาสำหรับแตกกิ่งแขนงด้านข้างหลังจากตัดแล้ว 6-7 ตา ซึ่งมักจะตัดให้เหลือตอสูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร จากพื้นดิน หลังจากตัดต้นแล้วควรใส่ปุ๋ยและดูแลรักษาอย่างดี เพื่อให้แตกแขนง การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้จำเป็นมากเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นแก่ชรา สามารถปลูกระยะยาวได้

แมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียวหนอนกระทู้หอม (หนอนหลอดหอม หนอนหอม หนอนหนังเหนียว)
Beet Armyworm
Spodoptera exigua
ลักษณะ เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มสีขาว หนอนโตเต็มที่มีขนาด 3 เซนติเมตร สีของหนอนมีแตกต่างกันได้ เช่น สีเขียวอ่อนเทา น้ำตาล น้ำตาลดำ เป็นต้น ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือ หนอนมีลำตัวอ้วนผนังลำตัวเรียบ มีแนวสีขาวพาดไปตามความยาวด้านข้างของลำตัวเมื่อโตเต็มที่จะเคลื่อนย้ายมาบริเวณโคนต้น เพื่อเข้าดักแด้ในดิน
การระบาด พบระบาดรุนแรงในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ในแหล่งปลูกผักทั่วไปในเขตภาคกลาง หนอนกระทู้หอม มีพืชอาหารมากมาย นอกจากทำลายกระเจี๊ยบเขียวแล้วยังพบระบาดในพืชหลายชนิด เช่น พืชตระกูลกะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง หอม มันเทศ องุ่น และไม้ดอกต่าง ๆ การระบาดมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น หากเกษตรกรปล่อยปละละเลย เนื่องจากมีพืชอาหารตลอดปี
การทำลาย กัดกินทุกส่วนของพืช เช่น กิ่ง ก้าน ใบ และฝัก ทำให้ฝักเป็นรูไม่ได้คุณภาพ
การป้องกันกำจัด หนอนชนิดนี้ได้พัฒนาต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมากมายหลายชนิด การป้องกันกำจัด
ในพืชผักส่งออกที่ต้องเก็บเกี่ยวทุกวันการใช้สารฆ่าแมลง จะต้องคำนึงถึงพิษตกค้างของสารฆ่าแมลงในผลผลิตให้มาก ซึ่ง
 แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้1. วิธีกล วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด หากมีแรงงานเพียงพอนั่นคือเมื่อพบกลุ่มไข่หรือหนอนกระทู้หอมในแปลงปลูก ให้เก็บทำลายเสียทันที วิธีนี้ช่วยลดการระบาดได้มาก
2. ชีววิธี โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ ไวรัส (เอ็น พี วี) ของหนอนกระทู้หอม ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบในอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นทุก 5 วัน/ครั้ง ในช่วงเวลาเย็น เมื่อมีการระบาด
3. การใช้สารฆ่าแมลง โดยการฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis) เช่น เดลฟิน ดับบลิวจี อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือเซนทารี ดับบลิวดีจี อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมกับสารจับใบ ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น 5 วัน/ครั้ง จนกว่าการระบาดจะลดลง
เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายCotton leafhopper
Amarasca biguttula Ishida
ลักษณะ ตัวอ่อนมีสีเขียวอมเหลืองจาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนตัวเต็มวัย มีสีเขียวจาง ปีกโปร่งใส ขนาดลำตัวยาว 2.5 มิลลิเมตร บินเร็วมากเมื่อถูกรบกวน
การระบาด พบตามแหล่งปลูกทั่ว ๆ ไประบาดระหว่างฝนตกทิ้งช่วง นาน ๆ ช่วงที่พบระบาดจั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม
การทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบกระเจี๊ยบเขียวและจะพบจำนวนเพลี้ยจั๊กจั่นมากจากใบที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ผลจากการทำลายจะทำให้ขอบใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จนกระทั่งแดงและงอ ใบจะเหี่ยวแห้งและร่วงในที่สุด ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตลดต่ำลงมาก
การป้องกันกำจัด เมื่อพบจำนวนตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายมากกว่า 1 ตัว/ใบ ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่
1. พ่นสารฆ่าแมลง เมทามิโดฟอส (methamidophos) เช่น ทามารอน 600 เอสแอล อัตรา 40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือไดเมทโธเอท (Dimethoate) เช่น โฟลิแมท 800 เอสแอล ควรพ่นในช่วงกระเจี๊บยเขียวยังเล็ก หรือช่วงที่ไม่ติดฝัก หรือในช่วงอายุกระเจี๊ยบเขียวไม่เกิน 45 วัน
2. กรณีที่กระเจี๊ยบเขียวติดฝักแล้ว ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงพวกสารไพรีทรอยด์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ไซฮาโลทริน (cyhalothrin) เช่น คาราเต้ 2.5% อีซี อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัลฟ่า ไซเปอร์เมทริน (alpha cypermethrin) เช่น คอนคอร์ด 10% อีซี อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือเฟนโพรพาทริน (fenpropathrin) เช่น แดนนิตอล 10% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 วันครั้ง
หนอนกระทู้ผัก
Cotton Leaf WormSpodoptera litura E.
การระบาด มักพบทำลายกระเจี๊ยบเขียวเสมอ ๆ ไม่จำกัดฤดูกาลการทำลาย แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มใหญ่ นับร้อยฟอง คลุมด้วยขนสีฟางข้าวบริเวณใบพืชหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่กันเป็นกลุ่มแทะกินผิวใบ
ลักษณะ ลักษณะหนอนจะมีลำตัวอ้วนผิวหนังเรียบ ลายสีดำจะสังเกตเห็นแถบดำที่คอชัดเจน ตัวโตเต็มที่ประมาณ 3-4 ซม. เคลื่อนไหวช้า การทำลาย ความเสียหายมักพบในระยะหนอนโต โดยทำลายดอกและฝักทำให้เกิดเป็นรอยเจาะเสียคุณภาพ
การป้องกันกำจัด
1. หนอนกระทู้ผักสามารถป้องกันจำกัดได้ไม่ยาก เมื่อพบกลุ่มไข่หรือหนอนที่ฟักออกจากไข่ควรเก็บทำลาย หากปล่อยให้หนอนโตจนหนอนจะแยกย้ายหลบซ่อนตัว กัดกินเจาะเป็นรูสึก ในใบ ดอก และฝัก
2. กรณีที่มีการระบาดรุนแรง ควร
พ่นด้วยสารเมทโธมิล (methomyl) เช่น แลนเนท 18% แอลซี อัตรา 40-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือสาร ไพรีทรอยด์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไซฮาโลทริน (cyhalothrin) คาราเต้ 2.5% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ช่วงพ่น 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง

หนอนเจาะสมอฝ้ายCotton bollworm
Heliothis armigera Hubner
ลักษณะ เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง วางไข่ฟองเดี่ยวตามบริเวณสวนของพืช เช่น ใบ ดอกตูม และฝัก ไข่มีสีขาวนวล ลักษณะกลมคล้ายฝาชี หนอนโตเต็มที่ ขนาด 4 ซม. มีสีสรร แตกต่างกัน ผิวลำตัวมีเส้นขนเล็ก ๆ ทั่วไปตรงรอยต่อระหว่างปล้อง
การระบาด ระบาดรุนแรงในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ในแหล่งปลูกกระเจี๊ยบเขียวทั่วไป เนื่องจากมีพืชอาหารมากมาย เช่น ฝ้าย ยาสูบ ข้าวโพด ส้ม เป็นต้น การทำลาย จะกัดกินส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก และฝัก ทำให้ฝักเป็นรูไม่ได้คุณภาพ
การป้องกันกำจัด
1. เก็บหนอนและกลุ่มไข่ที่พบในแปลงปลูก
2. ใช้เชื้อไวรัสของหนอนเจาะสมอฝ้าย อัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร 4 วันติดต่อกัน 4-5 วัน/ครั้ง หากพบระบาดรุนแรง
3. ควรพ่นสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งได้แก่ เมทโธมิล (methomyl) เช่น แลนเนท 18% แอลซี อัตรา 40-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือกลุ่มไพรีทรอยด์ พวกไซฮาโลทริน (cyhalothrin) เช่น คาราเต้ 5% อีซี อัตรา 10-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือสารระงับการลอกคราบได้แก่ คลอฟลูอะซูลอน (chlorfluazuron) เช่น อทาบรอน 5% อีซี อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4 วันติดต่อกัน 4-5 ครั้ง หากระบาดรุนแรง
เพลี้ยไฟ Thrips palmi karny
การระบาด พบระบาดทั่วไปตามแหล่งปลูก ส่วนมากระบาดในสภาพอากาศแห้งแล้ง
ลักษณะ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีขนาดไม่เกิน 1.5 ซม. สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
การทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายพืชโดยใช้ปากเขี่ยดูดน้ำเลี้ยงที่ฝักทำให้กระเจี๊ยบเขียวมีตำหนิ และเป็นปุ่มปม เสียคุณภาพ
การป้องกันกำจัด ถ้ามีการระบาดรุนแรงควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้ คือ คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) พอสซ์ 20% อีซี อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 50 ลิตร หรือ เมทธิโอคาร์บ (methiocarb) เช่น เมซูโรล 50 % ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทำการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทุก 5 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง และควรพ่นในช่วงเช้า เพราะเพลี้ยไฟมีช่วงการบิน เวลา 8.00-13.00 น.
ยังมีแมลงศัตรูอีกหลายชนิดที่พบทำลายกระเจี๊ยบเขียว ได้แก่ เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยแป้ง, หนอนคืบ เป็นต้น ซึ่งการทำลายยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในขณะนี้ จึงยังไม่กล่าวถึงรายละเอียด ในที่นี้จากที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น ถึงแม้ว่าการปลูกกระเจี้ยบเขียวในการส่งออกในปัจจุบันจะประสบกับปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมากมายหลายชนิด หากผู้ปลูกได้รู้จักชนิดของแมลงศัตรูพืชสำคัญตลอดจนถึงวิธีการป้องกันกำจัดที่ถูกต้อง และมั่นสำรวจแมลงศัตรูในแปลง อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอก็จะช่วยลดปริมาณการระบาดลงได้
โรคกระเจี๊ยบเขียว
โรคใบจุด
(Leaf spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora abelmoschi (Ell’ & Ev.) Deighton
ลักษณะอาการ มักจะเป็นกับต้นกระเจี๊ยบเขียวที่มีอายุตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป ในระยะเริ่มแรกเชื้อราจะเข้าทำลายที่ใบล่างของลำต้น และจะลุกลามขึ้นไปสู่ยอดเมื่อพลิกด้านล่างของใบดูพบว่าจะมีเชื้อราสีขาวเป็นผงคล้ายแป้ง หรือถ้าระบาดรุนแรงจะมีสีเทาปนดำ ด้านหน้าใบจะเป็นแผลสีเหลืองปนน้ำตาล ต้นทรุดโทรมเร็ว ใบร่วงและแห้งตายในที่สุด กระเจี๊ยบเขียวไม่ติดฝักหรือติดฝักน้อย ไม่สมบูรณ์ คดงอ แคระแกร็น ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็วในปลายฤดูฝน โรคจะทวีความรุนรงมากขึ้น ในฤดูหนาวตามแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เนื่องจากหมอกและน้ำค้าง เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมหหรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกระเจี๊ยบเขียว


การป้องกันกำจัด1. เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทำลายเสีย ทั้งนี้รวมถึงเศษพืชที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดินด้วย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจาย และเป็นการลดปริมาณของเชื้อราในแปลงปลูก
2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มโปรปิแน็บ (propineb) เช่น แอนทราโคล (Antracol 70% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น เอซินแมก (Azinmag 80% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดมาก แต่ถ้าอาการของโรคลดลงควรพ่นให้ห่างออกไปเป็น 10-15 วันครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
โรคฝักจุดหรือฝักลาย (Pod spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์จะแสดงอาการเมื่อกระเจี๊ยบเขียวเริ่มติดฝักเมื่ออายุ 45-50 วันหลังจากปลูก ทำให้เกิดเป็นจุดสีดำหรือสีน้ำตาลเล็ก ๆ เท่าปลายเข็มหมุดที่ผิวของฝัก แผลเหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วไป จำนวนแผลจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมื่อระบาดรุนแรงแผลบนฝักจะขยายมองเป็นจุดใหญ่หรือแผลติดต่อเป็นทางยาวสีน้ำตาลเข้ม
การแพร่ระบาด เนื่องจากโรคนี้ติดมากับเมล็ดพันธุ์และจะแพร่ระบาดได้รวดเร็วในฤดูฝนถึงฤดูหนาว โดยโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เชื้อราจะแพร่ไปตามน้ำที่รดหรือปลิวไปกับลมทำให้โรคระบาดรุนแรงกว้างขวางขึ้นในบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มของเบนโนมิล + ไทแรม (benomyl + thiram) เช่น เบนเลท ที (Benlate T 20% W.P.) ในอัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์ หรือสารในกลุ่มไทอะเบนดาโซล (thiabendazole) เช่น พรอนโต้ (Pronto 45% W.P.) อัตรา 60 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์ พรมน้ำบนเมล็ดพอเปียกแล้วโรยสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว ข้างต้นลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว ผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำเมล็ดไปปลูก
2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มไอโปรไดโอน (iprodione) เช่น รอฟรัล (Rovral 50% W.P.) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน หลังจากกระเจี๊ยบเขียวติดฝัก แต่มีข้อจำกัดของการใช้สารชนิดนี้ คือ ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรใช้สารชนิดอื่นพ่นสลับกันไป เช่น ใช้สารในกลุ่ม โปรพีเนบ + ไซมอกซานิล (propineb + cymoxanil) ซึ่งมีชื่อว่าไดอะมีเทน (Diametane 75% W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน สลับกับรอฟรัล
3. ฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรค หลังจากคัดทิ้งแล้วควรเก็บรวบรวมไปเผาทำลายเสีย ไม่ควรเอาไปทิ้งไว้ตามขอบแปลงหรือบริเวณรอบ ๆ แปลงปลูก จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น
 โรคฝักจุดหรือโรคแอนแทรคโนส (Antracnose)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp.
ลักษณะอาการ โรคนี้จะเข้าทำลายบนฝักกระเจี๊ยบเขียวร่วมกับโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. แต่ลักษณะอาการของโรคแอนแทรคโนสจะรุนแรงกว่า ทำให้เกิดแผลสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เป็นขีด ๆ สั้น ๆ ไม่กลมเหมือนแผลของโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. แผลกระจายทั่วไปบนฝักกระเจี๊ยบเขียว ขอบแผลจะมีรอยช้ำคล้ายน้ำร้อนลวก แผลจะบุ๋มหรือยุบตัวลงไปจากเนื้อเยื่อของฝัก
การแพร่ระบาด โรคนี้ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วในฤดูฝน และในฤดูหนาวที่มีหมอกและน้ำค้างหรือแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะการปลูกแบบร่องจีนตามสวนผักทั่ว ๆ ไป แถบหนองแขม นครชัยศรี สามพราน เชื้อราจะแพร่ไปกับน้ำที่ใช้รดหรือปลิวไปตามลม ระบาดได้รุนแรงติดต่อไปยังบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้
1. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มของแมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น ไดเทน เอ็ม-45 (Dithane M-45) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15 วัน สลับกับสารในกลุ่มของไทอะเบนดาโซล (thaibendazole) เช่นพรอนโต (Pronto 45% W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน
2. เก็บรวบรวมฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรคคัดทิ้งส่งตลาดไม่ได้ไปเผาทำลายให้หมด เพื่อไม่ให้เชื้อราแพร่ระบาดต่อไป ไม่ควรนำไปกองไว้รอบบริเวณแปลงปลูก จะทำให้โรคนี้แพร่ระบาดรวดเร็ว
โรคกระเจี๊ยบเขียว
วิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวฝัก กระเจี๊ยบเขียว จะเกิดการเหี่ยวหรือชอกช้ำได้ง่าย เนื่องจากเก็บเกี่ยวในระยะฝักอ่อน มีอัตราการตายใจสูง การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติต่าง ๆ หลังจากเก็บฝักแล้วจึงต้องทำอย่างปราณีตั้งแต่วิธีการเก็บจนถึงการเลือกภาชนะบรรจุหีบห่อ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว
1. มีดเล็กหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งซึ่งต้องคมเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ช้ำ
2. ถุงมือผ้าและถุงมือยางเพราะกระเจี๊ยบเขียวมีขนซึ่งระคายเคืองผิวหนังมาก
3. ภาชนะที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นิยมใช้ถังพลาสติก ซึ่งมีขนาดเล็ก 2-3 กิโลกรัมไม่ควรใหญ่กว่านี้
4. ภาชนะที่ใช้บรรจุผลผลิตและขนส่ง ควรให้ตะกร้าพลาสติกบรรจุฝักซึ่งมีรูระบายอากาศโดยรอบ เกษตรกรนิยมใช้เข่งไม้บุด้วยฟองน้ำบางและถุงปุ๋ย ซึ่งกันกระทบกระแทกได้พอควรแต่มีข้อเสีย คือ จะอับร้อนมาก ถ้ารอการขนส่งนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง จึงควรทำการเจาะรูให้ระบายอากาศได้โดยรอบ ขนาดบรรจุของเข่งหรือตะกร้าไม่ควรเกิน 12 กิโลกรัม
วิธีเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียว
1. ควรเก็บเกี่ยวเวลาเช้าตรู่ 6-9 นาฬิกา ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกระเจี๊ยบเขียวทีละฝัก อย่าตัดหลายฝัก วางในภาชนะอย่าโยน การตัดขั้วต้องตัดให้ตรง มีก้านติดไม่เกิน 1 เซนติเมตร และอย่าให้เป็นปากฉลาม ซึ่งจะขีดข่วนหรือทำให้ฝักอื่นเสียหายมาก เมื่ออยู่ในภาชนะบรรจุ
2. ภาชนะบรรจุผลผลิตต้องวางไว้ในที่ร่มเสมอ เช่น ใต้ร่มไม้ ถ้าไม่มีควรใช้ร่มกาง อย่าทิ้งไว้กลางแดด และรีบน้ำเข้าโรงพักผลผลิตโดยเร็วโรงพักผลผลิตควรมีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับทึบ อาจจะเป็นชั้นมีหลังคา ใต้ถุนบ้านหรือเพิงก็ได้
การขนส่งรีบขนส่งโดยเร็ว ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรนานกว่า 2 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว และไม่วางภาชนะซ้อนกัน ระหว่างขนส่ง รถขนส่งถ้าไม่มีห้องเย็นควรโปร่งไม่ปิดทึบ
การคัดการบรรจุหีบห่อและการแปรรูปกระเจี๊ยบเขียว
1. การลดอุณหภูมิของผลผลิตจากแปลงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ซึ่งต้องทำก่อนการบรรจุหีบห่อ โดยการล้างด้วยน้ำเย็นที่สะอาดจำนวนมาก แช่กระเจี๊ยบเขียวให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 10-15 องศาเซลเซียส น้ำล้างอาจผสมคลอรีน 200 พีพีเอ็ม เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. ผึ่งให้แห้ง ในกรณีต้องรอการคัดเลือกและบรรจุนาน ควรนำเข้าห้องเย็น
3. สำหรับการส่งออกสดนำออกมาคัดเกรดและบรรจุลงในถุงตาข่ายไนล่อนและกล่องกระดาษ การส่งออกสดไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป นิยมใส่ถาดโฟม เก็บรักษาในห้องเย็นเพื่อรอการขนส่งต่อไป
วิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียวฝักกระเจี๊ยบเขียว จะเกิดการเหี่ยวหรือชอกช้ำได้ง่าย เนื่องจากเก็บเกี่ยวในระยะฝักอ่อน มีอัตราการตายใจสูง การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติต่าง ๆ หลังจากเก็บฝักแล้วจึงต้องทำอย่างปราณีตั้งแต่วิธีการเก็บจนถึงการเลือกภาชนะบรรจุหีบห่อ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว
1. มีดเล็กหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งซึ่งต้องคมเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ช้ำ
2. ถุงมือผ้าและถุงมือยางเพราะกระเจี๊ยบเขียวมีขนซึ่งระคายเคืองผิวหนังมาก
3. ภาชนะที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นิยมใช้ถังพลาสติก ซึ่งมีขนาดเล็ก 2-3 กิโลกรัมไม่ควรใหญ่กว่านี้
4. ภาชนะที่ใช้บรรจุผลผลิตและขนส่ง ควรให้ตะกร้าพลาสติกบรรจุฝักซึ่งมีรูระบายอากาศโดยรอบ เกษตรกรนิยมใช้เข่งไม้บุด้วยฟองน้ำบางและถุงปุ๋ย ซึ่งกันกระทบกระแทกได้พอควรแต่มีข้อเสีย คือ จะอับร้อนมาก ถ้ารอการขนส่งนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง จึงควรทำการเจาะรูให้ระบายอากาศได้โดยรอบ ขนาดบรรจุของเข่งหรือตะกร้าไม่ควรเกิน 12 กิโลกรัม
วิธีเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบเขียว1. ควรเก็บเกี่ยวเวลาเช้าตรู่ 6-9 นาฬิกา ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกระเจี๊ยบเขียวทีละฝัก อย่าตัดหลายฝัก วางในภาชนะอย่าโยน การตัดขั้วต้องตัดให้ตรง มีก้านติดไม่เกิน 1 เซนติเมตร และอย่าให้เป็นปากฉลาม ซึ่งจะขีดข่วนหรือทำให้ฝักอื่นเสียหายมาก เมื่ออยู่ในภาชนะบรรจุ
2. ภาชนะบรรจุผลผลิตต้องวางไว้ในที่ร่มเสมอ เช่น ใต้ร่มไม้ ถ้าไม่มีควรใช้ร่มกาง อย่าทิ้งไว้กลางแดด และรีบน้ำเข้าโรงพักผลผลิตโดยเร็วโรงพักผลผลิตควรมีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับทึบ อาจจะเป็นชั้นมีหลังคา ใต้ถุนบ้านหรือเพิงก็ได้
การขนส่งกระเจี๊ยบเขียวรีบขนส่งโดยเร็ว ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรนานกว่า 2 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว และไม่วางภาชนะซ้อนกัน ระหว่างขนส่ง รถขนส่งถ้าไม่มีห้องเย็นควรโปร่งไม่ปิดทึบ
การคัดการบรรจุหีบห่อและการแปรรูปกระเจี๊ยบเขียว
1. การลดอุณหภูมิของผลผลิตจากแปลงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ซึ่งต้องทำก่อนการบรรจุหีบห่อ โดยการล้างด้วยน้ำเย็นที่สะอาดจำนวนมาก แช่กระเจี๊ยบเขียวให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 10-15 องศาเซลเซียส น้ำล้างอาจผสมคลอรีน 200 พีพีเอ็ม เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. ผึ่งให้แห้ง ในกรณีต้องรอการคัดเลือกและบรรจุนาน ควรนำเข้าห้องเย็น
3. สำหรับการส่งออกสดนำออกมาคัดเกรดและบรรจุลงในถุงตาข่ายไนล่อนและกล่องกระดาษ การส่งออกสดไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป นิยมใส่ถาดโฟม เก็บรักษาในห้องเย็นเพื่อรอการขนส่งต่อไป

แหล่งที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ขอขอบคุณ:ภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น