วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูหลุม

ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงหมูหลุม
1. การสร้างโรงเรือน
     - เลือกสถานที่น้ำไม่ท่วมขัง
     - วัสดุการก่อสร้างหาง่าย
     - อากาศถ่ายเทสะดวก    
     - ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคาหญ้าคา 
     - ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 4 x5x1.8  เมตร เลี้ยงคอกละ 20 ตัว หลังคาควรมีแสงรอดผ่านหรือมีพื้นที่รับแสงได้ 1/3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน

ตัวอย่างโรงเรือนหมูหลุมจากวัสดุในท้องถิ่น
วิธีทำพื้นคอก
     1. ขุดหลุมลึก 90 ซม.ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่จะเลี้ยง โดยมีพื้นที่ต่อตัว 1- 1.5 เมตรต่อตัว
     2. ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่ต้องเทพื้น
     3. วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้นๆละ 30 ซม. โดยใช้วัตถุดิบดังนี้
        - แกลบดิบ 4,300 กิโลกรัม
        - มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม
        - รำอ่อน 185 กิโลกรัม
        - น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติค



วิธีการเลี้ยง
การนำหมูเข้าเลี้ยงควรเป็นหมู่ที่หย่านมแล้ว น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม โดยเตรียมคอกและอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม คัดหมูที่ขนาดใกล้เคียงกัน ไว้ด้วยกันเพื่อ ป้องกันการรังแกกันในวันแรกที่นำหมูลงเลี้ยงไม่ต้องให้อาหารเพื่อ ป้องกัน ความเครียดแต่ควรให้ดื่มน้ำ ตัวอย่างอาหารและปริมาณการให้อาหาร แสดงในตาราง
   
พันธุ์สุกร
ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่ไว้ใจได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม



แม่พันธุ์หมู
ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงการดูแลอื่นๆ
1. ในระยะเดือนแรก ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับสุกรหย่านมมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับรำโรงสีชาวบ้าน ในอัตรา 1: 3 ให้กิน 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เป็นเวลา 15 วันแรก หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จรูปลงจนครบ 1 เดือน ไม่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปอีกต่อไป โดยในกลางวันให้กินอาหารเสริมประเภทพืช ผัก และถ้ามีกากน้ำตาลให้หั่นพืชผักหมักกับกากาน้ำตาลทิ้งไว้ 1 วัน แล้วให้กินจะเป็นการดียิ่ง
2. ในระยะเดือนที่ 2 จนถึงจำหน่าย งดให้อาหารสำเร็จรูป เกษตรกรนำกากปลาร้าต้มกับรำข้าว หรือใช้ รำปลายข้าว ในอัตราส่วน 1:1 และเศษพืชผักเป็นอาหารเสริม โดยมีระยะเวลาเลี้ยง 3-3 เดือนครึ่ง ได้น้ำหนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม


 
น้ำหนักหมู(กิโลกรัม)
ชนิดอาหาร
ปริมาณ (กก/ตัว/วัน)
12-20
อาหารสำเร็จรูป
1.0-1.5
20-35
รำ+ปลายข้าว
1.7-2.0
35-60
รำ-ปลายข้าว
2.5-3.0
60-100
รำ+ปลายข้าว
3.5-4.0


ต้นทุนการผลิต
     1. ค่าโรงเรือน รวมอุปกรณ์ การให้น้ำและอาหาร เงิน 3,000 บาท
     2. ค่าก่อกำแพงอิฐบล็อกภายในหลุมทั้ง 4 ด้าน เงิน 1,050 บาท
     3. ค่าพันธุ์หมู 20 ตัวๆละ 1.200 บาท เงิน 24,000 บาท
     4. ค่าจัดทำวัสดุรองพื้น เงิน 2,080 บาท ได้แก่ แกลบ 1 คันรถ เงิน 300 บาท มูลโค- กระบือ 24 กระสอบๆละ 10 บาท เงิน 240 บาท รำข้าว 576 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 1,440 บาท สารจุลินทรีย์ 100 บาท
     5. ค่าอาหารหมู เงิน 6,575 บาท
            - อาหารสำเร็จรูป 150 กก. ๆละ 10 บาท เงิน 1,500 บาท
            - รำข้าว 1,750 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 4,375 บาท
            - กากปลาร้า เงิน 100 บาท
            - ปลายข้าว 120 กก. ๆละ 5.00 บาท เงิน 600 บาท
     6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่นในการจัดอาหารเสริม เงิน 2,000 บาท
     7. ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงิน 400 บาท (ไม่ได้คิดค่าแรงงาน) รวมต้นทุน 39,105 บาท

รายรับ
     1. จำหน่ายสุกร 20 ตัวๆละ 3,000 บาท เงิน 60,000 บาท
     2. ปุ๋ยชีวภาพที่ได้ 10 ตันๆละ 2,000 บาท เงิน 20,000 บาท
         รวมรับ 80,000 บาท


ผลลัพท์จากการเลี้ยงหมูหลุม

การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการผลิตที่เหมาะสมกับการทรัพยากรและการบริโภค ในท้องถิ่นทำใ ห้เศรษฐกิจฐานล่างมีความเข้มแข็ง สนับสนุนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่

· ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม พึ่งพาการผลิตการบริโภคในท้องถิ่นเกิดความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน

· ด้านสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ครอบครัวมีงานทำหมุนเวียนตลอด ก่อเกิดรายได้ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

· ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตผสมผสานปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ใช้ทรัพยากร ผืนดินให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต ใช้วงจรชีวภาพหมุนเวียนให้เกิดการผลิตหลายรอบ ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

· ด้านสุขภาพ การเลี้ยงหมูที่ไม่เครียดทำให้มีสุขภาพดี และการเลี้ยงด้วยหญ้าจะทำให้เนื้อสัตว์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอไมก้า 3 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และไขมันอุดตันในหลอดเลือดสูง และผลผลิตปลอดภัยปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ มีผลทำให้สุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง Food Quality ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเช่นเดียวกับอาหารอินทรีย์

 

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

เฉลยกิจกรรมชุดวิชา 94431 การจัดการการตลาดสินค้าเกษตร

เจ้าของบล๊อกเรียน สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ เอกธุรกิจการเกษตรค่ะ ใครที่เรียนคณะเดียวกันร่วมแชร์ความคิดเห็นได้นะค่ะ เพราะฉะนั้นแนวคำตอบอาจจะไม่ตรงกับบุคคลที่เรียนคณะอื่น ก็จะมีเป็นบางวิชาที่เป็นวิชาบังคับที่เรียนเหมือนกัน มีแนวคำตอบไหนที่พอจะช่วยกันได้ก็นำไปประยุกต์ใช้เอาเองนะค่ะ...กิจกรรมวิชานี้ลงทะเบียนเรียนเทอม 1/2554 ค่ะ ยังไม่ได้สอบและยังไม่ทราบคะแนน นำมาลงไว้ในแบบฉบับของเจ้าของบล๊อกเอง ไม่ได้ไปคัดลอกมาจากที่ไหน (เพราะไม่มีใครลงไว้เล๊ย..) เฮ้อ..! ทำเองล้วนๆค้า..

กิจกรรมประจำชุดวิชา 94431 การจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
ส่วนที่ 1 ให้นักศึกษาย่อเนื้อหาของ หน่วยที่ 1,2,3,4,5,6,8,14,15 ความยาวไม่เกิน 3-5 กระดาษ A4 เขียนด้วยลายมือตนเอง สามารถอ่านเข้าใจง่าย

หน่วยที่ 1. ตอนที่ 1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการการตลาดโดยทั่วไป
                 เรื่องที่ 1.1.1 ความหมายของตลาดและการตลาด
1.ความหมายของตลาด คำจำกัดความว่า ตลาดตามแนวคิดของ ลัดดา พิศาลบุตร คือ ตลาด หมายถึงที่ชุมนุม ซื้อขายของต่างๆ รวมทั้งเงินที่แลกเปลี่ยนและกู้ยืมกัน
2.ตลาดไม่ได้หมายถึงเพียงสถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีความหมายคลุมไปถึงการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการแก่กันและกัน
3.ตลาดที่ไม่ทราบแหล่งซื้อขายที่แน่นอน แต่ก็เรียกว่าตลาดได้ เช่น ตลาดแรงงาน
4.ตลาดยังอาจหมายถึง ภาวะของราคาสินค้าและภาวะการค้าของตลาด
5.ปัจจุบันมีแนวคิดใหม่ๆที่เกี่ยวกับตลาดเกิดขึ้น เช่น ตลาดหมายถึง เซตหรือกลุ่มคนหรือสถานการณ์ในช่วงเวลาหนึ่งที่สินค้าสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า
    กล่าวโดยสรุป ตลาด อาจจะเป็นสถานที่ที่มีอาณาบริเวณปรากฎชัดเจน หรือ อาจไม่มีอาณาบริเวณปรากฏชัดเจน อาจจะเป็นสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง หรือ กลุ่มของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง และรวมถึงระบบใดระบบหนึ่ง ตลอดจนภาวการณ์ใดภาวการณ์หนึ่งที่เอื้ออำนวยให้บุคคลหรือกลุ่มหรือองค์กรและสถาบันต่างๆ สามารถนำสินค้าหรือบริการมาแลกเปลี่ยนกัน หรือทำการซื้อขายกันทั้งในลักษณะพบหน้ากันโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายหรือจจาจะไม่เคยพบหน้ากันโดยตรง แต่ก็สามารถทำการซื้อขายตกลงกันได้เช่นเดียวกันกับที่ได้มีโอกาสพบปะกันโดยตรง และการซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากความพึงพอใจที่จะทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยกันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
2. ความหมายของการตลาด
2.1 ความหมายของการตลาดในมุมมองการบริหารจัดการธุรกิจ
2.2 ความหมายของการตลาดในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์
     ความหมายทั้งสองอย่างโดยภาพรวมแล้วจะมีความหมายใกล้เคียงกัน จะมีความแตกต่างกันในเป้าหมายของการบริหารจัดการ จึงสรุปได้ว่า "การตลาด หมายถึง กิจกรรมทั้งหมด ในการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการจากจุดกำเนินไปตามกระแสของความต้องการของตลาด จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย"

เรื่องที่ 1.1.2 ความสำคัญและหน้าที่ของการตลาด
1.ความสำคัญของการตลาด เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อผู้เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
    1.1 ความสำคัญต่อผู้บริโภค คือการสร้างความพอใจ หรือ อรรถประโยชน์ ดังนี้
     1.1.1 อรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง ความพอใจในรูปร่างลักษณะสินค้า ที่ผู้บริโภค ยินดีที่จะซื้อ
     1.1.2 อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ เป็นความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าในสถานที่ที่ตนเองต้องการและพอใจ
     1.1.3 อรรถประโยชน์ด้านเวลา เป็นความพอใจของผู้บริโภคได้รับจากสินค้าในเวลาหรือตามเวลาที่ตนต้องการ
     1.1.4 อรรถประโยชน์ด้านความเป็นเจ้าของ เป็นความพอใจในการซื้อขายแลกเปลี่ยนในระบบตลาด
1.2 ความสำคัญต่อผู้ผลิต มีความสำคัญดังนี้
     1.2.1 ทำให้มูลค่าสินค้าเพิ่มขึ้น
     1.2.2 ทำให้เกิดการจ้างงาน
     1.2.3 ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด
     1.2.4 ทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง
     1.2.5 ทำให้เกิดรายได้จากการส่งออก
1.3 ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการตลาดทำให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อสินค้า มีการหมุนเวียนของเงินตรา ก่อนให้เกิดรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1.4 ความสำคัญตอ่สังคมส่วนรวม
     1.4.1 การตลาดช่วยยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน
     1.4.2 การพัฒนาการตลาดจะเกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาสังคม
              ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เกิดจากการที่ตลาดมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามหน้าที่การตลาดได้อย่างครบถ้วน
      2. หน้าที่การตลาด
          2.1 หน้าที่การตลาดในทางการจัดการ เป็นกิจกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมการตลาด อันได้แก ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดหรือที่เรียกกันว่า 4PS ซึ่งอาจนำมาขยายความเป็นหน้าที่การตลาดย่อยๆได้ดังนี้คือ
     1) การวิจัยตลาด
     2) การจัดการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
     3) การโฆษณา
     4) การใช้พนักงานขาย
     5) การจัดการช่องทางการจำหน่าย
     6) การกระจายสินค้า
     7) การกำหนดราคา
          2.2 หน้าที่การตลาดในทางเศรษฐศาสตร์เป็นหน้าที่ในมุมมองการบริหารจัดการบริการธุรกิจ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
           2.2.1 หน้าที่ทางการแลกเปลี่ยน ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน คือ 1) การซื้อสินค้า 2) การขายสินค้า
           2.2.2 หน้าที่ทางกายภาพ คือ การเก็บรักษาสินค้า การขนส่ง และการแปรรูป
           2.2.3 หน้าที่อำนวยความสะดวก คือ การจัดมาตรฐานสินค้า การเงิน การยอมรับ การเสี่ยงภัย และการให้ข่าวสารทางการตลาด


เรื่องที่ 1.1.3 แนวทางการจัดการ การตลาด ประกอบด้วย 5 แนวคิด คือ
     1. แนวคิดที่มุ่งการผลิต โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งด้านการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มจำนวนผลผลิต
     2. แนวคิดที่มุ่งผลิตภัณฑ์ มุ่งความสนใจในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะคำนึงถึงต้นทุนที่ต่ำเป็นเครื่องมือในการดำเนินการด้านการตลาด
     3. แนวคิดที่มุ่งการขาย ลูกค้าจะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่เกินจากความต้องการของตน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีมากลูกค้ารอาจจะซื้อได้ไม่มากนัก
     4. แนวคิดที่มุ่งการตลาด ยึดหลักสำคัญคือ การทำกำไรจากการตอบสนอง ความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาดรายอื่นๆ
     5. แนวคิดที่มุ่งการตลาดและสังคม มุ่งเพื่อส่งเสริมสังคมและผู้บริโภคให้ดีขึ้น

เรื่องที่ 1.1.4 ส่วนประสมการตลาด
     Maketing mix เป็นศัพท์ทางการตลาดที่นักการตลาดรู้จักกันโดยทั่วไป เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนจัดการตลาด นักการตลาดจะดำเนินการตัดสินใจในส่วนประสมการตลาดทั้ง 4 ประการ ดังต่อไปนี้
     1. การตัดสินใจเรื่องผลิตภัณฑ์ เช่น การตั้ง่ชื่อตราสินค้า คุณภาพสินค้า การบรรจุหีบห่อ
     2. การตัดสินใจเรื่องราคา เช่น การกำหนดราคาที่ยืดหยุ่นได้ การขายสินค้า ในราคาที่แตกต่างกัน การให้ส่วนลด ฯลฯ
     3. การตัดสินใจเรื่องการจัดจำหน่าย เช่น การเลือกช่องทางในการกระจายสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า ฯลฯ
     4. การตัดสินใจเรื่องการส่งเสริมการตลาด เช่น การโฆษณา การขายตรง การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ


เรื่องที่ 1.2.1 ความสำคัญของการจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
     การจัดการการตลาดสินค้าเกษตร หมายถึง การบริหารให้กระบวนการเคลื่อนย้านสินค้าเกษตรจากจุดต้นกำเนิดของสินค้า การจัดการการตลาดสินค้าเกษตรนั้นมีความสำคัญที่ชัดเจนที่สามารถแสดงให้เห็นได้ดังนี้
     1. ทำให้เกิดการนำทรัพยากรมาใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
     2. ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้บริโภค
     3. ความสำคัญในการสร้างรายได้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบการตลาด
     4. ความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจรวมของประเทศ
     5. ความสำคัญต่อสังคมในแง่มาตรฐานการครองชีพ


เรื่องที่ 1.2.2 ความแตกต่างระหว่างการจัดการการตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไป
     การพิจารณาถึงความแตกต่างของสินค้าทั้งสองประเภทนั้น มีประเด็นที่จะทำการพิจารณา คือ
          1. ที่่่ดิน การเลือกที่ดินสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรต้องพิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์
          2. แรงงาน แรงงานเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตสินค้าทุกชนิด เพราะการเกษตรในประเทศไทยยังเป็นระบบที่อาศัยแรงงาน
         3. ทุน ไม่ได้จำกัดแค่เงินเท่านั้น ยังรวมไปถึงทรัพย์สินหรือเทคโนโลยีด้วย
         4. ปัจจัยการประกอบการ เพื่อตอบสนอนความต้องการของตลาด เช่น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตและความรู้หรือเทคโนโลยี
         5. การจัดการภาวะความไม่แน่นอน เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น จากสภาพแวดล้อมของตลาดที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน 2 ประการหลัก คือ ความไม่แน่นอนของภาวะตลาด และควาไม่แน่นอนของธรรมชาติ

เรื่องที่ 1.2.3 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตร
     1. บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยการตลาดสินค้าเกษตรเป็นเครื่องมือ ในการผลักดันให้ประเทศดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจหลายประการคือ
         1.1 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรต่อนโยบายพลังงานของชาติ
         1.2 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรในการปรับปรุงแบบการผลิตในภาคการเกษตรของประเทศ
         1.3 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรในการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้ประเทศ
     2. บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรในการสร้างด้านองค์การธุรกิจการเกษตร ที่สำคัญมีดังนี้
         2.1 กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ทันสมัย
         2.2 การใช้ระบบการจัดการมาตรฐานระดับสากลที่ส่งเสริมให้การตลาดสินค้าเกษตรมีภาพพจน์ดีเป็นที่ยอมรับของตลาด
         2.3 การขยายตัวมในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม
         2.4 การสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อรองรับและกระจายสินค้าเกษตรไปสู่ผู้บริโภค
     3. บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรด้านผู้บริโภคสินค้าเกษตร
         3.1 บทบาทในการยกระดับมาตรฐานของแบบอย่างการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น
         3.2 บทบาทในการสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคสินค้าเกษตร
         3.3 บทบาทในการเรียนรู้
         3.4 บทบาทในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค


เรื่องที่ 1.3.1 ปัจจัยที่มีผลต่อกาคจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
     ขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมการตลาด และต้องการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
     1. ผู้บริโภค
     2. ภาวะเศรษฐกิจ
     3. วัฒนธรรมและสังคม
     4. กฏหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ
     5. คู่แข่งขัน
     6. เทคโนโลยี
     7. ทรัพยากรธรรมชาติ

เรื่องที่ 1.3.2 กระบวนการจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
     กระบวนการจัดการการตลาดซึ่งประกอบด้วย
     1) การวิเคราะหืต้องอาศัยการจัดการด้านสารสนเทศทางการตลาดและการวิจัย
     2) การวางแผน ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด การกำหนดส่วนประสมทางการตลาด
     3) การปฏิบัติการและการควบคุม ใช้เป็นแนวทางสู่การปฏิบัติซึ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดในวิธีการปฏิบัติกำหนดการงบประมาณ


หน่วยที่ 2 สภาพการตลาดสินค้าเกษตร
ตอนที่ 2.1 ลักษณะและวิธีการตลาดสินค้าเกษตร
เรื่องที่ 2.1.1 ลักษณะของสินค้าเกษตร
     ลักษณะเฉพาะของสินค้าเกษตรสามารถสรุปได้เป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้
          1. สินค้าเกษตรมีลักษณะเป็นวัตถุดิบ
          2. สินค้าเกษตรมีลักษณะเน่าเสียง่าย
          3. สินค้าเกษตรกินเนื้อที่
          4. การผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามฤดูกาล
          5. ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรในแต่ละปีไม่แน่นอน
          6. คุณภาพสินค้าเกษตรเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีแต่ละฤดูกาล
          7. สินค้าเกษตรแต่ละชนิดมีความเหมาะสมในการผลิตในแต่ละท้องที่


เรื่องที่ 2.1.2 วิถีการตลาดสินค้าเกษตร
          1. ความหมายของวิถีการตลาดสินค้าเกษตร วิถีการตลาด หมายถึง วิถีทางที่สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยมีคนกลางเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อให้การเคลื่อนย้ายความเป็นเจ้าของในตัวสินค้านั้นเป็นไปอย่างสมบูรณ์
          2. ความสำคัญของวิถีการตลาด คือ ทำให้ทราบจำนวนคนกลางว่ามีกี่ประเภทที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
          3. รูปแบบวิถีการตลาด สรุปได้เป็น 2 รูปแบบ 1) วิถีการตลาดแบบรวม หมายถึง วิถีที่ผลผลิตถูกรวบรวมไว้ในตลาดกลาง ซึ่งมีผู้ซื้อขายนายหน้า ผู้แปรรูป มาติดต่อซื้อขายกัน  2) วิถีการตลาดแบบกระจาย หมายถึง วิถีทางที่พ่อค้าระดับต่างๆ ทำการติดต่อซื้อขายกับเกษตรกรโดยที่เกษตรกรเป็นผู้ขายสินค้าเอง
          4. ระดับของวิถีการตลาดสินค้าเกษตร เป็นวิถีการพิจารณาจำนวนระดับของคนกลาง 1) วิถีการตลาดทางตรง 2) วิถีการตลาดหนึ่งระดับ 3) วิถีการลาดสองระดับ 4) วิถีการตลาดสามระดับ


เรื่องที่ 2.2.1 ราคาสินค้าเกษตร
     ราคา หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการต่อหน่วยทางกายภาพของสินค้า ที่วัดด้วยเงินตรา ราคาสินค้าเกษตรมีลักษณะแตกต่างจากราคาสินค้าอื่นๆ ดังนี้
          1. ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ เป็น ราคาที่ถูกกำหนดโดยตลาดแข่งขัน
          2. ราคาสินค้าเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงบ่อยครั้ง
          3. สินค้าเกษตรในระดับฟาร์มมักจะมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับราคาที่ผู้บริโภคจ่าย
     1. อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคซื้อในระดับราคาต่างๆ กัน ณ.เวลาใดเวลาหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ตารางอุปสงค์ส่วนบุคคล เป็นตารางตัวเลขแสดงปริมาณอุปสงค์ในสินค้าหรือบริการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ณ.ระดับราคาต่างๆ 2) ตารางอุปสงค์ของตลาด เป็นตารางตัวเลขแสดงปริมาณอุปสงค์ส่วนบุคคลรวม ณ.ระดับราคาต่างๆ
     2. ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ได้แก่ 1) ราคาของสินค้านั้น 2) ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) รายได้ของผู้บริโภค 4) การคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต 5) ขนาดและโครงสร้างของประชากร 6) ปัจจัยอื่นๆ
     3. อุปสงค์สืบเนื่อง คือ ความต้องการซื้อสินค้าของคนกลางหรือผู้ผลิต เพื่อจำหน่วยต่อหรือซื้อเพื่อผลิตสินค้าอื่น
     4. อุปทาน หมายถึง ปริมาณของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ขายเสนอขายในระดับราคาต่างๆกันในเวลาใดเวลาหนึ่ง และสถานที่ใดสถานที่หนึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ตารางอุปทานส่วนบุคคคล 2) ตารางอุปทานของตลาด
     5. ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน ได้แก่ 1) ราคาของสินค้านั้น 2) ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) ต้นทุนการผลิต 4) ปัจจัยทางธรรมชาติ 5) กรรมวิธีในการผลิตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 6) ปัจจัยอื่นๆ
     6. อุปทานสำหรับสินค้าเกษตร 1) อุปทานขั้นพื้นฐาน 2) อุปทานต่อเนื่อง
     7. การกำหนดและส่งผ่านราคา
     8. ความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าเกษตร สรุปได้คือ 1) ความคลื่นไหวของราคาตามแนวโน้ม 2) ความเคลื่อนไหวของราคาตามฤดูกาล 3) ความเคลื่อนไหวของราคาตามวัฏจักร 4) ความเคลื่อนไหวของราคาแบบผิดปกติ


เรื่องที่ 2.2.2 ส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้าเกษตร
     1. ความหมายของส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้าเกษตร
          ส่วนเหลื่อมการตลาด หมายถึง ส่วนต่างระหว่างราคาต่อหน่วยของผู้ที่ผู้บริโภคจ่าย หรือ ราคาขายปลีกกับราคาที่ผู้ผลิตหรือเกษตรกรได้รับ
     2. องค์ประกอบของส่วนเหลื่อมการตลาด มีองค์ประกอบ 2 ส่วน 1) ต้นทุนในการดำเนินงานทางการตลาด 2) ค่าตอบแทนในการดำเนินงานทางการตลาด
     3. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของส่วนเหลื่อมการตลาด ได้แก่ 1) ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเปลี่ยนแปลง 2) ปริมาณสินค้าที่เข้าสู่ตลาด 3) การปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ 4) การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค


เรื่องที่ 2.3.1 มาตรการด้านการตบาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ
     1. นโยบายการตลาดสินค้าเกษตร
           นโยบาย หมายถึง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรืองใดเรื่องหนึ่ง นโยบายจึงคลอบคลุมถึงเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรหรือยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น 2) เพื่อลดส่วนเหลือมการตลาดระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค 3) เพื่อจูงใจให้เกษตรกรผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการ 4) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร
     2. มาตรการปรับปรุงระบบการตลาดสินค้าเกษตรมีการดำเนินการคือ 1) ส่งเสริมให้มีตลาดสินค้าเกษตรรูปแบบต่างๆ 2) กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าเกษตร 3) ให้บริการข่าวสารการตลาดสินค้าเกษตร 4) ให้บริการสถานที่เก็บรักษาสินค้าเกษตร 5) ปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง
     3. มาตรการแทรกแซงตลาดภายใน เพื่อควบคุมราคาสินค้าเกษตร คือ 1) การแทรกแซงตลาดเพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตร 2) การแทรกแซงตลาดเพื่อควบคุมราคาสินค้าเกษตร


เรื่องที่ 2.3.2 มาตรการด้านการตลาดสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ
     มาตรการด้านการตลาดสินค้าเกษตรระหว่างประเทศจำแนกเป็นมาตรการด้านการส่งออก และมาตรการด้านการนำเข้า ดังนี้
     1. มาตรการด้านการส่งออก
          1.1 มาตรการด้านภาษี เช่น การเก็บภาษีจาการส่งออกสินค้า การให้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้จากการส่งออกสินค้า เป็นต้น
          1.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น การสนับสนุนการขยายตลาดสินค้า การสนับสนุนด้านการเงิน เป็นต้น
     2. มาตรการด้านการนำเข้า
          2.1 มาตรการด้านภาษี เช่น การเก็บภาษีจากการนำเข้าสินค้า การเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ การคืนอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก เป็นต้น
          2.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น มาตรการกำหนดโควตานำเข้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มาตรการสิ่งแวดล้อม มาตรการตอบโต้การอุดหนุน มาตรการการจัดซื้อโดยรัฐ มาตการป้องกัน กฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น


     ตอนที่ 2.1 หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการตลาดสินค้าเกษตร
     เรื่องที่ 2.4.1 หน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนด้านการตลาดสินค้าเกษตร
     1. กระทรวงพาณิชย์ด้านบทบาทการตลาดสินค้าเกษตร ได้แก่
          1.1 กำหนดนโยบายและมาตรการด้านการตลาดและราคาสินค้าเกษตรร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
          1.2 ส่งเสริมให้มีการตลาดสินค้าเกษตรรูปแบบต่างๆ
          1.3 กำหนดสินค้ามาตรฐานเพื่อการส่งออก
          1.4 กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าสินค้า
          1.5 ส่งเสริมส่งออกสินค้าเกษตร
          1.6 เจรจาการค้าระหว่างประเทศ
          1.7 กำกับดูแลและให้บริการทางธุรกิจ
          1.8 กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการ ชั่ง ตวง วัด
          1.9 ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรทั้งภายในและระหว่างประเทศ
     2. บทบาทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้านการตลาดสินค้าเกษตร ได้แก่
          2.1 กำหนดนโยบายและมาตรการด้สนการตลาดและราคาสินค้าเกษตรร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
          2.2 กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
          2.3 การตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตร
          2.4 การตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตร
          2.5 ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่วกับการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรทั้งภายในและระหว่างประเทศ


เรื่องที่ 2.4.2 หน่วยงานภาคเอกชนที่สนับสนุนด้านการตลาดสินค้าเกษตร   
     1. หน่วยงานภาคเอกชนที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไรในเชิงธุรกิจ
         1.1 หอการค้า หมายถึง สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า การบริการ การประกอบวิขาขีพอิสระ อุตสาหกรรม
         1.2 สมาคมการค้า หมายถึง สถาบันที่บุคคลหลายคน ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจจัดตั้งขึ้น เพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ
         1.3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
     2. หน่วยงานภาคเอกชนที่ดำเนินการในเชิงธุรกิจ ซึ่งสนับสนุนด้านการตลาดโดยมีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจมีบทบาท ดังนี้
         2.1 ให้บริการด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตร โดยการให้สินเชื่อ
         2.2 ให้บริการขนส่งสินค้าเกษตร โดยให้บริการขนส่งจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภค
         2.3 ให้บริการคลังสินค้าธารณะ โดยรับฝาก และเก็บสินค้า
         2.4 ให้บริการด้านการประกันภัย โดยการประกันชีวิต รับประกันวินาศภัย คุ้มครองทรัพย์สินรวมทั้งสินค้าเกษตร