วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556
การปลูกองุ่น
องุ่น เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ปลูกกันมากกว่า 5,000 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาในสมัยใด แต่พอจะเชื่อได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้นำพันธุ์ไม้แปลกๆ จากต่างประเทศที่ได้เสด็จประพาสมาปลูกในประเทศไทย และเชื่อว่าในจำนวนพันธุ์ไม้แปลกๆ เหล่านั้นน่าจะมีพันธุ์องุ่นรวมอยู่ด้วยในสมัยรัชกาลที่ 7 มีหลักฐานยืนยัน ว่าเริ่มมีการปลูกองุ่นกันบ้างแต่ผลองุ่นที่ได้มีรสเปรี้ยว การปลูกองุ่นจึงซบเซาไป ต่อมาในปี 2493 ได้เริ่มมีการปลูกองุ่นอย่างจริงจัง โดย หลวงสมานวนกิจ ได้นำพันธุ์มาจากแคลิฟอร์เนีย และปี 2497 ดร.พิศ ปัญญาลักษณ์ ได้นำพันธุ์มาจากยุโรปซึ่งปลูกได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นับแต่นั้นมาการปลูกองุ่น ในประเทศไทยจึงแพร่หลายมากขึ้น
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการปลูกองุ่นในแถบภาคตะวันตก เช่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เกษตรกรบางรายได้เปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น เนื่องจากมีโรคแมลงระบาดมาก และแมลงดื้อยาไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นในแถบนี้ลดลง พื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย ถึงแม้ว่าราคาจะเป็นแรงจูงใจ แต่ปัญหาเรื่องโรคแมลงระบาดมากทำให้ พื้นที่ปลูกองุ่นไม่ค่อยขยายเท่าที่ควร
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
องุ่นถึงแม้จะไม่ใช่พืชเขตร้อน แต่จากสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย องุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีจึงปลูกได้โดยทั่วไป ถ้าได้รับการตัดแต่งกิ่งก็สามารถออกดอกได้ดีเช่นเดียวกันกับ องุ่นที่ปลูกในเขตหนาวสามารถให้ผลผลิตมากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถบังคับให้ผลองุ่นแก่ในฤดูใดของปีก็ได้ ในขณะที่องุ่นที่ปลูก ในเขตหนาวให้ผลผลิตปีละครั้งและผลแก่ช่วงฤดูร้อนเท่านั้น แต่ควรระวังคือ ในสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความชื้นสูงฝนตกชุก จะทำให้เกิดโรคระบาดอย่างรวดเร็วทำให้เสียหายแก่ใบ ต้น และผลองุ่นได้มาก จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัด โรคแมลงมากไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ถ้าฝนตกในตอนผลแก่จะทำให้ผลแตก คุณภาพของผลไม่ดี ดังนั้นสภาพภูมิอากาศจึงเป็นตัวจำกัดเขตการปลูกองุ่น และลักษณะการใช้ประโยชน์ เช่น ในประเทศไทยสามารถปลูก องุ่นรับประทานผลสดได้ดี โดยเฉพาะองุ่นที่แก่ในฤดูร้อน และฤดูหนาว แต่การที่จะปลูกองุ่น สำหรับทำเหล้าองุ่นให้มีคุณภาพดีๆ ยังสู้องุ่นในแถบยุโรปไม่ได้ ซึ่งสภาพภูมิอากาศมีผลต่อคุณภาพของ ผลผลิตเป็นสำคัญ ส่งนการเจริฐเติบโตของต้นไม่มีปัญหามากนัก นอกจากเขตที่มีอากาศ ร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไปต้นองุ่นอาจตายได้
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50
อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50
เป็นพันธุ์ที่คัดได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ เอสพี 074 (SP 074) ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และประเมินผลที่ศูนย์วิจัย สถานีทดลองพืชไร่ ตลอดจนในไร่เกษตรกรในจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2533 จนถึง 2538 อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 ให้ผลผลิตน้ำอ้อยดีกว่าพันธุ์เดิมที่ใช้กันอยู่ คือ พันธุ์สิงคโปร์ ในทุกสภาพแวดล้อมและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี โดยเฉพาะในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกที่เป็นแหล่งปลูกอ้อย
ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตน้ำอ้อยประมาณ 4,913 ลิตรต่อไร่
- น้ำอ้อยสดมีสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวานหอม ความหวาน 16 บริกซ์
- เจริญเติบโตเร็ว
- แตกกอดี โดยมีจำนวนลำประมาณ 12,918 ลำต่อไร่
- สามารถไว้ตอได้ดี ทำให้ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวหรือตัดอ้อยแล้ว
ความต้านทานโรค มีความทนทานต่อโรคแส้ดำ โรคใบขาว และโรคลำต้นเน่าแดง
ความต้านทานแมลง
พบการเข้าทำลายของหนอนนกอ้อยน้อย ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะประจำพันธุ์
- มีใบขนาดใหญ่ ปลายใบโค้ง
- ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง
- ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างยาว ไม่มีร่องเหนือตา
- ตามีรูปร่างกลม มีวงเจริญเหลืองและนูน
- ข้อโปน
เป็นพันธุ์ที่คัดได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ เอสพี 074 (SP 074) ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และประเมินผลที่ศูนย์วิจัย สถานีทดลองพืชไร่ ตลอดจนในไร่เกษตรกรในจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2533 จนถึง 2538 อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 ให้ผลผลิตน้ำอ้อยดีกว่าพันธุ์เดิมที่ใช้กันอยู่ คือ พันธุ์สิงคโปร์ ในทุกสภาพแวดล้อมและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี โดยเฉพาะในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกที่เป็นแหล่งปลูกอ้อย
ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตน้ำอ้อยประมาณ 4,913 ลิตรต่อไร่
- น้ำอ้อยสดมีสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวานหอม ความหวาน 16 บริกซ์
- เจริญเติบโตเร็ว
- แตกกอดี โดยมีจำนวนลำประมาณ 12,918 ลำต่อไร่
- สามารถไว้ตอได้ดี ทำให้ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวหรือตัดอ้อยแล้ว
ความต้านทานโรค มีความทนทานต่อโรคแส้ดำ โรคใบขาว และโรคลำต้นเน่าแดง
ความต้านทานแมลง
พบการเข้าทำลายของหนอนนกอ้อยน้อย ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะประจำพันธุ์
- มีใบขนาดใหญ่ ปลายใบโค้ง
- ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง
- ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างยาว ไม่มีร่องเหนือตา
- ตามีรูปร่างกลม มีวงเจริญเหลืองและนูน
- ข้อโปน
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
เมล่อนเงินล้านทำได้จริง
การปลูกแตงเทศหรือเมล่อน
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ ( Melon )
ข้อมูลทั่วไป
เมล่อนเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล ( Family ) Cucurbitaceae ใช้รับประทานผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน เจริญได้ดีในสภาพร้อนแห้ง แสงแดดจัด ปัจจุบันมีการผลิตลูกผสมออกมาหลลายพันธุ์ที่เจริญได้ดี ในสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยการผลิตเมล่อนที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ในการเพาะปลูกเป็นอย่างดี
เมล่อนที่พบเห็นส่วนใหญ่สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
· C. melon var.cantaloupensis เรียกว่า Cantaloupe หรือ rock melon ขนาดผลค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ขึ้นไปเปลือกผลหนาขรุขระ มีร่องเป็นทางยาวโดยรอบทางขั้วถึงก้น เนื้อแตงแคนตาลูปส่วนใหญ่เป็นสีส้ม
· C. melon var. recticulatus เรียกว่า musk melon , netted melon, persian melon ขนาดผลเล็กกว่าแคนตาลูป เปลือกของผลส่วนใหญ่เป็นตาข่ายสานกันเป็นลายค่อนข้างถี่สม่ำเสมอ ผลมีลักษณะกลมไม่มีร่องตามยาวเหมือนแคนตาลูปส่วน สีเนื้อมีตั้งแต่สีส้มถึงสีเขียว
· C. melon var.inodorus เรียกว่า winter melon ผิวผลเรียบไม่มี net
· C. melon var.flexuosus เรียกว่า snak melon เป็นพวกแตงไทย
· C. melon var. conomon เรียกว่า oriental pickling melon
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
เมล่อนสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี เมล่อนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง แต่ต้องการน้ำสม่ำเสมอสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง pH 6.5 – 7 หรือสภาพดินเป็นกลาง สภาพอากาศที่เหมาะสมคืออากาศอบอุ่น มีแสงแดดอย่างเพียงพอและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ในช่วงการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ส่วนในระยะผลแก่จะต้องการน้ำน้อยลง
เมล่อนเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน และการเจริญเติบโตของเถาจะช้าลงในฤดูหนาว
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ
การเตรียมแปลงปลูก
เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง , ครั้งแรกใช้ผาน 3 ครั้งที่สองใช้ผาน 7 ผสมปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1 ตัน/ ไร่ ปุ๋ยรองพื้นตรากระต่ายสูตร 15 –15 –15 อัตรา 50 กิโลกรัม / ไร่ ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ทั่วบนแปลง ยกแปลงตามวิธีการปลูกถ้าปลูกเลื้อยดินยกแปลงกว้างขนาด 3.5 – 4.0 เมตร ถ้าปลูกแบบขึ้นค้าง
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ ( Melon )
ข้อมูลทั่วไป
เมล่อนเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล ( Family ) Cucurbitaceae ใช้รับประทานผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน เจริญได้ดีในสภาพร้อนแห้ง แสงแดดจัด ปัจจุบันมีการผลิตลูกผสมออกมาหลลายพันธุ์ที่เจริญได้ดี ในสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยการผลิตเมล่อนที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ในการเพาะปลูกเป็นอย่างดี
เมล่อนที่พบเห็นส่วนใหญ่สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
· C. melon var.cantaloupensis เรียกว่า Cantaloupe หรือ rock melon ขนาดผลค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ขึ้นไปเปลือกผลหนาขรุขระ มีร่องเป็นทางยาวโดยรอบทางขั้วถึงก้น เนื้อแตงแคนตาลูปส่วนใหญ่เป็นสีส้ม
· C. melon var. recticulatus เรียกว่า musk melon , netted melon, persian melon ขนาดผลเล็กกว่าแคนตาลูป เปลือกของผลส่วนใหญ่เป็นตาข่ายสานกันเป็นลายค่อนข้างถี่สม่ำเสมอ ผลมีลักษณะกลมไม่มีร่องตามยาวเหมือนแคนตาลูปส่วน สีเนื้อมีตั้งแต่สีส้มถึงสีเขียว
· C. melon var.inodorus เรียกว่า winter melon ผิวผลเรียบไม่มี net
· C. melon var.flexuosus เรียกว่า snak melon เป็นพวกแตงไทย
· C. melon var. conomon เรียกว่า oriental pickling melon
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
เมล่อนสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี เมล่อนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง แต่ต้องการน้ำสม่ำเสมอสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง pH 6.5 – 7 หรือสภาพดินเป็นกลาง สภาพอากาศที่เหมาะสมคืออากาศอบอุ่น มีแสงแดดอย่างเพียงพอและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ในช่วงการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ส่วนในระยะผลแก่จะต้องการน้ำน้อยลง
เมล่อนเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน และการเจริญเติบโตของเถาจะช้าลงในฤดูหนาว
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ
การเตรียมแปลงปลูก
เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง , ครั้งแรกใช้ผาน 3 ครั้งที่สองใช้ผาน 7 ผสมปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1 ตัน/ ไร่ ปุ๋ยรองพื้นตรากระต่ายสูตร 15 –15 –15 อัตรา 50 กิโลกรัม / ไร่ ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ทั่วบนแปลง ยกแปลงตามวิธีการปลูกถ้าปลูกเลื้อยดินยกแปลงกว้างขนาด 3.5 – 4.0 เมตร ถ้าปลูกแบบขึ้นค้าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)