จุลินทรีย์ในอาหาร
จุลินทรีย์โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ช่วยในการมองเห็น จุลินทรีย์โดยทั่วไปหมายรวมถึง สาหร่าย โปรโตซัว ฟังใจ (ยีสต์และรา) แบคทีเรีย และไวรัส แต่ในทางอาหารแล้วเมื่อพูดถึงจุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะคำนึงถึง แบคทีเรีย ยีสต์และรา
ความเป็นมา
งานจุลินทรีย์เป็นงานหน่วยหนึ่งที่อยู่ภายใต้ฝ่ายควบคุมคุณภาพ สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มีบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่จำนวน 8 คน มีตำแหน่งเป็น “นักวิจัย” บุคลากรที่ทำงานในหน่วยนี้เป็นผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญ ในสาขาจุลชีววิทยา สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร ภาระหน้าที่ของงานจุลินทรีย์ประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 งานคือ
1. งานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการที่ได้เริ่มให้บริการมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว โดยเริ่มจากการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยสถาบันฯ เอง และตรวจวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องของโครงการหลวง ตั้งแต่เริ่มสร้างโรงงานแรกจนปัจจุบันมีอยู่ถึง 4 โรงงานในจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ก็มีบริษัทเอกชนส่งตัวอย่างสับปะรดในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋องมาให้ตรวจวิเคราะห์เพื่อนำผลไปใช้ประกอบการส่งออก จากวันนั้นจนถึงวันนี้งานจุลินทรีย์ได้พัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์ให้ทันตามกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ขอบเขตการให้บริการตรวจวิเคราะห์ได้เพิ่มขึ้นจนสามารถให้บริการต่ออุตสาหกรรมอาหารในบ้านเราทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ครบตามข้อกำหนดของกฎหมายอาหารภายในประเทศและต่างประเทศ งานที่ให้บริการมีดังนี้ :
1.1 บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค อาหารแช่เย็น อาหารแช่เยือกแข็ง และวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อออกใบรายงานผลวิเคราะห์ทั่ว ๆ ไป
1.2 บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋องและบรรจุขวด พวกผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำพริก รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่บรรจุในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เพื่อนำผลไปประกอบการออกใบรับรองสุขภาพ (Health Certificate) หรือใบรับรองสุขอนามัย (Sanitary Certificate) ในการส่งออกต่างประเทศ
1.3 บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อนำผลไปใช้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนอาหารของ อย.
1.4 บริการตรวจวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุการเสียของอาหารกระป๋องหรืออาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเนื่องจากจุลินทรีย์
2. งานวิจัย เริ่มจากอดีตจนถึงปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในอาหารได้มีการพัฒนา ศึกษา วิจัยมาตลอดตามเหตุการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราสามารถแบ่งกลุ่มงานวิจัยด้านนี้คือ
2.1 งานศึกษาวิจัยเรื่องความปลอดภัยในอาหารจากจุลินทรีย์ มีการศึกษาชนิดของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ทั้งตัวที่เป็นเชื้อโรคตามข้อกำหนดของกฎหมาย (E. coli, S. aureus, C. perfringens, Salmonella, B. cereus) และเชื้อโรคตัวใหม่ ๆ เช่น Listeria monocytogenes E. coli 0 157 : H7 และ Campyrobacter เป็นต้น ชนิดของอาหารที่ได้ศึกษาคือ อาหารหาบเร่แผงลอย อาหารพร้อมบริโภคในซุปเปอร์มาร์เก็ต แฮมเบอร์เกอร์ น้ำพริกสำเร็จรูป อาหารหมักดอง (เค็มบักนัด หอยดอง ปูเค็ม กุ้งจ่อม) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ และไอศกรีม
2.2 งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ งานวิจัยในกลุ่มนี้จะมีการศึกษาถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากจุลินทรีย์ไปเปลี่ยนองค์ประกอบของสารอาหารจนได้เป็นสารตัวใหม่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เช่น การทำโยเกิร์ต เครื่องดื่มกรดต่ำจากข้าวและข้าวโพด การทำเทมเป้จากกากถั่วเหลือง น้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้ การผลิตไวน์ผลไม้ และการทำวุ้นน้ำมะพร้าว เป็นต้น นอกจากการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์โดยทางตรงแล้ว ยังมีการวิจัยถึงการผลิตสารพวก bacteriocin ในจุลินทรีย์บางกลุ่มเพื่อนำไปใช้ยับยั้งการเกิดการเน่าเสียในอาหารบางประเภทได้
2.3 งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการหมัก มีงานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตแอลกอฮอล์จากวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ เช่น มันสำปะหลัง กากน้ำตาล น้ำอ้อย และข้าวเหนียว ศึกษาวิจัยถึงสายพันธุ์ของยีสต์ที่สามารถทนอุณหภูมิสูงระหว่างการหมักและทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เพื่อให้ได้แอลกอฮอล์เปอร์เซ็นสูงสุด
2.4 งานรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ และรา เพื่อจัดทำเป็นศูนย์รวบรวมจุลินทรีย์ (IFRPD Cultures Collection) เพื่อใช้ในการศึกษา วิจัย คัดเลือก และปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาด้านการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ (Starter Inoculum) สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารหมักด้วย
จุลินทรีย์ตามที่กล่าวมานี้คือ แบคทีเรีย ยีสต์และรา เป็นสิ่งมีชีวิตที่ให้ทั้งประโยชน์และโทษ ผลงานวิจัยในแง่มุมต่าง ๆ นี้ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ มาโดยตลอด เพียงแต่ว่าจะมีหน่วยงานใดทั้งภาครัฐหรือภาคเอกชน จะเล็งเห็นคุณค่าของงานวิจัยเหล่านี้หรือไม่ หรือจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้เป็นข้อกำหนดหรือใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านอาหารหมัก หรือใช้ในการร่างมาตรฐานอาหารต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนด้านงานบริการนั้นทางสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังคงให้ความช่วยเหลือต่อสังคมตลอดไป
*******************************************************
ทำความรู้จักกับวิตามินโฟเลทกัน
คุณแม่ที่กำลังคิดจะตั้งครรภ์ทุกคนล้วนอยากจะให้ลูกในท้องและตนเองมีสุขภาพที่ดี ไม่อยากให้แท้งลูกหรือลูกเกิดมาแล้วผิดปกติ วิตามินโพเลทมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงแท้งลูก หรืออาการพิการต่างๆ ได้ค่ะ วันนี้มาลองทำความรู้จักกับวิตามินโพเลทกันนะค่ะ
ทางการแพทย์ได้ค้นพบว่าคุณแม่ที่ขาดวิตามินโฟเลทในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มีโอกาสทำให้เกิดการแท้งหรือการสร้างส่วนประสาทของลูกผิดปรกติได้ เนื้อประสาทของลูกอาจจะยื่นออกมากลางหลัง ซึ่งอาจทำให้ลูกเสียชีวิตหลังคลอดได้ ดังนั้นคุณแม่ทุกคนควรทานอาหารที่มีโฟเลทสูงๆ เป็นประจำตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะบางคนกว่าจะรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ ลูกก็มีอายุ 2-3 เดือนแล้วซึ่งเป็นช่วงการสร้างส่วนสมองพอดีค่ะ อาหารที่มีโฟเลทสูงนั้นสามารถหาได้ง่ายในบ้านเราค่ะนั้นคือ ผักใบเขียวต่างๆ เช่น คะน้า บรอคโคลี่ และถั่วเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโฟเลทในตับ และเครืองในต่างๆ ค่ะ แต่มีข้อยกเว้นอาหารกระป๋องหรือน้ำผักผลไม้กระป๋องนะค่ะ เพราะว่าสารโฟเลทได้ถูกทำลายไปมากแล้วในการผลิต ทางการแพทย์จึงไม่แนะนำให้ทานสิ่งเหล่านี้ เราจึงควรที่จะทานผัก ผลไม้สดมากกว่าค่ะ
วิตามินโฟเลทคืออะไร
โฟเลทเป็นวิตามินตัวหนึ่งในกลุ่มของวิตามินบีในธรรมชาติค่ะ ซึ่งวิตามินโพเลทนี้มีความสำคัญในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายให้เจริญเติบโต รวมทั้งระบบสืบพันธุ์ หากขาดสารโฟเลทจะทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์หยุดชะงัก โดยเฉพาะเซลล์ที่เติบโตเร็ว เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงในไขกระดูก ทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดที่เรียกว่า เมกาโลบลาสติค แอนีเมีย และยังเสี่ยงเกิดโรคหลอดประสาทพิการ และปากแหว่งเพดานโหว่ในทารกแรกเกิด

จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า วิตามินโฟเลทมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติชนิดรุนแรงของทารกแรกคลอดลงได้ ความผิดปกติที่รุนแรงดังกล่าวคือ โรคหลอดประสาทไขสันหลังผิดปกติ หรือที่เรียกกันว่า Naural ture Defects คือความผิดปกติของเยื่อหุ้มประสาทไขสันหลัง เป็นเหตุให้แนวประสาทไขสันหลังพลอยปูดออกมาด้วย ทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทไขสันหลังขึ้นมา เด็กจะเดินไม่ได้ บางรายไม่สามารถควบคุมการฉี่หรือการอึได้ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสมองด้วย
วิตามินโฟเลทหาได้จากไหน

เราได้รับวิตามินโพเลทจากการทานอาหารและผลไม้ นอกจากนั้นเรายังสามารถซื้อโพเลทในรูปแบบของอาหารเสริมมาทานได้ สำหรับการทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ให้วิตามินโฟเลทสูงได้แก่ เนื้อหมูสันในและเนื้ออกไก่ ส่วนผลไม้ที่มีโฟเลทสูงได้แก่ สับปะรดศรีราชา ส้มโชกุน มะละกอแขกดำสุก ฝรั่งแป้นสีทอง แยมสัปปะรด เป็นต้น สำหรับกลุ่มอาหารประเภทธัญพืชได้แก่ ข้าวกล้องหอมมะลิซ้อมมือ ข้าวแตน สำหรับกลุ่มผักสดจะพบวิตามินโฟเลทในผักโขม แขนงกะหล่ำ ผักกาดดองเค็ม และผักใบเขียว
ข้อมูลจาก : หรรษาดอทคอม
......................................................................................................
อะโวคาโด ( Persea americana Mill.) เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาแถบเม็กซิโก กัวเตมาลา และหมู่เกาะเวสอินดีส อะโวคาโดเป็นไม้ยืนต้นที่ใช้ผลรับประทานกันมานานในอเมริกาและยุโรป เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ แต่ในประเทศไทยไม่เป็นที่นิยมบริโภคมากนักเนื่องจากประเทศไทยของเรานั้นมีผลไม้อยู่หลากหลายชนิด จึงมีทางเลือกการบริโภคผลไม้อีกมากมาย ทั้งนี้คนไทยนิยมบริโภคผลไม้ที่มีรสหวาน กลิ่นหอมนุ่มนวล ซึ่งรสชาติ และกลิ่นของอะโวคาโดไม่ได้อยู่ใน
.jpg)

1. เนื้อผลประกอบด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ประมาณ 4-20% แล้วแต่พันธุ์ โดยกรดไขมันในอะโวคาโด ร้อยละ 70 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด monounsaturater fatty acid ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยช่วยลดปริมาณ LDL-cholesterol ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่เป็นผลเสียต่อร่างกายและเพิ่มปริมาณ HDL-cholesterol ในเลือดซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่เป็นผลดีต่อร่างกาย มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดไขมันในเส้นเลือดคนที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงก็บริโภคผลไม้ชนิดนี้ได้ และใช้ลดน้ำหนักได้ดี เพราะปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่มีน้ำตาลต่ำ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงสามารถบริโภคผลไม้ชนิดนี้ได้
2. น้ำมันอะโวคาโด (Avocado oil) เป็นน้ำมันสกัดจากเนื้อของผลอะโวคาโด เป็นน้ำมันที่ดูดซึมสู่ผิวหนังได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันอัลมอนด์ และน้ำมันมะกอก ประกอบด้วยวิตามินอี กรดไขมัน linoleic และ oleic, phytosterol ใช้นวดศีรษะเร่งการงอกของผม น้ำมันนี้มีกลิ่นคล้ายเมล็ดถั่ว คงตัวดี น้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหารก็มีส่วนช่วยให้วิตามิน และสารอาหารที่ละลายในไขมันสามารถถูกดูดซึมนำไปใช้ได้ สลัดผักจำพวกผักใบเขียว อย่างผักโขม เลตตูซ มะเขือเทศ และแครอท ที่ใช้น้ำมันสลัดที่ปราศจากไขมัน จะทำให้คาโรทีนอยด์ที่ละลายในไขมันซึ่งอยู่ในพืชผักเหล่านี้ไม่สามารถูกดูดซึมนำไปใช้ได้ ไขมันที่อยู่ในอะโวคาโดช่วยในการดูดซึมคาโรทีนอยด์ที่ช่วยต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไลโคพีนในมะเขือเทศ เบต้า-แคโรทีนในผักสีส้ม และลูทีนในผักใบเขียว
.jpg)


5. โปรตีนสูงกว่าผลไม้สดอื่น ๆ ประมาณ 0.8 – 1.7 % โดยให้ค่า พลังงานความร้อนต่อร่างกายสูงแต่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีเยื่อใยสูง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย
ประโยชน์มากอย่างนี้หวังว่าคนไทยจะหันมาบริโภคอะโวคาโดกันมากขึ้น โดยสามารถนำอะโวคาโดมาจิ้มน้ำพริกแทนผัก ทำสลัด ไอศกรีม ซูชิ อะโวคาโด-ลอดช่องน้ำกะทิ ทาขนมปังแทนเนย รับประทานกับน้ำตาล รสหวาน มัน โรยเกลือป่นรสจะเค็ม ๆ มัน ๆ เราลองมาทำอาหารอร่อย ที่ปรุงง่ายจากอะโวคาโดกันดีกว่า........................................................................................................
มัลเบอรี่ ผลหม่อน ประโยชน์น่าลอง
“ผลหม่อน หรือ MULBERRY การใช้ประโยชน์จากผลหม่อนนั้นหลากหลายมากมายไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนเองเลย ผลหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณใช้รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ ดกดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย ชาวจีนเรียกผลหม่อนว่า sangshen ในหนังสือ modern Chinese Materia Medica ให้สมญานาม ผลหม่อน ว่าเป็น Blood tonic นั่นย่อมแสดงถึงความสำคัญในด้านบำรุงเลือดตามคติความเชื่อของชาวจีนได้เป็นอย่างดี แพทย์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ชื่อ เลี่ยงฮียัง ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการรับประทานผลหม่อนสุกไว้ว่า “ทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคลายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย”
ส่วนด้านของแพทย์แผนจีนนั้นแนะนำให้ใช้ผลหม่อนสุกในการรักษาสมดุลของพลังหยิน ป้องกันผมหงอกก่อนวัย โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เช่น ราก ho-shou-wu (Polygonum multiflorum), ราก rehmannia (Rehmannia glutinosa, root), ผลของ ligustrum (Ligustrum lucidum) และผลของ lyceum (Lycium chinensis)ในทวีปยุโรป ออสเตรเลียและอเมริกาเหนือ นิยมปลูกต้นหม่อนไว้ตามสนามหญ้าหน้าบ้านหรือหลังบ้านเพียง 2-3 ต้น เพราะนอกจากจะเป็นไม้ประดับแล้ว ยังให้ผลไว้รับประทานในครอบครัวอีกด้วย
ผลหม่อนจะหาซื้อทานได้ยากมากในท้องตลาด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป สำหรับในบ้านเรา หม่อนพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่มีเพศเมีย เช่น หม่อนไผ่ หม่อนคุณไพ จะให้ผลที่มีขนาดเล็ก ทำให้ไม่มีใครสนใจที่จะนำไปบริโภคมากนัก จนกระทั่งเรามีหม่อนพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตใบสูงแล้วยังให้ผลที่มีขนาดใหญ่ คือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ทำให้เริ่มมีคนหันมาสนใจทานผลหม่อนสดกันได้อย่างเอร็ดอร่อยมากขึ้น 
........................................................................................................
"ลูกพรุน" ราชาแห่งไฟเบอร์



แหล่งที่มา : นิตยสารดาราเดลี่
ภาพ : อินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น