วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ยาบำรุงกำลังไก่

   เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา กลับไปที่บ้านพ่อ บังเอิญมากเห็นพ่อกำลังทำอะไรบางอย่าง หาฟืนก่อไฟ มองไปเห็นว่าในถุงหิ้ว มีงูหนึ่งตัว ถามพ่อว่างูอะไร พ่อว่างูสิง ถามต่อกับพ่อว่า เอามาทำอะไร บาปกรรม พ่อเล่าว่า เอามาทำยาบำรุงกำลังไก่ เรื่องของเรื่อง ที่บ้านพ่อเลี้ยงไก่ชน เป็นอะไรที่พ่อชอบมาก เลี้ยงมาหลายรุ่นแล้ว ไว้วันหลังจะเอารูปมาลงให้ดูกันว่าไก่พ่อสวยงามขนาดไหน ที่แน่ๆ ตอนนี้แกเลี้ยงไว้ประมาณ 5 ตัว มีคนแวะเวียนมาบ้านบ่อยๆ เค้าเรียกว่า "สาขา" ของพ่อแหล่ะ มีตั้งแต่รุ่นหนุ่ม จนถึงรุ่นเดียวกับพ่อ แก่กว่าพ่อก็มี แต่ที่เราเห็นก็จะเป็นรุ่นหลานๆ พ่อแล้วแหล่ะ แปลกดี เด็กวัยรุ่นบ้านนอกสมัยนี้ ทำไม๊ ชอบไก่ชน ทีนี้มาดูวิธีการของพ่อกันว่า พ่อทำยาบำรุงไก่ยังไง

ขั้นแรกเลย ก่อไฟ เอางูมาเผา

เผาแล้วก็เผา

เผาไปเรื่อยๆ

เผาจนเกรียมทั้งตัว

เผา เผา เผา

สุดท้ายก็เป็นอย่างที่เห็น

เราถามพ่อว่า งูที่เผา เอามาจากไหน พ่อบอกว่าซื้อมาจากเด็กแถวๆบ้าน ตัวล่ะ 5 บาท มันก็ขยันหามานะ เด็กที่หามาให้ อายุประมาณ 10-11 ขวบ ชื่อไอ้ออม กะไอ้โก้ หาของพวกนี้เก่ง ก็อยู่บ้านนอกนี่นะ ธรรมชาติพาไป มาดูวิธีการทำยาบำรุงกำลังไก่ ต่อกันดีกว่า พอได้งูที่เผาไฟเสร็จแล้ว ก็เอางูที่เผาเสร็จมาขูดเกล็ดออกให้หมด แล้วก็ทำการตัดเป็นท่อนๆ แล้วนำมาสับให้ละเอียดเหมือนสับหมูนั่นแหล่ะ เสร็จแล้ว เอามาตำใส่พริกไทย กระเทียม  หลังจากนั้นก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ เล็กๆ ขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเหลือง บางคนคงเคยเห็นยาลูกกลอน ขนาดเท่านั้นเลยค่ะ ปั้นเสร็จก็เอานำไปใส่กระด้ง ไปตากแดด แดดเดียวนะ แล้วก็เอามาชุบน้ำผึ้ง ตอนที่จะเอาให้ไก่กิน  รับรองเลยว่า ไก่ของคุณจะทนชนเก่ง ไม่ออกกลางยก ไม่เลิกกลางคัน แน่นอน (อันนี้ไม่ได้โม้) จริงๆแล้ว อยากเอารูปมาฝากให้ครบขั้นตอนพอดีว่า เราไม่มีเวลารอดูพ่อจนขั้นตอนสุดท้าย ถ้ามีรูปอีกเมื่อไหร่จะเอามาลงให้ดูอีกรอบนะค่ะ ต้องพาแม่เดินทางไกล ไป กทม. หาหมอที่ศิริราช พูดแล้วก็เสียดายจัง...ไว้ครั้งหน้าแล้วกันค้า...แต่ไม่ใช่ให้ไก่กินแต่ยาบำรุงอย่างเดียวนะ จะต้องมีขั้นตอนปรนนิบัติไก่ ประคบประหงม กันอีกหลายขั้นตอน แล้วจะเอามาเล่าต่อให้ฟังครั้งหน้า ต้องไปสัมภาษณ์ ท่านพ่อก่อน ....บทความนี้สำหรับคนรักไก่ชนค่ะ ไว้มาติดตามกันนะค่ะ..

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

มะพร้าวน้ำหอม กับสระน้ำใหม่

มะพร้าวที่พ่อปลูกไว้ ตอนนี้กำลังโต

เมื่อครั้งที่แล้ว ลงเรื่องควายของพ่อที่ไปซื้อมาใหม่ ครั้งนี้จะเอาเรื่องมะพร้าวน้ำหอมที่ปลูก กับสระน้ำที่พึ่งจะขุดเมื่อปีที่แล้วมาให้ดูกันนะค่ะ ตอนนั้นซื้อมะพร้าวน้ำหอมที่ตัวอำเภอมา กะว่าจะมาปลูกคิดว่าปลูกทิ้งๆไว้เท่านั้น ไม่ได้คิดว่าจะใส่ใจอะไร แต่ลงดินแล้ว เห็นต้นมันเหลืองๆ ไม่ได้น้ำก็อดสงสารมันไม่ได้ ต้องหาคนมารดน้ำให้มัน เป็นเพราะว่าสงสารมันกลัวมันตาย รดได้สักอาทิตย์ เชื่อไหม มันเขียวขึ้นมาทันตาเห็นเลยเชียว ไม่เสียแรงจ้างคนรดน้ำนะเนี่ย แต่ดูๆไป มันก็ยังไม่ค่อยจะโตเท่าไหร่ ปลูกตั้งกะเดือน สิงหาคม ปีที่แล้ว เราไม่ได้ปลูกเองนะ พ่อปลูก ขุดดิน พ่อทั้งนั้น ก็จะไปปลูกแล้ว พ่อบอกว่ารอไม่ไหวเดี๋ยวต้นมะพร้าวตายก่อนลงดิน เราต้องทำงานนี่นะ ทำไงได้ ไปซื้อมาแต่ไม่ได้ปลูก.. ฮ่าๆ สรุปแล้วก็ฝีมือ พ่อทั้งน้านเล๊ย

ต้นเท่านี้แหล่ะ ยังไม่โตเท่าไหร่

ที่มองเห็นไกลๆ โน้น ก็เป็นสระน้ำใหม่ แม่หาต้นกล้วยมาปลูก มองเห็นต้นกล้วยไกลๆ นั่นแหล่ะ แม่ไปเอาพันธุ์กล้วยน้ำหว้าต้นเตี้ยมาปลูก แม่บอกว่า ไปขอเค้ามา กว่าเค้าจะให้ เกือบแย่ ได้มาสองต้น ตอนนี้กำลังโต รอบๆสระน้ำ ก็ปลูกตะไคร้ ข่า พ่อไปเอาต้นมะข่า กะ ต้นอะไรไม่รู้ลืมถาม กลับบ้านครั้งหน้าจะไปถามพ่อแล้วกัน ปลูกไว้รอบๆ สระ พ่อบอกกว่าปลูกไว้ให้ลูกๆหลานๆดู

ต้นนี้โตกว่าต้นอื่น

ตอนแรกที่ซื้อพันธุ์มะพร้าวมา เค้าบอกชื่อพันธุ์เหมือนกัน แต่ดันลืมไปแล้ว  เหตุที่ปลูกต้นมะพร้าวน้ำหอมเพราะว่า คนที่บ้านชอบกินน้ำมะพร้าวทุกคน ไปซื้อมาทีไร แย่งกันกินทุกที ตอนนี้เราก็สั่งพันธุ์มะพร้าวกะทิมาอีก สั่งเค้ามา 10 ต้น ยังไม่ได้ของเลย ต้องรอเพาะก่อน แต่พ่อกะแม่ไม่ค่อยสนับสนุนการปลูกเท่าไหร่บอกว่ามันกินไม่อร่อย เลยไม่อยากให้ปลูก แต่เราก็ไปสั่งเค้าแล้ว ได้ลงดินเมื่อไหร่จะเอามาให้ดูกันแล้วกันเนอะ

แปลงสะระแหน่ ของพ่อ

นอกจากมีมะพร้าวแล้ว รอบๆบ้านของเรา ยังมีพืชผักอื่นๆ อีกหลายอย่าง ดูเอาแล้วกันเนอะ

พลู ของแม่ แม่หวงสุดๆ

ต้นนุ่น (ต้นงิ้ว) ข้างสระ

ไก่ต๊อกของพ่อ 3 ตัว

ต้นมะขามเทศข้างบ้าน กำลังโต

ต้นจันทร์แดง เอามาจากพ่อใหญ่เป้ย ที่บ้านพ่อใหญ่ปลูกเพียบ

บ้านพ่อใหญ่เป้ย ทางไปซับตารี อยู่แถวโป่งน้ำร้อน จันทบุรี ญาติของพ่อ ปลูกจันทร์แดง จันทร์ผาไว้เพียบเลย เค้าบอกว่าปลูกไว้ขาย ตอนนั้นไปบ้านเค้าไปขอเค้ามา ไม่ได้ซื้อหรอก เค้าบอกว่าต้นหนึ่งหลายตังค์มากเลย ไม่อยากถามราคา ใครอยากรู้ลองถามร้านขายต้นไม้ดูเองนะค่ะ วันนี้แค่นี้ก่อน ครั้งหน้าจะเอารูปมาลงใหม่ คอยติดตามนะค่ะ.........

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

นาเกษตรของเรา ณ.ตอนนี้

นาของพ่อ โล่ง หญ้าขึ้นพอประมาณ
หลังเวลาเก็บเกี่ยวแล้ว ที่นาก็เป็นโล่งๆ อย่างที่เห็น ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร พ่อนั่งๆ นอนๆ ไม่ได้ทำอะไรหลังจากที่ขายควายไป 3 ตัวแล้ว เพราะมีเหตุจำเป็นแม่ป่วยต้องเอาเวลามาคอยดูแลแม่ แต่ตอนนี้แม่ดีขึ้นมาก ทำอะไรได้ไม่เหนื่อยเหมือนเมื่อก่อน พ่อก็เลยเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง อยู่เฉยไม่เป็น ทำเอาคนที่บ้านปั่นป่วน นึกไปนึกมาก็เลยโทรมาบอกว่าจะไปซื้อควายมาเลี้ยงอีก แกบอกว่าดีกว่าอยู่เฉยๆ ก็เลยต้องตามใจแก อย่างว่าคนมันเหงานี่นา

กำลังเอาควายที่ไปซื้อมาลงจากรถ

มีเพื่อนบ้านมาคอยสังเกตุการณ์ด้วย

หญ้าที่ขึ้นรอบๆ บ้านกำลังเขียวสวย

พ่อบอกว่าถ้าไม่ซื้อควายมาเลี้ยง พ่อเหมือนไม่มีอะไรทำ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่รู้แกคิดไปเองหรือเปล่า แต่ก็ตามใจแกแหล่ะ เดี๋ยวแกงอน ครั้งแรก ได้มา 3 ตัว เป็นควาย แม่กะลูกเล็กๆ แล้วก็มีไอ้ตัวเล็กอีกตัว พ่อบอกว่าคนที่เอามาขายที่ตลาดควายเป็นคอกเดียวกัน ก็เลยซื้อมาพร้อมกัน เพื่อจะได้ไม่ต้องดูแลมาก มันไปไหนก็ไปด้วยกัน ถ้ามาต่างที่ คงจะเข้ากันยากเหมือนกัน กว่าจะปรับตัวเข้ากันได้ มาถึงหาเชือกมาผูกที่คอ แล้วก็ปล่อยให้ไปหาหญ้ากินรอบๆบ้าน หญ้ารอบๆบ้านได้ฝนใหม่ๆ กำลังขึ้นเขียวเต็มไปหมดนี่คงเป็นอีกสาเหตุที่พ่ออยากได้ควายมาเลี้ยง แกบอกว่า เสียดายหญ้า

ดูแล้วผอมๆ อยู่อีกเดี๋ยวคงอ้วนน่าดู

               ลงมาแล้ว ลงมาก็ตรงดิ่งไปหาหญ้า สงสัยกำลังหิว กินแบบไม่มองใครเลย คนถ่ายก็กลัว มาถ่ายซะไกลมองไม่เห็นควาย หญ้าเยอะมาก ควายคงชอบ กะว่าจะตั้งชื่อให้สักหน่อย แต่ยังไม่ได้คิดเลย ต้องคิดแต่ก็ต้องถามพ่อก่อนว่าชอบหรือเปล่า เดี๋ยวไม่ชอบไม่ยอมอีก



ลงมาแล้วก็กินๆๆๆ ไม่ยอมเงยหน้าเลย

ไว้แค่นี้ก่อนแล้วจะลงเรื่องวิวัฒนการมะพร้าว ครั้งหน้า มาติดตามกันนะค่ะ........

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมประจำชุดวิชา สารสนเทศและการวิจัยทางธุรกิจการเกษตร

กิจกรรมของวิชา สารสนเทศและการวิจัยทางธุรกิจการเกษตร (ดูเป็นแนวคำตอบนะค่ะ ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่า แต่อาจารย์บอกว่า เราได้ 15 คะแนน จาก 20 คะแนน)

ข้อที่ 1.
1.1 สารสนเทศทางธุรกิจการเกษตร หมายถึง (3 คะแนน)

ตอบ  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ คือ ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ หรือ เสียง ทั้งที่เป็นข้อมูลดิบและข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ หรือประมวลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้

1.2 การได้มาของสารสนเทศทางธุรกิจการเกษตรมีกี่วิธี อะไรบ้าง (3 คะแนน)
ตอบ  มี 4 วิธี 1. การตรวจสอบจากแหล่งสารสนเทศที่ตนมีอยู่ 2. การสอบถามบุคคลหรือผู้รู้ 3. การใช้บริการจากหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ 4. การวิจัย

1.3 เกณฑ์ในการประเมินผลการค้นสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป (4 คะแนน)
ตอบ  เกณฑ์ในการประเมินผลการค้นสารสนเทศที่สำคัญ ได้แก่
-ความน่าเชื่อถือของผู้เขียนและผู้รับผิดชอบ
-ความทันสมัย
-รูปแบบ
-คุณภาพของสารสนเทศหรือเนื้อหาที่นำเสนอ
-ค่าใช้จ่าย ทั้งในการค้น และการเข้าถึงเอกสารต้นฉบับ

ข้อ 2.
ขั้นตอนการวิจัยมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง ให้อธิบายให้ครบทุกขั้นตอน (10 คะแนน)
ตอบ  ขั้นตอนการวิจัยมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการคิด เริ่มจากต้องกำหนดวัตถุประสงค์หรือคำตอบว่ามีอะไรบ้าง จากนั้นจึงเลือกวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับ แต่ละวัตถุประสงค์ที่ต้องการ วิธีวิเคราะห์ที่เลือกจะเป็นตัวกำหนดข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ ในการวิเคราะห์สำหรับแต่ละวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 2 คือ เก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์สำหรับแต่ละวัตถุประสงค์ หลังจากนั้นนำข้อมูลข้างต้นมาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีที่กำหนดไว้ในแต่ละวัตถุประสงค์ และผลการวิเคราะห์คือ คำตอบสำหรับแต่ละวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยต้องการ

ข้อ 3.
ให้นักศึกษาหาข้อมูล ราคาสินค้าเกษตร ชนิดหนึ่งจากรายงานของหน่วยงานต่างๆ หรือจากทาง Internet เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ โดยเป็นข้อมูลรายเดือน รวม 12 เดือน ตั้งแต่ มกราคม-ธันวาคม ของปี 2550 หรือปี 2551 หรือปี 2552 แล้วถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด ส่งมาด้วยพร้อมทั้งบอกแหล่งที่มาของข้อมูล ( 5 คะแนน)

ตอบ  เราไปเอาข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร
ราคาขายปลีกสินค้าเกษตร กล้วยหอมทอง ใหญ่ (ผล) เรานำเอาข้อมูลของปี 2552 โดยมีรายละเอียดเป็นราคากล้วยหอมทอง แบ่งออกเป็นเดือน ตั้งแต่เดือน มกรา-ธันวา 52

มกรา -  กุมภา  -  มีนา  - เมษา  -  พฤษภา  - มิถุนา  -  กรกฏา  - สิงหา  - กันยา -  ตุลา  -  พ.ย  - ธ.ค   -- เฉลี่ย--
3.95      3.42        2.57     2.50         2.50        2.50        2.50        2.50       4.58      3.57     3.25   3.25       3.11 


<><><>
<><><>
<><><>
ข้อ 4.
จากข้อมูลในข้อ 3. ให้คำนวณค่าต่างๆ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐาน ค่าความแปรปรวน ค่าส่วนเบี่ยง
เบนมาตราฐานและค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน ของ ข้อมูลราคาสินค้าตัวอย่าง ดังกล่าว โดยให้อธิบาย
ขั้นตอนการคำนวณอย่างละเอียด (10 คะแนน)
ตอบ ข้อมูลราคาขายสินค้าเกษตร กล้วยหอมทองใหญ่ (ผล) ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่เดือน
 ม.ค ถึง ธ.ค ปี 2552 ระยะเวลา 12 เดือน
ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์คือ 3.5,3.42,2.57,2.50,2.50,2.50,2.50,2.50,4.58,3.75,3.25,3.25
นำข้อมูลที่ได้แต่ละเดือนบวกกัน จะได้ คือ ตอบ  (ก) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  = 37.27   บาท = 3.11 บาท



































ข้อ 5.
องค์ประกอบของข้อมูลอนุกรมเวลาประกอบด้วยความผันแปรกี่ชนิด อะไรบ้าง ให้อธิบายอย่างย่อๆ (10 คะแนน)

ตอบ  องค์ประกอบของข้อมูลอนุกรมเวลาประกอบด้วยความผันแปร 4 ชนิด คือ
1. ความผันแปรเนื่องจากแนวโน้มเป็นความผันแปรที่เกิดขึ้นตามปกติในช่วงระยะเวลานานๆโดยไม่มีอิทธิพล
ของความผันแปรชนิดอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง
2. ความผันแปรเนื่องจากฤดูกาล เป็นความผันแปรที่เกิดขึ้นแบบเดียวกันหรือคล้ายๆกันในแต่ละช่วงเวลาสั้นๆ
3. ความผันแปรจากวัฏจักร เป็นความผันแปรในระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงรอลเส้นแนวโน้ม โดยมีรูปแบบ
ของความผันแปรทำนองเดียวกันทุกๆช่วงเวลาที่นานพอสมควร
4. ความผันแปรเนื่องจากเหตุการณ์ผิดปกติ เป็นความผันแปรที่เกิดขึ้น นานๆครั้ง ซึ่งอาจจะเนื่องมาจาก
ภัยธรรมชาติ

ข้อ 6.
การเปิดตาราง (10 คะแนน)
จงหาค่าวิกฤตของ Z หรือ t สำหรับ
1) n = 20, a = 0.01 และทดสอบสมมติฐานด้านเดียว t0.005 = 2.8609
2) n = 50, a = 0.01 และทดสอบสมมติฐานด้านเดียว Z0.005 = 2.575
3) n = 75, a = 0.05 และทดสอบสมมติฐานด้านเดียว Z0.025 = 1.960
4) n = 15, a = 0.05 และทดสอบสมมติฐานสองด้าน t0.025 = 2.1448
5) n = 25, a = 0.10 และทดสอบสมมติฐานสองด้าน t0.05 = 1.7109
6) n = 60, a = 0.10 และทดสอบสมมติฐานสองด้าน Z0.05 = 1.645

จงหาค่าวิกฤต F
7) F .05 df = 8,25  = 2.34
8) F .10 df = 4,15 = 1.50

จงหาค่าวิกฤต x2 ที่
9) a = 0.01 และองศาความเป็นอิสระ = 12 ค่าวิกฤต x2  = x20.005,11 = 26.75
10) a = 0.05 และองศาความเป็นอิสระ = 20 ค่าวิกฤต x2 = x20.025,19 = 32.85

ข้อ 7.
7.1  การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ใช้วิเคราะห์อะไร (5 คะแนน)
ตอบ  ใช้วิเคราะห์สิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขาย
สินค้าของร้านค้ากับจำนวนลูกค้า

7.2  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าได้ตั้งแต่ค่าใดถึงค่าใด และมีความหมายอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าได้ตั้งแต่ -1 ถึง +1 และมีความหมาย คือ เป็นค่าที่แสดงความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรสองตัว โดยวิเคราะห์ว่าข้อมูลของตัวแปรเหล่านั้น มีความสัมพันธ์ระหว่างกันหรือไม่

ข้อ 8.
8.1 การทดสอบไคสแควร์ใช้วิเคราะห์อะไร และใช้กับข้อมูลประเภทใด (5 คะแนน)
ตอบ  การทดสอบไคสแควร์ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรอยู่ในรูปความถี่จะใช้ไคสแควร์ใน
การทดสอบความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลหรือตัวแปร และใช้กับข้อมูลที่อยู่ในรูปความถี่่

8.2 ในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ ถ้าค่าไคสแควร์ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าไคสแควร์จากการเปิด
ตารางจะสรุปผลว่าอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ  ถ้าค่าไคสแควร์ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าไคสแควร์จากการเปิดตาราง แสดงว่าค่าที่คำนวณ
ได้ตกอยู่ในบริเวณวิกฤตจะต้องปฏิเสธสมมติฐานว่างตัวแปรที่นำมาทดสอบไม่เป็นอิสระจากกันนั่นคือ
ตัวแปรมีความสัมพันธ์กัน

8.3 ในการเปิดตารางไคสแควร์จะต้องทราบค่าอะไรบ้างจึงจะเปิดตารางได้ (5 คะแนน)
ตอบ  การเปิดตารางไคสแควร์จะต้องทราบค่า ทางสถิติไคสแควร์จากตารางเพื่อกำหนดเขตวิกฤติจึงจะเปิด
ตารางได้










ข้อ 10.
บริษัทธุรกิจการเกษตรแห่งหนึ่งต้องการทดสอบความสามารถของพนักงานขาย 4 คน คือ สมชาย พรชัย วันดี
และ ดารา ว่าแตกต่างกันหรือไม่ และขณะเดียวกันก็ต้องการทราบความแตกต่างของยอดขายสินค้าที่พนักงาน
แต่ละคนขายได้ใน 3 จังหวัด คือ นครปฐม สระบุรี และชลบุรี จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนยอดขาย
 (พันบาท) ที่พนักงานทั้ง 4 คนขายได้ในจังหวัดต่างๆข้างต้นในรอบเดือนที่ผ่านมา แล้วนำมาวิเคราะห์ความ
แปรปรวนแบบจำนแนกสองทาง ผลการวิเคราะห์แสดงในตารางวิเคราะห์ความแปรปรวนต่อไปนี้

ตอบ


เราคงตอบผิดไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง ใครที่สามารถตอบได้หรืออ่านเจอช่วยบอกหน่อยนะค่ะจะได้แก้ไขให้ถูกต้องค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปลูกตะไคร้ตัดใบจำหน่ายสร้างรายได้งาม

สวัสดีค่ะ สำหรับผู้ที่เข้ามาแวะบล็อกนี้นะค่ะ วันนี้ได้นำเอาบทความของนักวิชาการเกษตรผู้เชี่ยวชาญมาลงไว้สำหรับผู้ที่สนใจนะค่ะ ....
ปลูกตะไคร้ตัดใบจำหน่ายสร้างรายได้งาม
         ดิฉันมีโอกาสได้นำทีมข่าวของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นทิพย์เคเบิ้ลทีวี  ไปถ่ายทำสารคดีเกษตร  โดยไปหมู่ที่ 9 ตำบลหนองหลวง  อำเภอลานกระบือ จังหวัดแพงเพชร    ที่นี้มีการปลูกตะไคร้เกือบทุกครัวเรือน  การปลูกตะไคร้ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะปกติทุกบ้านปลูกตะไคร้ไว้กินและนำหัวไปจำหน่าย 
                                                                         
  แต่เกษตรกรหมู่ที่9 บ้านทรายทองปลูกตะไคร้เพื่อตัดใบไปจำหน่าย   บางครัวเรือนมีการปลูกตะไคร้ถึง 10  ไร่ซึ่งเกษตรกรจะไถพรวนและปลูกเหมือนกับการดำนา ปลูกแล้วปล่อยน้ำออก   และรดน้ำทุก 7 วัน ถ้าฝนไม่ตกปลูกระยะ 25 ซม.คูณ 50 ซม. ใน 1 ไร่ใช้ต้นพันธ์ประมาณ 400 กก.  เมื่ออายุ ได้ 3 เดือนจะสามารถเก็บเกี่ยวได้และตัดทุก 20 วัน  ตะไคร้สามารถมีอายุได้  2-3ปี  จึงจะไถทิ้ง แล้วแต่การดูแลรักษา  1 ไร่ตัด 1 ครั้งได้ใบตะไคร้สดประมาณ 1 -2 ตันนำมาหั่นและตากแห้งจำหน่ายกก.ละ 12.50 บาท  ตะไคร้แห้ง  1 ตันตากแห้งได้  250 กก.  เมื่อนำรายได้มาเปรียบเทียบกับการทำนาแล้วการปลูกตะไคร้จะมีรายได้ดีกว่าหลายเท่าตัว การปลูกตะไคร้เพื่อตัดใบจำหน่ายถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรขอเชิญท่านผู้อ่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ     
บทความจาก : คุณกิติกานต์  ศรีวิชัย
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว
สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้จากผู้มีประสบการณ์

คุณสงวน มลคลศรีพันเลิศ

ช่วงนี้หน่วยงานต่างๆ มักชวนให้ไปทำข่าวเกษตรกรดีเด่นหรือปราชญ์ชาวบ้านค่อนข้างถี่ ทำให้นึกอยากจะทำไร่นาสวนผสมกับเขาบ้าง ล่าสุดทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก็เชิญให้ไปดูผลงานของ "คุณสงวน มงคลศรีพันเลิศ" ที่บ้านเขากลม ต.หนองทะเล อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ เขาผู้นี้ได้รับรางวัลมากมายถึง 16 รางวัล ทั้งระดับจังหวัดและประเทศ อาทิ เป็นเกษตรกรดีเด่น ปี 2548 สาขาปศุสัตว์, รางวัล 76 คนดีแทนคุณแผ่นดินปี 2552, รางวัลการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านประชาชนทั่วไป ปี 2550 และได้รับรางวัลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชนะเลิศอันดับ 1 ระดับจังหวัดปี 2550 ฯลฯ

เริ่มจากจุดที่ 1 การเลี้ยงวัว, แพะ (สัตว์ 4 กระเพาะ) ครบวงจรโดยไม่กินหญ้า ใช้ทางปาล์มน้ำมันมาบดและหมักเพื่อใช้เป็นอาหารแพะและวัวแทนหญ้า จุดที่ 2 การทำปุ๋ยหมักระบบเติมอากาศ จุดที่ 3 การปลูกผักระบบใต้ดิน (ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ) จุดที่ 4 การผลิตอาหารสัตว์จากทางปาล์มน้ำมัน จุดที่ 5 การปลูกพืชผสมผสาน จำนวน 5 ไร่ แก้จน
จุดที่ 6 การเลี้ยงปลาแบบบ่อ 3 ด้าน โดยการทำบ่อปลาติดผนังบ้าน หรือโรงเรือนต่างๆ เพียง 3 ด้าน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย จุดที่ 7 การทำน้ำส้มควันไม้ครบวงจรได้จากการสกัดน้ำจากควันไม้ ประเภทส้ม จุดที่ 8 การอบสมุนไพร จุดที่ 9 การทำและการเลี้ยงจุลินทรีย์โดยใช้ภูมิปัญญาไทย จุดที่ 10 การเลี้ยงเป็ด, ไก่ (คอล่อน)จุดที่ 11 การทำเตาก๊าซชีวภาพกลายเป็นแก๊สหุงต้มโดยใช้มูลสัตว์ จุดที่ 12 การทำน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้ภูมิปัญญา จุดที่ 13 ตู้อบสมุนไพร จุดที่ 14 การทำน้ำยาล้างจาน จุดที่ 15 การทำอาหารปลาดุก จุดที่ 16 การทำน้ำมันนวด จุดที่ 17 การทำเห็ดอบโอ่ง จุดที่ 18 การปลูกพืชตีกลับ คือการปลูกกล้วย โดยนำเอาส่วนยอดลงเพื่อเพิ่มจำนวนของหน่อที่จะเกิดขึ้น จุดที่ 19 การเพาะถั่วงอก จุดที่ 20 การทำถังแก๊สขนาดย่อม จุดที่ 21 การทำปลาเค็มอบดิน และ

ในบรรดาจุดเรียนรู้ต่างๆ นี้ น่าสนใจเรื่องการปลูกพืชตีกลับ ซึ่งคุณสงวนได้โชว์ให้เห็นด้วยการนำหน่อชี้ฟ้าเอาส่วนต้นที่มีใบลงดินว่า ถ้าปลูกกล้วยโดยนำหน่อหรือโคนลงดินเหมือนที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปจะได้ต้นกล้วย 1 ต้น เมื่อออกลูกจะได้เครือหนึ่งประมาณ 7-8 หวี แต่ถ้าปลูกเอาปลายลง จะได้ต้นกล้วย 3-4 ต้น ได้กล้วย 3-4 เครือ แต่ละเครือจะได้กล้วยถึง 10 หวี วิธีนี้สามารถใช้ได้กับกล้วยได้ทุกชนิด

หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วต้นไม่ตายหรือ คุณสงวนตอบแบบติดตลกว่า "กล้วยมันมีปัญหาเลยเรียกประชุมกันด่วนว่าทำไมมั่วจังเลย เกิดสึนามิหรือเปล่า ประมาณ 15 วัน มันจะรีบขึ้นมาอย่างน้อย 3-4 ต้น พร้อมกันเลย พอมันขึ้นมาแล้ว มันจะพึ่งตัวเองคือมันจะกินตัวมันเองที่มีจุลินทรีย์เราไม่ต้องใส่ปุ๋ย"

ทั้งนี้ ต้นกล้วยที่ได้จะมีความสูง ไม่เกิน 1.50 เมตร และจะออกเครือเร็วกว่ากล้วยที่ปลูกด้วยการนำหน่อลงดิน ที่สำคัญขนาดของลูกจะใหญ่ขึ้นนอกจากนี้ คุณสงวนยังมีวิธีการเพิ่มมูลค่าของกล้วยด้วยวิธีการแต่งกลิ่นเข้าไป อยากได้กล้วยรสทุเรียน รสสตรอเบอรี่ รสวานิลลา หรือรสสละก็สามารถทำได้ตามใจชอบ จากเดิมขายกล้วยได้หวีละ 10 บาท แต่พอแต่งกลิ่นและรสชาติพวกนี้แล้วสามารถขายได้ถึงหวีละ 45 บาท

สำหรับวิธีการทำนั้นคุณงวนบอกว่าไม่ยากเลย พอตอนกล้วยออกปลีก็ไปเจาะหรือกรีดลำต้นเป็นรูปสามเหลี่ยมจนถึงไส้ทำให้เกิดแผล จากนั้นนำหัวเชื้อเข้มข้นและกลิ่นต่างๆ ที่ต้องการ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในท้องตลาดจำพวกเดียวกับที่ใช้ทำกลิ่นไอศครีม ตกขวดละ 10 กว่าบาท นำมาชุบสำลีแล้วยัดเข้าไปในไส้ต้นกล้วย จากนั้นปิดไส้ต้นกล้วยให้เหมือนเดิม สักสองเดือนกล้วยก็สุกและจะได้กล้วยตามกลิ่นที่ใส่เข้าไป

ความจริงจุดเรียนรู้ต่างๆ มีรายละอียดอีกเยอะ แต่ด้วยข้อจำกัดของเนื้อที่ ถ้าสนใจอยากศึกษาดูงานศูนย์ดังกล่าว ติดต่อคุณสงวนได้ที่ 08-9590-6738

การหาความรู้เพิ่มเติม


1. เป็นเกษตรกรต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอค่ะ ซึ่งแหล่งความรู้ที่
ง่ายที่สุด เร็วที่สุด และไม่เสียเงินคือการหาตามเวบไซต์ แค่เข้าไปที่
 google แล้วคีย์คำที่ต้องการทราบ เช่นคำว่า โรคมะนาว หรือ มะละกอ
ใบหงิก ก็จะปรากฏรายการเวบต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคำที่ท่านคีย์เข้า
ไปมาให้ท่านได้ลองเข้าไปอ่าน หากไม่เจอข้อมูลที่ต้องการค่อยมาตั้ง
กระทู้สอบถามเพื่อนๆเกษตรกรท่านอื่น เพิ่มเติมได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม
ข้อมูลต่างๆ บนเวบอาจจะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปบ้างแล้วแต่เวบไซต์
ที่เปิดเจอ เช่น เจอเวบขายปุ๋ยข้อมูลที่ออกมาอาจชี้นำไปสู่การซื้อปุ๋ยยา
ของเขา ดังนั้น อยากให้เกษตรกรเชื่อข้อมูลในเวบไซต์ของทางการ
เป็นหลัก เช่น เวบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://www.ku.ac.th/)
เวบของกรมส่งเสริมการเกษตร (http://www.doae.go.th/) เป็นต้น
เวบเหล่านี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายค่ะ หลายเวบมีรูปภาพประกอบด้วย
 อยากให้เกษตรกรได้ลองขวนขวายหาความรู้ด้วยตัวเองจากหลายๆ
แหล่งข้อมูลค่ะ จะได้คิดวิเคราะห์ได้รอบทิศ ดีกว่าการมาตั้งกระทู้ถาม
เพียงอย่างเดียว ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าผู้ตอบแต่ละคนมีความรู้ในด้านนั้นๆ
จริงหรือไม่ บางเรื่องแม้ผู้ตอบมีความประสงค์ดี แต่ตอบเอาตามที่นึก
 (เอาเอง) ว่ามันน่าจะเป็นเช่นนั้นโดยไม่มีประสบการณ์หรือหลักวิชา
การสนับสนุน แล้วเกษตรกรไปทำตาม ผู้ที่เสียหายคือเกษตรกรเองค่ะ

2. นอกจากเวบไซต์แล้ว ก็มีหนังสือและวารสารเกษตรต่างๆ
ที่สามารถหาอ่านเพิ่มความรู้ได้ค่ะ เช่น วารสารเคหเกษตร
 วารสารเมืองไม้ผล วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เป็นต้น สวนวสา
ได้มีโอกาสไปเยือนสวนเกษตรต่างๆ เพื่อเสาะหาพันธุ์พืชที่ต้องการ
ก็ใช้ดูเอาตามวารสารพวกนี้ค่ะ บางทีเขาก็มีการจัดอบรมให้ฟรีๆ
 มีวิทยากรที่มีความรู้มาพูด มีเพื่อเกษตรกรที่มีประสบการณ์มา
แบ่งปันเทคนิค เราก็จะได้ประโยชน์ค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าวารสารทุกเล่ม
จะจัดงานได้ดี สวนวสาเคยไปร่วมงานหนึ่งเป็นการอบรมครึ่งวัน
 แต่กว่าการกล่าวเปิดงานของบุคคลสำคัญต่างๆที่เชิญมาจะหมด
ก็ปาเข้าไปเกือน 10 โมงแล้ว แล้วยังพักเบรคยาวๆ ให้คนที่มา
อบรมไปซื้อของที่สปอนเซอร์ต่างๆ มาออกร้านขาย ในที่สุด
ได้ฟังคนบรรยาย (แบบรีบๆ ให้จบ) แค่ไม่ถึงชั่วโมง เสียเวลา
ไปเหมือนกันค่ะ

3. หนังสือเกี่ยวกับคู่มือการเกษตรต่างๆ รวมถึงผลงานวิจัยบาง
งานที่มีประโยชน์ มีจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่ศูนย์หนังสือจุฬา ที่ร้านหนังสือแพร่พิทยา และตามงานเกษตรแฟร์
นอกจากนี้ยังมีแจกให้ฟรีโดยกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริม
การเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานราชการ
บางหน่วยงาน ลองติดต่อขอไปดูได้ค่ะ

คนงาน


1. ควรมีให้พร้อมค่ะ แต่อย่าคาดหวังอะไรมากเกินไป เพราะคนงานก็คือ
คนงานค่ะ ถ้าเขาขยันและฉลาดกว่านี้ เขาก็ไม่มาเป็นคนงานค่ะ การดูแล
คนงานให้อยู่กันนานๆ บางทีก็ต้องหลับตาข้างหนึ่งค่ะ บางทีเขาอาจจะ
กินเหล้า เล่นหวย อู้งานบ้าง ตราบใดที่งานที่สั่งไว้เขาทำสำเร็จ ก็พอไป
รอดค่ะ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจได้ ของในสวนอย่าหาย (อาจมีเก็บไปกิน
บ้างก็ปล่อยๆ ไปค่ะ) แต่ประเภทยกมอเตอร์ไปขาย หรือให้เมียเปิด
แผงที่ตลาดขายผลไม้ที่ขโมยมาจากในสวนเรา อันนี้ก็ต้องให้จรลีไปค่ะ
ที่สวนวสาอนุญาตให้คนงานปลูกพืชผักที่อยากกินได้ตามสบาย หาเมล็ด
ผักมาให้เขาด้วย ผลไม้ในสวนหากอยากกินก็ให้เอาไปแต่พอกิน
แต่ห้ามเอาไปขาย ให้จับปลาในร่องสวนมากินได้ แต่ห้ามจับไปขาย
 เว้นแต่คนงานจะลงทุนซื้อลูกปลามาเลี้ยงในกระชังเองก็ให้ทำ
ได้แต่ต้องเลี้ยง นอกเวลางาน อยากเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ก็ให้เลี้ยงได้
ในพื้นที่จำกัด เขาจะได้เก็บไข่กินได้เอง แต่ไม่อนุญาตให้ทำเพื่อ
ค้าขายไม่งั้นวันๆ เอาแต่บำรุงรักษาพืชผักเป็ดไก่ของตัวเองจน
ไม่ได้ทำงานของเรา


2. ค่าจ้างคนงาน ส่วนมากเราใช้จ้างเป็นรายวันค่ะ แต่มีหัวหน้าคนงานที่
เราจ่ายเป็นรายเดือน ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 120-180 บาทค่ะ คนต่างด้าว
จะได้ที่ราวๆ 120-150 บาท คนไทยได้ที่ 150-180 บาทค่ะ หากเกิน 5 โมง
เย็นก็จะมีค่าล่วงเวลาให้ (ช่วงที่เร่งเก็บผลไม้และคัดแยกน่ะค่ะ) บาง
ทีคนซื้อผลไม้เราเขาก็จะจ่ายค่าแรงให้คนงานเราในวันที่เก็บผลไม้ให้เขา
 เราก็ประหยัดไปได้ค่ะ เช่น การซื้อมะม่วงแบบเหมาสวน พ่อค้าจะมา
พร้อมคนงานคัดแยก แล้วเขาจ้างเราเก็บผลไม้ให้ โดยให้ค่าแรงรายวัน
กับคนงานเราค่ะ ค่าจ้างนี่เราอาจปรับขึ้นให้ปีละหน ปลายปีอาจมีเงินแถม
ให้นิดหน่อยได้ค่ะ

3. วันหยุด คนงานไทยในต่างจังหวัดจะขอมีวันหยุดตามวันสำคัญทางศาสนาค่ะ
เช่น วันเข้าพรรษา วันทำบุญทอดกฐิน วันสงกรานต์ วันแต่งงานญาติ
วันงานศพญาติ ฯลฯ เรื่องพวกนี้เราต้องปล่อยวางค่ะ เกษตรกร part-time
หลายคนอาจไม่ค่อยพอใจเพราะตรงกับวันหยุดยาวที่เราจะเข้าสวนได้
พอดีเช่นกัน ก็ต้องทำใจค่ะ นอกจากนี้ วันหวยออก เป็นวันที่คนงาน
ไม่ค่อยมีกะจิตกะใจทำงานกันเท่าไหร่ ดังนั้น พยายามอย่าคาดหวังมาก
ค่ะ คุยกันให้เข้าใจตั้งแต่เริ่มงาน จะทำให้ความรู้สึกดีทั้งสองฝ่ายค่ะ

การตลาด

1. การจะปลูกอะไร (เพื่อการค้า) ให้คิดว่าจะขายได้ที่ไหนก่อน
 ถ้าปลูกพืชแปลกมากและอยู่ไกลจากตลาด จะทำให้ขายยากค่ะ
2. อย่าเห่อปลูกตามกระแส เกษตรกรที่ดีควประเมินสภาพตลาด
ให้ดีด้วย และอย่าดูเหตุการณ์เพียงจุดเดียว ช่วงปีที่แล้วมะนาว
ลูกละ 10 บาท เลยเกิดกระแสปลูกมะนาวกันใหญ่ ทั้งๆ ที่ก่อน
หน้านั้น 5 ปีมีคนฟันมะนาวทิ้งไปทั้งจังหวัดเพราะราคาร้อยละ
 20 บาท ไม่คุ้มค่าปุ๋ยค่ายา อยากให้เกษตรกรมองไปข้าง
หน้ายาวๆ ก่อนตัดสินใจปลูกอะไร ให้เน้นพืชที่ยังไงก็ขาย
ได้ในพื้นที่ตนเองก่อน เช่น มีคนส่งเสริมปลูกต้นตะกู
กฤษณา ฯลฯ ก่อนปลูกให้หาข้อมูลว่าผู้รับซื้อมีกี่ราย
ขายยังไง ขายที่ไหน หากผู้รับซื้อรายที่มาส่งเสริม
ไม่ซื้อ จะเอาต้นดังกล่าวไปทำอะไร สูตรของสวนวสา
คือ อย่างน้อยเราเองก็ต้องกินหรือใช้ได้เองด้วย

แผงขายกล้วยในตลาด
3. หากสนใจจะปลูกเพื่อการส่งออก ควรมีพื้นที่เพาะปลูกใน
จำนวนมากเกินกว่า 10 ไร่ หากมีน้อยกว่า 10 ไร่ ปลูกขาย
ในประเทศได้ แต่ปลูกส่งออกไม่คุ้มการลงทุนค่ะ (เว้นแต่ใน
พื้นที่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันได้จำนวน
มาก พอที่ผู้ส่งออกจะสนใจ) มีระบบน้ำที่สม่ำเสมอ ที่ดินควร
อยู่ไม่ไกลจากแหล่งส่งออก เกษตรกรต้องจดมาตรฐาน GAP
ซึ่งมีกฎค่อนข้างมาก ต้องมีโรงเก็บปุ๋ย ยา แยกกัน มีโรงคัดแยก
พืชผลที่แยกต่างหาก มีพื้นปูนไม่สัมผัสดิน ฯลฯ พวกนี้เป็นการ
ลงทุนทั้งนั้นค่ะ ดังนั้นหากพื้นที่ใหญ่หน่อยจะคุ้มกว่าพื้นที่ขนาด
เล็กค่ะ อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับชนิดของพืชด้วยค่ะ มีสมาชิกบาง
ท่านสามารถปลูกพริกหรือผักส่งออกได้ในพื้นที่ 2 ไร่ก็มีค่ะ
ตลาดนัดทั่วไปตามหมู่บ้าน


4. อย่าพยายามคิดการณ์ใหญ่เกินไปค่ะ จะสิ้นเปลืองทุนทรัพย์
โดยใช่เหตุ เช่น ปลูกมะม่วงเพียง 5 ไร่ ผลผลิตปีละ 1 ตัน ใน
พื้นที่ก็ไม่มีคนอื่นเพาะปลูกพืชเหมือนๆกัน แต่คิดจะตั้งโรงงาน
แช่แข็ง หรือ โรงงานแปรรูปทำมะม่วงอบแห้ง หรือ คิดจะไป
เซ้งแผงในตลาดไทเพื่อขายผลผลิตของตนเอง (เพราะมีเกษตร
เกินมาแนะนำ) พอขายผลผลิตหมดก็ไม่รู้จะหาผลผลิตที่ไหนมา
ขายต่อ หรือแปรรูปต่อ จะเป็นการลงทุนโดยเสียเปล่าค่ะ หรือ
การส่งสินค้าเข้าห้างก็เหมือนกันค่ะ ควรศึกษาเงื่อนไขให้ถ่องแท้ค่ะ
 บางทีนอกจากโดนหักเปอร์เซ็นต์แล้วเราต้องรับภาระสินค้าที่เน่า
เสียหายเอง แถมกว่าจะเก็บเงินได้ต้องมีเครดิต 45 วันจึงจะได้เงิน
 นอกจากนี้บางที่เขามีสัญญาให้ส่งแบบต่อเนื่อง หากส่งไปครั้งสอง
ครั้งแล้วหยุดก็อาจโดนหักเงิน ทำนองนี้

การเลือกพืชที่จะปลูก


1. ก่อนจะปลูกอะไร กรุณาสำรวจสภาพดินและน้ำก่อนว่า
เหมาะกับพืชในใจคุณหรือเปล่า อย่าบุ่มบ่ามลงมือปลูก
ตามกระแส หรือตามใจชอบ ตัวอย่างเช่นที่ดินสวนวสา
เป็นดินเปรี้ยวเพาะปลูกพืชตระกูลส้ม-มะนาวได้ดี มะม่วง
 มะละกอได้ แต่ปลูกทุเรียน ลำไย มังคุดแล้วไม่โต (ลองแล้ว)
 ถึงกระนั้นก็ตามเวลาเรามี “เกษตรเกิน” (ผู้ที่แสดงตนว่ารู้
มากกว่าเกษตรกร) มาเยี่ยมที่สวนก็มักจะแนะนำให้เราลอง
ปลูกมังคุด ปลูกทุเรียนอยู่เสมอๆ เพราะส่งนอกได้ราคาดี
คนแนะนำส่วนใหญ่ก็คิดแค่นั้น แต่เกษตรกรที่แท้จริงที่เป็น
เจ้าของที่ดินควรศึกษาสภาพดินและน้ำก่อนลงมือ ปลูกอะไร
 เพื่อจะได้ประหยัดเวลาและทุนที่ถมลงไป

2. ควรเลือกพืชที่จะปลูกมากกว่า 1 ชนิดเพื่อบริหารความเสี่ยง
เผื่อชนิดหนึ่งราคาตกหรือขายไม่ออก ชนิดอื่นจะได้ช่วยเฉลี่ย
รายได้ แต่ไม่ควรหลายชนิดเกินไปจนปริมาณไม่คุ้มค่าขนส่ง
เช่น มีที่ดิน 1 ไร่ แต่อยากปลูกมะม่วง มังคุด ลำไย มะนาว
พริกขี้หนู เพื่อส่งออก แบบนี้แนะนำว่าให้ลืมเรื่องส่งออกไปได้เลย
 ให้ปลูกแบบพอเพียง คือเก็บทานเอง หรือส่งตลาดแถวสวนจะดีกว่าค่ะ


ผักกสวนครัว รั้วกินได้ ปลูกพริกชี้ฟ้า 


3. พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำไม่เท่ากัน หากจะปลูกผสมผสาน
 ควรเลือกพืชที่ต้องการน้ำปุ๋ยและยาคล้ายๆกันปลูกไว้ด้วยกัน
 นอกจากนี้ปริมาณแสงก็เป็นสิ่งสำคัญ หากพืชชนิดหนึ่งต้องการ
แสงมาก ก็อย่าปลูกไว้ใกล้ๆกับพืชที่ให้ร่มเงา เช่น อย่าปลูกมะละกอ
ไว้ใกล้กอไผ่ เพราะในที่สุดร่มเงาของไผ่จะบังมะละกอทำให้ไม่
สามารถเติบโตได้ และเกิดโรคระบาดในที่สุด หรือ หากจะปลูกมะนาว
ทำนอกฤดู ก็ไม่ควรปลูกใกล้กับพืชที่ต้องการน้ำ เพราะพอเรางดน้ำ
เพื่อให้มะนาวออกดอก ต้นไม้ข้างๆ ก็จะตายไปด้วย ทำนองนี้

มะเขือเทศสีสวย


4. ตามทฤษฎีพอเพียง ควรปลูกพืชชนิดให้ประโยชน์เกื้อหนุนกับ
การเกษตรของท่านด้วย เช่น หากปลูกส้มหรือมะนาว ก็ควรเผื่อ
พื้นที่สำหรับปลูกไผ่ไว้ด้วย เพราะเวลาค้ำต้นมะนาวหรือส้มต้อง
ใช้ไม้ไผ่ แทนที่จะไปซื้อ ก็ปลูกเองประหยัดกว่า นอกจากนี้หาก
ใครคิดทำเกษตรอินทรีย์ ก็ปลูกพวกสะเดา หนอนตายยาก หรือ
สมุนไพรอื่นๆไว้ด้วย จะได้เอาไว้ทำเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายค่ะ

5. นอกจากนี้ ให้คิดในใจเสมอว่า พื้นที่แต่ละพื้นที่มีลักษณะภูมิศาสตร์
ที่แตกต่างกัน อย่าคิดว่าการลอกเลียนแบบสวนที่ประสบความสำเร็จ
แล้วคุณจะประสบความสำเร็จ ด้วย การเกษตรไม่ใช่บะหมี่สำเร็จรูป
ที่ต้มกินที่ไหนก็รสชาติเดิม มักจะมีคนถามว่าหากปลูกมะนาวเหมือน
สวนวสาต้องใส่ปุ๋ยเดือนไหน ฉีดยาเดือนไหน ฉีดอะไร ซึ่งขอเรียนว่า
 สวนวสาอยู่นครนายก สภาพภูมิอากาศและดินจะต่างจากสวนที่อยู่
ราชบุรี พิษณุโลก หรือ เชียงใหม่ ดังนั้นเวลาที่ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บผล
ผลิตก็จะต่างกัน ช่วงเวลาเดียวกันที่สวนวสาเจอโรคราน้ำค้างแต่สวน
อื่นอาจเจอเพลี้ยแป้ง อย่างนี้ยาที่ใช้ก็ต่างกัน ต้องหมั่นสังเกตอาการ
ของพืชแล้วค่อยคิดเรื่องการบำรุงรักษาพืชค่ะ

6. เกษตรกรมือใหม่หลายๆ คนมักจะคิดว่า "พืช" ก็เหมือนวัตถุ สิ่งของ
 ที่ซื้อมาเก็บเอาไว้ก็ไม่เสื่อมสลาย ไม่เปลี่ยนรูป เหมือนเสื้อผ้า โต๊ะ
เก้าอี้ ดังนั้นพออ่านประกาศโฆษณาขายเมล็ดพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ชนิด
โน้นชนิดนี้ ที่กำลังเป็นสมัยนิยมกัน ก็เกิดความอยากครอบครองเป็น
เจ้าของ เลยสั่งมาเก็บไว้ก่อน ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ปลูก บางคนยัง
ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ซื้อที่ดินเลยด้วยซ้ำ!!! ทีนี้กว่าจะซื้อที่ กว่าจะปรับดิน
 ทำร่องน้ำ ทำระบบน้ำ เวลาก็ผ่านไปปีเศษ แล้วค่อยนำเมล็ดมาเพาะ
 แล้วก็พบว่า อ้าว.. เมล็ดที่ซื้อมาทำไมมันไม่งอก โดนหลอกขายมา
แน่ๆเลย หรือไม่ก็เป็นกรณีกิ่งพันธุ์ที่ซื้อมา อุตส่าห์เอาลงกระถางไว้
แล้วนะ บำรุงจนต้นโตเบ้อเริ่ม เอาลงดินมันต้องเก็บผลได้ในไม่กี่เดือน
แน่นอน ในความเป็นจริงมันไม่ใช่แบบนั้นนะคะ อัตราการงอกของเมล็ด
พันธุ์ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ตาม ยิ่งเก็บนานมันยิ่งมีอัตราการงอกต่ำ
 บางพันธุ์ดีหน่อยคืองอกแต่งอกช้า บางพันธุ์พอความชื้นในเมล็ดมัน
หมดเมล็ดก็แห้งตายไปและไม่งอกค่ะ ส่วนต้นไม้ ถ้าเรานำลงกระถาง
ไว้นานๆ รากมันจะขดอยู่ในกระถาง เวลาเอาไปลงดินมันเลยโตช้า
 เพราะแทนที่รากจะได้ชอนไชไปหาอาหารไกลๆ ก็กลับจับวนกันเป็น
ก้อนที่ก้นกระถางค่ะ

7. การเลือกพืชที่จะปลูก นอกจากความแท้ของสายพันธุ์แล้ว ควร
พิจารณาวางแผนการปลูกให้ผลผลิตออกมาเป็นพันธุ์แท้ด้วยค่ะ
จะได้ไม่มีปัญหาด้านการตลาด และการขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคต
 ขออนุญาตยกตัวอย่างมะนาวไร้เมล็ด (ซึ่งการขยายพันธุ์ทำโดยการตอนกิ่ง)
หากปลูกรวมกันในระยะใกล้กันกับมะนาวมีเมล็ด เช่น มะนาวแป้น ก็มีความ
เสี่ยงว่าผลที่ออกมาอาจจะมีเมล็ดเนื่องจากเกสรอาจจะผสมกันได้ ทำให้
มีปัญหาด้านการตลาดต่อไป เช่นเดียวกับมะละกอ หากปลูกหลายสายพันธุ์
ในพื้นที่เดียวกัน ก็อาจทำให้ผลที่ออกมามีรสชาติและกลิ่นแตกต่างไป
ทำให้มีปัญหาด้านการตลาดค่ะ การปลูกพืชแนวผสมผสาน ไม่จำเป็นต้อง
ปลูกพืชตระกูลเดียวกันในพื้นที่เดียวกันค่ะ

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความต้องการ กับ ความเป็นจริง

การที่จะเป็นเกษตรกรนั้นต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง


ผู้ที่อยากเป็นเกษตรกรหลายท่านที่ทำงานประจำอยู่ ควรพิจารณาบริหารเวลา ครอบครัว และทุนทรัพย์ให้รอบคอบก่อนลงมือค่ะ บางทีเรามาอ่านๆ ในเวบต่างๆ เห็นคนอื่นเขาซื้อที่ดินกัน ลงมือทำกัน ก็เกิดแรงบันดาลใจอยากทำบ้าง แต่นั่นอาจเป็นความต้องการของคุณคนเดียวหรือเปล่า ลองดูปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ด้วยค่ะ
เวลา - คุณทำงานประจำในวันเสาร์อาทิตย์หรือเปล่า เพราะการเป็นเกษตรกร part-time นั้นอย่างน้อยต้องมีเวลาเสาร์-อาทิตย์ที่จะไปดูแลพืชผลที่ปลูกได้ หรือหากทำงานส่วนตัว ก็ต้องถามว่าสามารถจัดเวลาได้หรือเปล่าที่จะหาเวลาว่างแวะเวียนไปดูแลการ เติบโตของพืชผล และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หลายๆ คนไฟแรงแต่ตอนแรกๆ พอสักห้าหกเดือนผ่านไป ก็ทิ้งระยะเสียแล้ว จากทุกอาทิตย์ เป็นเดือนละหน เป็นสองเดือนหน ในที่สุดเหลือปีละหน อย่างนี้สิ่งที่ลงทุนไปก็จะเสียเปล่าค่ะ การทำเกษตรนั้นคนทำต้องมีความรับผิดชอบ (discipline) ที่ต่อเนื่องค่ะ ยิ่งถ้าที่ดินอยู่ไกลจากที่บ้านหรือที่ทำงานมากๆ อย่างที่เขียนไว้แล้วด้านบน ว่าส่วนใหญ่เจอค่าน้ำมันและเวลาขับรถไปก็จะท้อใจในที่สุด

+ ครอบครัว - เป็นสิ่งสำคัญค่ะ การซื้อที่ดินทำเกษตรนี่ครอบครัวทางบ้านต้องสนับสนุนนะคะ เพราะบางครั้งเป็นความต้องการเฉพาะของคุณพ่อบ้านอย่างเดียว แต่ครอบครัวทางบ้านไม่สนับสนุน เพราะเคยได้ยินคุณแม่บ้านบ่นว่าเสาร์อาทิตย์แทนที่จะได้พาลูกไปเรียนพิเศษ หรือได้ไปท่องเที่ยวกันตามแหล่งท่องเที่ยว ก็ต้องไปใช้ชีวิตกลางแดดร้อนๆ ขุดดิน ปลูกพืช เรื่องแบบนี้คุณแม่บ้านบางคน และเด็กๆ ไม่เข้าใจค่ะ อยากให้ทำความเข้าใจกันในบ้านให้เรียบร้อยก่อน เพราะไม่งั้นอาจมีปัญหาภายในครอบครัวได้ค่ะ

+ ทุน - สะสมมาพอไหม เวลาคำนวณเงินลงทุน คิดให้รอบคอบด้วยค่ะ นอกจากค่าที่ดิน ค่าคนงาน ค่ากิ่งพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าระบบน้ำ ค่าอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ แล้ว คิดได้เท่าไหร่ ให้คูณ 3 ไว้ก่อนเลย เพราะจริงๆ มันจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คุณไม่คาดคิดเกิดขึ้นอีกมากๆๆๆๆๆ และถ้าเงินสะสมของคุณไม่มากพอ นำไปสู่การเป็นหนี้สินเพื่อนำมาลงทุน มันจะไม่ยั่งยืนน่ะค่ะ