วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประสบการณ์ชีวิตจริงเกษตรกร ตอน1 (เดือนแรกแห่งชีวิตอิสระ)

ที่เขียนทั้งหมดอยากมาเล่าแบ่งปันประสบการณ์สำหรับเกษตรกรมือใหม่ นำไปใช้ ผิดพลาดประการใดขออภัยทุกท่านไว้ ณ.ที่นี้นะค่ะ ขอบคุณมากๆที่ติดตามค่ะ


#‎ประสบการณ์ชีวิตจริงเกษตรกร‬ (ตอน1)

ดิฉันเป็นมนุษย์เงินเดือนมาราวๆ 20 กว่าปี ต่อสู้ดิ้นรนทำงานในเมืองอุตสหกรรมระยอง คือพยายามมีเหมือนคนอื่นๆเขา เช่น มีบ้านมีรถมีทุกๆอย่างเพื่ออำนวยความสะดวกสะบายให้กับตัวเองและครอบครัวพร้อมทั้งหนี้สินก็มีตามมามากมายแบบไม่รู้ตัวและวันหนึ่ง ได้บอกลาชีวิตลูกจ้างมาแบบถาวรด้วยสาเหตุว่าไม่มีใครดูแลพ่อกับแม่ซึ่งอายุเยอะแล้ว และนี่คือชีวิตที่อยากร่วมแชร์ให้กับพี่ๆน้องๆที่ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน คือ พลิกผันตัวเองมา จาก มนุษย์เงินเดือนสู่ชีวิตเกษตรกรเต็มขึ้น แบบไร้พื้นฐาน บทเรียน ชีวิตจริง ที่นับจากนี้มันจะเกิดขึ้นทุกวัน ร่วมแชร์ประสบการณ์กันค่ะจากวันนั้นถึงวันนี้ร่วมสามปีแล้วนะ...



#‎เดือนแรกแห่งอิสระ‬
จำได้ว่าเมื่อตอนที่ยังทำงานเป็นพนักงานประจำ ชีวิตจะน่าเบื่อมากๆ เพราะการมีชีวิตซ้ำๆ เดิมๆ ทุกวัน ตื่นเช้า ไปทำงานรูดบัตร 8 โมงเช้ามันเบื่อสุดๆ ถึงที่ทำงานนั่งโต๊ะ โต๊ะทำงานโต๊ะเดิม เวลาเดิมๆ ตกเย็น เลิกงาน กลับบ้าน สั่งกับข้าวร้านใกล้บ้าน หรือ ตกค่ำดูละคร ละครจบ นอน เพื่อเตรียมตัวไปทำงานในตอนเช้า วนเวียนอยู่แบบนี้ ทั้งปีทั้งชาติ เบื่อสุดๆและความฝันในตอนนั้นคือ อยากมีอิสระ ...ดังนกติดปีก...ไม่อยากให้ใครมาซื้อเวลาเราเลยเฮ้อ!!!
เอ้า...!!อยากแล้วจะทำยังไง หาทางสนองความอยากของตัวเอง จนมาคันพบกับคำว่า การเกษตรแบบพึ่งพาตัวเอง ไม่เป็นลูกน้องใคร ซึ่งหาทางศึกษามาหลายปี เป็น 10 ปี ก็ว่าได้ แม้จะชอบ จะศึกษาก็


จินตนาการกับความฝัน



วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จากชีวิตมนุษย์เงินเดือนสู่ชีวิตเกษตรกรเต็มขั้น

ไม่ได้เขียนบล็อกมานานมากๆแทบจะจำไม่ได้เลยทีเดียวเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างๆที่เกิดขึ้น ณ.วันนี้ได้มีโอกาสมาเขียนเล่าเรื่องราวที่ผ่านมา สำหรับผู้ที่ติดตามอ่านบล็อกของ Poonita farm แห่งอำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดสระแก้ว ต้องขอโทษสำหรับผู้ติดตามเราจริงๆค่ะที่หายไปนานมากๆ และต่อไปนี้จะพยายามมาอัพบล็อกเล่าเรื่องราวความรู้และประสบการณ์จริงกันทุกๆอาทิตย์ที่เราทำได้ก็แล้วกันนะค่ะ

เจ้าของบล็อกตอนนี้ถือได้ว่าเป็นเกษตรกรเต็มตัวแล้วละค่ะ ช่วงเวลาดีๆที่ผ่านมานั้นจะอยู่ในความทรงจำตลอดไปค่ะสำหรับอาชีพมนุษย์เงินเดือน ซึ่งยาวนานมากว่า 20 ปี มาเริ่มพูดเรื่องอาชีพเกษตกรกันดีกว่าค่ะ ฟาร์มของเราที่ผ่านมาผุดโครงการณ์ต่างๆนาๆเล็กบ้างใหญ่บ้างเท่าที่จะคิดออก มาให้ได้ทำกันแบบไม่ว่างกันเลย สนุกสนานมากๆดราม่ามากๆ รันทดสุดๆก็มีเริ่มที่โครงการที่คิดไว้แล้วจะแสดงแจกแจงให้ได้อ่านกันทีละเรื่องเลยนะค่ะ โครงการที่คิดเริ่มจะทำก่อนออกจากชีวิตมนุษย์เงินเดือนมากมายหลายอย่างจำไม่ไหว แต่นำมาเรียบเรียงสำหรับผู้สนใจนะค่ะ
1.คิดปลูกสะเดานอกฤดูโครงการแรก


                                                    รถไถปรับพื้นที่ปลูกสะเดานอกฤดู
                                   
                                                        ยกร่องขึ้นเพื่อเตรียมแปลงปลูก




เตรียมกิ่งพันธุ์สะเดานอกฤดูพันธุ์ขาวผ่อง


ช่วงแรกมาปรึกษาคนที่บ้านก่อนจะไหวไหม ปลูกแล้วจะขายใครดูแลยากไหม ได้ตังค์จริงๆป่าวๆ หลายคำถามมากมาย เราบอกอย่าคิดมากปลูกๆไปเหอะ เดี๋ยวเก็บขายเอง ตอนนั้นยังทำงานอยู่ พ่อกับแม่ก็เลยไม่รู้จะพูดอะไรเลยตามเลย ก็ต้องยอม55+ 

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ทำนา Poo nita farm ปี 2013

สวัสดีค่ะ กว่าจะได้เขียนบล็อกนี้ก็ล่วงเลยเวลามาเกือบจะสิ้นปีแล้ว วันนี้นำเอาภาพมาเล่าเรื่องราวการทำนาในฟาร์มของเรามาให้เพื่อนๆได้ชมกันค่ะ ปีนี้เรามีการปลูกข้าว 2 ชนิดค่ะ สำหรับปีนี้พ่อบอกว่าจะให้เป็นนาดำทั้งหมด ประมาณ 6 ไีร่ แบ่งเป็นข้าวเจ้าพันธุ์ กข105 และข้าวเหนียวพันธุ์เล้าแตกค่ะ ปลูกแค่ 2 พันธุ์นะค่ะ แรงงานที่บ้านไม่ค่อยมี ตอนนี้เกือบทุกพื้นที่ในจังหวัดสระแก้ว เราใช้แรงงานต่างชาติค่ะ รวมทั้งฟาร์มของเราด้วย รถไถ รถคราด ก็เป็นคนในหมู่บ้าน ฟาร์มของเราก็จ้างเค้ามาค่ะ ลำพังพ่อแกแก่มากแล้วค่ะ ทำเองทั้งหมดไม่ไหวแล้ว มีแต่บอกว่า รอเมื่อไหร่จะมาดูแลเองสักที เจ้าของบล็อกบอกว่า ใจเย็นๆนะพ่อ อีกไม่นานแน่ๆ จ้า ทีนี้ก็มาดูว่าข้าวปีนี้ของเราจะงามสักแค่ไหนเริ่มกันเลยค่ะ
ตอนแรกๆที่ดำเสร็จค่ะ
เริ่มเขียวแล้ว
สวยงามไปอีกแบบค่ะ



บรรยากาศท้องทุ่ง

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การปลูกองุ่น


องุ่น เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ปลูกกันมากกว่า 5,000 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาในสมัยใด แต่พอจะเชื่อได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้นำพันธุ์ไม้แปลกๆ จากต่างประเทศที่ได้เสด็จประพาสมาปลูกในประเทศไทย และเชื่อว่าในจำนวนพันธุ์ไม้แปลกๆ เหล่านั้นน่าจะมีพันธุ์องุ่นรวมอยู่ด้วยในสมัยรัชกาลที่ 7 มีหลักฐานยืนยัน ว่าเริ่มมีการปลูกองุ่นกันบ้างแต่ผลองุ่นที่ได้มีรสเปรี้ยว การปลูกองุ่นจึงซบเซาไป ต่อมาในปี 2493 ได้เริ่มมีการปลูกองุ่นอย่างจริงจัง โดย หลวงสมานวนกิจ ได้นำพันธุ์มาจากแคลิฟอร์เนีย และปี 2497 ดร.พิศ ปัญญาลักษณ์ ได้นำพันธุ์มาจากยุโรปซึ่งปลูกได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นับแต่นั้นมาการปลูกองุ่น ในประเทศไทยจึงแพร่หลายมากขึ้น
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการปลูกองุ่นในแถบภาคตะวันตก เช่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เกษตรกรบางรายได้เปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น เนื่องจากมีโรคแมลงระบาดมาก และแมลงดื้อยาไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นในแถบนี้ลดลง พื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย ถึงแม้ว่าราคาจะเป็นแรงจูงใจ แต่ปัญหาเรื่องโรคแมลงระบาดมากทำให้ พื้นที่ปลูกองุ่นไม่ค่อยขยายเท่าที่ควร
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
องุ่นถึงแม้จะไม่ใช่พืชเขตร้อน แต่จากสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย องุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีจึงปลูกได้โดยทั่วไป ถ้าได้รับการตัดแต่งกิ่งก็สามารถออกดอกได้ดีเช่นเดียวกันกับ องุ่นที่ปลูกในเขตหนาวสามารถให้ผลผลิตมากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถบังคับให้ผลองุ่นแก่ในฤดูใดของปีก็ได้ ในขณะที่องุ่นที่ปลูก ในเขตหนาวให้ผลผลิตปีละครั้งและผลแก่ช่วงฤดูร้อนเท่านั้น แต่ควรระวังคือ ในสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความชื้นสูงฝนตกชุก จะทำให้เกิดโรคระบาดอย่างรวดเร็วทำให้เสียหายแก่ใบ ต้น และผลองุ่นได้มาก จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัด โรคแมลงมากไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ถ้าฝนตกในตอนผลแก่จะทำให้ผลแตก คุณภาพของผลไม่ดี ดังนั้นสภาพภูมิอากาศจึงเป็นตัวจำกัดเขตการปลูกองุ่น และลักษณะการใช้ประโยชน์ เช่น ในประเทศไทยสามารถปลูก องุ่นรับประทานผลสดได้ดี โดยเฉพาะองุ่นที่แก่ในฤดูร้อน และฤดูหนาว แต่การที่จะปลูกองุ่น สำหรับทำเหล้าองุ่นให้มีคุณภาพดีๆ ยังสู้องุ่นในแถบยุโรปไม่ได้ ซึ่งสภาพภูมิอากาศมีผลต่อคุณภาพของ ผลผลิตเป็นสำคัญ ส่งนการเจริฐเติบโตของต้นไม่มีปัญหามากนัก นอกจากเขตที่มีอากาศ ร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไปต้นองุ่นอาจตายได้

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50

อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50
 เป็นพันธุ์ที่คัดได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ เอสพี 074 (SP 074) ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และประเมินผลที่ศูนย์วิจัย สถานีทดลองพืชไร่ ตลอดจนในไร่เกษตรกรในจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2533 จนถึง 2538 อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 ให้ผลผลิตน้ำอ้อยดีกว่าพันธุ์เดิมที่ใช้กันอยู่ คือ พันธุ์สิงคโปร์ ในทุกสภาพแวดล้อมและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี โดยเฉพาะในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกที่เป็นแหล่งปลูกอ้อย
ลักษณะเด่น
               - ให้ผลผลิตน้ำอ้อยประมาณ 4,913 ลิตรต่อไร่
                - น้ำอ้อยสดมีสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวานหอม ความหวาน 16 บริกซ์
                - เจริญเติบโตเร็ว
               - แตกกอดี โดยมีจำนวนลำประมาณ 12,918 ลำต่อไร่
                - สามารถไว้ตอได้ดี ทำให้ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวหรือตัดอ้อยแล้ว
ความต้านทานโรค มีความทนทานต่อโรคแส้ดำ โรคใบขาว และโรคลำต้นเน่าแดง
ความต้านทานแมลง

                พบการเข้าทำลายของหนอนนกอ้อยน้อย ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะประจำพันธุ์
                - มีใบขนาดใหญ่ ปลายใบโค้ง
                - ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง
                - ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างยาว ไม่มีร่องเหนือตา
                - ตามีรูปร่างกลม มีวงเจริญเหลืองและนูน
                - ข้อโปน

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เมล่อนเงินล้านทำได้จริง

การปลูกแตงเทศหรือเมล่อน
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ ( Melon )
ข้อมูลทั่วไป
เมล่อนเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล ( Family ) Cucurbitaceae ใช้รับประทานผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน เจริญได้ดีในสภาพร้อนแห้ง แสงแดดจัด ปัจจุบันมีการผลิตลูกผสมออกมาหลลายพันธุ์ที่เจริญได้ดี ในสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยการผลิตเมล่อนที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ในการเพาะปลูกเป็นอย่างดี

เมล่อนที่พบเห็นส่วนใหญ่สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
· C. melon var.cantaloupensis เรียกว่า Cantaloupe หรือ rock melon ขนาดผลค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ขึ้นไปเปลือกผลหนาขรุขระ มีร่องเป็นทางยาวโดยรอบทางขั้วถึงก้น เนื้อแตงแคนตาลูปส่วนใหญ่เป็นสีส้ม
· C. melon var. recticulatus เรียกว่า musk melon , netted melon, persian melon ขนาดผลเล็กกว่าแคนตาลูป เปลือกของผลส่วนใหญ่เป็นตาข่ายสานกันเป็นลายค่อนข้างถี่สม่ำเสมอ ผลมีลักษณะกลมไม่มีร่องตามยาวเหมือนแคนตาลูปส่วน สีเนื้อมีตั้งแต่สีส้มถึงสีเขียว
· C. melon var.inodorus เรียกว่า winter melon ผิวผลเรียบไม่มี net
· C. melon var.flexuosus เรียกว่า snak melon เป็นพวกแตงไทย
· C. melon var. conomon เรียกว่า oriental pickling melon
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
เมล่อนสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี เมล่อนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง แต่ต้องการน้ำสม่ำเสมอสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง pH 6.5 – 7 หรือสภาพดินเป็นกลาง สภาพอากาศที่เหมาะสมคืออากาศอบอุ่น มีแสงแดดอย่างเพียงพอและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ในช่วงการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ส่วนในระยะผลแก่จะต้องการน้ำน้อยลง

เมล่อนเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน และการเจริญเติบโตของเถาจะช้าลงในฤดูหนาว
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ
การเตรียมแปลงปลูก
เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง , ครั้งแรกใช้ผาน 3 ครั้งที่สองใช้ผาน 7 ผสมปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1 ตัน/ ไร่ ปุ๋ยรองพื้นตรากระต่ายสูตร 15 –15 –15 อัตรา 50 กิโลกรัม / ไร่ ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ทั่วบนแปลง ยกแปลงตามวิธีการปลูกถ้าปลูกเลื้อยดินยกแปลงกว้างขนาด 3.5 – 4.0 เมตร ถ้าปลูกแบบขึ้นค้าง