
ขนุนเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว ผลขนุนมีขนาด ใหญ่ รูปกลมหรือกลมยาว เปลือกมีหนามแหลมสั้นรอบผล เนื้อขนุนเป็นที่นิยม รับประทานกันทั่วไป เนื้อมีลักษณะเป็นยวงมีเมล็ดอยู่ข้างใน มีทั้งเนื้อชนิดหนา เนื้อ บาง เนื้อแห้งกรอบ และเนื้อเละ สีของเนื้อ
แตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์ แม้ว่าขนุนจะ ไม่ใช่ไม้ผลที่มีกำเนิดในประเทศไทย แต่ก็นำมาปลูกกันนานจนกลายเป็นพันธุ์ไม้ผล พื้นเมืองของไทยไปขนุนที่นิยมปลูกกันทั่วไปอยู่มี 2 ประเภท คือ ขนุนหนัง และขนุนละมุด

1. ขนุนหนัง
ลักษณะเนื้อยวงแห้งกรอบ สีเหลืองทอง สีจำปา ยวงโต เนื้อแน่น หวาน กรอบ นิยมปลูกกันโดยทั่วไป ขนุนหนังมีอยู่หลายพันธุ์ เช่น จำปา ตาบ๊วย ฟ้าถล่ม เป็นต้น
คุณลักษณะพันธุ์ของขนุนหนัง
1.1 พันธุ์ตาบ๊วย เป็นต้นขนุนที่มีถิ่นกำเนิดที่ธนบุรีเป็นต้นกำเนิดของขนุนที่มีชื่่อเสียงอีกหลายพันธุ์เช่นพันธุ์ฟ้าถล่ม อีถ่อฯลฯลักาณะผลใหญ่ค่อนข้างกลมใบหนาเป็นมัน ยวงมีลักษณะใหญ่เนื้อหนามีสีเหลืองรสชาติหวานกรอบ
1.2 พันธุ์คุณวิชาญ หรือขุนวิชาญ เป็นขนุนเนื้อสีเหลืองคุณประยูรจรรยาวงษ์เป็นผู้ค้นพบในเขตบางกอกใหญ่ธนบุรีและได้มอบให้คุณวิชาญ ศิริผล นักวิชาการเกษตรกรมวิชาการเกษตรขยายพันธุ์ไปเผยแพร่จึงเรียกกันว่าขนุน
คุณวิชาญหรือขุนวิชาญ ทรงผลยาวผลมีขนาดปานกลาง ใบเล็กยวงมีสีจำปาปนเหลืองเนื้อหวานพอสมควรเวลาสุกเนื้อจะนิ่มเล็กน้อย
1.3 พันธุ์จำปากรอบ เป็นขนุนที่มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดปราจีนบุรีตั้งชื่อโดยคุณสมปอง ตวงทอง มีขนาดต้นเล็ก ลักษณะประจำพันธุ์เป็นขนุนพันธุ์เบาให้ผลเร็วประมาณ3-4 ปีก็ให้ผลแล้วผลแก่เร็วสามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อน ทรงผลมีขนาดกลางกลมรีส่วนมากจะมี แป้วตรงกลางผล น้ำหนักผลเฉลี่ยประมาณ
15-20กิโลกรัม มีเปลือกบาง ซังน้อยยวงมีขนาดกลาง หนา สีจำปารสหวานกรอบ เก็บไว้ได้นานโดยเนื้อไม่เละ(แช่แข็ง)เมล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง น้ำหนักยวงที่ไม้ได้แกะเมล็ดออก1กิโกลรัม มีประมาณ
18-20ยวง ส่วนที่รับประทานได้มีประมาณ 40% และส่วนที่เป็นเมล็ด ซัง เปลือก แกนกลางมีประมาณ 60% ขนุนพันธุ์นี้เหมาะที่จะแกะขายสดแช่แข็งอบแห้งและบรรจุกระป๋องอายุตั้งแต่ดอกบานจนถึงแก่ประมาณ125-130วัน ให้ผลผลิตต้นละประมาณ20-25ผล (อายุประมาณ 8 ปีขึ้นไป)ฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมษายน – พฤษภาคม
1.4 พันธุ์อีถ่อ
ขนุนพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดปราจีนบุรีกลายพันธุ์มาจากพันธุ์ตาบ๊วยเหมือนพันธุ์ฟ้าถล่มแต่พันธุ์อีถ่อนั้นกลายไปจนไม่คล้ายพันธุ์ตาบ๊วยคือทรงผลยาวก้านผลยาว ปัจจุบันขนุนพันธุ์นี้มี3 ชนิดคือ
-อีถ่อแดง ผลมีขนาดเล็กยาวเมื่อผลสุกเปลือกจะมีสีแดงหรือ ตาลเข้ม เนื้อเหลืองเข้ม ยวงสั้น
-อีถ่อเขียว ผลมีขนาดเล็กยาวเมื่อสุกเปลือกมีสีเขียวเนื้อมีสีเหลือง ยวงสั้น
-อีถ่อจำปา ผลและขนาดคล้ายอีถ่อเขียวแต่เนื้อเป็นสีจำปา
1.5 พันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะประจำพันธุ์เป็นขนุนพันธุ์หนัก ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่โปร่งโตเร็วให้ผลดกผลมีขนาดใหญ่น้ำหนักผลโดยเฉลี่ยประมาณ 20-25กิโลกรัม/ผล ลักษณะผลกลมรีด้านขั้วผลคอดเล็กน้อย มีเปลือกบาง ซังสีเหลืองและมียางน้อย ยวงมีสีเหลืองเข้ม ขนาดใหญ่หนากรอบ ยวงมีลักษณะขนาดกลมตรงปลายไม่งอ เมล็ดมีขนาดเล็กน้ำหนักยวงที่ไม่ได้แกะเมล็ดออกเมื่อชั่ง1กิโลกรัม จะมียวงประมาณ15-20กิโลกรัม มีเปลือกบาง ซังน้อยยวงมีขนาดกลาง หนา สีจำปารสหวานกรอบ เก็บไว้ได้นานโดยเนื้อไม่เละ(แช่แข็ง)เมล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง น้ำหนักยวงที่ไม้ได้แกะเมล็ดออก1กิโกลรัม มีประมาณ
18-20ยวง ส่วนที่รับประทานได้มีประมาณ 40% และส่วนที่เป็นเมล็ด ซัง เปลือก แกนกลางมีประมาณ 60% ขนุนพันธุ์นี้เหมาะที่จะแกะขายสดแช่แข็งอบแห้งและบรรจุกระป๋องอายุตั้งแต่ดอกบานจนถึงแก่ประมาณ125-130วัน ให้ผลผลิตต้นละประมาณ20-25ผล (อายุประมาณ 8 ปีขึ้นไป)ฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมษายน – พฤษภาคม
1.4 พันธุ์อีถ่อ
ขนุนพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดปราจีนบุรีกลายพันธุ์มาจากพันธุ์ตาบ๊วยเหมือนพันธุ์ฟ้าถล่มแต่พันธุ์อีถ่อนั้นกลายไปจนไม่คล้ายพันธุ์ตาบ๊วยคือทรงผลยาวก้านผลยาว ปัจจุบันขนุนพันธุ์นี้มี3 ชนิดคือ
-อีถ่อแดง ผลมีขนาดเล็กยาวเมื่อผลสุกเปลือกจะมีสีแดงหรือ ตาลเข้ม เนื้อเหลืองเข้ม ยวงสั้น
-อีถ่อเขียว ผลมีขนาดเล็กยาวเมื่อสุกเปลือกมีสีเขียวเนื้อมีสีเหลือง ยวงสั้น
-อีถ่อจำปา ผลและขนาดคล้ายอีถ่อเขียวแต่เนื้อเป็นสีจำปา
16-18ยวงส่วนที่เป็นเนื้อรับประทาน 40%ของทั้งผลและส่วนที่เป็นเมล็ด ซังแกนกลาง เปลือก มีประมาณ 60% พันธุ์ทองสุดใจนี้เหมาะที่จะแกะขายสดแช่แข็งอบแห้ง บรรจุกระป๋องอายุตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลแก่ประมาณ 135-140วัน ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ต้นละประมาณ 25ผล(อายุ8-10 ปีขุ้นไป)ถ้าให้ติดผ มากกว่านี้จะทำให้ผลเล็กกว่าเดิม แต่ความหมายของเนื้อไม่เปลี่ยนแปลงฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมษายน-พฤษภาคม
1.6 พันธละแมหรือขนุนพันธุ์เบา เปลือกหวานเป็นขนุนที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทยที่อำเภอละแมจังหวัดชุมพร มีเนื้อหนา สีเหลืองลักษณะพิเศษ คือ ซังหนารสหวาน สามารถ รับประทานได้ส่วนของเนื้อที่ติดกับเปลือกก็มีรสหวาน เมื่อผลแก่จะมียางน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ

2. ขนุนละมุด
ลักษณะเนื้อยวงเปียก เละเหนียว เนื้อค่อนข้างบาง ยวงเล็ก รสหวาน มีกลิ่นหอม ขนุนพันธุ์นี้ ไม่ค่อยนิยมปลูกกันมากนัก อีกพวกหนึ่ง ซึ่งนิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ของประเทศไทยคือ จำปาดะ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายขนุน ผลเล็กยาวเรียวคล้ายผลฟัก เปลือกบาง เนื้อเละ รสหวาน กลิ่นหอม การปลูกและการดูแลรักษา ก็ปฎิบัติเช่นเดียวกับการปลูก ขนุน
1. การเตรียมดิน
1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ การปลูกขนุนในที่ ดังกล่าวต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับร่องผัก หรือร่องสวนในที่ลุ่ม เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างประมาณ 4-6 เมตร คูน้ำกว้าง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องขึ้นอยู่ กับขนาดของพื้นที่และความต้องการ ความสูง ของร่องยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้หยั่งลึกและเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่อง เสร็จแล้วทำการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เพราะดินในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะเป็นดินเหนียว จัด ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้น ในที่ซึ่งเห็นว่าดินยังไม่ ดีพอ ดินยังเหนียวอยู่มาก ควรจะปลูกพืชพวกรากตื้น ๆ หรือปลูกผักก่อนสัก 2-3 ปีแล้วจึงปลูกขนุน ส่วนในที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี แล้วก็อาจจะทำการปรับปรุงดินอีกเล็กน้อยแล้วลงมือปลูกได้เลย
1.2 ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า ที่เขา ถ้าเป็นที่ ๆ เคยปลูกพืชอย่างอื่น อยู่แล้วก็ไม่ต้องเตรียมดินมาก เพราะที่จะโล่งเตียนอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงหน้าดิน โดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินดีขึ้น ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ต้องถางที่ให้ โล่งเตียน ไม่ให้มีไม้อย่างอื่นปนอยู่ ถ้าไถพรวนได้สักครั้งสองครั้งก็จะเป็นการดี ที่ดังกล่าวมักเป็นดินที่ร่วนชุยอยู่แล้ว ในที่บางแห่ง เช่นป่าเปิดใหม่มักจะมีอินทรีย์วัตถุ อยู่มากตามธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติม ส่วนในที่ ๆ เห็นว่าเป็นทรายจัด อินทรียวัตถุค่อนข้างน้อยก็ควรใส่เพิ่มโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ ต่าง ๆ เศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้งผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว เป็นต้น หรือจะปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วไถกลบให้ต้นถั่วสลายตัวผุพัง อยูในดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้ดิน อุ้มน้ำดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุน
2. การขุดหลุมปลูก
การปลูกทั้งแบบยกร่องและแบบปลูกในที่ดอน ควรปลูกเป็นแถวเป็น แนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และการปฎิบัติงานสวน ระยะห่างระหว่างต้นหรือ ระหว่างหลุมคือ 8x10 เมตร หรือ lOx l2 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการปลูก แบบไร่ หรือถี่กว่านี้ขี้นอยู่กับพันธุ์และความเหมาะสมต่าง ๆ ส่วนการปลูก แบบร่อง ต้นขนุนมักมีขนาดเล็กกว่าการปลูกแบบไร่ ระยะห่างระหว่างต้นอาจ ถี่กว่านี้ก็ได้ ขนาดของหลุมปลูก ให้ขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยมีพวกอินทรีย์วัตถุมาก ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตรก็พอ ส่วนที่ดินไม่ค่อยดีให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะ ได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ดินที่ขุดขึ้นมาจาก หลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือดินชั้นบนกองหนึ่งและดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขี้นมาประมาณ l5-20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองนั้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก แล้วกลบดินลงในหลุมตามเดิมโดยให้ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดิน ชั้นล่างกลบไว้ด้านบน ดินที่กลบลงไปจะสูงเกินปากหลุม ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดี เสียก่อนจึงจะลงมือปลูก

3. วิธีปลูก
การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกัน ไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อย ๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื้อจะได้เติบโตต่อไป อย่างรวดเร็ว
3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ อย่ากลบดินจนมิดรอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกใน ระดับเดียวกับดินในกระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้า แตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะเป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมในภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่ากลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย
เมื่อปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำทันทีให้โชก ควรใช้ทางมะพรัาวช่วยคลุมแดดให้บ้างในระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะ เฉาชะงักการเจริญเติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝน ไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษาความชื้นของดินได้ดี
3.3 การปลูกพืชแซม การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ใน ระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ เป็นการหารายได้ไป พลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากคือ ก่อนจะปลูก ขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วย จะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็ว จนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสมควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การ ปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่นกัน

การดูแลรักษาหลังปลูก
การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
สัปดาห์แรกหลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากนั้น ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง และตลอดฤดูแล้ง ถ้าเห็นว่าดินแห้งเกินไป ต้องรดน้ำช่วยจนกว่าต้นขนุนมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จีงจะปลอดภัยการให้น้ำอาจ ห่างออกไปบ้างก็ได้ การปลูกโดยทั่วไปมักให้น้ำเพียง 1-2 ครั้งแล้วปล่อยตามธรรมธาติ ก็สามารถเจริญเติบโตให้ดอกให้ผลได้เช่นกัน เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้ง อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปลูกเพือให้ได้ผลอย่างเต็มที่นั้นควรให้น้ำอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ในฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดฝนนาน ๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้ต้นเจริญ เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต
เมื่อขนุนโตขนาดให้ผลแล้ว ในระยะที่ขนุนตกดอกให้งดน้ำชั่วระยะ หนึ่ง เมื่อดอกบานและติดผลแล้ว จึงให้น้ำให้มากเพื่อบำรุงผลให้เติบโตและมี คุณภาพดี หลังจากที่ติดผลแล้ว ถ้าขาดน้ำผลจะมีขนาดเล็ก การเติบโตของผลไม่สม่ำ เสมอ ผลอาจแป้ว เบี้ยว และเนื้อบาง การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง 2. การปราบวัชพืช
ควรใช้ปลูกคือพวก ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วผี เป็นต้น ถั่วเหล่านี้จะมีเถาอาจเลื้อยพันขี้นไปบนต้น ขนุน ต้องหมั่นดูแลและคอยตัดออกโดยเฉพาะบริเวณเรือนพุ่มต้องคอยตัดคอย ถาง อย่าให้พืชคลุมดินขึ้นบริเวณโคนต้น พืชคลุมดินนี้เมื่อปลูกไปนาน ๆ ก็ไถกลบ ดินเสียครั้งหนึ่งแล้วปลูกใหม่จะช่วยให้ดินดียิ่งขึ้น การปราบวัชพืชนี้ถ้าไม่ปลูกพืช คลุมดินก็ควรปลูกพืชแซมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. การให้ปุ๋ย
ขนุนเป็นพืชที่ไม่เลือกดินปลูกนัก สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าดิน นั้นอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารเพียงพอ ต้นขนุนจะเจริญได้ดี ให้ผลดกและผลมี คุณภาพดี การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยและการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งควรปฎิบัติ ปุ๋ยที่ใช้แบ่งเป็นสองพวกคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่ ผุพัง และอื่น ๆ รวมทั้งปุ๋ยพืชสดที่ได้จากการปลูกพืชพวกถั่วแล้วไถกลบลงไปใน ดิน ปุ๋ยพวกนี้แม้จะไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการมากนักแต่ก็มีประโยธน์ต่อพืชที่ปลูก หลายอย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่พืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุ อาหารในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรให้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์แก่ต้นขนุนบ้างจะทำให้การเจริญเติบโตดี ให้ผลดก และคุณภาพของ ผลดี การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาอยู่บ้าง การใช้อาจใช้ตั้งแต่ระยะ ที่ต้นยังเล็กอยู่เป็นการเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมชัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บรดที่ต้นเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นโตเร็ว เมื่อนำ ต้นปลูกลงแปลงในสวน ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟต หรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุมจะช่วยให้ ต้นเจริญเติบโตได้ดี เมื่อต้นโตจนให้ผลแล้ว ควรทำรางดินรอบ ๆ เป็นวงกลมในรัศมี ของกิ่งที่แผ่รอบต้นแล้วใส่พวกปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในรางดินและเติมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ลงไปด้วย จะได้ผลดียิ่งขี้น ปุ๋ยที่ใช้อาจใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16- l6-16 เป็นหลัก
เนื่องจากขนุนเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลงดินได้ ลึก และหาอาหารได้ไกล ดังนั้นการปรับปรุงดินในแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ดินดี มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกขนุน นอก จากที่ ๆ ดินขาดธาตุอาหารมาก ๆ จึงควรปรับปรุงด้วยการเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วย
4. การห่อผลขนุน
การห่อขนุนนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลทำให้ผิวสวย สะอาดไม่มีคราบของเชื้อราและการทำลายของแมลงวัตถุที่ใช้ห่อจะใช้กระดาษของถุงปูนหรือถุงอาหารสัตว์เปิดก้นถุงออกแล้วสวมคลุมผลขนุน ปากถุงผูกติดกับก้านผลไว้โดยเปิดก้นถุงเอาไว้การห่อผลจะเริ่มห่อเมื่อผลขนุนมีอายุได้60วัน และจะทำการห่ออยู่นาน ประมาณ 90วัน โดยทั่วไปก่อนห่อควรทำการพ่นสารเคมีป้องกันแมลงและโรคก่อน
ประมาณ1วัน
5.โรคขนุน
โรคขนุนที่พบว่าเป็นปัญหาได้แก่โรคราเกิดบริเวณส่วนของดอกและผลอ่อนทำให้ดอกและผลเน่าการป้องกันกำจัด ทำได้โดยฉีดยากันเชื้อรา เช่น เบนเลท หรือใช้กำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้เป็นต้น แต่ถ้าต้นขนุนได้รับแสงแดดจัด ต้นโปร่งจะเป็นโรคนี้น้อยนอกจากนี้โรคราที่เกิดกับส่วนใบ โดยเฉพาะใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่กิ่งและลำต้นแต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงควรดูแลรักษาความสะอาดของสวนและควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคอยู่เสมอเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูต่างๆได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช
6. แมลงศัตรูขนุน ที่พบมากได้แก่
1. เพลี้ยหอยขี้ผึ้งสีแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อน ก้าน ผล หรือกิ่งแล้วถ่ายเป็นน้ำหวานซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดราดำเจริญ ครอบคลุมบริเวณนั้น ทำให้ใบและกิ่งดูคล้ายกับถูกฉาบด้วยควันดำการป้องกันกำจัดไม่จำเป็น แต่ถ้าใช้ยาควรใช้ยากำจัดแมลงพวกคาร์บาริล

2. เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชที่ถูกทำลายมีอาการแคระแกร็นใบหงิกงอควรกำจัดเพลี้ยแป้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนจากไข่ใหม่ๆยากำจัดแมลงที่ให้ผลดีได้แก่อโซดริน มาลาไธออน เป็นต้น
3. แมลงวันทองผลที่ถูกมลงวันทองเข้าทำลายจะมีตัวหนอนสีขาวคล้ายหนอนแมลงวันบ้านอยู่ภายในผลทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นสภาพการระบาดนั้นเนื่องจากปล่อยให้มีการเพาะแมลงวันทองออกมาใหม่ตลอดเวลาจากผลที่เน่าและมีหนอนภายในผลถ้าป้องกันจุดนี้ได้จะมีแมลงวันทองน้อยลงโดยใช้สารล่อแมลงวันทองตัวผู้เมทธิลยูจินอล ซึ่งมีกลิ่นเพศเมียมาล่อ หรือป้องกันแมลงวันโดยการห่อผลขนุน
4. ด้วงเจาะลำต้นขนุน ตัวด้วงจะไข่ที่เปลือกแล้วจะกลายเป็นหนอนเจาะไชเข้าไปในลำต้น ต้นที่ถูกทำลายจะเริ่มมีใบเหี่ยวและใบหล่น ถ้าเป็นกิ่งเล็กอาจถูกเจาะจนหักและถ้าการทำลายสูงจะทำให้ต้นขนุนเหี่ยวแห้งตายการป้องกันกำจัดด้วงที่จะให้ผลดีทำได้โดย
1)ดูแลตกแต่งโดยการริดกิ่งแห้งหรือทำลายต้นที่ตายโดยการเผา
2)กิ่งที่ถูกทำลายควรตัดทิ้งแล้วทำลายตัวหนอนและดักแด้ที่พบ
3)โคนต้นและรากที่มีรอยการถูกทำลายควรรดให้ชุ่มโดยการใช้ยาน้ำบีเอขซีความเข้มข้น 0.1%
4)ขุดดินรอบโคนต้นให้ลึกประมาณ 1ฟุต โรยด้วยยาผง บีเอขซี10%รอบโคนต้นในอัตราส่วน 300-500กรัมต่อต้น แล้วกลบด้วยดิน
5) ใช้สำลีจุ่มยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมอุดเข้าไปที่รูซึ่งถูกทำลายแล้วปิดรูด้วยดินเหนียว
7. หนอนเจาะผล เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อ มักจะเข้าทำลายผลขนุนตั้งแต่ระยะผลอ่อน แล้วตัวหนอนจะกัดกินเนื้อภายในผลทำให้ได้รับความเสียหายและทำให่ผลเน่าระยะผลสุกได้ควรป้องกันกำจัดหนอนช่วงหลังติดผลแล้วด้วยยาฆ่าแมลง เซฟวิน เป็นต้น
ลักษณะของผลขนุนที่ดี
1.ขนาดของผลใหญ่สม่ำเสมอผิวด้านนอกตึงโดยรอบ
2.การผสมเกสรดีทำให้ผลโตไม่คอดแป้ว หรือบิดเบี้ยว
3. ยวงมีขนาดใหญ่ เนื้อมีรสชาติหวานกรอบ หนา ไม่เละ
4.ไส้กลางของผลมีขนาดเล็ก
5.เมล็ดเล็ก
การเก็บผล
เพื่อความถูกต้องและแม่นยำอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกันก่อน พิจารณาตัดขนุนจึงจะทำให้ได้ขนุนแก่คุณภาพดี
วิธีสังเกตว่าขนุนสุก สามารถสังเกตได้ดังนี้
1. สังเกตใบเลี้ยงซึ่งอยู่เหนือผลนั้นร่วงแล้วถ้าร่วงแสดงว่าแก่
2. สังเกตจากตาหนามของผลที่ขยายห่างถ้าห่างมากและปลายหนามแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ ตัวหนามแบนราบมองเห็นปลายหนามแห้งเป็นจุดดำๆ
3.ผลขนุนที่สุกจะมีผิวเหลืองเข้มมากขึ้นในบางพันธุ์แต่บางพันธุ์ที่มีสีเขียวก็จะเซียวลงหรือออกไปทางสีเหลือง
4.ใช้การทดสอบโดยเอามีดกรีดบริเวณขั้วของผลถ้าผลสุกจะมียางไหลออกมาน้อยและมีลักษณะใส ถ้ายางไหลออกมามากข้นเป็นสีขาวแสดงว่ายังไม่แก่
5.ใช้การนับอายุของผล ตั้งแต่ดอกเริ่มผสมติดจนผลแก่ประมาณ120-160วัน
6.ใช้วีเคาะฟังเสียงถ้ามีเสียงดังปุๆ แสดงว่าผลแก่ปกติขนุนจะให้ผลอย่างน้อยปีละ1ครั้งในระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคมแต่ก็พบว่ามีการออกทะวายในเดือนอื่นๆ ด้วยในเขตสภาพแสดล้อมเหมาะสมการปฏิบัติดูแลรักษาดีมีน้ำอุดมสมบูรณ์
ขนุนเป็นผลไม้ที่ไม่มีปัญหาในเรื่องแรงงานเก็บเกี่ยวเหมือนผลไม้ชนิดอื่น เช่น เงาะลำไย มะขามหวาน ซึ่งต้องใช้คนจำนวนมากในการเก็บเกี่ยวเกิดการแย่งแรงงานทำให้ค่าแรงในการเก็บเกี่ยวสูงแต่การเก็บขนุนสามารถเก็บโดยใช้คนเพียงคนเดียวถ้าผลอยู่สูงก็จะใช้เชือกไนล่อนขนาด2 นิ้วขมวดเป็นปมเพื่อใช้เป็นตัวดึงส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งรัดกับส่วนขั้วของผลขนุนแล้วค่อยๆ หย่อนผลลงมา
ที่พื้น ซึ่งจะทำให้ผลไม่ชอกช้ำ เมื่อเก็บผลลงมาแล้ว ควรตัดขั้วขนุนบริเวณใต้ปลิงออกให้เหลือเพียง
ประมาณ 2 นิ้วเอียงผลขนุนลงไปทางด้านขั้วผลเพื่อให้ยางขนุนไหลออกได้สะดวกจากการสังเกตพบว่า วิธีนี้จะช่วยทำให้ขนุนสุกเร็วขึ้น เนื้อยวงจะแห้งดีไม่แฉะ จากนั้นจึงนำส่งขายให้กับพ่อค้าต่อไป
แหล่งอ้างอิง: กรมส่งเสริมการเกษตร
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต

การห่อขนุนนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลทำให้ผิวสวย สะอาดไม่มีคราบของเชื้อราและการทำลายของแมลงวัตถุที่ใช้ห่อจะใช้กระดาษของถุงปูนหรือถุงอาหารสัตว์เปิดก้นถุงออกแล้วสวมคลุมผลขนุน ปากถุงผูกติดกับก้านผลไว้โดยเปิดก้นถุงเอาไว้การห่อผลจะเริ่มห่อเมื่อผลขนุนมีอายุได้60วัน และจะทำการห่ออยู่นาน ประมาณ 90วัน โดยทั่วไปก่อนห่อควรทำการพ่นสารเคมีป้องกันแมลงและโรคก่อน
ประมาณ1วัน
5.โรคขนุน
โรคขนุนที่พบว่าเป็นปัญหาได้แก่โรคราเกิดบริเวณส่วนของดอกและผลอ่อนทำให้ดอกและผลเน่าการป้องกันกำจัด ทำได้โดยฉีดยากันเชื้อรา เช่น เบนเลท หรือใช้กำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้เป็นต้น แต่ถ้าต้นขนุนได้รับแสงแดดจัด ต้นโปร่งจะเป็นโรคนี้น้อยนอกจากนี้โรคราที่เกิดกับส่วนใบ โดยเฉพาะใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่กิ่งและลำต้นแต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงควรดูแลรักษาความสะอาดของสวนและควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคอยู่เสมอเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูต่างๆได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช
6. แมลงศัตรูขนุน ที่พบมากได้แก่
1. เพลี้ยหอยขี้ผึ้งสีแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อน ก้าน ผล หรือกิ่งแล้วถ่ายเป็นน้ำหวานซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดราดำเจริญ ครอบคลุมบริเวณนั้น ทำให้ใบและกิ่งดูคล้ายกับถูกฉาบด้วยควันดำการป้องกันกำจัดไม่จำเป็น แต่ถ้าใช้ยาควรใช้ยากำจัดแมลงพวกคาร์บาริล

2. เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชที่ถูกทำลายมีอาการแคระแกร็นใบหงิกงอควรกำจัดเพลี้ยแป้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนจากไข่ใหม่ๆยากำจัดแมลงที่ให้ผลดีได้แก่อโซดริน มาลาไธออน เป็นต้น
3. แมลงวันทองผลที่ถูกมลงวันทองเข้าทำลายจะมีตัวหนอนสีขาวคล้ายหนอนแมลงวันบ้านอยู่ภายในผลทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นสภาพการระบาดนั้นเนื่องจากปล่อยให้มีการเพาะแมลงวันทองออกมาใหม่ตลอดเวลาจากผลที่เน่าและมีหนอนภายในผลถ้าป้องกันจุดนี้ได้จะมีแมลงวันทองน้อยลงโดยใช้สารล่อแมลงวันทองตัวผู้เมทธิลยูจินอล ซึ่งมีกลิ่นเพศเมียมาล่อ หรือป้องกันแมลงวันโดยการห่อผลขนุน
4. ด้วงเจาะลำต้นขนุน ตัวด้วงจะไข่ที่เปลือกแล้วจะกลายเป็นหนอนเจาะไชเข้าไปในลำต้น ต้นที่ถูกทำลายจะเริ่มมีใบเหี่ยวและใบหล่น ถ้าเป็นกิ่งเล็กอาจถูกเจาะจนหักและถ้าการทำลายสูงจะทำให้ต้นขนุนเหี่ยวแห้งตายการป้องกันกำจัดด้วงที่จะให้ผลดีทำได้โดย
1)ดูแลตกแต่งโดยการริดกิ่งแห้งหรือทำลายต้นที่ตายโดยการเผา
2)กิ่งที่ถูกทำลายควรตัดทิ้งแล้วทำลายตัวหนอนและดักแด้ที่พบ
3)โคนต้นและรากที่มีรอยการถูกทำลายควรรดให้ชุ่มโดยการใช้ยาน้ำบีเอขซีความเข้มข้น 0.1%
4)ขุดดินรอบโคนต้นให้ลึกประมาณ 1ฟุต โรยด้วยยาผง บีเอขซี10%รอบโคนต้นในอัตราส่วน 300-500กรัมต่อต้น แล้วกลบด้วยดิน
5) ใช้สำลีจุ่มยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมอุดเข้าไปที่รูซึ่งถูกทำลายแล้วปิดรูด้วยดินเหนียว
7. หนอนเจาะผล เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อ มักจะเข้าทำลายผลขนุนตั้งแต่ระยะผลอ่อน แล้วตัวหนอนจะกัดกินเนื้อภายในผลทำให้ได้รับความเสียหายและทำให่ผลเน่าระยะผลสุกได้ควรป้องกันกำจัดหนอนช่วงหลังติดผลแล้วด้วยยาฆ่าแมลง เซฟวิน เป็นต้น
ลักษณะของผลขนุนที่ดี
1.ขนาดของผลใหญ่สม่ำเสมอผิวด้านนอกตึงโดยรอบ
2.การผสมเกสรดีทำให้ผลโตไม่คอดแป้ว หรือบิดเบี้ยว
3. ยวงมีขนาดใหญ่ เนื้อมีรสชาติหวานกรอบ หนา ไม่เละ
4.ไส้กลางของผลมีขนาดเล็ก
5.เมล็ดเล็ก
การเก็บผล
เพื่อความถูกต้องและแม่นยำอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกันก่อน พิจารณาตัดขนุนจึงจะทำให้ได้ขนุนแก่คุณภาพดี
วิธีสังเกตว่าขนุนสุก สามารถสังเกตได้ดังนี้
1. สังเกตใบเลี้ยงซึ่งอยู่เหนือผลนั้นร่วงแล้วถ้าร่วงแสดงว่าแก่
2. สังเกตจากตาหนามของผลที่ขยายห่างถ้าห่างมากและปลายหนามแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ ตัวหนามแบนราบมองเห็นปลายหนามแห้งเป็นจุดดำๆ
3.ผลขนุนที่สุกจะมีผิวเหลืองเข้มมากขึ้นในบางพันธุ์แต่บางพันธุ์ที่มีสีเขียวก็จะเซียวลงหรือออกไปทางสีเหลือง
4.ใช้การทดสอบโดยเอามีดกรีดบริเวณขั้วของผลถ้าผลสุกจะมียางไหลออกมาน้อยและมีลักษณะใส ถ้ายางไหลออกมามากข้นเป็นสีขาวแสดงว่ายังไม่แก่
5.ใช้การนับอายุของผล ตั้งแต่ดอกเริ่มผสมติดจนผลแก่ประมาณ120-160วัน
6.ใช้วีเคาะฟังเสียงถ้ามีเสียงดังปุๆ แสดงว่าผลแก่ปกติขนุนจะให้ผลอย่างน้อยปีละ1ครั้งในระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคมแต่ก็พบว่ามีการออกทะวายในเดือนอื่นๆ ด้วยในเขตสภาพแสดล้อมเหมาะสมการปฏิบัติดูแลรักษาดีมีน้ำอุดมสมบูรณ์
ขนุนเป็นผลไม้ที่ไม่มีปัญหาในเรื่องแรงงานเก็บเกี่ยวเหมือนผลไม้ชนิดอื่น เช่น เงาะลำไย มะขามหวาน ซึ่งต้องใช้คนจำนวนมากในการเก็บเกี่ยวเกิดการแย่งแรงงานทำให้ค่าแรงในการเก็บเกี่ยวสูงแต่การเก็บขนุนสามารถเก็บโดยใช้คนเพียงคนเดียวถ้าผลอยู่สูงก็จะใช้เชือกไนล่อนขนาด2 นิ้วขมวดเป็นปมเพื่อใช้เป็นตัวดึงส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งรัดกับส่วนขั้วของผลขนุนแล้วค่อยๆ หย่อนผลลงมา
ที่พื้น ซึ่งจะทำให้ผลไม่ชอกช้ำ เมื่อเก็บผลลงมาแล้ว ควรตัดขั้วขนุนบริเวณใต้ปลิงออกให้เหลือเพียง
ประมาณ 2 นิ้วเอียงผลขนุนลงไปทางด้านขั้วผลเพื่อให้ยางขนุนไหลออกได้สะดวกจากการสังเกตพบว่า วิธีนี้จะช่วยทำให้ขนุนสุกเร็วขึ้น เนื้อยวงจะแห้งดีไม่แฉะ จากนั้นจึงนำส่งขายให้กับพ่อค้าต่อไป
แหล่งอ้างอิง: กรมส่งเสริมการเกษตร
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต
อยากมีสักสิบไร่ อะ
ตอบลบผมขอมี 10 ต้นพอ
ตอบลบถ้ามีผู้สงสัยว่าเกม สล็อต Megagame ฝาก ถอน โดยไม่มีขั้นต่ำ คืออะไร ใครที่มีความสงสัยในส่วนนี้เราขอตอบว่า เป็นบริการจาก mega slot
ตอบลบที่มอบความสะดวกสบายเรื่องฝาก ถอนทำธุรกรรมในการเล่นเกม