วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลูกมะระช่วงแล้ง แค่ 10 ไร่ ก็ฟันเงินล้านได้

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ บล็อก Poo nita farm วันนี้จะนำเรื่องการปลูกมะระช่วงหน้าแล้ง แล้วสามารถทำเงินได้ดีมากๆ มาฝากกันค่ะ ถ้าเพื่อนๆ อยากลองทำดูก็มาติดตามกันนะค่ะ

จังหวัดสุพรรณบุรีนับเป็นแหล่งปลูกผักที่ใหญ่มากของบ้านเราค่ะ ผักที่ปลูกก็ค่อนข้างจะหลากหลาย แต่ที่นิยมปลูกกันมากก็คือ มะระ คะน้า มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ขึ้นช่าย มันเทศ เป็นต้นค่ะ และชาวสาวจะเป็นผู้วางแผนในการปลูกเพื่อให้ได้จังหวะเวลาที่ได้ผลตอบแทนมากที่สุด สวนใหญ่พืชผักมักจะมีราคาแพงช่วงที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำยาก เสี่ยงสูง หากคิดจะเสี่ยงก็ต้องเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างดี หากสามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ก็เรียกว่าเกินคุ้มค่ะ
พืชที่กล่าวได้ว่าเป็นที่นิยมปลูกกันมากในช่วงหน้าแล้งคือ "มะระ" เพราะถือว่าเป็นจังหวะที่มะระมักมีราคาแพง แต่ก็เป็นช่วงที่ทำยาก เพราะสารพัดปัญหารุ้มเร้า ทั้งมะระไม่โต ไม่ติดผล ผลไม่ดก เพลี้ยไฟเข้าทำลาย ต้นเหลือง แต่คุณ สมชาติ เชื้อฉ่ำหลวง ก็ยอมที่จะเสี่ยง และสามารถที่จะทำสำเร็จมาได้ทุกปี และปีนี้ก็เช่นกัน และราคาก็พุ่งกระฉูดเลยทีเดียว ซึ่งถ้ามีมะระแค่ 10 ไร่ ก็สามารถที่จะสร้างได้ไม่ต่ำกว่าล้านอย่างแน่นอน
เทคนิคการทำให้มะระติดดกในช่วงแล้ง
สำหรับการเลือกมะระของสวนคือ พันธุ์เขียวหยก เบอร์ 16 ของศรแดง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ตลาดชอบ เพราะสีสวย ทรงผลสวย ให้ผลผลิตดี มะระในช่วงนี้จะเลือกทำค้าง แบบกระโจม เพราะทำง่าย ลงทุนต่ำ การดูแลง่าย ฉีดพ่นสารเคมีง่าย ค้างแบบนี้จะโปร่ง โอกาสที่มะระจะเสียหายน้อยกว่า แต่ถ้าเป็นค้างแบบสี่่เหลี่ยมหรือแบบกล่อง แม้จะได้ผลผลิตยอะกว่าค้างแบบกระโจมเท่าตัว แต่ก็ลงทุนเยอะ ดูแลยาก ฉีดพ่นเคมียาก ค้างแบบกล่องจะทึบ โอกาสที่มะระจะเสียหายสูง การทำค้างแบบกระโจมพื้นที่ 10 ไร่ ลงทุนประมาณ 1.5 แสน
บาทรวมทั้งหมด ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเริ่มเก็บ ( 2 เดือน) ถ้าคำนวณจนถึงเก็บหมดแปลงก็ประมาณ 2.5-3 แสนบาท แต่ถ้าเป็นค้างแบบกล่องตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเริ่มเก็บก็ประมาณ 2.5 แสนบาทแล้ว
สำหรับการดูแลมะระจะเริ่มให้ปุ๋ยหลังปลูก 10 วัน จากนั้น อายุ 1 เดือนใส่อีกครั้ง ตอนนี้จะเริ่มจับยอดขึ้นค้างได้แล้ว ช่วงนี้มะระจะเริ่มออกดอกแล้ว หลังจากนั้นจะใส่ปุ๋ยทุกครั้งหลังตัดผลผลิต หรือตัด 2 ครั้ง ใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง ให้ปุ๋ยบ่อยแต่ให้ครั้งละไม่มาก ให้มะระได้กินต่อเนื่อง ปุ๋ยให้ครั้งล่ะ 300-350 กก./ไร่ ใช้ 16-16-16 เป็นหลัก และเน้นให้ปุ๋ยทางใบค่อนข้างถี่ ตั้งแต่ช่วงปลูกแรกๆ พอมะระแตกใบมา 4-5 ใบก็เริ่มฉีดพ่นแล้วเพื่อเร่งต้นให้โตเร็ว แตกยอดเลี้อยขึ้นค้างได้เร็ว โดยจะพ่นทั้ง แคลเซี่ยม-โบรอน ธาตุอาหารเสริมเร่งต้น สาหร่ายทะเล อะมิโนแอซิด และเร่งการแตกและขยายของรากด้วย ฮิวมิค ทำให้รากดูดปุ๋ยได้ดี ได้เร็ว ต้นก็โตเร็ว มะระ 1 เดือน เริ่มออกดอกธาตุอาหารทางใบยังพ่นต่อเนื่อง จะช่วยให้มะระออกดอกดี ติดผลดี สาหร่ายทะเลช่วยเปิดตาดอก แคลเซี่ยม โบรอนช่วยให้ดอกแข็งแรง ผสมเกษรได้ดี ติดผลได้ดี เมื่อติดลูกแล้วแคลเซี่ยม โบรอนแมกนีเซี่ยมขาดไม่ได้ ช่วยขยากลูก สร้างเนื้อ เลี้ยงต้นด้วย ช่วงนี้อากาศร้อนจัด โอกาสเสียหายเยอะ เพลี้ยไฟก็
มักจะลงหนัก ไวรัสลงด้วย ทำให้ต้นเหลืองได้ง่าย ต้องพ่นสารเคมีถี่ทุก 4 วัน เพื่อป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดปัญหา โดยใช้ อิมิดาคลอพริด คารโบซัลแฟน ไดอะซีนอน ไดโคลโฟล พ่นสลับกันไป เชื้อราแม้ช่วงร้อนไม่เยอะแต่ต้องฉีดไว้ก่อนโดยใช้ เฮดไลน์ แมนโคเซ็บ พอช่วงฝนจะเน้นเชื้อรามากขึ้น แมลงลดลง การให้นช่วงนี้ก็ต้องระวังอย่าให้แฉะเกิดนไป รดน้ำก็รดเช้าๆ ไม่ให้เย็นมากเพราะถ้าแปลงยังไม่แห้งเชื้อราจะเข้าง่าย เรียกว่าดูแลกันอย่างละเอียดและใส่ใจจึงจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี
มะระราคาพุ่ง กก.ละ 26-30 บาท 10 ไร่ ทำเงินได้หลักล้าน
มะระจะเริ่มตัดมีดแรกได้ประมาณ 60 วัน หลังเพาะเมล็ด จากนั้นจะตัดทุก 3 วัน ช่วงมีดที่ 1-5 มะระจะยังตัดได้ไม่มากเพราะมะระยังโตไม่เต็มที่ ยังไม่เต็มค้าง มะระจะดกมากในมีที่ 7-10 และจะดกไปจนถึงมีดที่ 15 จากนั้นก็จะเริ่มลดลง ถ้าบำรุงดีๆ จะสามารถเก็บได้ถึง 20-25 มีด ช่วงที่มะระดกๆ จะเก็บวันเว้นวัน ช่วงมีดแรกๆ จะเก็บวันเว้น 2 วัน ช่วงแรก มีดที่ 1-4 ผลผลิตยังน้อย เพียง 500 กก./ครั้ง ช่วงดกๆ น่าจะได้ถึง 3 ตันกว่า
ส่วนราคาวันนี้มะระมีดแรกๆ ผลยังไม่สวย ยังไม่ค่อยได้ทรง ขนาดเบอร์ไม่สวยยังราคา 24 บาท/กก. มะระจะเริ่มสวยในมีดที่ 4-5 ตอนนี้เบอร์สวยๆ ราคา 26 บาท/กก. หรือถุงล่ะ (10 บาท.) 130 บาท เบอร์กลางถึงล่ะ 80-90 บาท มะระเกรดเอความยาวของผลประมาณ 1 ฟุต ต่ำลงมาก็จะเป็นเกรด บี คุณสมชาติบอกว่า มะระราคาแพงสุดๆ จะขึ้นไปถึงถุงล่ะ 170 บาทหรือ กก.ล่ะ 35 บาท ไม่เกินนี้ ราคานี้เป็นราคาทึ่ตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งคุณสมมชาติจะนำมะระไปขายเอง ไม่ส่งผ่านแม่ค้าเพราะจะได้ราคาสูงกว่าที่แม่ค้ามารับประมาณ 5-6 บาท/กก. เลยทีเดียว คุณสมชาติประเมินว่าถ้ามะระราคาอย่างนี้ เก็บผลผลิตหมดแปลงน่าจะเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน ถ้าราคาช่วยก็อาจจะถึง 1.5 ล้านบาท ขณะที่ต้นทุนน่าจะอยู่ที่ 2-2.5 แสนบาทเท่านั้น
เห็นอย่างนี้แล้วคงไม่แปลกใจแล้วว่าทำไมคุณสมชาติจึงเลือกที่จะปลูกมะระช่วงราคาแพง และเขาก็สามารถฝ่าด่านของอุปสรรคมาได้ทุกรุ่นด้วยฝีมือจริงๆ
เทคนิคการห่อผลมะระ
เมื่อมะระอายุได้ 40 วัน จะออกดอกและติดผลจนลูกโตขนาดนิ้วก้อย ก็เริ่มห่อผลได้ทันที โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ทำเป็นถุงขนาด 15×20 เซนติเมตร ปากถุงเปิดทั้งสองด้าน นำปากถุงด้านหนึ่งสวมผลมะระ แล้วใช้ไม้กลัด ๆ ปากถุงให้แขวนอยู่บนก้านของผลมะระ การห่อผลจะช่วยไม่ให้มะระถูกรบกวนจากแมลง ศัตรูพืชมากนัก และยังทำให้ผลมีสีเขียวอ่อนน่ารับ
การเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์
เริ่มด้วยการคัดเลือกต้นมะระในแปลงปลูกที่เจริญงอกงามแข็งแรง ให้ผลรุ่นแรกมีลักษณะดีตรงตามพันธุ์ไว้หลาย ๆ ต้น กะให้ได้เมล็ดพันธุ์พอปลูกในปีหน้า เมื่อดอกตัวเมียและตัวผู้ของต้นที่เลือกไว้
เป็นต้นแม่พันธุ์ใกล้จะบาน หาถุงกระดาษ
บางขนาดโตกว่าดอกนิดหน่อยมาสวมไว้ รุ่งขึ้นดอกจะบาน เด็ดดอกตัวผู้มาครอบดอกตัวเมียแล้วเคาะเบา ๆ ให้ละอองเกสรหล่นลงไปบนดอกตัวเมีย แล้วเอาถุงกระดาษสวมไว้ตามเดิม ทิ้งให้ผลสุกจึงเด็ดไปผ่าเอาเมล็ดออกล้างน้ำตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไปได้ประทานด้วย
  แปลงปลูกมะระและการส่งจำหน่าย
ปลูกมะระประดับสวน
มะระเตรียมเก็บผล
ผลมะระที่เก็บแล้ว
ผลผลิตมะระหลายชนิด



แปลงมะระ
ลูกมะระแก่เก็บเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์
การบรรจุส่งจำหน่าย
แหล่งข้อมูล : วารสารรักษ์เกษตร
ขอขอบคุณ : ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

1 ความคิดเห็น:

  1. มะระเราเก็บเมล็ดพันธ์เองได้ใช่มัย แล้วมันจะกลายสายพันธ์มัยคับ

    ตอบลบ