วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

มะพร้าวกระทิ เนื้อหนานุ่ม พันธุ์ใหม่

สวัสดีค่ะ วันนี้มีเรื่องของมะพร้าวพันธุ์ใหม่มาฝากกันค่ะ และสามารถที่จะปลูกเพื่อเป็นการค้าได้ ถ้าใครที่นึกอยากปลูกลองทำดูค่ะ ดีกว่าทิ้งพื้นที่ไว้เฉยๆนะค่ะ...

วิจัยพบ"มะพร้าว 2 พันธุ์ใหม่" ผลผลิตสูง-หนุนปลูกเพื่อการค้า เอกลักษณ์ของ “มะพร้าวกะทิ” ที่มีเนื้อหนาฟู อ่อนนุ่ม หวานมัน อร่อย ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทว่า บ้านเรายังผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทำให้มีราคาค่อนข้างแพง จึงนับเป็นข่าวดีที่ สมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการเกษตรฯ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุง พันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ 2 พันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ประกาศเป็นพันธุ์แนะนำเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อการค้า

"ทีมวิจัยเริ่มปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ปี 2538 โดยได้รับความร่วมมือจากสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ของบริษัท อูติเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จำกัด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี สนับสนุนพ่อพันธุ์แท้ 1 พันธุ์ จำนวน 44 ต้น นำมาผสมกับแม่พันธุ์ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์น้ำหอม มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มลายูสีแดงต้นเตี้ย ทุ่งเคล็ด และสายพันธุ์เวสท์แอฟริกันต้นสูง พันธุ์ละ 100 ต้น" หัวหน้าทีมวิจัย แจง
"พันธุ์ YDK เป็นพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย (พันธุ์แม่) กับมะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) ลัษณะเด่น คือออกจั่นและติดผลเร็ว ต้นเตี้ย หลังปลูก 4 ปี เริ่มเก็บเกี่ยวได้ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,902 ผล/ไร่/3 ปีแรก (อายุ 4-7 ปี) คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่ ถ้าแหล่งปลูกปลอดมะพร้าวธรรมดาผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มเป็น 34,002 บาท/ไร่ ขึ้นอยู่กับระบบจัดการสวน"

ส่วน NHK สมชายบอกว่า เป็นพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม (พันธุ์แม่) กับกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) ลักษณะเด่น คือ ออกจั่นเร็ว ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,064 ผล/ไร่/3 ปีแรก (ช่วงอายุ 4-7 ปี) ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรจะประกาศให้มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์แนะนำของกรมในปี 2553 นี้ พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อการค้าเพิ่มรายได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น "ปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งผลิตต้นพันธุ์ทั้ง 2 พันธุ์ โดยใช้พื้นที่กว่า 80 ไร่ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรที่มียอดสั่งจองมาแล้วกว่า 2 หมื่นต้น ขณะเดียวกันมีแผนขยายผลการวิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ต่อไปด้วย" สมชาย กล่าว

อีกทั้งเสริมว่า ปัจจุบันราคามะพร้าวกะทิหน้าสวนซื้อขายผลละ 30-35 บาท ขณะที่ราคาท้องตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ต ผลละ 90-100 บาท ซึ่งถือว่าสูงมาก ขณะที่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้น อนาคตคาดมะพร้าวกะทิพันธุ์ใหม่นี้ จะเป็นช่องทางที่ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นกว่าการปลูกมะพร้าวธรรมดา 3-4 เท่า

"ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิ ถ้าแหล่งปลูกอยู่ในเขตปลอดจากมะพร้าวพันธุ์ธรรมดาจะได้ผลมะพร้าวเป็นกะทิ 25% ผลมะพร้าวลูกผสมกะทิ 50% และผลมะพร้าวธรรมดา 25% แต่สภาพโดยทั่วไปต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจะขึ้นปะปนกับมะพร้าวธรรมดา ทำให้ผลผลิตเป็นกะทิในบางทลายและปริมาณผลที่เป็นกะทิจะได้ไม่ถึง 25%"เอกลักษณ์ของ “มะพร้าวกะทิ” ที่มีเนื้อหนาฟู อ่อนนุ่ม หวานมัน อร่อย ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทว่า บ้านเรายังผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทำให้มีราคาค่อนข้างแพง จึงนับเป็นข่าวดีที่ สมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการเกษตรฯ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุง พันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ 2 พันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ประกาศเป็นพันธุ์แนะนำเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อการค้า

วิธีการทดลองในงานวิจัยมะพร้าวกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์วิธีการทดลองเดิมใช้การคลุมจั่น เพื่อให้เกิดการผสมตัวเองและป้องกันไม่ให้เกสรจากต้นอื่นมาผสม วิธีนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่มีข้อเสีย คือ การคลุมจั่นใช้ถุงผ้าใบ และเมื่อคลุมแล้วอุณหภูมิภายในถุงผ้าใบจะสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การติดผลลดลง “การทำให้ผลผลิตมะพร้าวเป็นกะทิแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องป้องกันเกสรจากมะพร้าวต้นอื่น เพราะมะพร้าวกะทิเป็นลักษณะของยีนด้อย มะพร้าวอื่นเป็นยีนเด่น หากเกิดการผสมยีนด้อยจะถูกข่มโดยยีนเด่นทันที” ปัจจุบัน คณะวิจัยมีวิธีการทดลองผสมเกสรให้ได้มะพร้าวกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ใช้วิธีการคลุมจั่น แต่เลือกวิธีการปลิดดอกตัวผู้ทิ้งให้หมด เหลือเฉพาะดอกตัวเมีย นำดอกตัวผู้ไปเก็บเกสรแล้วนำเกสรกลับมาป้ายดอกตัวเมีย ต้นไหนต้นนั้น เรียกวิธีการผสมแบบนี้ว่า “การทำหมัน” หลังการปลิดดอกตัวผู้ออก คณะผู้วิจัยจะบันทึก โดยปกติดอกตัวเมียจะบานประมาณ 14 วัน หลังออกจั่น แต่หากดอกตัวเมียเริ่มบานก่อน 14 วัน จะนำเกสรตัวผู้ที่นำได้จากการผลิตมาป้ายที่ดอกตัวเมียได้ทันที และนำเกสรตัวผู้มาป้าย
ที่ดอกตัวเมียติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน ในระหว่างที่จั่นบาน ซึ่งธรรมชาติของมะพร้าวจั่นจะบานจากบนลงล่าง และหากดอกตัวเมียไม่ได้รับการผสมหลังจั่นบานภายใน 3 วันจะร่วง


แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก/หนังสือพิมพ์มติชน


“เกษตรกรที่สนใจปลูกต้องทำตามขั้นตอนนี้ด้วย เพราะถ้าเริ่มต้นปลูกจากลูกผสมมะพร้าวกะทิ 25 เปอร์เซ็นต์ การป้ายเกสรตัวผู้ที่ดอกตัวเมียลักษณะนี้แน่นอนว่าจะเพิ่มผลผลิตมะพร้าวกะทิเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการทำให้ได้มะพร้าวกะทิแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ยังอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลและการวิจัยในภาคสนาม ซึ่งยังเป็นความหวังของสถาบันวิจัยพืชสวน และ กรมวิชาการเกษตร ที่ต้องการสร้างพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรนำไปผลิตเป็นมะพร้าวกะทิเพิ่มขึ้น”

หมายเหตุ : ลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ เมื่อนำไปปลูกจะให้ผลที่เป็นกะทิ ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีการควบคุมเกสรจะให้ผลผลิตที่มากขึ้นสอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพืชสวน โทร.0-2579-0583 ต่อ 135 หรือสวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี โทร.0-7738-1963


6 ความคิดเห็น:

  1. ขายต้นเท่าไหร่ค่ะ ijane.acn@gmail.com

    ตอบลบ
  2. ขายยังไงค่ะช่วยตอบกลับด้วยนะค่ะ wankob77@gmail.com

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2558 เวลา 16:47

    ต้นกล้า ต้นละ 30 บาทค่ะ จะต้องไปรับต้นกล้าเองที่สุราษ

    ตอบลบ
  4. ไม่ทราบว่ามีแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือเปล่าครับ ผมอยากได้แบบพันธุ์แท้อ่ะครับ

    ตอบลบ
  5. สนใจครับ มีต้นจำหน่ายมั้ยครับ

    ตอบลบ
  6. สนใจครับ มีต้นจำหน่ายมั้ยครับ

    ตอบลบ