1. การจะปลูกอะไร (เพื่อการค้า) ให้คิดว่าจะขายได้ที่ไหนก่อน ถ้าปลูกพืชแปลกมากและอยู่ไกลจากตลาด จะทำให้ขายยากค่ะ 2. อย่าเห่อปลูกตามกระแส เกษตรกรที่ดีควประเมินสภาพตลาด ให้ดีด้วย และอย่าดูเหตุการณ์เพียงจุดเดียว ช่วงปีที่แล้วมะนาว ลูกละ 10 บาท เลยเกิดกระแสปลูกมะนาวกันใหญ่ ทั้งๆ ที่ก่อน หน้านั้น 5 ปีมีคนฟันมะนาวทิ้งไปทั้งจังหวัดเพราะราคาร้อยละ 20 บาท ไม่คุ้มค่าปุ๋ยค่ายา อยากให้เกษตรกรมองไปข้าง หน้ายาวๆ ก่อนตัดสินใจปลูกอะไร ให้เน้นพืชที่ยังไงก็ขาย ได้ในพื้นที่ตนเองก่อน เช่น มีคนส่งเสริมปลูกต้นตะกู กฤษณา ฯลฯ ก่อนปลูกให้หาข้อมูลว่าผู้รับซื้อมีกี่ราย ขายยังไง ขายที่ไหน หากผู้รับซื้อรายที่มาส่งเสริม ไม่ซื้อ จะเอาต้นดังกล่าวไปทำอะไร สูตรของสวนวสา คือ อย่างน้อยเราเองก็ต้องกินหรือใช้ได้เองด้วย | |
แผงขายกล้วยในตลาด
| |
3. หากสนใจจะปลูกเพื่อการส่งออก ควรมีพื้นที่เพาะปลูกใน จำนวนมากเกินกว่า 10 ไร่ หากมีน้อยกว่า 10 ไร่ ปลูกขาย ในประเทศได้ แต่ปลูกส่งออกไม่คุ้มการลงทุนค่ะ (เว้นแต่ใน พื้นที่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันได้จำนวน มาก พอที่ผู้ส่งออกจะสนใจ) มีระบบน้ำที่สม่ำเสมอ ที่ดินควร อยู่ไม่ไกลจากแหล่งส่งออก เกษตรกรต้องจดมาตรฐาน GAP ซึ่งมีกฎค่อนข้างมาก ต้องมีโรงเก็บปุ๋ย ยา แยกกัน มีโรงคัดแยก พืชผลที่แยกต่างหาก มีพื้นปูนไม่สัมผัสดิน ฯลฯ พวกนี้เป็นการ ลงทุนทั้งนั้นค่ะ ดังนั้นหากพื้นที่ใหญ่หน่อยจะคุ้มกว่าพื้นที่ขนาด เล็กค่ะ อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับชนิดของพืชด้วยค่ะ มีสมาชิกบาง ท่านสามารถปลูกพริกหรือผักส่งออกได้ในพื้นที่ 2 ไร่ก็มีค่ะ | |
ตลาดนัดทั่วไปตามหมู่บ้าน
| |
4. อย่าพยายามคิดการณ์ใหญ่เกินไปค่ะ จะสิ้นเปลืองทุนทรัพย์ โดยใช่เหตุ เช่น ปลูกมะม่วงเพียง 5 ไร่ ผลผลิตปีละ 1 ตัน ใน พื้นที่ก็ไม่มีคนอื่นเพาะปลูกพืชเหมือนๆกัน แต่คิดจะตั้งโรงงาน แช่แข็ง หรือ โรงงานแปรรูปทำมะม่วงอบแห้ง หรือ คิดจะไป เซ้งแผงในตลาดไทเพื่อขายผลผลิตของตนเอง (เพราะมีเกษตร เกินมาแนะนำ) พอขายผลผลิตหมดก็ไม่รู้จะหาผลผลิตที่ไหนมา ขายต่อ หรือแปรรูปต่อ จะเป็นการลงทุนโดยเสียเปล่าค่ะ หรือ การส่งสินค้าเข้าห้างก็เหมือนกันค่ะ ควรศึกษาเงื่อนไขให้ถ่องแท้ค่ะ บางทีนอกจากโดนหักเปอร์เซ็นต์แล้วเราต้องรับภาระสินค้าที่เน่า เสียหายเอง แถมกว่าจะเก็บเงินได้ต้องมีเครดิต 45 วันจึงจะได้เงิน นอกจากนี้บางที่เขามีสัญญาให้ส่งแบบต่อเนื่อง หากส่งไปครั้งสอง ครั้งแล้วหยุดก็อาจโดนหักเงิน ทำนองนี้ |
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554
การตลาด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น