วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการทำแบบประเมินตนเองก่อน-หลังเรียน มสธ.

การทำแบบประเมินตนเองก่อน-หลังเรียน

    1. ข้อสอบจะออกตามวัตถุประสงค์  สังเกตได้จากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน( อาจารย์-รุ่นพี่ๆ ที่สำเร็จ ยืนยันตามนี้)
    2. ประเมินผลตนเอง ควรทำใบสรุปคะแนนแบบประเมินผลก่อนและหลังเรียนทุกหน่วยไว้ในแผ่นเดียวกัน  เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าหน่วยได้คะแนนมาก/น้อย  ผ่านเกณฑ์หรือไม่อย่างไร?  (สอบจริงต้องได้ 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจึงผ่าน)  จะทำให้เราเห็นภาพรวมว่าหน่วยไหน? ยาก/ง่าย  ควรทบทวน/เน้นย้ำมากน้อยแค่ไหน?  หรือบางหน่วยต้องท่อง เช่น ชื่อนักทฤษฎี  ต้องจดมาและหาวิธีการท่องในแบบฉบับของเรา  เช่น ผูกเรื่องใกล้ตัว  คนที่เราคุ้น  บทกลอน  จะได้ป้องกันยามสับสน  ยังมีการเชื่อมโยง ให้เห็นเค้าที่มาได้บ้าง

    3. การทำแบบประเมินนั้น ขอแนะนำให้ใช้ดินสอ (จะได้ลบได้  ในการทำรอบต่อๆ ไป) ควรทำเครื่องหมายไว้หน้าข้อ(ติดขอบกระดาษ) ไม่ควรวงหรือขีดคำตอบ ที่ข้อ ก โดยตรง  เพื่อในรออบ ๒ จะได้ไม่เห็นข้อถูกเดิมที่ขีดไว้  เป็นการประเมินจริงๆ หลังจากอ่านจบทุกหน่วย 
    4. และข้อไหนยาก  ให้ใช้ปากกาเน้นคำขีดไว้  ยามใกล้สอบจริงจะได้ดูเน้นๆ   เฉพาะข้อสำคัญ  บริหารเวลาให้ได้ประโยชน์สูงสุด  ถ้ายังจำไม่ได้  ต้องจด  ดึงมาให้ใกล้ชิด  “รักมากอยากใกล้ชิดนิดหนึ่งนะ”
    5. ต้องวิเคราะห์  และถามว่าทำไมจึงตอบเช่นนี้  ถ้าเรายังไม่รู้  ก็ต้องหาคำตอบให้ได้  เป็นการพัฒนาสมองให้พินิจพิจารณา  จนสามารถนำไปใช้ในสนามสอบจริงได้  และควรจดประเด็นที่เราทำผิดไว้ในข้อสอบ  เพื่อทราบข้อผิดพลาด  จะได้ระวังแก้ไขไม่ให้ประวัติศาสตร์ช้ำๆๆๆ ซ้ำรอยแผลเก่า 
  ข้อสอบจะเน้นวัดความรู้ด้าน
  1. ความจำ
  2. ความเข้าใจ
  3. วิเคราะห์
  4. สังเคราะห์
  5. นำไปใช้ได้

  เทคนิคและวิธีเลือกคำตอบในข้อสอบ
 1. ตัดตัวเลือกที่ผิดโต้งๆ  เพื่อกำจัดเจ้าตัวกวนประสาท   จะได้มุ่งสติปัญญากล้าแข็งไปพิจารณาตัดสินใจในข้ออื่นๆ ที่เห็นว่าถูก
    2. ระวังตัวลวง  โจทย์ลวง  เช่น ไม่ใช่, ใช่  เพียงแค่คำ สองคำ  ก็มีนัยที่ร้ายกาจ  ถ้าพลาดเป็นศพ  เมื่อพบลักษณะนี้  หมายหัวไว้  อย่าเผลอ  เพราะจะทำให้เราหลงประเด็น  เราจะกระเด็นเอง สิบอกไห่
    3. วิเคราะห์  แยกแยะ  เปรียบเทียบ ทุกๆ ตัวเลือกจะคล้ายๆ กันมาก  ยากทีเดียว  แต่มองให้ดีใช่เลย  ข้อนี้ถูกสุด  ไม่แพง  ไม่ต้องซ่อมไง!
    4. สังเคราะห์  มีลักษณะประมวลตัวเลือกอื่นๆ ที่ถูกมาอยู่ในข้อนี้  อมความหมายไว้ทั้งหมดเป็นลักษณะ  ถูกทุกข้อ  แต่ไม่ใช้คำนี้ ใช้ความหมายแทน  ประสบการณ์เท่านั้นที่จะช่วยท่านได้  ฝึกคิดพิจารณาแก้ปัญหา ได้ด้วยปัญญาได้จากแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน 
    5. นำไปใช้ได้  คือ  สามารถประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์จริง  ยกตัวอย่างประกอบได้  แก้ไขสถานการณ์จำลองเหมือนจริงต่างๆ ได้
โชคดี  มีชัยด้วยใจทุกๆ ท่าน
ประเมินแนวข้อสอบและเตรียมพร้อมรบ
  1. แนวข้อสอบเทียบเคียงได้กับแบบประเมินผลตนเองก่อน-หลังเรียน   ดังนั้นจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ให้ได้ชัดแจ้งว่าผิด ถูกอย่างไร  และควรอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนประเด็นที่เราทำผิดไว้ในแบบประเมิน  เพื่อทราบข้อผิดพลาด  จะได้ระวังแก้ไขไม่ให้ประวัติศาสตร์ช้ำๆๆๆ ซ้ำรอยแผลเก่า  ฝึกฝนอบรมตนบ่อย  จะมีความชำนาญมากขึ้น  ไม่นานก็เป็นแชมป์  หมั่นชกเก็บแต้ม(เก็บหน่วยครบ จบปริญญาเห็นๆ)
    2. อาจารย์ที่จัดทำหน่วยการสอนแต่ละหน่วย  ก็คนละท่านกัน  ดังนั้นต้องสังเกตแนวการออกข้อสอบ  เพื่อจะรู้ว่าท่านชอบออกลักษณะอย่างไร? ทดสอบอะไร ?
    1. ความจำ
    2. ความเข้าใจ
    3. วิเคราะห์
    4. สังเคราะห์

    5. นำไปใช้ได้
 (รู้เขารู้เรา  รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง)
    3. ระวังคำถามลวง  จนเราหลงประเด็น  เช่น บางครั้งอ่านคำตอบจนเพลิน  ลืมประเด็นคำถาม  เลยตอบผิดซะดื้อๆ  ไม่น่าเชื่อ เคยอ๊ะเปล่า
    4. ในการสอบจริง  ขณะทำข้อสอบก็ต้องประเมินว่าผ่านเกณฑ์ ที่ชัวร์ๆ จริงๆแน่นอนหรือไม่  อย่างไร? 

 เทคนิคการตอบข้อสอบปรนัย
  1. อ่านคำชี้แจงอย่างระมัดระวัง
  2. วางแผนการใช้เวลา
   3. ศึกษาข้อสอบทั้งฉบับในภาพรวม
   4. อ่านคำถามอย่างระมัดระวัง
   5. พิจารณาตัวเลือกที่เป็นคำตอบของข้อคำถามที่ถูกมากที่สุดแล้วตอบ
   6. อ่านข้อคำถามกับคำตอบทุกข้อโดยให้คิดว่าเป็นการค้นหาข้อถูกหรือข้อผิด
   7. พบข้อสอบที่ยากควรทำเครื่องหมายและข้ามไปก่อน  หลังจากนั้นกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  (และควรประเมินผลงานว่าภาพรวมเป็นอย่างไร? มั่นใจว่าผ่านหรือไม่?)
    8. หากมีเวลาเพียงพอควรทบทวน  โดยการอ่านทั้งคำถามและคำตอบอีกครั้ง  (ระวังความคิดครั้งแรกมักถูก)
 กลยุทธ์ตอบคำถามข้อที่ยากๆ
  1. ให้พิจารณาตัดตัวเลือกที่คิดว่าไม่ถูกแน่นอนออกไปก่อน
  2. พิจารณาตัวเลือก  แต่ละข้อในลักษณะถูกหรือผิด
  3. พิจารณาตัวเลือกที่อาจมี  ถูกทุกข้อ หรือ ผิดทุกข้อ  หากเห็นว่ามีลักษณะดังกล่าวมากเกิน 2 ถึง 3 ข้อ  ก็น่าจะพิจารณาตอบได้
  4. พิจารณาตัวเลือกที่น่าสงสัยในลักษณะต่างๆ
  5. หากตัวเลือกเป็นปฏิเสธซ้อน  ให้นึกถึงข้อมูลนั้นในความหมายปกติ
  6. หากไม่ทราบคำตอบให้ใช้ข้อมูลที่เป็นตัวแนะนำจากข้อคำถามอื่นๆ ที่เรามั่นใจว่าถูก

เก็บมาฝากจากชมรม มสธ.ราชบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น