วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รวงข้าวสีทองภูนิตาฟาร์ม



ระยะเวลาผ่านไปไม่กี่อาทิตย์ ข้าวที่เคย Up Date ไปเมื่อครั้งที่แล้ว ตอนนี้ก็เหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง เวลาเร็วจริงๆค่ะ วันนี้ก็เลย เอามาแบ่งปันเพื่อนๆ ที่อยากเห็นนะค่ะ ครั้งนี้รวมเอาการคัดเลือกพันธุ์ข้าว เพื่อที่จะเก็บไว้เป็นพันธุ์ในการปลูกของปีต่อไปด้วยค่ะ





รวงข้าวสีทองเต็มท้องทุ่ง

แปลงนาหว่าน

มองเห็นสีทองทั้งทุ่งนา

อีกมุมของท้องทุ่ง


มีบางส่วนที่เก็บเกี่ยวแล้ว

กลับบ้านไปครั้งที่่แล้วก็ได้เวลาเก็บเกี่ยวข้าวพอดี มีบางส่วนที่พ่อได้จ้างคนงานมาเกี่ยวข้าวไปบ้างแล้ว ข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วเป็น ข้าวเหนียว ประมาณ หกไร่กว่าๆ เก็บเกี่ยวประมาณ 4 วัน แล้วก็ตากและ มัด รวมแล้วใช้เวลาประมาณ 5 วัน ถ้าจำไม่ผิด พอมัดข้าวเรียบร้อย ก็เก็บขึ้นรถบรรทุกมาเก็บรวมไว้ที่ลานหน้าบ้าน ทั้งหมดก็จ้างแรงงานแถวบ้านค่ะ บางส่วนก็เป็นญาติๆกัน ที่เหลือเป็นแรงงานเขมร ที่ต้องจ้างแรงงานเขมร เพราะแรงงานไทยไม่นิยมรับจ้างแล้ว หายากมาก คนไทยชอบสะบายมั้ง ค่าแรงที่จ้างถ้าเป็นแรงงานไทยก็แพงกว่า แรงงานเขมรมากๆ ก็เลยนิยมจ้างแรงงานต่างชาติกันนี่แหล่ะค่ะ

ข้าวบางส่วนที่เก็บมากองรวมกันไว้

ข้าวที่เก็บเกี่ยวมาได้ แยกข้าวพันธุ์

พ่อแยกพันธุ์ข้าวที่ปนกันออก

พันธุ์ข้าวที่พ่อแยกนั้นนะค่ะ เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ชื่อพันธุ์คือ "พันธุ์เล้าแตก" เป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อโรค พ่อไปขอพันธุ์มาจากเพื่อนที่รู้จักกันค่ะ นำพันธุ์มาปลูกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เป็นครั้งแรกของเรา ได้ข้าวเยอะมากๆ เพราะเม็ดใหญ่ น้ำหนักมาก ที่สำคัญพอสีเป็นข้าวสารนำไปนึงแล้ว หอมอร่อยเหนียวนุ่มมาก ตอนที่เก็บเกี่ยวสีเป็นข้าวเปลือก ชาวบ้านที่มาช่วยตอนสีข้าว แปลกใจที่ทำนาแค่ไม่กี่ไร่ ทำไมได้ข้าวเยอะจัง สมกับชื่อ เล้าแตก เลย เพื่อนบ้านมาขอพันธุ์แต่พ่อบอกให้มาคัดเองค่ะ ตอนคัดเนี่ยต้องพิถีพิถันนิดหนึ่งค่ะ แล้วจำเป็นต้องคัดพันธุ์ทุกปีนะค่ะ เพราะถ้าไม่งั้นอาจกลายพันธุ์ กลายเป็นพันธุ์ผสม ทำให้กินไม่อร่อยค่ะ เพราะปีที่แล้วเนี่ย เราไม่ได้คัดค่ะ เพราะว่าแม่ป่วยไม่มีเวลาทำอะไรเลย พ่อก็เลยปล่อยเก็บไว้เลยโดยไม่ได้แยก ผลปรากฏว่า พอเอามานึง ข้าวแข็งมาก กินแทบไม่ได้เลย ปีนี้อาการป่วยแม่ดีขึ้นมาก มีเวลาในการแยก พ่อก็เลยจับแยก เจ้าของบล๊อกก็ไปช่วยพ่อแยกพันธุ์ด้วยค่ะ ตอนแรกยากมากเลย พอดูไปเรื่อยๆ ก็แยกออกได้ว่ารวงไหนใช่ รวงไหนไม่ใช่ สนุกมากค่ะ ได้ความรู้ใหม่ด้วยเอารูปมาฝากด้วยค่ะ


รวงใหญ่เม็ดใหญ่


พันธุ์เล้าแตก

ทีนี้มาดูอีกพันธุ์หนึ่งนะค่ะ พ่อบอกว่าชื่อพันธุ์ สะบาย ไม่รู้เหมือนกันว่าถูกหรือเปล่า แต่พ่อบอกว่าชื่อนี่แหล่ะ พันธุ์นี้เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวเหมือนกัน เมล็ดใหญ่กว่าเล้าแตกอีก เห็นแล้วเลือกไม่ยากเลยค่ะ มันใหญ่จริงๆ เค้าเลยบอกพ่อให้เก็บไว้เยอะๆค่ะ

พันธุ์สะบาย

ดูใกล้ๆค่ะ

มาดูอีกพันธุ์นะค่ะ อันนี้ไม่ทราบชื่อพันธุ์เลยค่ะ พ่อบอกว่ากลายพันธุ์ไม่รู้ปนมาได้อย่างไร แต่เค้าก็ให้พ่อแยกไว้เพราะเม็ดส่วย ดูแล้วน่าจะน้ำหนักดี เก็บไว้ปีต่อไป แล้วค่อยหาชื่อพันธุ์ค่ะ

เม็ดข้าวคล้ายๆกับพันธุ์สะบาย แต่ออกลายดำ

ดูชัดๆ อีกทีค่ะ เม็ดสวยจริงๆ

ปีนี้คงคัดได้ประมาณนี้ค่ะ เอาแค่นี้ก่อน พ่อปลูกข้าวไม่เยอะค่ะ ประมาณ สิบไร่กว่าๆ ข้าวเหนียวจะเยอะกว่าข้าวจ้าว พ่อบอกว่าไม่ได้ปลูกเพื่อขาย แต่ปลูกไว้กิน ไว้สำหรับไก่ของพ่อ หมา แมว ถ้าเหลือหรือได้ข้าวเยอะจริงๆ พ่อถึงจะขายค่ะ ก็เป็นความคิดที่ดีอีกแบบ จะได้ไม่ต้องซื้อข้าวเค้ากิน เพราะข้าวที่ซื้อแพงมาก สรุปได้ว่า ปีนี้เราไม่ต้องซื้อข้าวเค้ากินอีกแล้วค่ะ

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีจริง หากเกษตรกรมีความคิดก้าวหน้าแบบนี้อย่รอดไม่เป็นทาสใครแน่ๆ แต่อยากแนะนำข้าวสำหรับกินในครัวเรือนข้าวเหนียวปลูกเล้าแตก สะบาย หรืออื่นๆเพียง 3 ไร่ก็พอเพียงสำหรับคน5คนกินทั้งปี แต่ถ้าป้องกันโรคเหน็บชา มะเร็ง ก็ต้องข้าวเจ้าหอมนิล อายุเพียง 110 วันปลูกไว้เพียง 2 ไร่ก็พอแล้วหรือหากจะขายข้าวสารเองก็ยิ่งได้กุศลมาก ผมซื้อกิโลละ 70บาท หากคุณปลูกเองขายเอง กิโลละ 50บาทก็น่าจะเหมาะแต่ต้องลงทุนโรงสีข้าวกล้องประมาณ 70,000บาท(บ้านผมใช้เงินเอส เอ็ม แอลซื้อเป็นโรงสีของชุมชน) ตลาดกว้างมากครับคนเมืองเขารักษาสุขภาพ มีเงินแสนเงินล้านก็ไม่มีความหมาย ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงครับ

    ตอบลบ