วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวก่อนเป็นเกษตรกร

เตรียมตัว/วางแผนก่อนการเป็นเกษตรกร
เมื่อการทำงานมันทำให้เราอิ่มตัว เบื่อหน่าย และไม่อยากอดทน เราจะเริ่มมองหาสิ่งที่เราจะต้องทำในอนาคต เชื่อว่า บางท่านเกิดอาการแบบนี้เหมือนกับผู้เขียน แต่จะเริ่มจากอะไรดีล่ะ ความรู้ึสึกของการเป็นมนุษย์เงินเดือนซึ่งเราเคยชินกับมัน และหนี้สินที่เยอะแยะ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ถ้าเราออกจากงาน ตรงนี้ อนาคตข้างหน้าจะเป็นยังไง แล้วเราจะเริ่มจากอะไร โชคดีที่ผู้เขียน ยังมีที่ดินที่ต่างจังหวัด มรดกจากครอบครัวที่มอบให้ ก็เลยไม่ต้องคิดเรื่องจัดหาที่ดิน แล้วเราจะทำอะไรดี จึงจะเลี้ยงตัวเองและครอบครัวอีก 4-5 คน ได้ คิด คิด และ ก็คิด สืบค้นหาข้อมูลที่จะเอาเป็นแบบอย่าง เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตในอนาคตของเรา ส่วนนี้พูดถึงคนที่จะเป็นเกษตรกรนะค่ะ ส่วนคนที่มีอาชีพอื่นต้องหาแนวทางที่เหมาะสมกับตัวเองต่อไป..อันดับแรกที่ผู้เขียนนึกออกคือ ปกติเรามีเงินเดือน อยู่เท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอยู่เท่าไหร่ ถ้าเราออกไปใช้ชีวิตแบบไม่มีเงินเดือน เราต้องหาเงินเพื่อให้ได้เท่าที่มี่อยู่ถึงจะรอด เพราะว่า เรายังมีหนี้สินส่วนอื่นที่เรายังต้องรับผิดชอบอีก  สมมุติเงินเดือน 20,000 บาท คิดเป็นรายวัน คือ 20,000/30 = 667 บาท ถ้าเราออกจากงาน ไปอยู่บ้าน เราต้องหาเงินให้ได้วันล่ะ 667 บาท ก็จะเทียบเท่าจากที่เราทำงาน ทำงานบริษัท มีโบนัสสิ้นปีอีก 5 เท่า = 20,000x5  = 100,000 บาท คิดรวมทั้งสิ้น = 340,000 บาท ตีซะคิดค่าภาษีอีก ประมาณ 28,900 บาท คงเหลือ = 311,100 บาท ทั้งปี เราเป็นมนุษย์เงินเดือน จะมีรายรับต่อวันเท่ากับ 852 บาท แล้วจะหาเงินจากที่ไหนล่ะทีนี้ เงินทุึนล่ะ เราต้องมีเงินทุนในช่วงเริ่มต้นที่เราจะหารายได้ต่อวันอีก แล้วรายได้รายวันที่เราจะต้องหา ให้ได้ วันล่ะ 852 บาท เราจะหาได้ทุกวันเหรอ? คิดแล้วก็ จะทำไงน้อ...เรามาวางแผนกันก่อนที่จะออกจากงานดีกว่า เพราะถ้าคิดแบบนี้แล้ว ออกไป อดตายแน่ หนี้สินเจ้าหนี้ตามทวงแน่ ค่าใช้จ่ายอื่นอีกล่ะ บอกคำเดียวว่า แย่แน่ๆ ทำไงดีอะ...มาเริ่มการเป็นเกษตรกรแบบมีอนาึคตกันดีกว่าค่ะ เราต้องเตรียมความพร้อมยังไงดี สรุปได้ดังนี้ค่ะ

1. เมื่อมีที่ดินแล้ว มีทุนแล้ว ทราบว่าดินเป็นดินชนิดไหน เข้าใจสภาวะอากาศ
ของพื้นที่แล้ว เลือกพืชที่เหมาะกับพื้นที่ได้แล้ว เราก็เริ่มวางแผนกันค่ะ อยาก
ให้เกษตรกรทุกคนวางแผนบนกระดาษก่อนว่าจะแปลนสวนของตนเองอย่างไร
บ้านจะอยู่ตรงไหน บ่อน้ำ(ถ้ามี) จะอยู่ตรงไหน และส่วนไหนกะว่าจะปลูกพืช
อะไร จำนวนกี่ต้น

2. ระบบน้ำเป็นสิ่งสำคัญค่ะ ก่อนจะลงพืชชนิดใดๆ ระบบน้ำควรจะพร้อมก่อน
หากพื้นที่เป็นสภาพเนินเขา ก็ไม่เหมาะกับการทำระบบร่องน้ำที่มีน้ำหล่อแบบ
ร่องสวนที่ทำกันในพื้นที่ราบ แต่ควรใช้การขุดทางระบายน้ำเพื่อว่าหน้าฝนน้ำ
สามารถไหลลงมาได้โดยไม่เอ่อขัง ที่โคนต้นไม้ และใช้ระบบรดน้ำแบบตาม
ท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ โดยอาจสูบน้ำไว้ที่สูงและปล่อยมาตามแรงดึงดูดโลก
หรือใช้ปั๊มน้ำก็ได้ค่ะ ส่วนพื้นที่ราบนั้นให้ศึกษาว่าระบบน้ำที่เราใช้เหมาะกับพืช
หรือไม่ เช่น หากปลูกมะม่วง มะนาว ในดินเหนียวก็ไม่ควรใช้น้ำหยดแต่ควรใช้
สปริงเกอร์ เพราะระบบน้ำหยดจะหยดอยู่แค่วงแคบๆ ในขณะที่รากพืชแผ่ขยาย
 แต่หากปลูกพวกพริกหรือมะเขือเทศในถุงก็สามารถใช้ระบบน้ำหยด (dripping)
ได้ค่ะ เรื่องการบริหารน้ำนี้มีผลต่อการเติบโตของพืชและคุณภาพผลผลิตค่ะ
นอกจากนี้ มีเกษตรกรพาร์ทไทม์บางคนคิดว่าในช่วงเริ่มต้นไม่ต้องวางระบบน้ำ
ก็ได้ พึ่งฝนฟ้าเอา และให้คนงานลากสายยางรดน้ำเอาก็ได้ พื้นที่แค่ไร่สองไร่เอง
 ก็อยากให้ทดลองรดน้ำเองดูค่ะว่าเหนื่อยแค่ไหน และก็อย่าหวังผลให้มากค่ะหาก
พืชผลออกมาไม่ได้ขนาด หรือร่วงไปแยะ หรือไม่ติดผล ซึ่งอยากให้คิดดีๆค่ะ
 ทีกิ่งพันธุ์เราไปอุตส่าห์เสาะหาจากแหล่งทั่วประเทศได้ ปุ๋ยหมักก็ไปเสาะหา
ส่วนประกอบต่างๆ มา ลงทุนลงแรงไปมากมาย แต่มาประหยัดกับเรื่องน้ำ แล้ว
ต้นไม้ก็แคระแกร็น มันคุ้มไหม


3. เมื่อระบบน้ำพร้อมแล้ว ก็มาถึงกิ่งพันธุ์ของพืชที่จะลงค่ะ แนะนำให้ศึกษาจาก
เวบไซต์เกษตรพอเพียงและหนังสือเกษตรต่างๆ ค่ะ ราคากิ่งพันธุ์พืชชนิดเดียวกัน
 อาจต่างกันตามผู้ขายค่ะ หากปลูกจำนวนมาก อยากให้ผู้ซื้อแวะไปที่สวนของ
ผู้ขายแต่ละรายค่ะจะได้สัมผัสกับต้นพันธุ์ของ จริง รู้ว่าแท้หรือไม่แท้ อย่าดูแต่
ในรูปค่ะ เพราะหากปลูกพันธุ์ไม่แท้จะมีปัญหาเรื่องการตลาดค่ะ นอกจากนี้ขอ
เรียนว่าราคากิ่งพันธุ์เป็นเงินลงทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบ สัดส่วนกับต้นทุนรวม
ทั้งหมดของการเกษตร อยากให้ผู้ซื้อพิจารณาหลักๆ ในเรื่องความเสี่ยงเรื่อง
ความแท้ของสายพันธุ์ บวกกับค่าน้ำมันที่ต้องไปเสาะหากิ่งพันธุ์ที่ต้องการ
ก่อนตัดสินใจค่ะ
4. การบำรุงรักษา เมื่อปลูกพืชลงไปแล้วแน่นอนว่าจะต้องมีการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดยา
ตัดแต่งกิ่ง เก็บผลผลิต ตัดหญ้าที่รกๆ ในแปลง รวมไปถึงการดูแลในกรณีฉุกเฉิน
ต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำพัง ไฟฟ้าตัด น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภาวะฝนแล้ง หนูแทะ
สายสปริงเกอร์ฯลฯ ดังนั้นหากท่านเป็นเกษตรกรเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องมีคนงาน
ที่ไว้ใจได้ช่วยดูแลค่ะ และค่าใช้จ่ายส่วนบำรุงรักษานี้ก็มากเสียด้วยสิ ที่สำคัญท่าน
ต้องศึกษาหาความรู้ด้านนี้พอควรค่ะ ไม่งั้นโดนหลอกน่าดู เช่น หากจะจ้างคนมา
ตัดหญ้าควรจ่ายเหมาต่องานที่สำเร็จไม่ใช่จ่ายรายวัน เพราะบางทีก็มีอู้งานค่ะ
5. อุปกรณ์การเกษตร ที่จำเป็นต้องใช้ในสวนหลักๆ นอกจากพวกจอบ เสียม
เครื่องมือพื้นฐานแล้ว ก็มีพวกเครื่องตัดหญ้า เครื่องฉีดยาแบบสะพายหลังหรือ
แบบลาก ถังหมักหรือผสมปุ๋ย ตะกร้าสำหรับเก็บผลไม้ค่ะ อุปกรณ์การเกษตร
พวกนี้เวลาซื้อให้คุยหลายๆ ร้านค่ะ แต่ละร้านจะเป็นเอเย่นของแต่ละยี่ห้อ
แตกต่างกัน ถามความเห็นเพื่อนๆ ในเวบนี้ก็ได้ค่ะ แต่ละคนจะมีประสบการณ์
ในอุปกรณ์หลายๆ แบบค่ะ ควรเลือกให้เหมาะกับงานในสวนค่ะ ที่สำคัญ
 อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย เช่น เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่
ราคามันมีตั้งแต่ 1,000 กว่าบาท - 10,000 กว่าบาท ซึ่งต่างกันมาก ของถูกก็
แน่นอนว่าคุณภาพก็ตามราคา ตัดหญ้าสามวันก็อาจจะหลุดเป็นชิ้นๆ แต่ก็ไม่ได้
หมายความว่าของแพงสุดจะดีที่สุดเสมอไป ให้ศึกษาจากเพื่อนเกษตรกร
คนอื่นดูค่ะ ที่สำคัญ เวลาซื้ออุปกรณ์พวกนี้ต้องหาที่มีอะไหล่และศูนย์ซ่อม
ด้วยค่ะ บางยี่ห้อบอกว่าทนทานแต่คนเอามาขายขายแต่เครื่องอย่างเดียว
ไม่มีอะไหล่ พอเสียก็ต้องทิ้งเลย นอกจากนี้หากมอเตอร์เสีย เครื่องตัดหญ้า
เสียจะซ่อมที่ไหนที่ใกล้ๆ ไม่ต้องขนไปขนมาถึงกรุงเทพ ควรเตรียมข้อมูล
แหล่งซ่อมที่เชื่อถือได้ค่ะ ไม่งั้นโดยฟันเละค่ะ (ยังมีต่อค่ะ)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น