วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันประกาศผลการสอบไล่ มสธ. ภาคการศึกษาที่ 1/2554

วันประกาศผลการสอบภาคที่ 1/2554
1. ข้อสอบ ปรนัย วันที่ 26 ธ.ค. 2554
2. ข้อสอบ อัตนัย วันที่ 20 ม.ค. 2555
3. ชุดวิชาประสบ ฯ + ชุดฝึก วันที่ 10 ก.พ. 2555
 
ซึ่งสามารถลงทะเบียนสอบซ่อมภาค 1/2554
ได้ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. -20 ก.พ. 2555
ข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลทะเบียนและบริการนักศึกษา มสธ.

ครั้งที่ 1
"มหาวิทยาลัยจะแจ้งผลการสอบภาคการศึกษาที่ 1/2554 ประมาณกลางเดือนมกราคม 2555 ค่ะ ซึ่งเมื่อมหาวิทยาลัยได้แจ้งผลการสอบเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองพร้อมกับนักศึกษาท่านอื่นที่ web site มหาวิทยาลัย ไปที่ปริญญาตรี และ ทางโทรศัพท์อัตโนมัติ 02-5047799 (เปิดบริการ 24 ชั่วโมง) และ

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รวงข้าวสีทองภูนิตาฟาร์ม



ระยะเวลาผ่านไปไม่กี่อาทิตย์ ข้าวที่เคย Up Date ไปเมื่อครั้งที่แล้ว ตอนนี้ก็เหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง เวลาเร็วจริงๆค่ะ วันนี้ก็เลย เอามาแบ่งปันเพื่อนๆ ที่อยากเห็นนะค่ะ ครั้งนี้รวมเอาการคัดเลือกพันธุ์ข้าว เพื่อที่จะเก็บไว้เป็นพันธุ์ในการปลูกของปีต่อไปด้วยค่ะ





รวงข้าวสีทองเต็มท้องทุ่ง

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำนาบ้านภูนิตา ปี 2011

ผ่านมาหลายเดือนไม่ค่อยได้ Up Date พัฒนาการบ้านภูนิตาเลย พอมีเวลาก็เลยเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆพี่ๆได้ดู เห็นในเมืองกรุงเจอน้ำท่วมแต่บ้านภูนิตายังไม่ท่วมนะค่ะ ยังทำนาได้ ไม่เสียหายอะไร เพียงแต่ยังไม่เป็นการทำนาอินทรีย์เต็มที่เท่านั้น เพราะท่านคุณพ่อยังยึดติดกับเคมีอยู่เลย ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป แล้วกันแต่ก็ยังพอฟังกันบ้าง อีกอย่างตอนนี้ก็ยังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่่เลย ยังไม่ได้ช่วยท่านคุณพ่อได้เต็มที่ ก็ต้องยอมท่านก่อน..งั้นมาติดตามกันนะค่ะ

กำลังถอนกล้าเพื่อนำไปปักดำ ช่วงเดือน กรกฏาคม 2011

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูหลุม

ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงหมูหลุม
1. การสร้างโรงเรือน
     - เลือกสถานที่น้ำไม่ท่วมขัง
     - วัสดุการก่อสร้างหาง่าย
     - อากาศถ่ายเทสะดวก    
     - ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคาหญ้าคา 
     - ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 4 x5x1.8  เมตร เลี้ยงคอกละ 20 ตัว หลังคาควรมีแสงรอดผ่านหรือมีพื้นที่รับแสงได้ 1/3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน

ตัวอย่างโรงเรือนหมูหลุมจากวัสดุในท้องถิ่น
วิธีทำพื้นคอก
     1. ขุดหลุมลึก 90 ซม.ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่จะเลี้ยง โดยมีพื้นที่ต่อตัว 1- 1.5 เมตรต่อตัว
     2. ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่ต้องเทพื้น
     3. วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้นๆละ 30 ซม. โดยใช้วัตถุดิบดังนี้
        - แกลบดิบ 4,300 กิโลกรัม
        - มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม
        - รำอ่อน 185 กิโลกรัม
        - น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติค



วิธีการเลี้ยง
การนำหมูเข้าเลี้ยงควรเป็นหมู่ที่หย่านมแล้ว น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม โดยเตรียมคอกและอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม คัดหมูที่ขนาดใกล้เคียงกัน ไว้ด้วยกันเพื่อ ป้องกันการรังแกกันในวันแรกที่นำหมูลงเลี้ยงไม่ต้องให้อาหารเพื่อ ป้องกัน ความเครียดแต่ควรให้ดื่มน้ำ ตัวอย่างอาหารและปริมาณการให้อาหาร แสดงในตาราง
   
พันธุ์สุกร
ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่ไว้ใจได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม



แม่พันธุ์หมู
ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงการดูแลอื่นๆ
1. ในระยะเดือนแรก ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับสุกรหย่านมมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับรำโรงสีชาวบ้าน ในอัตรา 1: 3 ให้กิน 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เป็นเวลา 15 วันแรก หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จรูปลงจนครบ 1 เดือน ไม่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปอีกต่อไป โดยในกลางวันให้กินอาหารเสริมประเภทพืช ผัก และถ้ามีกากน้ำตาลให้หั่นพืชผักหมักกับกากาน้ำตาลทิ้งไว้ 1 วัน แล้วให้กินจะเป็นการดียิ่ง
2. ในระยะเดือนที่ 2 จนถึงจำหน่าย งดให้อาหารสำเร็จรูป เกษตรกรนำกากปลาร้าต้มกับรำข้าว หรือใช้ รำปลายข้าว ในอัตราส่วน 1:1 และเศษพืชผักเป็นอาหารเสริม โดยมีระยะเวลาเลี้ยง 3-3 เดือนครึ่ง ได้น้ำหนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม


 
น้ำหนักหมู(กิโลกรัม)
ชนิดอาหาร
ปริมาณ (กก/ตัว/วัน)
12-20
อาหารสำเร็จรูป
1.0-1.5
20-35
รำ+ปลายข้าว
1.7-2.0
35-60
รำ-ปลายข้าว
2.5-3.0
60-100
รำ+ปลายข้าว
3.5-4.0


ต้นทุนการผลิต
     1. ค่าโรงเรือน รวมอุปกรณ์ การให้น้ำและอาหาร เงิน 3,000 บาท
     2. ค่าก่อกำแพงอิฐบล็อกภายในหลุมทั้ง 4 ด้าน เงิน 1,050 บาท
     3. ค่าพันธุ์หมู 20 ตัวๆละ 1.200 บาท เงิน 24,000 บาท
     4. ค่าจัดทำวัสดุรองพื้น เงิน 2,080 บาท ได้แก่ แกลบ 1 คันรถ เงิน 300 บาท มูลโค- กระบือ 24 กระสอบๆละ 10 บาท เงิน 240 บาท รำข้าว 576 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 1,440 บาท สารจุลินทรีย์ 100 บาท
     5. ค่าอาหารหมู เงิน 6,575 บาท
            - อาหารสำเร็จรูป 150 กก. ๆละ 10 บาท เงิน 1,500 บาท
            - รำข้าว 1,750 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 4,375 บาท
            - กากปลาร้า เงิน 100 บาท
            - ปลายข้าว 120 กก. ๆละ 5.00 บาท เงิน 600 บาท
     6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่นในการจัดอาหารเสริม เงิน 2,000 บาท
     7. ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงิน 400 บาท (ไม่ได้คิดค่าแรงงาน) รวมต้นทุน 39,105 บาท

รายรับ
     1. จำหน่ายสุกร 20 ตัวๆละ 3,000 บาท เงิน 60,000 บาท
     2. ปุ๋ยชีวภาพที่ได้ 10 ตันๆละ 2,000 บาท เงิน 20,000 บาท
         รวมรับ 80,000 บาท


ผลลัพท์จากการเลี้ยงหมูหลุม

การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการผลิตที่เหมาะสมกับการทรัพยากรและการบริโภค ในท้องถิ่นทำใ ห้เศรษฐกิจฐานล่างมีความเข้มแข็ง สนับสนุนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่

· ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม พึ่งพาการผลิตการบริโภคในท้องถิ่นเกิดความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน

· ด้านสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ครอบครัวมีงานทำหมุนเวียนตลอด ก่อเกิดรายได้ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

· ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตผสมผสานปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ใช้ทรัพยากร ผืนดินให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต ใช้วงจรชีวภาพหมุนเวียนให้เกิดการผลิตหลายรอบ ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

· ด้านสุขภาพ การเลี้ยงหมูที่ไม่เครียดทำให้มีสุขภาพดี และการเลี้ยงด้วยหญ้าจะทำให้เนื้อสัตว์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอไมก้า 3 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และไขมันอุดตันในหลอดเลือดสูง และผลผลิตปลอดภัยปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ มีผลทำให้สุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง Food Quality ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเช่นเดียวกับอาหารอินทรีย์

 

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

เฉลยกิจกรรมชุดวิชา 94431 การจัดการการตลาดสินค้าเกษตร

เจ้าของบล๊อกเรียน สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ เอกธุรกิจการเกษตรค่ะ ใครที่เรียนคณะเดียวกันร่วมแชร์ความคิดเห็นได้นะค่ะ เพราะฉะนั้นแนวคำตอบอาจจะไม่ตรงกับบุคคลที่เรียนคณะอื่น ก็จะมีเป็นบางวิชาที่เป็นวิชาบังคับที่เรียนเหมือนกัน มีแนวคำตอบไหนที่พอจะช่วยกันได้ก็นำไปประยุกต์ใช้เอาเองนะค่ะ...กิจกรรมวิชานี้ลงทะเบียนเรียนเทอม 1/2554 ค่ะ ยังไม่ได้สอบและยังไม่ทราบคะแนน นำมาลงไว้ในแบบฉบับของเจ้าของบล๊อกเอง ไม่ได้ไปคัดลอกมาจากที่ไหน (เพราะไม่มีใครลงไว้เล๊ย..) เฮ้อ..! ทำเองล้วนๆค้า..

กิจกรรมประจำชุดวิชา 94431 การจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
ส่วนที่ 1 ให้นักศึกษาย่อเนื้อหาของ หน่วยที่ 1,2,3,4,5,6,8,14,15 ความยาวไม่เกิน 3-5 กระดาษ A4 เขียนด้วยลายมือตนเอง สามารถอ่านเข้าใจง่าย

หน่วยที่ 1. ตอนที่ 1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการการตลาดโดยทั่วไป
                 เรื่องที่ 1.1.1 ความหมายของตลาดและการตลาด
1.ความหมายของตลาด คำจำกัดความว่า ตลาดตามแนวคิดของ ลัดดา พิศาลบุตร คือ ตลาด หมายถึงที่ชุมนุม ซื้อขายของต่างๆ รวมทั้งเงินที่แลกเปลี่ยนและกู้ยืมกัน
2.ตลาดไม่ได้หมายถึงเพียงสถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีความหมายคลุมไปถึงการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการแก่กันและกัน
3.ตลาดที่ไม่ทราบแหล่งซื้อขายที่แน่นอน แต่ก็เรียกว่าตลาดได้ เช่น ตลาดแรงงาน
4.ตลาดยังอาจหมายถึง ภาวะของราคาสินค้าและภาวะการค้าของตลาด
5.ปัจจุบันมีแนวคิดใหม่ๆที่เกี่ยวกับตลาดเกิดขึ้น เช่น ตลาดหมายถึง เซตหรือกลุ่มคนหรือสถานการณ์ในช่วงเวลาหนึ่งที่สินค้าสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า
    กล่าวโดยสรุป ตลาด อาจจะเป็นสถานที่ที่มีอาณาบริเวณปรากฎชัดเจน หรือ อาจไม่มีอาณาบริเวณปรากฏชัดเจน อาจจะเป็นสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง หรือ กลุ่มของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง และรวมถึงระบบใดระบบหนึ่ง ตลอดจนภาวการณ์ใดภาวการณ์หนึ่งที่เอื้ออำนวยให้บุคคลหรือกลุ่มหรือองค์กรและสถาบันต่างๆ สามารถนำสินค้าหรือบริการมาแลกเปลี่ยนกัน หรือทำการซื้อขายกันทั้งในลักษณะพบหน้ากันโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายหรือจจาจะไม่เคยพบหน้ากันโดยตรง แต่ก็สามารถทำการซื้อขายตกลงกันได้เช่นเดียวกันกับที่ได้มีโอกาสพบปะกันโดยตรง และการซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากความพึงพอใจที่จะทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยกันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
2. ความหมายของการตลาด
2.1 ความหมายของการตลาดในมุมมองการบริหารจัดการธุรกิจ
2.2 ความหมายของการตลาดในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์
     ความหมายทั้งสองอย่างโดยภาพรวมแล้วจะมีความหมายใกล้เคียงกัน จะมีความแตกต่างกันในเป้าหมายของการบริหารจัดการ จึงสรุปได้ว่า "การตลาด หมายถึง กิจกรรมทั้งหมด ในการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการจากจุดกำเนินไปตามกระแสของความต้องการของตลาด จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย"

เรื่องที่ 1.1.2 ความสำคัญและหน้าที่ของการตลาด
1.ความสำคัญของการตลาด เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อผู้เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
    1.1 ความสำคัญต่อผู้บริโภค คือการสร้างความพอใจ หรือ อรรถประโยชน์ ดังนี้
     1.1.1 อรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง ความพอใจในรูปร่างลักษณะสินค้า ที่ผู้บริโภค ยินดีที่จะซื้อ
     1.1.2 อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ เป็นความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าในสถานที่ที่ตนเองต้องการและพอใจ
     1.1.3 อรรถประโยชน์ด้านเวลา เป็นความพอใจของผู้บริโภคได้รับจากสินค้าในเวลาหรือตามเวลาที่ตนต้องการ
     1.1.4 อรรถประโยชน์ด้านความเป็นเจ้าของ เป็นความพอใจในการซื้อขายแลกเปลี่ยนในระบบตลาด
1.2 ความสำคัญต่อผู้ผลิต มีความสำคัญดังนี้
     1.2.1 ทำให้มูลค่าสินค้าเพิ่มขึ้น
     1.2.2 ทำให้เกิดการจ้างงาน
     1.2.3 ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด
     1.2.4 ทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง
     1.2.5 ทำให้เกิดรายได้จากการส่งออก
1.3 ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการตลาดทำให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อสินค้า มีการหมุนเวียนของเงินตรา ก่อนให้เกิดรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1.4 ความสำคัญตอ่สังคมส่วนรวม
     1.4.1 การตลาดช่วยยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน
     1.4.2 การพัฒนาการตลาดจะเกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาสังคม
              ความสำคัญของการตลาดที่มีต่อผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เกิดจากการที่ตลาดมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามหน้าที่การตลาดได้อย่างครบถ้วน
      2. หน้าที่การตลาด
          2.1 หน้าที่การตลาดในทางการจัดการ เป็นกิจกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมการตลาด อันได้แก ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดหรือที่เรียกกันว่า 4PS ซึ่งอาจนำมาขยายความเป็นหน้าที่การตลาดย่อยๆได้ดังนี้คือ
     1) การวิจัยตลาด
     2) การจัดการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
     3) การโฆษณา
     4) การใช้พนักงานขาย
     5) การจัดการช่องทางการจำหน่าย
     6) การกระจายสินค้า
     7) การกำหนดราคา
          2.2 หน้าที่การตลาดในทางเศรษฐศาสตร์เป็นหน้าที่ในมุมมองการบริหารจัดการบริการธุรกิจ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
           2.2.1 หน้าที่ทางการแลกเปลี่ยน ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน คือ 1) การซื้อสินค้า 2) การขายสินค้า
           2.2.2 หน้าที่ทางกายภาพ คือ การเก็บรักษาสินค้า การขนส่ง และการแปรรูป
           2.2.3 หน้าที่อำนวยความสะดวก คือ การจัดมาตรฐานสินค้า การเงิน การยอมรับ การเสี่ยงภัย และการให้ข่าวสารทางการตลาด


เรื่องที่ 1.1.3 แนวทางการจัดการ การตลาด ประกอบด้วย 5 แนวคิด คือ
     1. แนวคิดที่มุ่งการผลิต โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งด้านการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มจำนวนผลผลิต
     2. แนวคิดที่มุ่งผลิตภัณฑ์ มุ่งความสนใจในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะคำนึงถึงต้นทุนที่ต่ำเป็นเครื่องมือในการดำเนินการด้านการตลาด
     3. แนวคิดที่มุ่งการขาย ลูกค้าจะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่เกินจากความต้องการของตน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีมากลูกค้ารอาจจะซื้อได้ไม่มากนัก
     4. แนวคิดที่มุ่งการตลาด ยึดหลักสำคัญคือ การทำกำไรจากการตอบสนอง ความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาดรายอื่นๆ
     5. แนวคิดที่มุ่งการตลาดและสังคม มุ่งเพื่อส่งเสริมสังคมและผู้บริโภคให้ดีขึ้น

เรื่องที่ 1.1.4 ส่วนประสมการตลาด
     Maketing mix เป็นศัพท์ทางการตลาดที่นักการตลาดรู้จักกันโดยทั่วไป เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนจัดการตลาด นักการตลาดจะดำเนินการตัดสินใจในส่วนประสมการตลาดทั้ง 4 ประการ ดังต่อไปนี้
     1. การตัดสินใจเรื่องผลิตภัณฑ์ เช่น การตั้ง่ชื่อตราสินค้า คุณภาพสินค้า การบรรจุหีบห่อ
     2. การตัดสินใจเรื่องราคา เช่น การกำหนดราคาที่ยืดหยุ่นได้ การขายสินค้า ในราคาที่แตกต่างกัน การให้ส่วนลด ฯลฯ
     3. การตัดสินใจเรื่องการจัดจำหน่าย เช่น การเลือกช่องทางในการกระจายสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า ฯลฯ
     4. การตัดสินใจเรื่องการส่งเสริมการตลาด เช่น การโฆษณา การขายตรง การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ


เรื่องที่ 1.2.1 ความสำคัญของการจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
     การจัดการการตลาดสินค้าเกษตร หมายถึง การบริหารให้กระบวนการเคลื่อนย้านสินค้าเกษตรจากจุดต้นกำเนิดของสินค้า การจัดการการตลาดสินค้าเกษตรนั้นมีความสำคัญที่ชัดเจนที่สามารถแสดงให้เห็นได้ดังนี้
     1. ทำให้เกิดการนำทรัพยากรมาใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
     2. ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้บริโภค
     3. ความสำคัญในการสร้างรายได้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบการตลาด
     4. ความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจรวมของประเทศ
     5. ความสำคัญต่อสังคมในแง่มาตรฐานการครองชีพ


เรื่องที่ 1.2.2 ความแตกต่างระหว่างการจัดการการตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไป
     การพิจารณาถึงความแตกต่างของสินค้าทั้งสองประเภทนั้น มีประเด็นที่จะทำการพิจารณา คือ
          1. ที่่่ดิน การเลือกที่ดินสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรต้องพิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์
          2. แรงงาน แรงงานเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตสินค้าทุกชนิด เพราะการเกษตรในประเทศไทยยังเป็นระบบที่อาศัยแรงงาน
         3. ทุน ไม่ได้จำกัดแค่เงินเท่านั้น ยังรวมไปถึงทรัพย์สินหรือเทคโนโลยีด้วย
         4. ปัจจัยการประกอบการ เพื่อตอบสนอนความต้องการของตลาด เช่น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตและความรู้หรือเทคโนโลยี
         5. การจัดการภาวะความไม่แน่นอน เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น จากสภาพแวดล้อมของตลาดที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน 2 ประการหลัก คือ ความไม่แน่นอนของภาวะตลาด และควาไม่แน่นอนของธรรมชาติ

เรื่องที่ 1.2.3 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตร
     1. บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยการตลาดสินค้าเกษตรเป็นเครื่องมือ ในการผลักดันให้ประเทศดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจหลายประการคือ
         1.1 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรต่อนโยบายพลังงานของชาติ
         1.2 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรในการปรับปรุงแบบการผลิตในภาคการเกษตรของประเทศ
         1.3 บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรในการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้ประเทศ
     2. บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรในการสร้างด้านองค์การธุรกิจการเกษตร ที่สำคัญมีดังนี้
         2.1 กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ทันสมัย
         2.2 การใช้ระบบการจัดการมาตรฐานระดับสากลที่ส่งเสริมให้การตลาดสินค้าเกษตรมีภาพพจน์ดีเป็นที่ยอมรับของตลาด
         2.3 การขยายตัวมในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม
         2.4 การสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อรองรับและกระจายสินค้าเกษตรไปสู่ผู้บริโภค
     3. บทบาทของการตลาดสินค้าเกษตรด้านผู้บริโภคสินค้าเกษตร
         3.1 บทบาทในการยกระดับมาตรฐานของแบบอย่างการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น
         3.2 บทบาทในการสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคสินค้าเกษตร
         3.3 บทบาทในการเรียนรู้
         3.4 บทบาทในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค


เรื่องที่ 1.3.1 ปัจจัยที่มีผลต่อกาคจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
     ขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมการตลาด และต้องการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
     1. ผู้บริโภค
     2. ภาวะเศรษฐกิจ
     3. วัฒนธรรมและสังคม
     4. กฏหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ
     5. คู่แข่งขัน
     6. เทคโนโลยี
     7. ทรัพยากรธรรมชาติ

เรื่องที่ 1.3.2 กระบวนการจัดการการตลาดสินค้าเกษตร
     กระบวนการจัดการการตลาดซึ่งประกอบด้วย
     1) การวิเคราะหืต้องอาศัยการจัดการด้านสารสนเทศทางการตลาดและการวิจัย
     2) การวางแผน ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด การกำหนดส่วนประสมทางการตลาด
     3) การปฏิบัติการและการควบคุม ใช้เป็นแนวทางสู่การปฏิบัติซึ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดในวิธีการปฏิบัติกำหนดการงบประมาณ


หน่วยที่ 2 สภาพการตลาดสินค้าเกษตร
ตอนที่ 2.1 ลักษณะและวิธีการตลาดสินค้าเกษตร
เรื่องที่ 2.1.1 ลักษณะของสินค้าเกษตร
     ลักษณะเฉพาะของสินค้าเกษตรสามารถสรุปได้เป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้
          1. สินค้าเกษตรมีลักษณะเป็นวัตถุดิบ
          2. สินค้าเกษตรมีลักษณะเน่าเสียง่าย
          3. สินค้าเกษตรกินเนื้อที่
          4. การผลิตสินค้าเกษตรเป็นไปตามฤดูกาล
          5. ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรในแต่ละปีไม่แน่นอน
          6. คุณภาพสินค้าเกษตรเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีแต่ละฤดูกาล
          7. สินค้าเกษตรแต่ละชนิดมีความเหมาะสมในการผลิตในแต่ละท้องที่


เรื่องที่ 2.1.2 วิถีการตลาดสินค้าเกษตร
          1. ความหมายของวิถีการตลาดสินค้าเกษตร วิถีการตลาด หมายถึง วิถีทางที่สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยมีคนกลางเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อให้การเคลื่อนย้ายความเป็นเจ้าของในตัวสินค้านั้นเป็นไปอย่างสมบูรณ์
          2. ความสำคัญของวิถีการตลาด คือ ทำให้ทราบจำนวนคนกลางว่ามีกี่ประเภทที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
          3. รูปแบบวิถีการตลาด สรุปได้เป็น 2 รูปแบบ 1) วิถีการตลาดแบบรวม หมายถึง วิถีที่ผลผลิตถูกรวบรวมไว้ในตลาดกลาง ซึ่งมีผู้ซื้อขายนายหน้า ผู้แปรรูป มาติดต่อซื้อขายกัน  2) วิถีการตลาดแบบกระจาย หมายถึง วิถีทางที่พ่อค้าระดับต่างๆ ทำการติดต่อซื้อขายกับเกษตรกรโดยที่เกษตรกรเป็นผู้ขายสินค้าเอง
          4. ระดับของวิถีการตลาดสินค้าเกษตร เป็นวิถีการพิจารณาจำนวนระดับของคนกลาง 1) วิถีการตลาดทางตรง 2) วิถีการตลาดหนึ่งระดับ 3) วิถีการลาดสองระดับ 4) วิถีการตลาดสามระดับ


เรื่องที่ 2.2.1 ราคาสินค้าเกษตร
     ราคา หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการต่อหน่วยทางกายภาพของสินค้า ที่วัดด้วยเงินตรา ราคาสินค้าเกษตรมีลักษณะแตกต่างจากราคาสินค้าอื่นๆ ดังนี้
          1. ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ เป็น ราคาที่ถูกกำหนดโดยตลาดแข่งขัน
          2. ราคาสินค้าเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงบ่อยครั้ง
          3. สินค้าเกษตรในระดับฟาร์มมักจะมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับราคาที่ผู้บริโภคจ่าย
     1. อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคซื้อในระดับราคาต่างๆ กัน ณ.เวลาใดเวลาหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ตารางอุปสงค์ส่วนบุคคล เป็นตารางตัวเลขแสดงปริมาณอุปสงค์ในสินค้าหรือบริการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ณ.ระดับราคาต่างๆ 2) ตารางอุปสงค์ของตลาด เป็นตารางตัวเลขแสดงปริมาณอุปสงค์ส่วนบุคคลรวม ณ.ระดับราคาต่างๆ
     2. ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ได้แก่ 1) ราคาของสินค้านั้น 2) ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) รายได้ของผู้บริโภค 4) การคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต 5) ขนาดและโครงสร้างของประชากร 6) ปัจจัยอื่นๆ
     3. อุปสงค์สืบเนื่อง คือ ความต้องการซื้อสินค้าของคนกลางหรือผู้ผลิต เพื่อจำหน่วยต่อหรือซื้อเพื่อผลิตสินค้าอื่น
     4. อุปทาน หมายถึง ปริมาณของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ขายเสนอขายในระดับราคาต่างๆกันในเวลาใดเวลาหนึ่ง และสถานที่ใดสถานที่หนึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ตารางอุปทานส่วนบุคคคล 2) ตารางอุปทานของตลาด
     5. ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน ได้แก่ 1) ราคาของสินค้านั้น 2) ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) ต้นทุนการผลิต 4) ปัจจัยทางธรรมชาติ 5) กรรมวิธีในการผลิตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 6) ปัจจัยอื่นๆ
     6. อุปทานสำหรับสินค้าเกษตร 1) อุปทานขั้นพื้นฐาน 2) อุปทานต่อเนื่อง
     7. การกำหนดและส่งผ่านราคา
     8. ความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าเกษตร สรุปได้คือ 1) ความคลื่นไหวของราคาตามแนวโน้ม 2) ความเคลื่อนไหวของราคาตามฤดูกาล 3) ความเคลื่อนไหวของราคาตามวัฏจักร 4) ความเคลื่อนไหวของราคาแบบผิดปกติ


เรื่องที่ 2.2.2 ส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้าเกษตร
     1. ความหมายของส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้าเกษตร
          ส่วนเหลื่อมการตลาด หมายถึง ส่วนต่างระหว่างราคาต่อหน่วยของผู้ที่ผู้บริโภคจ่าย หรือ ราคาขายปลีกกับราคาที่ผู้ผลิตหรือเกษตรกรได้รับ
     2. องค์ประกอบของส่วนเหลื่อมการตลาด มีองค์ประกอบ 2 ส่วน 1) ต้นทุนในการดำเนินงานทางการตลาด 2) ค่าตอบแทนในการดำเนินงานทางการตลาด
     3. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของส่วนเหลื่อมการตลาด ได้แก่ 1) ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเปลี่ยนแปลง 2) ปริมาณสินค้าที่เข้าสู่ตลาด 3) การปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ 4) การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค


เรื่องที่ 2.3.1 มาตรการด้านการตบาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ
     1. นโยบายการตลาดสินค้าเกษตร
           นโยบาย หมายถึง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรืองใดเรื่องหนึ่ง นโยบายจึงคลอบคลุมถึงเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรหรือยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น 2) เพื่อลดส่วนเหลือมการตลาดระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค 3) เพื่อจูงใจให้เกษตรกรผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการ 4) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร
     2. มาตรการปรับปรุงระบบการตลาดสินค้าเกษตรมีการดำเนินการคือ 1) ส่งเสริมให้มีตลาดสินค้าเกษตรรูปแบบต่างๆ 2) กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าเกษตร 3) ให้บริการข่าวสารการตลาดสินค้าเกษตร 4) ให้บริการสถานที่เก็บรักษาสินค้าเกษตร 5) ปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง
     3. มาตรการแทรกแซงตลาดภายใน เพื่อควบคุมราคาสินค้าเกษตร คือ 1) การแทรกแซงตลาดเพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตร 2) การแทรกแซงตลาดเพื่อควบคุมราคาสินค้าเกษตร


เรื่องที่ 2.3.2 มาตรการด้านการตลาดสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ
     มาตรการด้านการตลาดสินค้าเกษตรระหว่างประเทศจำแนกเป็นมาตรการด้านการส่งออก และมาตรการด้านการนำเข้า ดังนี้
     1. มาตรการด้านการส่งออก
          1.1 มาตรการด้านภาษี เช่น การเก็บภาษีจาการส่งออกสินค้า การให้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้จากการส่งออกสินค้า เป็นต้น
          1.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น การสนับสนุนการขยายตลาดสินค้า การสนับสนุนด้านการเงิน เป็นต้น
     2. มาตรการด้านการนำเข้า
          2.1 มาตรการด้านภาษี เช่น การเก็บภาษีจากการนำเข้าสินค้า การเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ การคืนอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก เป็นต้น
          2.2 มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น มาตรการกำหนดโควตานำเข้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า มาตรการสิ่งแวดล้อม มาตรการตอบโต้การอุดหนุน มาตรการการจัดซื้อโดยรัฐ มาตการป้องกัน กฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น


     ตอนที่ 2.1 หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการตลาดสินค้าเกษตร
     เรื่องที่ 2.4.1 หน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนด้านการตลาดสินค้าเกษตร
     1. กระทรวงพาณิชย์ด้านบทบาทการตลาดสินค้าเกษตร ได้แก่
          1.1 กำหนดนโยบายและมาตรการด้านการตลาดและราคาสินค้าเกษตรร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
          1.2 ส่งเสริมให้มีการตลาดสินค้าเกษตรรูปแบบต่างๆ
          1.3 กำหนดสินค้ามาตรฐานเพื่อการส่งออก
          1.4 กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าสินค้า
          1.5 ส่งเสริมส่งออกสินค้าเกษตร
          1.6 เจรจาการค้าระหว่างประเทศ
          1.7 กำกับดูแลและให้บริการทางธุรกิจ
          1.8 กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการ ชั่ง ตวง วัด
          1.9 ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรทั้งภายในและระหว่างประเทศ
     2. บทบาทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้านการตลาดสินค้าเกษตร ได้แก่
          2.1 กำหนดนโยบายและมาตรการด้สนการตลาดและราคาสินค้าเกษตรร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
          2.2 กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
          2.3 การตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตร
          2.4 การตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตร
          2.5 ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่วกับการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรทั้งภายในและระหว่างประเทศ


เรื่องที่ 2.4.2 หน่วยงานภาคเอกชนที่สนับสนุนด้านการตลาดสินค้าเกษตร   
     1. หน่วยงานภาคเอกชนที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไรในเชิงธุรกิจ
         1.1 หอการค้า หมายถึง สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า การบริการ การประกอบวิขาขีพอิสระ อุตสาหกรรม
         1.2 สมาคมการค้า หมายถึง สถาบันที่บุคคลหลายคน ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจจัดตั้งขึ้น เพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ
         1.3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
     2. หน่วยงานภาคเอกชนที่ดำเนินการในเชิงธุรกิจ ซึ่งสนับสนุนด้านการตลาดโดยมีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจมีบทบาท ดังนี้
         2.1 ให้บริการด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตร โดยการให้สินเชื่อ
         2.2 ให้บริการขนส่งสินค้าเกษตร โดยให้บริการขนส่งจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภค
         2.3 ให้บริการคลังสินค้าธารณะ โดยรับฝาก และเก็บสินค้า
         2.4 ให้บริการด้านการประกันภัย โดยการประกันชีวิต รับประกันวินาศภัย คุ้มครองทรัพย์สินรวมทั้งสินค้าเกษตร


   

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมประจำชุดวิชา 94360 การจัดการการปฏิบัติการและทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร

หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการปฏิบัติการและทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
     1. ให้อธิบายกิจกรรมภายในองค์การธุรกิจการเกษตร
ตอบ มีหลายกิจกรรมประกอบกัน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการ คือ ตลาด สินค้า กระบวนการผลิต และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ และในกระบวนการปฏิบัติเกี่ยวกับธุรกิจการเกษตรนั้นจะมีขั้นตอนซึ่งแต่ละขั้นตอนก็คือ กิจกรรมที่รวมกันเป็นกระบวนการ และก็จะสร้างผลงาน อีกทั้งส่งต่อให้กิจกรรมต่อไปคือการทำงาน ซึ่งต้องมีทรัพยากรป้อนให้จึงจะสามารถทำงานได้

2. หน้าที่งานในองค์การธุรกิจการเกษตรมีกี่กลุ่ม อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่
1. กลุ่มการตลาด มีหน้าที่วางแผนและดำเนินการในการนำสินค้าและบริการที่กลุ่มปฏิบัติการผลิตได้ออกไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือตลาด แล้วยังประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรสูงสุด
2. กลุ่มปฏิบัติการ มีหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการป้อนให้กับตลาด ตาม สเปค ที่กำหนด อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรงเวลา
3. กลุ่มสนับสนุน มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับ กลุ่มปฏิบัติการ
และกลุ่มการตลาด ด้วยการจัดหาและดูแลทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นทรัพยากรคน และทรัพยากรที่ไม่ใช่คน

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ท้องฟ้าและปุยเมฆบอกอะไร?

วันนี้บังเอิญไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับลางบอกเหตุ กับ การเกิด แผ่นดินไหว ก็เลยเอามาฝากเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ ที่สนใจเรื่องราวเหล่านี้อยู่เหมือนกัน...เคยสังเกตุไหม บางทีเราดูเมฆแล้วก็จินตนาการไปต่างๆนาๆ เห็นเหมือน รูปสัตว์น่ารักๆ ก็มี เหมือนไดโนเสาร์ก็มี รูปร่างประหลาด ต่างๆ หรือบางทีมองแล้วให้ความรู้สึกน่ากลัว..ก็เคยเห็น..มาลองดูกันนะค่ะ....ว่าเมฆบอกอะไรเราได้บ้าง??

ชนิดของเมฆ
เมฆต่างชนิดเหล่านี้อาจรวมตัวทำให้มี รูปร่างผสมระหว่างเมฆ 2 ประเภท เกิดเป็นเมฆชนิดใหม่ขึ้นหลายชนิด ซึ่งรวมทั้งสิ้นแล้วจะมีเมฆประมาณ 10 ชนิด
เมฆเซอร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus : Cc)



เมฆ ก้อนกระจุกเล็กๆแผ่เป็นแนวสีขาวประกอบขึ้นด้วย ผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ มักเกาะตัวเป็นกลุ่มเรียงกันเหมือนกับ เกล็ดปลาแมกเคอเรลเรียกในภาษาอังกฤษว่า ” mackerel sky ” ส่วนบนของเมฆคิวมูโลนิมบัส มองดูเหมือนกับรูปทั่งน้ำแข็ง

เมฆเซอร์โรสเตรทัส (Cirrostratus : Cs)



เมฆ ที่อยู่สูงมากๆมักขึ้นด้วยคำว่า “เซอร์โร” เมฆเซอร์โรสเตรทัสเกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆเซอร์โรสเตรทัสหรือเมฆอัลโทรเตรทัส ที่อยู่สูงๆ

เมฆนิมโบสเตรทัส (Nimbostratus : Ns)



เมฆ หนาเป็นชั้นชนิดนี้ก่อตัวอยู่ในระดับต่ำๆและอาจมีความหนามาก เมฆนิมโบสเตรทัส อาจทำให้เกิดฝน หรือหิมะตกหนักติดต่อกันนานเป็นชั่วโมงๆ จึงมักเรียกกันว่า “เมฆฝน”

เมฆสเตรโทคิว มูลัส (Stratocumulus : Sc)



ถ้า เรามองเห็นเมฆก่อตัวเป็นม้วนยาวๆ ในระดับความสูงปานกลางล่ะก็ มักแสดงว่าอากาศกำลังจะดีขึ้น เมฆชนิดนี้ก็คือเมฆคิวมูลัสที่ แผ่ออกเป็นชั้นๆนั่นเอง

เมฆอัลโทสเตรทัส (Altostratus : As)



เมฆ ที่อยู่สูงระดับปานกลาง จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “อัลโท” เมฆอัลโทสเตรทัสเป็นผืน เมฆแผ่นที่ประกอบด้วยหยดน้ำ

เมฆอัลโทคิว มูลัส (Altocumulus : Ac)



เมฆ อัลโทคิวมูลัส คือเมฆคิวมูลัสที่เกิดในระดับ ความสูงปานกลาง และมีลักษณะเป็นแผ่น มองเห็นคล้ายกับก้อนสำลีแบนๆ ก้อนเล็กๆมาเรียงต่อๆ กัน เป็นคลื่นหรือเป็นลอน

เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus : Cb)



เมฆ ชนิดนี้มีรูปร่างเป็นหอคอยสูง เสียดฟ้า ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง หรือพายุได้และอาจรุนแรงจนกลาย เป็นพายุทอร์นาโดหรือที่เรียกว่า “เมฆฟ้าคะนอง”ได้ เมฆคิวมูโลนิมบัสขนาดใหญ่ๆ อาจสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์เสียอีก

สีของเมฆ
สีของ เมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อน เมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่าง ระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ

โดยสีของเมฆนั้นสามารถใช้ในการบอกสภาพอากาศได้

- เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบน้ำ แข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัส ที่มีสีเขียวนั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด

- เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยสีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ

- เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก โดยเกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น แต่ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆเป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด









นอกจากนี้ยังมี

ก้อนเมฆแปลกตาบนท้องฟ้า
ความงาม ของ ธรรมชาติ
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์

เสน่ห์ขั้ว โลก “เมฆสีมุก” เหนือท้องฟ้าแอนตาร์กติกา



เมฆสีมุกมีลักษณะคล้ายเลนส์และมีสีสันต่าง ๆ ชัดเจน เช่น สีเขียว ชมพู หรือสีรุ้ง ฯลฯ เหมือนกับกาบหอยมุก (mother of pearl) โดยสามารถมองเห็นสีต่าง ๆ สว่างสวยงามเมื่อดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า โดยแสงอาทิตย์กระทบกับเกล็ดน้ำแข็งและสะท้อนเข้ากับบรรยากาศชั้นสตาร์โต สเฟียร์ ซึ่งกลุ่มเมฆนีเครอัสมักจะปรากฏอยู่ไม่สูงจากพื้นมากนัก อย่างในภาพชิ้นนี้เมฆอยู่ห่างจากพื้นน้ำแข็งเพียงแค่ 8-10 กิโลเมตร


ลักษณะของเมฆที่จะบอกก่อนแผ่นดินไหวมี

1  เมฆเส้นตรง หรือ เมฆรูปงู
2  เมฆ คลื่น
3  เมฆรูปพัด
4  เมฆขนนก
5 เมฆรูปตะเกียง
6  เมฆรูปรัศมี

ซึงเหล่านี้อธิบายไม่ได้ด้วยวิชาอุตุนิยมวิทยา  ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า  ก่อนแผ่นดินไหว จะมีเมฆรูปประหลาด  เกิดประกายแสง มีรุ้งกินน้ำ


**ข้อมูลดีๆ**
ขอขอบคุณ : Allweare9999's Blog

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเรียนกับ มสธ.

การหาหลักการเรียนของ มสธ. และเทคนิคหลายๆอย่างเนี้ย มันยากจริงๆ เล๊ย สำหรับตัวของเจ้าของบล๊อกเองนะค่ะ คือว่าบางทีเราไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือ อีกอย่างต้องทำงานด้วย มองไปเห็นหนังสือก็เล่มใหญ๊ ใหญ่ เฮ้อ!!! เห็นแล้วก็ท้อใจ แต่ก็นะ... ไหน ๆ ก็ไหนๆแระ ลองมันดูสักตั้ง ก็เลยลองหาเทคนิคใน เวปต่างๆ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับตัวเองและเพื่อนๆน้องๆบ้างค่ะ และแล้วก็เจอค่ะ ขออนุญาติเจ้าของข้อมูลดีๆนะค่ะ เอามาเผยแพร่กันเยอะๆ เผื่อจะมีประโยชน์สำหรับคนที่กำลังหาอยู่หรือกำลังเริ่มเรียนค่ะ... ลองอ่าน่ข้อมูลของท่านผู้นี้ดูนะค่ะ.....

"ก่อนอื่นต้องขอ ออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ได้เป็นผู้รู้หรือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา แต่มีเพื่อนหลายท่านถามมาเกี่ยวกับเทคนิคการเรียน เรียนอย่างไรให้ประสบความสำร็จ และต้องทำอย่างไร ผมถือว่าถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับรู้มาละกันนะครับเริ่มแรกที่สมัครเรียน แต่ละท่านก็คงจะมีจุดประสงค์แตกต่างกัน เช่นอยากปรับต่ำแหน่งหน้าที่การงาน อยากเพิ่มคุณวุฒิ อยากเปลี่ยนงาน อยากได้ปริญญาสักใบ หรือเรียนเป็นเพื่อนลูก เรียนอยากให้ลูกเห็นว่าพ่อหรือแม่ก็จบปริญญานะ แต่ละคนก็มีจุดมุ่งหมายของตัวเอง ส่วนใหญ่นักศึกษาของมสธ จะอยู่ในวัยที่ทำงานแล้ว และไม่มีเวลามากพอที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป ก็เลยมาลงตัวที่ มสธ เพราะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นมหาลัยเปิดที่สมบูรณ์แบบ ขนาดเรียนในเรือนจำยังได้เลย ( ถ้าได้ย้ายไปอยู่ในนั้นชั่วคราวก็ไม่มีปัญหาในการเรียนอย่างต่อเนี่อง …อิอิ แต่คงไม่มีใครอยากเข้าไป ) ขอเข้าเรื่องเลยนะครับ"

เทคนิคที่1 เราต้องสร้างแรงจูงใจในการเรียน เรียนเพื่ออะไร จะได้อะไรในการเรียนสาขานี้ เรียนจบแล้วจะเป็นอย่างไร แรงจูงใจ จะทำให้เราอยากที่จะเรียน เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรค์ จะทำให้เราไม่ท้อถอยง่ายๆ

เทคนิคที่ 2 การมีเพื่อนหรือกลุ่ม จะทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่โดดเดี่ยวในการเรียน เคยมีความรู้สึกนี้มั้ยครับ ตอนที่สมัครเรียนใหม่ๆ เราจะเรียนยังไง, สมัครเป็นเดือนแล้วหนังสือทำไมยังไม่ได้, ได้หนังสือแล้วทำไมเยอะจัง แล้วจะอ่านยังไง , ข้อสอบจะออกแนวไหน แม้กระทั่งสอบแล้วรู้สึกทำข้อสอบไม่ได้เลยคงเรียนไม่ไหว รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ไหวแล้ว (เลิกเรียนดีกว่า) การที่เรามีกลุ่มจะทำให้ขจัดปัญหาแบบนี้ มีเพื่อนปรึกษากัน อาจจะส่งสรุปให้กัน หรือให้คำแนะนำว่าข้อสอบที่เคยออกมาออกแนวไหน ถึงจะตกเราก็จะมีความรู้สึกที่ดี คือมีเพื่อนตกหลายคนไม่เป็นไร เรามาซ่อมด้วยกัน (หัวอกเดียวกัน) อาจจะมีเมล์ของเพื่อนไว้ติดต่อ หรือมาโพสข้อความไว้ในบอร์ดบ้างบางครั้ง ส่งข้อความดีๆให้เพื่อนบ้างบางโอกาส 


  เทคนิคที่ 3 จัดตารางเวลาเรียนให้ตนเอง และทำให้ได้ ข้อนี้อาจจะทำลำบากหน่อย แต่ถ้าอยากเรียนให้จบเราก็ต้องทำ ถือคติที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อาจจะกำหนดว่าอาทิตย์นี้เราจะเรียนรู้วิชาอะไรบ้าง หน่วยไหนบ้าง กำหนดเวลาว่างของเราและเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือให้ตรงกัน ถ้าไม่รู้วันหยุดของตัวเองแน่นอนก็ให้กำหนดว่าหยุดแล้วจะอ่านหน่วยไหน และทำให้ได้ เมื่อทำได้แล้วอาจจะให้รางวัลกับตัวเองบ้างเล็กๆน้อยๆ(หลายครั้งที่ผมกำหนดกับตัวเองว่าถ้าอ่านหน่วยนี้จบ ผมจะเล่นเกม แล้วก็เล่นจริงๆนะ ก่อนสอบวิศวะพื้นฐานช่วงเช้ามืดยังเปิดซีดี อัสนี- วสันต์ ร้องคาราโอเกะตามไปด้วยเสร็จแล้วก็ทบทวนเนื้อหาที่จะสอบอีก 1 รอบ ) เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทำให้เราไม่เครียดในการเรียน

เทคนิคที่ 4 อ่านจบหน่วยไหนต้องทำสรุปและวิเคราะห์เนื้อหา บางท่านอาจจะบอกอ่านยังไม่ค่อยเข้าใจเลย แล้วจะสรุปยังไง ให้วิเคราะห์อีกงงไปใหญ่ แต่อย่าลืมว่าแต่ละหน่วยเขาจะให้ไกด์ไลน์มา หรือแนวทางในการเรียนรู้ ก็คือจุดประสงค์การเรียนรู้นั่นเองเพราะจุดประสงค์การเรียนรู้คือสิ่งที่ทางอาจารย์ อยากให้นักศึกษารู้และให้เข้าใจ และข้อสอบก็จะออกตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ถ้าเราอยากทำข้อสอบได้เราต้องตอบคำถามจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ได้ แปรจุดประสงค์ให้เป็นคำถามและเอาเนื้อหาในหนังสือมาตอบ ก็คือทำสรุปย่อนั่นเอง ยกตัวอย่างบางหน่วยอาจจะมี 150 หน้า แต่เราสรุปตามจุดประสงค์การเรียนรู้เหลือ 10 หน้า แล้วเวลาใกล้สอบเราก็นำสรุปย่อนี้มาอ่านอีกครั้งหนึ่ง หรืออ่านหลายๆครั้งถ้ามีเวลา อ่านสรุปแล้วงงไม่แน่ใจที่มาที่ไปก็มาดูเนี้อหาสาระรายละเอียด ในหนังสือได้อีก
เทคนิคที่ 5 บันทึกสรุปย่อเป็น MP3 ไว้ฟัง ผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องบอกว่าส่วนตัวขี้เกียจอ่านหนังสือ ถ้าอ่านไปแล้วก็ไม่อยากอ่านซ้ำอีกรอบ ผมก็จะนำสรุปที่ทำมาอ่านใส่เครื่องเล่น MP3 แล้วเปิดฟัง อาจจะฟังช่วงขึ้นรถไปทำงาน ไปต่างจังหวัด นอนฟัง บางครั้งก็สลับกับการฟังเพลงบ้าง จะทำให้เราจำเนี้อหาได้ดียิ่งขึ้น เมื่อก่อนเรียนกฎหมายต้องใช้ความจำมากก็เลยอ่านใส่เครื่องบันทึกฟังก่อนนอนคือหลับก็ยังฟังอยู่ใช้ได้ผลแฮะ พอตอนสอบจำได้แม้กระทั้งมาตรา ตัวเลข จำนวน ตอนทำข้อสอบยังงงตัวเองเลยว่าจำไปได้ยังไง ก็ถือว่าเป็นเทคนิคที่น่าสนใจครับ
เทคนิคที่ 6 ทบทวนทำแบบฝึกหัดและแบบประเมินก่อนเรียนหลังเรียน การที่เราทำและทบทวนจะช่วยในแง่การคิดและวิเคราะห์ตาม หลายครั้งที่ข้อสอบจะเอามาจากแบบประเมินก่อนและหลังเรียน แต่อาจจะเปลี่ยนคำถาม หรือคำตอบ แต่เนี้อหาจะคล้ายกัน

เทคนิคที่ 7 สอนเสริมต้องดู วิชาไหนถ้ามีการสอนเสริมจะมีประโยชน์มากควรจะหาโอกาสดูเช่นสอนเสริมผ่านอินเตอร์เน็ต เราจะได้ความรู้ใหม่ และอาจารย์ก็อาจจะบอกแนวข้อสอบ แต่เราควรเตรียมตัวก่อนคือรู้ว่าจะสอนเสริมเรื่องอะไรและควรดูหนังสือล่วงหน้า เพื่อจะได้เข้าใจดียิ่งขึ้น พยายามทำโนตย่อหรือทำสรุปสอนเสริม จะเป็นประโยชน์ในการสอบมาก


ก่อนจบขอเสริมอีกเรี่องหนึ่งคือ หลักการใช้ อิทธิบาท4 หรือหลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มาประยุกต์ในการเรียน ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ฉันทะ = มีความพอใจมีใจรักในการเรียน และชอบที่จะเรียนวิชานี้ เช่นผมชอบวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพราะรู้สึกว่ามีประโยชน์ได้ช่วยเหลือตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนที่ทำงาน ก็จะเกิดความรักและอยากที่จะเรียน
วิริยะ = เมื่อมีความรักในการเรียนแล้วจะมีวิริยะตามมาคือ ความพากเพียร ขยันในการดูหนังสือ เพราะใจเรามีความชอบยิ่งดูก็รู้สึกได้ประโยชน์ เป็นความรู้ที่ดี ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
จิตตะ = มีความเพียรแล้วเราก็จะต้องมีความเอาใจใส่ ความตั้งใจ สมาธิ ในการดูหนังสือตามมา ก็คือจิตตะ
วิมังสา = การพินิจพิเคราะห์ หรือความเข้าใจ ทำความเข้าใจกับเนี้อหาในการเรียน คือใช้ปัญญาคิดตามไม่อ่านลวกๆเพื่อให้จบ อ่านแล้วคิดตาม
ท่านที่ถามมาผมขอตอบในนี้นะ จะได้เป็นประโยชน์กับ เพื่อนท่านอื่นบ้าง วันนี้ว่างก็เลยนั่งเขียนบทความ หวังว่าคงไม่เป็นการ นำมะพร้าวห้าวมาขายสวน นะครับ

มีประโยคหนึ่ง อาจารย์วันเดิม พูดไว้น่าสนใจ
ถ้าเป้าหมายหลักของท่านคือต้องการความรู้ ท่านจะได้ทั้งปริญญาบัตรและความรู้
ถ้าเป้าหมายหลักของท่านคือต้องการปริญญาบัตร ท่านอาจจะได้เพียงใบปริญญาบัตรเท่านั้นโดยไม่ได้ความรู้ไปด้วย หรือท่านอาจจะไม่ได้ทั้งสองอย่างเลยก็ได้

manasu

เทคนิคการทำแบบประเมินตนเองก่อน-หลังเรียน มสธ.

การทำแบบประเมินตนเองก่อน-หลังเรียน

    1. ข้อสอบจะออกตามวัตถุประสงค์  สังเกตได้จากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน( อาจารย์-รุ่นพี่ๆ ที่สำเร็จ ยืนยันตามนี้)
    2. ประเมินผลตนเอง ควรทำใบสรุปคะแนนแบบประเมินผลก่อนและหลังเรียนทุกหน่วยไว้ในแผ่นเดียวกัน  เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าหน่วยได้คะแนนมาก/น้อย  ผ่านเกณฑ์หรือไม่อย่างไร?  (สอบจริงต้องได้ 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจึงผ่าน)  จะทำให้เราเห็นภาพรวมว่าหน่วยไหน? ยาก/ง่าย  ควรทบทวน/เน้นย้ำมากน้อยแค่ไหน?  หรือบางหน่วยต้องท่อง เช่น ชื่อนักทฤษฎี  ต้องจดมาและหาวิธีการท่องในแบบฉบับของเรา  เช่น ผูกเรื่องใกล้ตัว  คนที่เราคุ้น  บทกลอน  จะได้ป้องกันยามสับสน  ยังมีการเชื่อมโยง ให้เห็นเค้าที่มาได้บ้าง

    3. การทำแบบประเมินนั้น ขอแนะนำให้ใช้ดินสอ (จะได้ลบได้  ในการทำรอบต่อๆ ไป) ควรทำเครื่องหมายไว้หน้าข้อ(ติดขอบกระดาษ) ไม่ควรวงหรือขีดคำตอบ ที่ข้อ ก โดยตรง  เพื่อในรออบ ๒ จะได้ไม่เห็นข้อถูกเดิมที่ขีดไว้  เป็นการประเมินจริงๆ หลังจากอ่านจบทุกหน่วย 
    4. และข้อไหนยาก  ให้ใช้ปากกาเน้นคำขีดไว้  ยามใกล้สอบจริงจะได้ดูเน้นๆ   เฉพาะข้อสำคัญ  บริหารเวลาให้ได้ประโยชน์สูงสุด  ถ้ายังจำไม่ได้  ต้องจด  ดึงมาให้ใกล้ชิด  “รักมากอยากใกล้ชิดนิดหนึ่งนะ”
    5. ต้องวิเคราะห์  และถามว่าทำไมจึงตอบเช่นนี้  ถ้าเรายังไม่รู้  ก็ต้องหาคำตอบให้ได้  เป็นการพัฒนาสมองให้พินิจพิจารณา  จนสามารถนำไปใช้ในสนามสอบจริงได้  และควรจดประเด็นที่เราทำผิดไว้ในข้อสอบ  เพื่อทราบข้อผิดพลาด  จะได้ระวังแก้ไขไม่ให้ประวัติศาสตร์ช้ำๆๆๆ ซ้ำรอยแผลเก่า 
  ข้อสอบจะเน้นวัดความรู้ด้าน
  1. ความจำ
  2. ความเข้าใจ
  3. วิเคราะห์
  4. สังเคราะห์
  5. นำไปใช้ได้

  เทคนิคและวิธีเลือกคำตอบในข้อสอบ
 1. ตัดตัวเลือกที่ผิดโต้งๆ  เพื่อกำจัดเจ้าตัวกวนประสาท   จะได้มุ่งสติปัญญากล้าแข็งไปพิจารณาตัดสินใจในข้ออื่นๆ ที่เห็นว่าถูก
    2. ระวังตัวลวง  โจทย์ลวง  เช่น ไม่ใช่, ใช่  เพียงแค่คำ สองคำ  ก็มีนัยที่ร้ายกาจ  ถ้าพลาดเป็นศพ  เมื่อพบลักษณะนี้  หมายหัวไว้  อย่าเผลอ  เพราะจะทำให้เราหลงประเด็น  เราจะกระเด็นเอง สิบอกไห่
    3. วิเคราะห์  แยกแยะ  เปรียบเทียบ ทุกๆ ตัวเลือกจะคล้ายๆ กันมาก  ยากทีเดียว  แต่มองให้ดีใช่เลย  ข้อนี้ถูกสุด  ไม่แพง  ไม่ต้องซ่อมไง!
    4. สังเคราะห์  มีลักษณะประมวลตัวเลือกอื่นๆ ที่ถูกมาอยู่ในข้อนี้  อมความหมายไว้ทั้งหมดเป็นลักษณะ  ถูกทุกข้อ  แต่ไม่ใช้คำนี้ ใช้ความหมายแทน  ประสบการณ์เท่านั้นที่จะช่วยท่านได้  ฝึกคิดพิจารณาแก้ปัญหา ได้ด้วยปัญญาได้จากแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน 
    5. นำไปใช้ได้  คือ  สามารถประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์จริง  ยกตัวอย่างประกอบได้  แก้ไขสถานการณ์จำลองเหมือนจริงต่างๆ ได้
โชคดี  มีชัยด้วยใจทุกๆ ท่าน
ประเมินแนวข้อสอบและเตรียมพร้อมรบ
  1. แนวข้อสอบเทียบเคียงได้กับแบบประเมินผลตนเองก่อน-หลังเรียน   ดังนั้นจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ให้ได้ชัดแจ้งว่าผิด ถูกอย่างไร  และควรอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนประเด็นที่เราทำผิดไว้ในแบบประเมิน  เพื่อทราบข้อผิดพลาด  จะได้ระวังแก้ไขไม่ให้ประวัติศาสตร์ช้ำๆๆๆ ซ้ำรอยแผลเก่า  ฝึกฝนอบรมตนบ่อย  จะมีความชำนาญมากขึ้น  ไม่นานก็เป็นแชมป์  หมั่นชกเก็บแต้ม(เก็บหน่วยครบ จบปริญญาเห็นๆ)
    2. อาจารย์ที่จัดทำหน่วยการสอนแต่ละหน่วย  ก็คนละท่านกัน  ดังนั้นต้องสังเกตแนวการออกข้อสอบ  เพื่อจะรู้ว่าท่านชอบออกลักษณะอย่างไร? ทดสอบอะไร ?
    1. ความจำ
    2. ความเข้าใจ
    3. วิเคราะห์
    4. สังเคราะห์

    5. นำไปใช้ได้
 (รู้เขารู้เรา  รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง)
    3. ระวังคำถามลวง  จนเราหลงประเด็น  เช่น บางครั้งอ่านคำตอบจนเพลิน  ลืมประเด็นคำถาม  เลยตอบผิดซะดื้อๆ  ไม่น่าเชื่อ เคยอ๊ะเปล่า
    4. ในการสอบจริง  ขณะทำข้อสอบก็ต้องประเมินว่าผ่านเกณฑ์ ที่ชัวร์ๆ จริงๆแน่นอนหรือไม่  อย่างไร? 

 เทคนิคการตอบข้อสอบปรนัย
  1. อ่านคำชี้แจงอย่างระมัดระวัง
  2. วางแผนการใช้เวลา
   3. ศึกษาข้อสอบทั้งฉบับในภาพรวม
   4. อ่านคำถามอย่างระมัดระวัง
   5. พิจารณาตัวเลือกที่เป็นคำตอบของข้อคำถามที่ถูกมากที่สุดแล้วตอบ
   6. อ่านข้อคำถามกับคำตอบทุกข้อโดยให้คิดว่าเป็นการค้นหาข้อถูกหรือข้อผิด
   7. พบข้อสอบที่ยากควรทำเครื่องหมายและข้ามไปก่อน  หลังจากนั้นกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  (และควรประเมินผลงานว่าภาพรวมเป็นอย่างไร? มั่นใจว่าผ่านหรือไม่?)
    8. หากมีเวลาเพียงพอควรทบทวน  โดยการอ่านทั้งคำถามและคำตอบอีกครั้ง  (ระวังความคิดครั้งแรกมักถูก)
 กลยุทธ์ตอบคำถามข้อที่ยากๆ
  1. ให้พิจารณาตัดตัวเลือกที่คิดว่าไม่ถูกแน่นอนออกไปก่อน
  2. พิจารณาตัวเลือก  แต่ละข้อในลักษณะถูกหรือผิด
  3. พิจารณาตัวเลือกที่อาจมี  ถูกทุกข้อ หรือ ผิดทุกข้อ  หากเห็นว่ามีลักษณะดังกล่าวมากเกิน 2 ถึง 3 ข้อ  ก็น่าจะพิจารณาตอบได้
  4. พิจารณาตัวเลือกที่น่าสงสัยในลักษณะต่างๆ
  5. หากตัวเลือกเป็นปฏิเสธซ้อน  ให้นึกถึงข้อมูลนั้นในความหมายปกติ
  6. หากไม่ทราบคำตอบให้ใช้ข้อมูลที่เป็นตัวแนะนำจากข้อคำถามอื่นๆ ที่เรามั่นใจว่าถูก

เก็บมาฝากจากชมรม มสธ.ราชบุรี

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร

ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร
ให้นักศึกษาลอกโจทย์พร้อมทั้งตอบคำถามลงในกระดาษ A4 ด้วยลายมือของนักศึกษาเอง แล้วจัดเป็นรูปเล่มรายงาน (300 คะแนน)
คำถาม หน่วยที่ 1.
1. การจัดการผลิตผลเกษตร หมายถึงอะไร (5 คะแนน)
ตอบ  กระบวนการต่างๆ ในการกำหนดเป้าหมาย การวางแผนการจัดการด้านกำลังคน การอำนวยการ การประสานงาน และการควบคุมงานอันเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผลิตเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวไปจนถึงมือผู้บริโภค การจัดการผลผลิตจึงมีความสำคัญต่อเกษตรผู้ผลิต ผู้รวบรวมผลิตผลโรงงานแปรรูป และผู้ใช้สุดท้ายในลักษณะที่แตกต่างกันไป

2. กระบวนการจัดการผลิตผลเกษตรประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ 10 ระบบย่อยได้แก่อะไร จงอธิบายโดยสังเขป (10 คะแนน)
ตอบ ได้แก่ 1. ระบบย่อยการจัดการรวบรวมผลิตผล เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผล เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว จะต้องนำผลิตผลการเกษตร เก็บไว้ในยุ้งฉาง โรงเรือน เช่น ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว และถ้าผู้ผลิตทำการผลิตเชิงธุรกิจก็จะทำการรวบรวมอย่างรวดเร็วและถูกวิธีกว่า อาจมีการนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ด้วย
2. ระบบย่อยการจัดการปรับปรุงคุณภาพ ก่อนทำการจำหน่ายผลผลิตเกษตรกรต้องทำการปรับปรุงคุณภาพ เช่น การนวด การสี การกระเทาะเปลือก การลอกหรือปอกเปลือก การตากแดด การอบ การทำความสะอาด ขึ้นอยู่กับผลิตผลแต่ละเภท ซึ่งจำเป็นสำหรับ ผลผลิตประเภทพืชและสัตว์
3. ระบบย่อยการจัดการชั้นคุณภาพ หรือการคัดเกรดเป็นการทำให้ผลิตผลที่ได้มีคุณภาพสม่ำเสมอได้มาตราฐาน ทำให้สะดวกในการซื้อขาย การเก็บรักษาการบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการส่งเข้าแปรรูป
4. ระบบย่อยการจัดการการเก็บรักษา การเก็บรักษามีจุดประสงค์ต่างกัน เช่น เก็บเพื่อรักษาพันธ์ หรือบริโภคเอง และเก็งราคาพ่อค้าคนกลางให้เพียงพอกับการจำหน่ายประหยัดค่าขนส่ง ต้องมีสถานที่ใรการเก็บรักษาที่เป็น อาคาร โรงเรือน ยุ้งฉาง โกดัง
5. ระบบย่อยการจัดการแปรรูปขั้นพื้นฐาน ระบบย่อยนี้นำผลิตมาทำการเปลี่ยนทางกายภาพหรือชีวภาพ โดยอาจมีการเพิ่มเติมผลผลิตอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น หั่น บด บีบ ปั่น ชำแหละ บ่ม อบ ดอง
6. ระบย่อยการจัดการบรรจุหีบห่อ เพื่อช่วยให้การเก็บรักษาขนส่ง สะดวกขึ้นไม่ให้เสียหาย บุบสลาย และรักษาความสะอาด การบรรจุหีบห่อมีประโยชน์ควบคู่กับประโยชน์อย่างอื่น คือ สามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ แหล่งที่มา ผู้ผลิต วิธีนำไปใช้ เวลาหมดอายุ ฯลฯ
7. ระบบย่อยการจัดการจำหน่าย เป็นการกระจายผลิตผล จากแหล่งผลิต ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศ โดยมีช่องทางการตลาดอยู่แล้ว อาจจะมีการขายคราวละมากๆ ขายส่งหรือขายปลีก
8. ระบบย่อยการจัดากรขนส่ง เป็นบริการทางการตลาด เพื่อนำไปแปรรูป โดยจะใส่ภาชนะหรือบรรจุหีบห่อ แล้วบรรทุกไปกับรถขนส่ง โดยมีอุปกรณ์รักษาคุณภาพ เช่น รถห้องเย็น รถแท้งค์
9. ระบบย่อยการจัดการสินเชื่อและประกันภัย ในกรณีที่ราคาสินค้าที่ทำการเก็บเกี่ยว และต้องนำสู่ตลาดแต่ไม่คุ้มทุน มีความจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น ก็จำเป็นต้องนำสินเชื่อสำรองไว้ก่อน
10. ระบบย่อยการจัดการข่าวสารข้อมูล มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับทุกกลุ่ม เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อขาย การเก็บสต๊อก ลักษณะการทำเกี่ยวกับการข่าวสารจะมีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
3. จงบอกเป้าหมาย การจัดการผลิตผลเกษตรทางด้านเศรษฐกิจและด้านคุณภาพโดยสังเขป (5 คะแนน)
ตอบ 1. เป้าหมายการจัดการผลิตผลเกษตรด้านเศรษฐกิจ พิจารณาจากการตอบสนองตามวัตถุประสงค์ในการจัดการผลิตผลเกษตรของกลุ่มบุคคล โดยมากกำหนดรอบการผลิต 12 เดือน ขึ้นอยู่กับฤดูกาลของผลผลิต และเป้าหมายสูงสุดของคุคคลทุกกลุ่ม คือ ต้องการกำไรสูงสุด
2. เป้าหมายทางด้านคุณภาพ พิจารณาจากการตอบสนองวัตถุประสงค์ทางคุณภาพในการดำเนินการจัดการผลิตผลเกษตรของกลุ่มบุคคลต่างๆ ในกระบวนการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือ ทำให้ได้ผลิตผลคุณภาพดี

หน่วยที่ 2
1. ระบบการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป หมายถึง (5 คะแนน)
ตอบ องค์ประกอบในการผลิต ผลิตผลเกษตรที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกระบวนการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป และเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันในทิศทางที่ให้ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูปออกมาในปริมาณ คุรภาพและช่วงเวลาต้องการเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
2. สภาพการผลิต ผลิตผลเกษตรของเกษตรกรโดยทั่วไปมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ( 5 คะแนน)
ตอบ 1. หน่วยผลิตมีขนาดเล็กและกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเเทศ
       2. การผลิตมีประสิทธิภาพต่ำ
       3. ขาดปัจจัยที่จำเป็นในการผลิต
       4. ไม่มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด
3. ระบบการผลิต ผลิตผลเกษตรที่มีการตกลงด้านตลาดมีลักษณะสำคัญอย่างไร ( 5 คะแนน)
ตอบ คือ ระบบการผลิตที่มีการทำข้อตกลง หรือสัญญาล่วงหน้า ระหว่าง ผู้ซื้อ ได้แก่ ผู้แปรรูปกับผู้ขาย ได้แก่ ผู้ผลิตหรือเกษตรกร ทั้งนี้อาจมีการช่วยเหลือล่วงหน้าด้านปัจจัยการผลิต และบริการที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายผู้ซื้อ โดย แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1) ทำข้อตกลงผ่านคนกลาง 2) ทำข้อตกลงตรงกับเกษตรกร
4. ปัจจัยการผลิตหลัก และปัจจัยการผลิตสนับสนุนในการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป ได้แก่ อะไรบ้าง ( 5 คะแนน)
ตอบ - ปัจจัยการผลิตหลัก ได้แก่ ลมฟ้า อากาศ ที่ดิน น้ำ แรงงาน พันธุ์พืช และ สัตว์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และ สัตว์ อาหารสัตว์ เครื่องจักรกล และสินเชื่อเกษตร
       - ปัจจัยการผลิตสนับสนุนในการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป ได้แก่ เทคโนโลยี่การผลิต ความรู้เชิงวิชาการ และความสามารถในการจัดการ

หน่วยที่ 3
1. ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืช คือ ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวและวิธีการเก็บเกี่ยว จงอธิบายระยะเวลาและวิธีการเก็บเกี่ยวพืชผักที่เหมาะสม ( 5 คะแนน)
ตอบ - เวลาในการเก็บเกีบพืชผัก ควรทำในเวลาเช้า เพราะจะทำให้ผลิตผลมีคุณภาพดี ผักที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับความหวาน เช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วลันเตากินฝัก หากเก็บเกี่ยวในตอนบ่ายอุณหภูมิสูง ผักจะไม่ได้คุณภาพ ความหวานจะลดลง ผักใบหากเก็บตอนแสงแดดจัดจะเหี่ยวง่ายถ้าเก็บตอนเช้าไม่ได้ควรเก็บเกี่ยวในตอนเย็นหรือค่ำ การเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนมีผลดีเพราะคัดเลือกคุณภาพที่ดีได้ ระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยช้ำ ตำหนิ บาดแผล เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วต้องรีบนำไปผ่านขั้นตอนในกระบวนการผลิต เพื่อรักษาคุณภาพไว้
      - ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวพืชผัก สรุปได้ 4 ประการ
          1) การนับจำนวนวัน มีอยู่ 2 วิธีการ คือ วิธีแรก นับจำนวนเริ่มปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว แตกต่างกันไปตามชนิดพืชผัก
          2) การเปลี่ยนสีของผล
          3) การเกิดกลิ่น ผักบางชนิด ผลแก่จัดจะส่งกลิ่นหอม เช่น แตงไทย
          4) ขนาด ผักบางชนิดใช้ขนาดเป็นเครื่องวัด เพราะอายุเพิ่มขึ้น ผลก็เพิ่มขึ้นด้วยและในการเก็บเกี่ยวพืชผัก อาจต้องใช้ความชำนาญของผู้เก็บร่วมด้วย
2. หลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวนแล้วควรมีการดำเนินการต่อผลิตผลอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ 1) การจัดโรคแมลงที่ติดมากับผลิตผล
       2) การรักษา
       3) การทำความสะอาด
       4) การลดอุณหภูมิ
       5) การตัดแต่ง
       6) การป้องกันการสูญเสียน้ำ
       7) การคัดคุณภาพ
       8) การคัดขนาด
       9) การบ่มผิว
     10) การเพิ่มสีให้ผลิตผล
     11) การหีบห่อหรือบรรจุ
     12) การควบคุมการงอกและการแตกหน่อ
3. การเก็บรักษาผลไม้เพื่อการแปรรูปทำได้หลายวิธี จงระบุมา 4 วิธี ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) เก็บในอ้งควบคุมบรรยากาศ
       2) เก็บในห้องแบบอากาศหมุนเวียน
       3) เก็บในห้องเย็น
       4) เก็บในอุณหภูมิต่ำมาก
4. การเก็บรักาษผลิตผลสัตว์เพื่อการแปรรูปทำได้หลายวิธี จงระบุมา 4 วิธี ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) ใช้อุณหภูมิต่ำ
       2) ลดปริมาณน้ำในซากลง
       3) ใช้สารเคมี
       4) ใช้อุณหภูมิสูง

หน่วยที่ 4
1. การแปรรูปผลิตผลเกษตร หมายถึงอะไร ( 4 คะแนน)
ตอบ เป็นการนำผลิตผลเกษตรทั้งพืชและสัตว์ เศษเหลือของพืชและสัตว์ ผ่านการผลิตของกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อแปรรูปไปเป็นสินค้าที่เก็บถนอมในสภาพสด หรือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป
2. อาหารกึ่งสำเร็จรูป หมายถึงอะไร ( 4 คะแนน)
ตอบ อาหารที่ผ่านการแปรสภาพแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการถนอมอาหารและอาหารนั้น ยังอยู่ในรูปที่อาจนำไปบริโภคโดยตรงได้ ต้องนำไปคืนรูป และผ่านการปรุงแต่งให้เป็นอาหารที่บริโภคได้
3. จงยกตัวอย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปจากพืชมา 2 ตัวอย่าง และจากสัตว์มา 2 ตัวอย่าง ( 2 คะแนน)
ตอบ  อาหารจากพืช  1) ผัดกาดดองเปรี้ยว  2) กระเทียมดอง
        อาหารจากสัตว์ 1) เป็ดย่างรมควันแห้ง 2) ปลาเนื้ออย่างกรอบ
4. อาหารสำเร็จรูป หมายถึง ( 4 คะแนน)
ตอบ อาหารที่ผ่านการแปรสภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้อาหารที่พร้อมจะใช้บริโภคได้ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง
5. จงยกตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปจากพืชมา 2 ตัวอย่าง และจากสัตว์มา 2 ตัวอย่าง
ตอบ อาหารจากพืช  1) แยมสตอเบอรรี่   2) ผักกาดดองปรุงรส
       อาหารจากสัตว์ 1) หมูทอดกระเทียมพริกไทย 2) หมูหยอง
6. การแปรรูปผลิตผลที่ไม่ใช่อาหารจากพืช หมายถึง ( 4 คะแนน)
ตอบ การนำผลิตผลการเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อมไปแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆที่เป็นการบรรจุของใช้ ของเล่น เครื่องจักรสาน และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น การแปรรูปไม้ไผ่ เป็นตะเกียบ ตะกร้าและการใช้เศษเหลือจากใบตอง เป็นกระทงและภาชนะห่อของ ลำต้นกล้วยเป็นเชือกกล้วย เป็นต้น

หน่วยที่ 5
1. ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร ได้แก่ ปัจจัยอะไรบ้าง จงอธิบาย ( 10 คะแนน)
ตอบ 1) ตลาด เป็นแหล่งรองรับในการจำหน่าย ตั้งแต่ตลาดเล็กในท้องถิ่น และอยู่ใกล้โรงงานมากที่สุด เพื่อดูแนวโน้มในการสร้างรายได้
       2) วัตถุดิบ ผู้จัดตั้งโรงงาน ต้องศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งเพาะปลูกพืช แหล่งเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลิตเก็บเกี่ยว เพื่อประเมินสภาพตนเองว่ามีอำนาจต่อรองในการซื้อวัตถุดิบเพียงใด
       3) ที่ดิน เป็นสถานที่สร้างโกดัง เก็บผลผลิตและเป็นที่เก็บผลิตภัณฑ์จากการแปรรูป ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บริหาร ควบคุมการผลิต และสำรองเพื่อขยายกิจการ
      4) แรงงาน ซึ่งจะต้องใช้ในการแปรรูป ต้องพิจารณาจากลักษณะการผลิตแต่ละประเภท และต้องคำนึงถึง ปริมาณ คุณภาพ และค่าจ้าง
      5) เทคโนโลยีและเครื่องจักรอุปกรณ์ จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตที่รวดเร็ว เพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาด
      6) เงินทุน จะต้องใช้เกี่ยวกับดำเนินการทำงานทั้งหมด ค่าเช่าที่ดินค่าก่อสร้างโรงงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดตั้งโรงงาน
      7) ผู้ประกอบการ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์เพื่อนำปัจจัยต่างๆมาผสมผสานให้สอดคล้อง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
2. การจัดตั้งโรงงานแปรรูป ผลิตผลเกษตรมีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างไร จงอธิบายแต่ละขั้นตอนมาโดยสังเขป ( 5 คะแนน) 
ตอบ การจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลมีขั้นตอนคือ
      1) การศึกษาความเป็นไปได้ ว่าการจัดตั้งโรงงานจะคุ้มทุนและใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ จึงจะมีผลตอบแทนคุ้มค่า 
      2) การวางแผน ในการจัดตั้งโรงงานนั้นจะต้องวางแผนปฏิบัติงานในเรื่องที่จำเป็น เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจ
      3) เรื่องการจัดหาที่ดิน เนื่องจากต้องดูทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม สะดวกในการคมนาคม ขนาดมีความเหมาะสมในการก่อสร้าง คุณภาพหรือสภาพที่ดินเป็นอย่างไร รวมทั้งราคาที่ดิน
     4) การออกแบบโรงงานและส่วนประกอบ เป็นเรื่องทางเทคนิคเฉพาะต้องอาศัยผู้มีความรู้ด้านการเขียนแบบ อีกทั้งต้องกำหนด ตำแหน่งการวางอุปกรณ์เครื่องจักร เพื่อให้ได้ตามความต้องการ
     5) การขออนุญาติก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย โดยขออนุญาตตามขั้นตอนและใช้แบบพิมพ์ต่างๆ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะออกใบรับรองให้และต้องดำเนินกิจการตาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ห้ามทำการอื่นนอกเหนือจากใบอนุญาต
3. ข้อควรพิจารณาในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูป ผลิตผลเกษตรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ ข้อควรพิจารณาในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูป ว่ผลิตผลมี
     1) ความประสงค์ในการใช้ ต้องรู้เป้าหมายว่าจะนำเครื่องจักรมาใช้ ทำอะไรบ้างในขั้นตอนหรือสายการผลิตแบบใด
     2) ประสิทธิภาพ ต้องมีการพิจารณาถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักรว่าจะซื้อเครื่องจักรใหม่ หรือเก่า หรือจะผลมกัน เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในระยะเริ่มต้นของกิจการ
     3) ราคา ต้องพิจารณาเปรียบเทียบราคาเครื่องจักรซึ่งจะแตกต่างกันพอสมควรและการนำเรื่องการบริการในการขาย มาพิจารณาด้วย
     4) เงื่อนไข การซื้อขาย ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขในการขนส่ง การติตั้งการทดสอบ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ อายุการรับประกันและเงื่อนไขการชำระเงินว่าระยะเวลาเท่าใด
     5) ค่าใช้จ่าย ต้องพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบว่าช่วงเวลาเดียวกันมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด และอื่นๆอีกมารวมกันและพิจารณา

หน่วยที่ 6
1. อุตสาหกรรมเกษตรแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างไร จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ แตกต่างในเรื่องที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ วัตถุดิบซึ่งเป็นสิ่งทางชีวภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อม มีเฉพาะฤดูกาลใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ประการที่สอง จะต้องมีคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วย ประการที่สาม จะต้องมีควบคุมป้องกันการเสื่อมเสียของวัตถุดิบ ประการที่สี่ จะต้องมีการจัดการผลิตวัตถุดิบและจัดการกับผลพลอยได้
2. จงอธ่ิบายและยกตัวอย่าง ประเภทของวัตถุดิบอุตสาหกรรมเกษตร ( 5 คะแนน)
ตอบ เป็นผลิตผลเกษตร ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะฤดูกาล วัตถุดิบจะมีปริมาณมากในช่วงระยะหนึ่งแล้วจะหมดสิ้นไป ทำให้เป็นปัญหาในการที่จะนำเอาวัตถุดิบมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดทันเวลา เช่น โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลจะมีระยะเวลาผลิตหรือ เรียกว่า ฤดูหีบอ้อย 120-140 วัน ต่อปีเท่านั้น เนื่องจากขาดวัตถุดิบคืออ้อยที่จะป้องโรงงานได้ตลอดทั้ง่ปี
3. แหล่งของวัตถุดิบอุตสาหกรรมเกษตรได้มาจากที่ใด จงอธิบายมาโดยสังเขป ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) ได้มาจากธรรมชาติ เช่น จากป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากน้ำ ได้แก่่ปปลาและจากพื้นดิน และพื้นน้ำ ได้แก่ แมลงที่ใช้เป็นอาหาร แหล่งทำประมงในอ่าวไทย แถบอันดามันมหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล และแถบทะเลจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นแหล่งประมงที่สำคัญ
       2) วัตถุดิบที่ได้จากการผลิตเพื่อการเกษตร เช่น แป้งมัน แป้งสาลี แป้งข้าวโพด
4. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพวัตถุดิบได้แก่อะไร จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพวัตถุดิบได้แก่ พันธุ์พืชและสัตว์ ปริมาณน้ำภูมิอากาศ การชลประทาน ดินและปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ระบบการปลูกพืช และระบบการเลี้ยงสัตว์ จากปัจจัยของวัตถุดิบจะเห็นว่ามีผลต่อคุณภาพวัตถุดิบทั้งทางตรงและท้องอ้อม