วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เมล่อนเงินล้านทำได้จริง

การปลูกแตงเทศหรือเมล่อน
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ ( Melon )
ข้อมูลทั่วไป
เมล่อนเป็นพืชที่อยู่ในตระกูล ( Family ) Cucurbitaceae ใช้รับประทานผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน เจริญได้ดีในสภาพร้อนแห้ง แสงแดดจัด ปัจจุบันมีการผลิตลูกผสมออกมาหลลายพันธุ์ที่เจริญได้ดี ในสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยการผลิตเมล่อนที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ในการเพาะปลูกเป็นอย่างดี

เมล่อนที่พบเห็นส่วนใหญ่สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
· C. melon var.cantaloupensis เรียกว่า Cantaloupe หรือ rock melon ขนาดผลค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ขึ้นไปเปลือกผลหนาขรุขระ มีร่องเป็นทางยาวโดยรอบทางขั้วถึงก้น เนื้อแตงแคนตาลูปส่วนใหญ่เป็นสีส้ม
· C. melon var. recticulatus เรียกว่า musk melon , netted melon, persian melon ขนาดผลเล็กกว่าแคนตาลูป เปลือกของผลส่วนใหญ่เป็นตาข่ายสานกันเป็นลายค่อนข้างถี่สม่ำเสมอ ผลมีลักษณะกลมไม่มีร่องตามยาวเหมือนแคนตาลูปส่วน สีเนื้อมีตั้งแต่สีส้มถึงสีเขียว
· C. melon var.inodorus เรียกว่า winter melon ผิวผลเรียบไม่มี net
· C. melon var.flexuosus เรียกว่า snak melon เป็นพวกแตงไทย
· C. melon var. conomon เรียกว่า oriental pickling melon
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
เมล่อนสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี เมล่อนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง แต่ต้องการน้ำสม่ำเสมอสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง pH 6.5 – 7 หรือสภาพดินเป็นกลาง สภาพอากาศที่เหมาะสมคืออากาศอบอุ่น มีแสงแดดอย่างเพียงพอและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ในช่วงการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ส่วนในระยะผลแก่จะต้องการน้ำน้อยลง

เมล่อนเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน และการเจริญเติบโตของเถาจะช้าลงในฤดูหนาว
การปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ
การเตรียมแปลงปลูก
เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง , ครั้งแรกใช้ผาน 3 ครั้งที่สองใช้ผาน 7 ผสมปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1 ตัน/ ไร่ ปุ๋ยรองพื้นตรากระต่ายสูตร 15 –15 –15 อัตรา 50 กิโลกรัม / ไร่ ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ทั่วบนแปลง ยกแปลงตามวิธีการปลูกถ้าปลูกเลื้อยดินยกแปลงกว้างขนาด 3.5 – 4.0 เมตร ถ้าปลูกแบบขึ้นค้าง
ยกแปลงกว้าง 1 เมตร ย่อยดินให้ละเอียดพอสมควรแต่งแปลงให้มีความกว้างบนแปลง 80 เซนติเมตร สูง 15 – 20 เซนติเมตร ปูฟางบนแปลงและร่องระหว่างแปลง หรืออาจใช้วัสดุอื่นคลุมแปลง ก่อนปลูกใช้ฟูราดานรองก้นหลุมกันแมลง
วิธีการปลูก โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 แบบคือ
· หยอดเมล็ด ปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ โดยตรง หลุมละ 1-2 เมล็ด ก่อนปลูกควรคลุกสารเคมีป้องกันโรคทางเดิน
· เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก
ระบบการปลูก แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
· ปลูกแบบเลื้อยตามผิวดิน เกษตรกรทั่วไปมักปลูกแบบเลื้อยดิน แต่มีผลเสียคือไม่ได้คุณภาพตาม
ความต้องการ ไม่หวาน สะสมโรคแมลงขายไม่ได้ราคา เราจึงไม่แนะนำให้ปลูกลักษณะนี้
· ปลูกแบบขึ้นค้าง การปลูกแบบวิธีนี้เป็นที่นิยมโดยทั่วไป โดยปักไม้ค้างห่างจากหลุมปลุก
ประมาณ 10 เซนติเมตร ทำค้างแบบกระโจมสามเหลี่ยมแล้วผูกลำไม้ที่ทำค้าง อาจทำราวเพียงชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้ขึ้นราวห่างจากพื้นดิน 80 – 100 เซนติเมตร และชั้นสองห่างจากพื้นดิน 150 – 180 เซนติเมตร ราวชั้นแรกทำเพื่อแขวนผล ส่วนราวชั้นที่สองทำเพื่อพยุงส่วนยอด เมื่อเถายาวประมาณ 40 เซนติเมตรจัดเถาให้เลื้อยขึ้นค้างโดยใช้เชือกฟางฉีกเป็นเส้นเล็กๆมัดตรงเถาพยุงไว้กับไม้ค้าง เรียกวิธีการนี้ว่าการผูกยอดระยะปลูกระหว่างแปลงประมาณ 80 เซนติเมตร ( ระยะระหว่างแปลงยิ่งกว้างยิ่งทำงานสดวก )
การปฎิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
· ระยะแรก เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 35 – 40 วัน หรือก่อนการ
ออกดอกให้น้ำอย่างเพียงพออย่าให้ดินแห้งให้ดินมีความชื้นตลอดเวลาแต่อย่าให้แฉะเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคเน่าคอดินได้ง่าย
· ระยะที่สอง เป็นระยะที่มีการผสมเกสร ลดปริมาณน้ำลงเล็กน้อยแต่อย่าให้ดินแห้ง พยายามอย่า
ให้น้ำถูกดอกเพราะจะทำให้ละออองเกสรตายได้
· ระยะที่สาม เป็นระยะหลังติดผลและมีการเจริญเติบโตของผลให้น้ำอย่างเต็มที่เหมือนระยะแรก
ถ้าขาดน้ำช่วงนี้ผลจะแกร็นเจริญเติบโตไม่เต็มที่
· ระยะที่สี่ เป็นระยะที่มีการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 15 – 20 วันก่อนเก็บเกี่ยว จะลด
ปริมาณน้ำลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดให้น้ำและปล่อยให้ดินแห้งก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน เพื่อให้ผลมีรสหวานขึ้น
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยทางดินแบ่งใส่ 4 ระยะคือ
· ระยะแรก ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก โดยใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม /ไร่ กับ
ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ พรวนให้เข้ากันบนแปลงปลูก
· ระยะที่สอง เมื่ออายุ 15 – 20 วันหลังย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50
กิโลกรัม/ไร่ โรยรอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร แล้วให้น้ำตาม
· ระยะที่สาม เมื่ออายุ 40 – 45 วัน หลังย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-15-15 อัตรา 50
กิโลกรัม / ไร่ โรยตามขอบแปลงแล้วให้น้ำตาม
· ระยะที่สี่ เมื่ออายุ 55- 60 วันหลังย้ายปลูกใช้ปุ๋ยสูตรตรากระต่าย 15-15-15 หรือ 8 – 24 –24 อัตรา
50 กิโลกรัม / ไร่ โรยในร่องระหว่างแปลงแล้วให้น้ำตาม
สำหรับปุ๋ยน้ำเร่งการเจริญเติบโต ใช้ในระยะที่มีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและกิ่งก้าน โดยหลังงอก 2-3 วันใช้มามีโกร สูตร 12 – 9 – 6 ผสมมาโมมิก ( ธาตุอาหารเสริม ) และอโทนิค โดยผสมกับยากันราราดต้นกล้าสูตรนี้สามารถใช้ทุก 3-5 วันจนกว่าจะมีใบจริง 6-7 ใบหรือผสมปุ๋ยยูเรีย ( 46-0-0 ) อัตรา 10 กรัม / น้ำ 10 ลิตร ทุก 7 วันเมื่อต้นกล้ามีใบจริงแล้ว ในช่วงก่อนออกดอกเปลี่ยนปุ๋ยมามีโกร เป็นสูตรตัวกลางและตัวท้ายสูง คือ ใช้สูตร 10 – 52 – 17 หรือ 6 –32 –35
การผูกยอดและการเด็ดยอด
เมื่อเมล่อนเริ่มทอดยอดควรใช้เชือกฟางผูกหลวมๆบริเวณใต้ข้อปล้องที่ 2-3 จากยอดยึดกับค้างโดยผูกทุกๆ 3 ปล้อง ปกติค้างจะมีความสูงประมาณ 150 – 180 เซนติเมตร ควรเด็ดยอดทิ้งเมื่อเมล่อนมีความสูงประมาณ 140 เซนติเมตร
การตัดแขนงและการไว้ผล
จะเริ่มไว้ผลตั้งแต่ข้อที่ 9 – 12 หรือสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร โดยเด็ดแขนงที่แตกจากข้อที่ 1-8 ออกให้หมด ผลที่ไว้นั้นให้เหลือใบไว้กับผล 2 ใบ และควรเก็บใบไว้เหนือผลขึ้นไป 12 – 15 ใบเพื่อไว้เลี้ยงผล เมื่อผลมีขนาดโตเท่าไข่ไก่ก็เลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล ที่เหลือเด็ดทิ้งหมดตลอดจนแขนงที่ออกจากข้อทั้งเหนือและให้ผลเด็ดออกให้หมด
สำหรับการคล้องผลนั้นจะเลือกผลที่ดีที่สุดแล้วใช้เชือกฟางทำเป็นบ่วงคล้องพยายามอย่าให้เชือกฟาง รัดบริเวณขั้วผลเพราะจะทำให้ขั้วผลถูกรัดเมื่อมีน้ำหนักมากขึ้นและเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อคล้องผลแล้วผูกปลายเชือกอีกด้านหนึ่งเข้ากับค้าง จัดให้แขนงของผลเข้ากับพื้นดินผูกเชือกให้แน่น
การเก็บเกี่ยวหลังการปลูกเมล่อน ปลูกแตงเทศ
เมล่อนมีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 70 – 80 วันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และฤดูปลูกเมล่อนพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวได้เร็วและเมล่อนที่ปลูกในฤดูร้อน ผลจะสุกเร็วกว่าในฤดูหนาว เมล่อนเริ่มติดผลเมื่อมีอายุได้ประมาณ 35 – 40 วันหลังย้ายปลูกเมื่อผลมีขนาดเท่าไข่ไก่จะเริ่มทำการห่อผล หลังจากห่อผลประมาณ 1 เดือนก็จะสามารถที่จะทำการเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตุระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวได้ดังต่อไปนี้ รอยแยกของขั้ว สังเกตระหว่างขั้วกับผล ถ้ามีรอยร้าวสีน้ำตาลเกิดขึ้นแสดงว่าสามารถเก็บเกี่ยวได้สีของผล ผลจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีครีมหรือสีเหลือง สีส้ม สีขาวขุ่นปนเหลืองหรือสีนวลรอยนูนของร่างแห ( Net ) เมล่อนที่มีตาข่ายเมื่อสุกรอยนูนของตาข่ายจะคลุมผล แข็งนูนเห็นชัด
กลิ่น บางพันธุ์เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้
นับอายุ โดยนับจากช่วงผสมเกสรตามอายุของพันธุ์นั้นๆ
ใช้หลายวิธีประกอบกันในการตัดสินใจ เนื่องจากเมล่อนเป็นพืชที่ค่อนข้างตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมง่าย ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีการแปรปรวนของสภาพแวดล้อม อยู่เสมอ
การตัดเมล่อน นอกจากตัดขั้วติดมาแล้วยังต้องตัดให้ติดส่วนของกิ่งแขนงย่อยออกมาด้วย โดยให้ติดเป็นรูปตัว T หลังจากเก็บเกี่ยวเมล่อนจะเก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 15 –20 วัน แล้วแต่พันธุ์ ซึ่งการบ่มไว้จะทำให้รสชาติความหวานเพิ่มขึ้น ก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 5 วัน ควรงดการใช้น้ำเพื่อให้ผลเมล่อนมีความหวานมากขึ้น
โรคของเมล่อน
โรคราน้ำค้าง ( Downy mildew )
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis
อาการ : เกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็กแล้วค่อยขยายเป็นวงใหญ่ และเต็มใบในที่สุดเมื่อพลิกดูใต้ใบในเวลาเช้ามือที่มีอากาศชื้นจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาว เมื่ออาการรุนแรงใบจะอ่อนลงและแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด : ฉีดพ่นด้วยโนมิลดิว อัตรา 50 กิโลกรัม / น้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุก 10 วัน ไม่ควรผสมกับสารเคมีอย่างอื่น ห้ามใช้เกิน 3 ครั้งต่อ 1 ฤดูกาลเพาะปลูก การป้องกันก่อนการเกิดโรคคือตัดใบล่างออก 2-3 ใบให้ต้นโปร่งอากาศถ่ายเทสดวก
โรคเหี่ยว ( Wilt )
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum
อาการ : พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาตั้งแต่ส่วนยอดลงมา เถาจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลายแบบเช่น ต้นแตกอาจจะแตกลึกถึงท่ออาหารเกิดการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่าและพบเชื้อราสีขาวติดอยุ่ตามรอยแยกแตกอาการสุดท้ายทำให้ต้นเหี่ยว และเน่าตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง
- ใช้ยากันราราดที่โคนต
โรคใบด่าง ( Mosaic )
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Melon mosaic virus
อาการ : ใบยอดหรือใบบนๆมีอาการหงิกงอ ใบอ่อนจะไม่เติบโตติดต่อกันได้รวดเร็วโดยแมลงที่เป็นพาหะของโรคได้แก่พวกแมลงปากดูด







การป้องกันกำจัด
ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค
กำจัดวัชพืชและพืชอาศัยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ทิ้งให้หมด
โรคเน่าคอดิน ( Damping off )
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. Phytophthora sp.
อาการ : เกิดกับเมล่อนในระยะต้นกล้าหรือย้ายปลูกใหม่ เกิดจากดินมีความชื้นสูง หรือเนื่องจากให้น้ำมากเกินไปหรือแปลงปลูกระบายน้ำไม่ดี อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจนคือ ที่โคนต้นกล้าจะมีรอยคล้ายรอยช้ำและเกิดการเน่าบริเวณคอดิน
การป้องกันกำจัด
ก่อนปลูกควรมีการคลุกสารเคมีกับเมล็ด หลังจากหยอดเมล็ดแล้วราดสารเคมีป้องกันโรคโคนเน่า
ถอนต้นที่แสดงอาการทิ้ง

อาการผลแตก
สาเหตุ : เกิดจากการได้รับน้ำมากเกินไปขณะผลใกล้สุก
อาการ : ผลแตก
การป้องกันกำจัด : ควรมีการให้น้ำแต่น้อยในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว

เพลี้ยไฟ ( Thrips, Haplothrips Floricola )
จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอด ใต้ใบอ่อน และดอก ทำให้ยอดไหม้และยอดหงิกชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด : ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอแล้วฉีดสารเคมี ชอสแมค 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

แมลงวันทอง ( Fruit fly, dacus spp. )
จะพบระบาดทั้งปีโดยจะเจาะผลแตงแล้ววางไข่ ตัวหนอนวันทองจะทำลายในผล ทำให้ผลเมล่อนเน่าเละและร่วงในที่สุด

แมลงศัตรูของเมล่อน
การป้องกันกำจัด
- ห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
- ฉีดสารเคมีกลุ่ม Carbaryl เช่น คาร์โบน็อค
เต่าแตง ( Cucurbit leaf beetles , Autacophora spp. )
จะกัดกินใบและยอดอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตช้าและแคระได้ แมลงพวกนี้ยังเป็นพาหะของโรคที่เกิดจากไวรัสได้อีกด้วย
พันธุ์ที่แนะนำส่งเสริมมี 5 พันธุ์
1. ปรินเซส ต้นแข็งแรงทนทานโรคดี เนื้อหอมมีกลิ่นหอม ผลมีตาขายสวยงาม สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าพันธุ์ทั่วไป
2. ซันเน็ท 858 เนื้อทรายสีส้มเข้มสวยงาม รสชาติดี มีร่างแหสวยงาม โตเร็ว เก็บเกี่ยวผลไว ปลูกง่าย
3. คลับ 708 ต้นแข็งแรง ผลมีตาข่ายสวยงาม เนื้อหนานุ่ม มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวผลได้เร็ว
4. นีออน 022 ผลและเนื้อสีขาวสวยงาม เนื้อหนา รสหวานนุ่ม
5. มอร์นิ่งซัน 875 ผลกลมสูง เนื้อสีเขียวหยก แน่นกรอบ รสหวาน ต้นแข็งแรงปลูกง่าย
เคล็ดลับการปลูก
เมื่อเมล่อนอายุประมาณ 40 วันใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 เพื่อให้เมล่อนมีรสชาดหวาน
หลังจากติดผลแล้วเลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล เพื่อจะให้ได้ผลที่สวย
การคุ้มค่าของการลงทุน
เมล่อนจะมีผลแต่ละพันธุ์ไม่เท่ากัน เฉลี่ยแล้วผลผลิตที่ได้ประมาณ 4,800 กิโลกรัมต่อไร่
เมล่อนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท * 4,800 กิโลกรัม = 144,000 บาท
ต้นทุนการผลิต / ไร่ = 24,000 บาท
ผลกำไรที่ได้ = 144,000 – 24,000 = 120,000 บาท

ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาพประกอบ  : ขอขอบคุณ เซฟตี้ฟาร์ม จังหวัดลำปาง

21 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ24 เมษายน 2556 เวลา 11:24

    เรียน คุณเจ้าของBlog
    เมล่อนของเซฟตี้ฟาร์ม เป็นเมล่อนไร้สารเคมีนะคะ ที่ฟาร์มเราจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น เราจะใช้เฉพาะเชื้อจุลินทรีย์สำหรับป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชของบริษัทแอพพลายเค็มเท่านั้น แต่เห็นในบทความมีการแนะนำให้ใช้สารเคมีในการกำจัดโรคและแมลงด้วย กรุณาแก้ไขให้เราด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ต้องขอโทษ เซฟตี้ฟาร์มนะค่ะ ไม่ได้มีเจตนาค่ะ เราจะรีบแก้ไขให้นะค่ะ เคยได้ลองชิมเมล่อนจากฟาร์มของเซฟตี้ฟาร์มแล้ว อร่อยมากๆ แถมปลอดสารพิษ 100% จริงๆค่ะ ยังไงจะขอลองชิมอีกเรื่อยๆค่ะ สำหรับข้อมูลที่นำมาลงไว้ เป็นข้อมูลจาก กรมสงเสริมการเกษตรค่ะ เพียงแต่ขอเอาภาพสวยๆ บางส่วนจากเซฟตี้ฟาร์มมาลงเท่านั้นค่ะ ต้องขอโทษอีกครั้งนะค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ3 กรกฎาคม 2556 เวลา 15:48

    ขอฝากข้อความนิดหนึ่งครับ...
    มีเมล็ดพันธุ์เมล่อนลูกผสม ให้ทดลองปลูก 3 สายพันธุ์ ๆละ 20-30 เมล็ด สนใจติดต่อมาได้ครับ 086-186-1783 ศุภกิจ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ30 กรกฎาคม 2556 เวลา 14:25

      เมล็ดพันธุ์เมล่อนลูกผสมอยากได้ครับ
      ต้องทำอย่างไร
      สมชัย
      somthai05@yahoo.com

      ลบ
  4. ที่บ้านดินไม่ดี ดินลูกรังปนทราย จะปลูกได้ไหมค่ะ มีที่วาง 52 ไร่ กะจะแบ่งปลูก รบกวนขอคำแนะนำ พร้อมซื้อเมล็ดพันธ์ด้วยค่ะ ได้ไหมค่ะ ไปเยี่ยมชมได้ที่ไหนค่ะ 0862762122 manmpa@hotmail.com ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ14 มีนาคม 2557 เวลา 15:23

    ถุงดำขนาดเท่าไหร่คะ อยากลองปลูกนะคะ

    ตอบลบ
  6. อยากได้เมล็ดพันธุ์ ครับ 088-2272610 khemevason@hotmail.com

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2557 เวลา 15:25

    ผมสนใจทำธุรกิจทางด้านการเกษตรครับ แต่พื้นที่บ้านผม เป็นพื้นที่ราบสูง อยู่ จ.น่าน ครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ ไอดีไลน์ nco14153cavalry

    ตอบลบ
  8. มีเมล็ดเมล่อนหลายสายพันธุ์เช่นราชินี 1 ราชินี 2 ราชินี 4 มังกรทอง เมล่อนแอปเปิ้ล คิโมจิ กาเลีย แบ่งขายครับ ซื้อมากน้อยไม่ว่ากันครับ ดูรายละเอียดได้ที่ www.bigmelonseeds.com

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ยากได้เมล็ดพันธ์เมลอนค่ะ จะทดลองปลูกไม่ทราบว่าต้องทำยังไงค่ะ 0808640340

      ลบ
  9. ขอบคุณมากสำหรับความรู้ อยากลองปลูกดูบ้างครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีแหล่งศึกษาก่อนลงมือจริงไหมครับ

    ตอบลบ
  10. ผมอยู่จังหวัดแพร่สนใจปลูกเป็นธุรกิจครับ พอจะมีคำแนะนำหรือแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมมั่ยครับ อยากเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติม ก่อนจะทดลองปลูกครับ maximania883@gmail.com

    ตอบลบ
  11. อยากลองปลูกเป็นธุระกิจครับ.อยากไปศึกษา.และอยากหาข้อมูลครับช่วยแนะนำที

    ตอบลบ
  12. สนใจการปลูก ค่ะ และเรื่องตลาดรองรับค่ะ

    ตอบลบ
  13. สนใจอยากทดลองปลูกเป็นธุรกิจของครอบครัวค่ะแนะนำหน่อยใด้ไหมค่ะ chumponr29@gmail.com

    ตอบลบ
  14. ต้นเมล่อนพอออกผลและเก็บเกี่ยวผลไปแล้ว ต้นเมล่อนจะออกลูกได้อีกหรือเปล่า หรือว่าต้นเมล่อนนั้นจะตายไปเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  15. ต้นเมล่อนพอออกผลและเก็บเกี่ยวผลไปแล้ว ต้นเมล่อนจะออกลูกได้อีกหรือเปล่า หรือว่าต้นเมล่อนนั้นจะตายไปเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  16. มีเครื่องรดน้ำเมล่อน ขายครับ ดูได้ที่
    http://arduinostate.lnwshop.com/product/21/เครื่องรดน้ำสำหรับการปลูกเมล่อน

    ตอบลบ
  17. เมล่อนเจอแมลงหวี่ขาวมาเจาะกินน้ำเลี้ยงเป็นโรคไวรัสแก้ไขอย่างไรดีครับ

    ตอบลบ