วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมประจำชุดวิชา 94360 การจัดการการปฏิบัติการและทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร

หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการปฏิบัติการและทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
     1. ให้อธิบายกิจกรรมภายในองค์การธุรกิจการเกษตร
ตอบ มีหลายกิจกรรมประกอบกัน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการ คือ ตลาด สินค้า กระบวนการผลิต และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ และในกระบวนการปฏิบัติเกี่ยวกับธุรกิจการเกษตรนั้นจะมีขั้นตอนซึ่งแต่ละขั้นตอนก็คือ กิจกรรมที่รวมกันเป็นกระบวนการ และก็จะสร้างผลงาน อีกทั้งส่งต่อให้กิจกรรมต่อไปคือการทำงาน ซึ่งต้องมีทรัพยากรป้อนให้จึงจะสามารถทำงานได้

2. หน้าที่งานในองค์การธุรกิจการเกษตรมีกี่กลุ่ม อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่
1. กลุ่มการตลาด มีหน้าที่วางแผนและดำเนินการในการนำสินค้าและบริการที่กลุ่มปฏิบัติการผลิตได้ออกไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือตลาด แล้วยังประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรสูงสุด
2. กลุ่มปฏิบัติการ มีหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการป้อนให้กับตลาด ตาม สเปค ที่กำหนด อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรงเวลา
3. กลุ่มสนับสนุน มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับ กลุ่มปฏิบัติการ
และกลุ่มการตลาด ด้วยการจัดหาและดูแลทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นทรัพยากรคน และทรัพยากรที่ไม่ใช่คน

3.กระบวนการจัดการในองค์กรมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1.       การพัฒนาวิสัยทัศน์ และภารกิจ  เป็นเป้าหมายหลักและเป้าหมายรองที่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจเกษตรจะต้องกำหนดขึ้นให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
2.     การจัดการยุทธศาสตร์ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และภารกิจนั้น
3.     การแปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนปฏิบัติ เมื่อมีการจัดทำยุทธศาสตร์ขึ้นมาแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อใช้ในการบริหารและแตกยุทธศาสตร์ออกเป็นหน่วยงานย่อยๆ เป็นโปรแกรมงานและแปลงโปรแกรมแต่ละงานเป็นแผนปฏิบัติทีละเอียดรอบคอบและครอบคลุมแต่ละกิจกรรม
4.    การประเมินผลและควบคุม เป็นการดูว่าเมื่อนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติแล้วได้ผลอย่างไร และองค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินก็คือ ตัวชี้วัดประเมินก็คือชี้วัดเชิงปริมาณ โดยทั่วไปจะไปวัดที่ ผลการปฏิบัติงาน

    4. ให้อธิบายความหมายของการจัดการการปฏิบัติการในธุรกิจการเกษตร
ตอบ  การนำเอาปัจจัยการผลิตมาแปลงสภาพให้เป็นผลผลิต และความสำคัญของการจัดการการปฏิบัติการมี 2 ประการ คือ
1.       ช่วยให้องค์กรมีประสิทธิผลทางการผลิต ซึ่งก็คือการได้ผลผลิตในปริมาณที่ต้องการด้วยคุณภาพตรงตามกำหนด
2.     ช่วยให้องค์การเกิดประสิทธิภาพในการผลิต คือ การได้มาซึ่งผลผลิตที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด

     5. ให้อธิบายระบบและกระบวนการจัดการปฏิบัติการในธุรกิจการเกษตร
ตอบ ระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ ปัจจัยการผลิต กระบวนการแปลงสภาพและผลผลิต และในการจัดการปฏิบัติการในธุรกิจการเกษตรนั้นมีขั้นตอนสำคัญคือ
 1. ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ระบบการปฏิบัติการนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
 2. การวางแผน เป็นการคิดล่วงหน้าต้องทำอะไรบ้าง โดยเริ่มที่การคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการสินค้า เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนด้านการผลิตต่อไป
3. การดำเนินงาน คือ การจัดคนให้เข้ากับงาน การออกแบบวิธีการทำงาน การวัดงาน การบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ การรักษาความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้แผนงานเป็นไปอย่างราบรื่น
4. การควบคุม เป็นการะบวนการในการวัดความก้าวหน้าของงาน เปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้

 6. ให้อธิบายขอบเขตงานการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
ตอบ  ขอบเขตงานการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น คือ การจัดการเกี่ยวกับบุคคลที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร โดยครอบคลุมตั้งแต่
-         การสรรหา
-         การบรรจุเข้าทำงาน
-         การจ่ายค่าตอบแทน
-         การดูแลและพัฒนา
และจนกระทั่งบุคคลนั้นพ้นไปจากองค์กร และการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้คนดีมีความสามารถมาทำงานด้วยความสนใจและพึงพอใจและให้ได้งานออกมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หน่วยที่ 2 กำลังการผลิต ระบบการผลิต และการเลือกที่ตั้งในธุรกิจการเกษตร

     1. จงระบุปัจจัยที่กำหนดกำลังการผลิตในธุรกิจการเกษตรมา 5 ปัจจัยและอธิบายโดยสังเขป
ตอบ ปัจจัยที่กำหนดกำลังการผลิตมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากเป็นปัจจัยที่สำคัญของแผนงานธุรกิจและการตลาดและอาจส่งผลกระทบกับการกำหนดกำลังการผลิตซึ่งมีปัจจัยดังนี้คือ
1.จำนวนหน่วยที่ขายเทียบแผนงาน จำนวนหน่วยขายนั้นอาจส่งผลบวกหรือลบซึ่งจะต้องให้น้ำหนักในการกำหนดการผลิตนั้นๆ
2. ราคาขายต่อหน่วยเทียบกับแผนงาน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลกระทบกับกำลังการผลิต โดยอาจเทียบจากการขายได้เท่าเดิมหรือสูงกว่าเดิม หรือว่าขายได้ต่ำกว่าเดิม
3.      ต้นทุนขาย ต้นทุนขายเดิมนั้นมีการขายเท่ากับแผนหรือต่ำ
กว่าแผนที่ได้วางไว้
4. ผลกำไรหรือขาดทุนตามแผนงาน ผลกำไรนี้ต้องเป็นไปตามแผนหรือกำไรน้อยกว่า หรือมีผลขาดทุนมากกว่า
5. คุณภาพของสินค้าที่ขายต่ำกว่าแผนงาน จะต้องคำนึงถึงการผลิตด้วยว่าจะต้องผลิตเท่าไหร่ อย่างไร เพื่อให้คุ้มกับต้นทุน

   2. องค์ประกอบของระบบการผลิตมีอะไรบ้าง
     ตอบ  องค์ประกอบที่สำคัญประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.       ปัจจัยการผลิต (Input) ที่สำคัญได้แก่ วัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาใช้ เครื่องจักร พลังงาน บุคลากร และปัจจัยเงิน
2.     กระบวนการผลิต (Process) คือขั้นตอนต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการผลิต เช่น การเตรียมวัตถุดิบ การปรุงแต่งส่วนผสม และการบรรจุในภาชนะ
3.     ผลผลิตสำเร็จรูป (Products) คือ สินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตครบทุกขั้นตอน พร้อมที่จะเคลื่อนย้ายไปในคลังสินค้า

   3. จงอธิบายระบบการผลิตแบบช่วงตอน
ตอบ  ระบบการผลิตแบบช่วงตอน คือ เป็นการผลิตแบบไม่สม่ำเสมอลิตตามคำสั่งของลูกค้าที่เรียกว่า Order Manufacturing วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ได้เลื่อนไหลไปตามสายการผลิต จะผลิตเป็นช่วงๆ หรือเป็นตอน เมื่อผลิตครบทุกขั้นตอน จะได้สินค้าสำเร็จรูปตามคำสั่งซื้อสินค้า

4. จงอธิบายระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง
ตอบ  ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง เป็นกระบวนการผลิตที่เมื่อป้อนวัตถุดิบเข้าไปในสายการผลิตแล้ว ขั้นตอนการผลิตจะมีการไหลอย่างต่อเนื่องไปตามสายการผลิต หรือที่เรียกว่า Production Line เช่นการผักผลไม้กระป๋อง และการผลิตของโรงงานน้ำตาล

5. จงระบุปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งในธุรกิจการเกษตร
ตอบ  ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้ง มีความสำคัญต่อการผลิต ดังนี้
1.   แหล่งวัตถุดิบ เป็นปัจจัยสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งโรงงานควรจะเลือกแหล่งทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบเพราะจะทำให้ประหยัดต้นทุนขนส่ง และจะได้คุณภาพของสินค้าที่ใหม่สดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการผลิต
2.   แรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องวางแผน เลือกอุปสงค์หรืออุปทานของปริมาณแรงงานและความต้องการแรงงานในท้องถิ่นที่เป็นทำเลเป้าหมายของที่ตั้งสถานประกอบการ ควรจะเลือกแรงงานในท้องที่ หรืออาจจะเลือกแรงงานต่างด้าว หากไปเลือกตั้งโรงงานที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่มากอาจมีปัญหาเรื่องแรงงานไม่พอ และจะส่งผลเสียต่อแผนงานการผลิต
3.   ที่ดิน เป็นการตัดสินใจที่มีการลงทุนสูง ควรเลือกทำเลดีติดถนนใหญ่ อยู่ใกล้ความเจริญ ถ้าหากลงทุนสูงเกินไปจะมีผลระยะยาวในการคืนทุน และอาจทำให้ไม่คุ้มค่าในการลงทุน
4.    ผังเมือง ต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดในเบื้องต้นในการจัดตั้งโรงงานว่าเป็นพื้นที่ที่ทางราชการอนุญาตให้จัดตั้งโรงงานได้หรือไม่
5.   การขนส่ง เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเป็นต้นทุนในการดำเนินกิจการ และค่าขนส่งจะต้องถูกนำมาคำนวณและกำหนดราคาขาย
6.   พลังงานและสาธารณูปโภค การจัดตั้งโรงงานต้องคำนึงถึงไฟฟ้า แสงสว่าง ส่วนที่สำคัญของการผลิตในธุรกิจการเกษตรคือ แหล่งน้ำที่จะนนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ
7.    ข้อกำหนดระหว่างประเทศและข้อตกลงการค้าเสรี เนื่องจากมีเรื่องสิทธิประโยชน์ที่สำคัญคือ ภาษี เป็นข้อที่ต้องนำมาประกอบในการตัดสินใจในการเลือกที่ตั้งทำเลในธุรกิจการเกษตร

6.     การวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งในธุรกิจการเกษตรมี 3 วิธี อะไรบ้าง และให้อธิบายรายละเอียดมา 1 วิธี
ตอบ ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้ง มี 3 วิธี
1.       วิธีให้คะแนนปัจจัย
2.     วิธีเปรียบเทียบเงินลงทุนและค่าใช้จ่าย
3.     วิธีเปรียบเทียบระยะทาง และค่าขนส่ง
    
วิธีเปรียบเทียบระยะทาง และค่าขนส่ง

          การวิเคราะห์การเลือกทำเลที่ตั้ง ที่เน้นพิจารณาเฉพาะเรื่องระยะทาง เพื่อหาทำเลที่ตั้งที่มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่ำที่สุด เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ประกอบการใช้เป็นพื้นฐานในการการตัดสินใจ วิธีวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบระยะทางจากแหล่งวัตถุมายังทำเลที่ตั้ง และระยะทางจากทำเลไปยังตลาด หรือสถานที่ส่งมอบสินค้า แล้วนำตัวเลขของแต่ละทำเลที่เป็นทางเลือก มาเปรียบเทียบหาค่าใช้จ่ายต่ำสุด ซึ่งสามารถดำเนินตามขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้
1.       รวบรวมข้อมูลแหล่งที่ตั้งของวัตถุดิบ ตลาด และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
2.     เลือกทำเลที่วางแผนไว้ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งของโรงงาน 2-3 จุด
3.     รวมระยะทางระหว่าง แหล่งวัตถุดิบ ถึงทำเลโรงงาน ระยะทางจากโรงงานถึงตลาด หรือสถานที่ส่งมอบสินค้า รวมทั้งจำนวนเที่ยวของการขนส่งใน 1 ปี
4.    คำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่งของแต่ละทางเลือก
5.    ตัดสินใจเลือกทำเลที่มีค่าขนส่งรวมต่ำสุด

หน่วยที่ 3 การวางผังสถานประกอบการในธุรกิจการเกษตร
1. ความหมายการวางผังประกอบการ
ตอบ  หมายถึง การกำหนดพื้นที่ การจัดวางเครื่องมือ เครื่องจักร สถานีทำงาน ทรัพยากร บุคลากร และหน่วยงาน ให้สามารถดำเนินงานร่วมกันในกระบวนการผลิตภัณฑ์อย่างสอดคล้องกัน มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ให้บอกขั้นตอนการวางผังสถานประกอบการ
ตอบ  ขั้นตอนการวางผังสถานประกอบการ ประกอบด้วย
1.การรวบรวมข้อมูลก่อนการวางผัง ซึ่งมีข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบ เช่น ขนาดและตำแหน่งการใช้งานจำนวนและลักษณะของแรงงาน กระบวนการผลิต เครื่องจักรเครื่องมือ เป็นต้น
2.การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองกายภาพ ซึ่งแบ่งเป็นแบบสองมิติ กับแบบสามมิติ
3.การประเมินผลหลังการนำผังไปใช้ หลังจากนำไปใช้แล้วก็ควรมีการประเมินผลความสำเร็จของการวางผัง โดยมีการตรวจสอบในประเด็นต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพในการผลิต ความปลอดภัยในการผลิต การเปลี่ยนแบบสินค้า การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เป็นต้น

3.ให้อธิบายการวางผังการผลิตตามผลิตภัณฑ์ พร้อมบอกข้อดีข้อเสีย
ตอบ การวางผังการผลิตตามผลิตภัณฑ์ คือ การวางผังการผลิตที่มีการจัดกลุ่มเครื่องจักร เครื่องมือตามลำดับขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะใช้เครื่องจักรเฉพาะเพื่อการผลิตสินค้าแต่ละชนิดเท่านั้น
ข้อดี ของการวางผังตามผลิตภัณฑ์ เช่น การเคลื่อนย้ายมีระยะทางสั้น ใช้พื้นที่ผลิตน้อย ไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งเครื่องจักรบ่อย พนักงานเกิดความชำนาญสูง

ข้อเสีย ของการวางผังตามผลิตภัณฑ์ เช่น หากหน่วยผลิตใดมีปัญหาจะส่งผลให้เกิดความล่าช้าทั้งสายการผลิต ผลิตภัณฑ์ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน ต้นทุนการผลิตสูงหากมีการผลิตน้อย ต้องมีการบำรุงรักษาแบบป้องกัน และความก้าวหน้าในสายงานอาชีพของพนักงานมีน้อย เนื่องจากทำงานซ้ำๆ แบบเดิม

4. ให้อธิบายการวางผังแบบผลิตภัณฑ์อยู่กับที่ พร้อมบอกข้อดีข้อเสีย
ตอบ การวางแบบผลิตภัณฑ์อยู่กับที่ หมายถึง การวางผังการผลิตที่มีการจัดวางแผนผังการผลิตให้ผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตต้องวางอยู่กับที่ แล้วเคลื่อนย้ายเครื่องมืออุปกรณ์ คน เข้ามาทาการผลิต
ข้อดี เช่น การลงทุนในการวางผังโรงงานต่ำ สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ง่ายและรวดเร็ว การวางแผนและการจัดลำดับการผลิตไม่สลับซับซ้อน ลดการเคลื่อนย้ายส่วนประกอบที่มีขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
ข้อเสีย เช่น ไม่สามารถผลิตที่ละมากๆได้ และไม่สามารถใช้ในการวางผังของโรงงานที่ต้องอาศัยเครื่องจักรหรือเครื่องมือขนาดใหญ่

5. ให้อธิบายแนวคิดการวางผังคลังสินค้า
ตอบ การวางผังคลังสินค้า เป็นการคำนึงถึงต้นทุนในการจัดเก็บและขนย้าย กรณีสินค้ามีหลายชนิดแต่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บเท่ากันก็เลือกสินค้าที่มีจำนวนเที่ยวมากไว้ใกล้ทางเข้าออกมากที่สุด กรณีต้องการพื้นที่จัดเก็บไม่เท่ากัน ให้จัดเก็บสินค้าที่มีอัตราส่วนความถี่ปริมาณเที่ยวในการขนย้ายต่อหน่วยพื้นที่มากที่สุด ไว้ใกล้กับพื้นที่ขึ้นลงสินค้ามากที่สุด

หน่วยที่ 4 การวางแผนและควบคุมการปฏิบัติการในธุรกิจการเกษตร
1.ให้อธิบายประเภทของการพยากรณ์เพื่อการผลิต
ตอบ ประเภทของการพยากรณ์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.การพยากรณ์เชิงคุณภาพ มีอยู่หลายวิธี คือ การใช้ความคิดเห็นของคณะผู้บริหารระดับสูง การใช้ความคิดเห็นของพนักงานขาย การสำรวจตลาดและวิธีเดลไฟ
2.การพยากรณ์เชิงปริมาณ เป็นการพยากรณ์ที่ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต และทำการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต โดยทั่วไปข้อมูลที่นำมาใช้ในการพยากรณ์เพื่อการผลิตนำยอดขายในอดีตจากฝ่ายการตลาดมาใช้ เพื่อจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนการผลิตต่อไป
2.ให้อธิบายกลยุทธ์ที่ใช้ในการวางแผนการผลิตรวม
ตอบ ในการวางแผนการผลิตรวมนั้น ผู้วางแผนจะมีข้อมูลของค่าพยากรณ์ความต้องการสินค้าในแต่ละเดือนสำหรับอนาคตที่จะจัดทำแผนการผลิต ซึ่งความต้องการของสินค้าในแต่ละเดือนนั้นไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงต้องจัดทำแผนรวม เพื่อรองรับการผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คือ
1.การผลิตที่อัตราคงที่ และใช้สินค้าคงเหลือรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
2.การเปลี่ยนแปลงระดับแรงงานตามปริมาณความต้องการ
3.การใช้การจ้างงานชั่วคราว หรือทำงานล่วงเวลา
4.การจ้างผู้รับเหมาช่วงเมื่อปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้น
5.การเปลี่ยนแปลงราคาปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อความต้องการ

3. ให้อธิบายการจัดทำตารางการผลิตหลัก
ตอบ การจัดทำตารางการผลิตหลัก จะทำให้ทราบว่าจะต้องใช้วัตถุดิบจำนวนเท่าใด ซึ่งนำไปสู่การการจัดทำแผนความต้องการวัสดุ และการจัดตารางการปฏิบัติการ การจัดทำตารางการผลิตหลักเริ่มต้นที่การคำนวณปริมาณสินค้าคงคลังที่คาดการณ์ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงช่วงเวลาที่ต้องการมีการผลิตเพื่อให้ปริมาณสิค้าคงคลังเพิ่มขึ้น

4.แผนกผลิตของโรงงานแปรรูปอาหารกระป๋องแห่งหนึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงาน 4 งานที่เข้ามาตามลำดับคือ A01,A02,B01 และ B02 แต่ละงานมีข้อมูลเวลาที่ต้องใช้ในการผลิต และเวลาส่งมอบดังตาราง
จากข้อมูลข้างต้น จงจัดลำดับงานโดยใช้วิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้พร้อมวัดประสิทธิผลของการจัดลำดับงาน และสรุปว่ากิจการควรใช้การจัดลำดับงานด้วยวิธีใดจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


4.1 การจัดลำดับงานแบบมาก่อนบริการก่อน
ตอบ จากโจทย์


1) เวลาเฉลี่ยของงานที่อยู่ในระบบ             =  ผลรวมของเวลาเสร็จ
                                                                              จำนวนงาน
                                                                  = 32     = 8 วัน
                                                                      4
2) จำนวนงานเฉลี่ยในระบบ                       ผลรวมของเวลาเสร็จ
                                                              ผลรวมของเวลาที่ใช้ในการผลิต
                                                                 = 32     = 2.13 งาน
                                                                    15
3) เวลาล่าช้าเฉลี่ยต่องาน                         = ผลรวมของเวลาล่าช้า
                                                                            จำนวนงาน
                                                                 = 9      = 2.25 วัน
                                                                    4              
4) จำนวนงานล่าช้า                                  = 2 งาน
5) งานที่ล่าช้า งาน B01 และ B02

4.2 การจัดลำดับงานแบบทำงานที่ใช้เวลาน้อยที่สุดก่อน
ตอบ จากโจทย์



ประสิทธิผลของการจัดแบบทำงานที่ใช้เวลาน้อยที่สุดก่อน
1) เวลาเฉลี่ยของงานที่อยู่ในระบบ              =  27        = 6.75 วัน
                                                                            4
2) จำนวนเฉลี่ยในระบบ                                =   27        =   1.80 งาน
                                                                            15
3) เวลาล่าช้าเฉลี่ยต่องาน                            =   6         = 1.5   วัน
                                                                             4
4) จำนวนงานล่าช้า                                      =  1 งาน
5) งานที่ล่าช้าคือ B02

4.3 การจัดลำดับงานแบบทำงานที่มีวันกำหนดส่งก่อน
ตอบ จากโจทย์



ประสิทธิผลของการจัดแบบทำงานที่มีวันกำหนดส่งก่อน
1) เวลาเฉลี่ยของงานที่อยู่ในระบบ            =  28       =  7 วัน
                                                                            4
2) จำนวนเฉลี่ยในระบบ                              =  28        = 1.86 งาน
                                                                           15
3) เวลาล่าช้าเฉลี่ยต่องาน                          6           = 1.5 วัน
                                                                           4
4) จำนวนงานล่าช้า                                    = 1 งาน
5) งานที่ล่าช้าคือ B02

4.4 การจัดลำดับงานแบบทำงานที่ใช้เวลามากที่สุดก่อน
      ตอบ จากโจทย์


ประสิทธิผลของการจัดแบบทำงานที่ใช้เวลามากที่สุดก่อน
1) เวลาเฉลี่ยของงานที่อยู่ในระบบ                    = 48        = 12 วัน
                                                                                   4
2) จำนวนเฉลี่ยในระบบ                                      = 48        = 3.20 งาน
                                                                                  15
3) เวลาล่าช้าเฉลี่ยต่องาน                                  = 25        = 6.25 วัน
                                                                                   4
4) จำนวนงานล่าช้า                                            = 3 งาน
5) งานที่ล่าช้าคือ A02,B01 และ A01

ผลการจัดลำดับงาน ทั้ง 4 วิธีสามารถสรุปได้ดังตารางดังต่อไปนี้

จากตารางการเปรียบเทียบผลการจัดลำดับงานทั้ง 4 วิธีนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่าวิธีการจัดลำดับงานแบบทำงานที่ใช้เวลาน้อยที่สุดก่อนจะได้ผลดีกว่าการจัดลำดับการทำงานด้านอื่นๆ

5.ให้อธิบายกระบวนการควบคุมการปฏิบัติการ
ตอบ กระบวนการควบคุมการปฏิบัติการ เป็นกระบวนการเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผลการปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ โดยกระบวนการควบคุมประกอบด้วย ขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานการวัดผลการปฏิบัติ การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติ และการแก้ไข

หน่วยที่ 5 การจัดการห่วงโซ่แห่งอุปทานในธุรกิจการเกษตร
1.ให้อธิบายความหมายของห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจการเกษตร
ตอบ ห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจการเกษตร หมายถึง เครือข่ายหรือกิจกรรมที่องค์การของกิจการ จัดให้มีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการแสวงหาปัจจัยการผลิตป้อนเข้าสู่การปฏิบัติการของกิจการ ตลอดจนการส่งมอบสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า

2.อธิบายขอบเขตของการจัดการห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจการเกษตร
ตอบ การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะต้องมีการพยากรณ์และวางแผนความต้องการ การจัดการด้านการจัดซื้อการขนส่ง การจัดการสินค้าคงคลัง การปฏิบัติการ การตลาดและบริการ การสื่อสารและสารสนเทศ

3.ให้อธิบายลักษณะของสินค้าเกษตรที่ส่งผลต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ตอบ  ลักษณะสินค้าเกษตรที่มีผลต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (คำตอบ ตอบไว้แล้ว)

4.ให้อธิบายประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ตอบ บรรจุภัณฑ์มีประโยชน์ต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจการเกษตรหลายประเด็น ได้แก่
1.การบรรจุรวมสินค้าเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายและวางจำหน่าย
2.การเก็บรักษาคุณภาพสินค้าเกษตร
3.ประหยัดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
4.สามารถสื่อสารถึงลูกค้าโดยการดึงดูดความสนใจ และให้ข้อมูลต่างๆ
5.ให้อธิบายขั้นตอนการให้บริการลูกค้าเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ตอบ ขั้นตอนของการให้บริการลูกค้าสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระยะ คือ กิจกรรมก่อนทำธุรกรรม กิจกรรมในระหว่างการทำธุรกรรม และกิจกรรมหลังการทำธุรกรรม

ระยะที่ 1 กิจกรรมก่อนการทำธุรกรรม
1.การกำหนดนโยบายการให้บริการลูกค้า
2.การสื่อนโยบายการให้บริการสู่ลูกค้า
3.การจัดองค์การเพื่อการบริการลูกค้า
4.การให้บริการก่อนการขาย

ระยะที่ 2 กิจกรรมในระหว่างการทำธุรกรรม
1.การให้ข้อมูลสินค้าและการสั่งซื้อ
2.การจัดการรอบการสั่งซื้อของลูกค้า
3.การจัดการสินค้าคงคลัง
4.การจัดส่งสินค้า

ระยะที่ 3 กิจกรรมหลังการทำธุรกรรม
1.การบริการหลังการขาย
2.การติดตามลูกค้า
3.การจัดการระบบรับคำร้องเรียนและข้อแนะนำ

6.ให้อธิบายรอบเวลาการสั่งซื้อของลูกค้า
ตอบ รอบเวลาการสั่งซื้อของลูกค้ามี 6 ขั้นตอน คือ
1.การเตรียมและส่งต่อคำสั่งซื้อของลูกค้า
2.การรับและบันทึกคำสั่งซื้อของลูกค้า
3.การประมวลผลคำสั่งซื้อของลูกค้า
4.การคัดเลือกและจัดสินค้าเพื่อเตรียมการขนส่ง
5.การขนส่งสินค้า
6.ลูกค้ารับสินค้าและนำเข้าสถานที่เก็บ
ขั้นตอนที่ใช้เวลาอยู่ในกิจกรรมนั้นคือ ขั้นที่ 2-4 ส่วนขั้นที่ 5 เป็นการดำเนินงานของกิจการเองหรือบริษัทขนส่งสินค้า และขั้นตอนที่ 1 กับ 6 เป็นขั้นตอนการจัดการภายในของลูกค้า

7.ให้อธิบายระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้กำหนดเป็นมาตรฐาน ในการส่งผ่านข้อมูลจะยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาประมวลข้อมูลขององค์การได้โดยตรง และมีประโยชน์ในการลดขั้นตอนการจัดซื้อและการจำหน่าย ลดเวลาและต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร

8.ให้อธิบายระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานคือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนโดยผนวกรวม แบบจำลองในด้านวิจัยการดำเนินงาน และการวิเคราะห์เชิงปริมาณเข้าไว้ในระบบ ช่วยให้การตัดสินใจมีน้ำหนักมากขึ้นเพราะไม่ได้เป็นการตัดสินใจแบบเดาสุ่มแต่อยู่บนพื้นฐานของวิชาการด้านวิทยาการจัดการ ซึ่งระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1.ข้อมูลป้อนเข้า 2.ซอฟท์แวร์ 3.ฮาร์ดแวร์ 4.ผู้ใช้ระบบ

หน่วยที่ 6 การจัดการโลจิสติกส์ในธุรกิจการเกษตร
1.จงระบุองค์ประกอบของการจัดการโลจิสติกส์ในธุรกิจการเกษตรและอธิบายโดยสังเตอบ องค์ประกอบของการจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย
1.การจัดหาวัตถุดิบ
2.การจัดการสินค้าคงคลัง
3.การจัดการคลังสินค้า
4.การจัดการขนส่ง
5.การจัดการความสัมพันธ์ในห่วงโซ่อุปทาน
กิจกรรมต่างๆนั้น เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตจากจุดเริ่มต้นไปยังลูกค้าปลายทางหรือแหล่งบริโภคสินค้าซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าต่อสินค้าเกษตร

2.จะระบุวัตถุประสงค์ในการวางแผนความต้องการวัตถุดิบของธุรกิจ
ตอบ ธุรกิจมีการวางแผนความต้องการวัตถุดิบเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในด้านต่างๆ คือ
1.เพื่อให้การจัดซื้อวัตถุดิบมีต้นทุนต่ำที่สุด
2.เพื่อให้วัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการมีคุณภาพดีตรงตามความต้องการมากที่สุดและใช้ในกระบวนการผลิตได้ทันที
3.เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพตามที่กำหนด ซึ่งส่งผลต่อระดับความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

3.จงระบุข้อควรพิจารณาในการจัดซื้อจัดหาขององค์การธุรกิจการเกษตร
ตอบ ข้อควรพิจารณาในการจัดซื้อจัดหาขององค์การธุรกิจการเกษตร มีดังนี้
1.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัดซื้อจัดหาในธุรกิจการเกษตร เช่น ฝ่ายจัดซื้อ หน่วยงานต่างๆภายในองค์กร ผู้ผลิตวัตถุดิบ พ่อค้าคนกลาง ลูกค้าขององค์กร
2.ระบบการติดต่อประสานงานในกิจกรรมการจัดซื้อจัดหาในธุรกิจการเกษตร เช่น การซื้อปุ๊ย และอุปกรณ์ทางการเกษตร
3.ปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดหาสินค้าเกษตรและแนวทางการแก้ไข
4.กลยุทธ์ในการบริหารการจัดซื้อจัดหา
5.การบริหารความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์

4.องค์องค์ประกอบของสินค้าคงคลังได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ได้แก่
1.สินค้าที่ผลิตตามปกติในรอบการผลิต
2.สินค้าสำรองเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock)
3.สินค้าและวัตถุดิบระหว่างการผลิต  

5.ถ้าต้องการเก็บสินค้าเกษตรประเภทพืชไร่ จะเลือกใช้คลังสินค้าได้กี่รูปแบบ อะไรบ้าง
ตอบ  3 รูปแบบ คือ
1.โกดังหรือยุ้งฉาง
2.โรงคลุม
3.ไซโล

6.จงระบุหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาเลือกใช้พาหนะในการขนส่งสินค้าเกษตร
ตอบ หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาเลือกใช้พาหนะในการขนส่งสินค้าเกษตรคือ
1.อัตราการเน่าเสียของสินค้า และความต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษ
2.ปริมาณของสินค้าที่ต้องการขนส่ง
3.ระยะทางในการขนส่ง
4.ความเร่งด่วนในการส่งมอบสินค้า
หน่วยที่ 7 การบริหารคุณภาพในธุรกิจการเกษตร
1.การบริหารคุณภาพ หมายถึงอะไร
ตอบ การบริหารคุณภาพ หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ท่ำงานประสานกัน เพื่อชี้นำและควบคุมองค์การ โดยคำนึงถึงคุณภาพ ซึ่งการชี้นำและควบคุมองค์การนั้นกระทำโดยผ่านการกำหนดนโยบายและเป้าหมายคุณภาพการควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการปรับปรุงคุณภาพ ทั้งนี้คำว่าคุณภาพนั้น มีความหมายถึงการสร้างความพึงพอใจให้กับ ลูกค้าผ่านสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า รวมทั้งการปรับปรุงความสามารถขององค์การให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์การเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

2.การบริหารคุณภาพมีพื้นฐานสำคัญ 3 ส่วน อะไรบ้าง และจงอธิบายโดยสังเขป
ตอบ พื้นฐานสำคัญมี 3 ส่วน คือ
1.การวางแผนคุณภาพ เป็นการกำหนดวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน ต้องทราบเป้าหมายก่อนว่าต้องการอะไร แล้วใช้เป้าหมายนั้นเป็นแนวทางในการกำหนดวิธีปฏิบัติ วางแผน และการกำหนดจุดควบคุมที่มีผลต่อเป้าหมาย
2.การควบคุมคุณภาพ เป็นกระบวนการที่ปฏิบัติเพื่อให้ผลลัพธ์ของกระบวนการเป็นไปตามเป้าหมาย ได้แก่ การตรวจวัดจุดควบคุมต่างๆ  
3.การปรับปรุงคุณภาพ เป็นกระบวนการเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่มีขีดจำกัด

3.จงอธิบายมาตรฐาน ISO 9000 โดยสังเขป
ตอบ ISO 9000:2000 เป็นข้อกำหนดมาตรฐานใช้ได้ทั้งการผลิตสินค้าและการให้บริการ เป็นระบบ บริหารคุณภาพ เป็นหลักพื้นฐานในการบริหารคุณภาพ โดยหลักการบริหารมีหลักการสำคัญ 8 ประการ คือ 1.การมุ่งเน้นลูกค้า 2. ความเป็นผู้นำของผู้บริหารองค์การ 3.การมีส่วนร่วมของพนักงาน 4.การบริหารโดยวิธีของกระบวนการ 5.การบริหารงานอย่างเป็นระบบ 6.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 7.การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง 8. ความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

4.จงอธิบายการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) โดยสังเขป
ตอบ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี คือแนวทางปฏิบัติในระบบการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ทำให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการจัดการในการผลิตในขั้นต้น เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด ข้าวโพดอาหารสัตว์ และจัดการฟาร์ม

5.จงอธิบายการการปฏิบัติการผลิตอาหารที่ดี (GMP) โดยสังเขป
ตอบ การปฏิบัติการผลิตอาหารที่ดี เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์พื้นฐานด้านสุขลักษณะอาหารเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อเรียกว่า การปฏิบัติการผลิตอาหารที่ดี โดยกำหนดไว้ เป็นกฎหมายเพื่อควบคุมผู้ผลิตอาหารซึ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย

6.จงอธิบายการวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (HACCP) โดยสังเขป
ตอบ การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤติ HACCP คือ ระบบหรือหลักการปฏิบัติเพื่อการควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าอาหาร มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ 1.การวิเคราะห์อันตราย เพื่อระบุขั้นตอนวิกฤติ 2. การควบคุมอันตราย เพื่อกำหนดวิธีการควบคุมอันตรายไม่ให้ส่งผลกระทบที่ทำให้อาหารไม่ปลอดภัย



หน่วยที่ 8 การจัดการโครงการในธุรกิจการเกษตร
1.โครงการที่ดีควรมีลักษณะพิเศษอย่างไร
ตอบ โครงการที่ดีควรมีลักษณะพิเศษ ดังนี้
1.มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2.มีความเป็นอิสระในการดำเนินการ
3.มีขอบเขตของการดำเนินงานที่ชัดเจน
4.มีระยะเวลาที่แน่นอน
5.มีกำหนดการที่แน่นอน

2.ปัจจัยแวดล้อม 4 ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการโครงการ ตามทัศนะของเมย์เลอร์ ประกอบไปด้วยปัจจัยใดบ้าง
ตอบ ปัจจัยแวดล้อม 4 ปัจจัย ประกอบด้วย
1.ความสลับซับซ้อน
2.ความสมบูรณ์
3.การแข่งขัน
4.ความต้องการของลูกค้า

3.อธิบายการวิเคราะห์โครงการจากการวิเคราะห์ด้านการเงินและการลงทุนโดยวิธีการวิเคราะห์การปรับค่าของเวลามาพอสังเขป
ตอบ การวิเคราะห์ด้านการเงินและการลงทุน การศึกษาโครงการที่นำเสนอมีความคุ้มค่าหรือไม่ โดยพิจารณาถึงผลประโยชน์ตอบแทน และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อนำมาเปรียบเทียบในการตัดสินใจเลือกโครงการที่เหมาะสมมากที่สุด การพิจารณาตัดสินใจนั้นจะเลือกโครงการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนมากที่สุด แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หรือโครงการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่าค่าใช้จ่าย วิธีการวิเคราะห์โดยการปรับค่าของเวลา เป็นการพิจารณามูลค่าของเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาโดยมูลค่าของเงินมีแนวโน้มลดลง

4.การจัดโครงสร้างองค์กรแบบเน้นโครงการหรือเน้นผลิตภัณฑ์มีลักษณะอย่างไรและมีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง
ตอบ การจัดโครงสร้างองค์กรแบบเน้นโครงการหรือเน้นผลิตภัณฑ์ มีลักษณะเป็นรูปแบบที่ได้พัฒนาเพื่อการแก้ไขข้อเสียของรูปแบบองค์การแบบเน้นหน้าที่ โดยที่องค์การแบบเน้นโครงการนั้นจัดตั้งโครางการขึ้นมาเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การ ผู้จัดการโครงการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบรวมถึงบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโครงการ มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการโดยตรง โดยไม่ต้องทำงานด้านอื่น
ข้อดี
1.ผู้จัดการโครงการได้รับมอบอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่
2.เป็นการง่ายต่อการตัดสินใจของผู้บริหารที่จะล้มเลิกโครงการที่ไม่สงผลตามความต้องการ
3.การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
4.ผู้บริหารระดับสูงมีเวลาเพียงพอที่จะทำการตัดสินใจปัญหาสำคัญๆขององค์การ
5.ให้ความยืดหยุ่นหรือคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลา
ข้อเสีย
1.ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
2.มีแนวโน้มที่องค์การจะต้องจ้างบุคลากรไว้ในโครงการหลังจากที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้บุคลากรแล้ว
3.ขาดการแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญระหว่างโครงการ

5.การอำนวยการโครงการให้ได้ผลตามต้องการต้องอาศัยส่วนประกอบสำคัญใดบ้าง
ตอบ การอำนวยการโครงการให้ได้ผลตามต้องการ ต้องอาศัยส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1.ภาวะผู้นำ
2.การจูงใจ
3.การติดต่อสื่อสาร
4.การประสานงาน
6.การควบคุมโครงการมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ การควบคุมโครงการมีความสำคัญคือ การดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เป็นการควบคุมให้เกิดการกระทำที่เป็นไปตามแผน หลักการและคำสั่งที่กำหนด ช่วยให้เห็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องเพื่อการแก้ไขป้องกัน ครอบคลุมถึงบุคคล สิ่งของ การปฏิบัติงานในองค์การ การบริหารโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทีต้องการ

7.อธิบายขั้นตอนกระบวนการการประเมินผลโครงการตามทัศนะของซัชแมนมาพอเข้าใจ
ตอบ  ขั้นตอนกระบวนการการประเมินผลตามทัศนะของซัชแมน ได้เสนอวงจรหรือวัฎจักรของการประเมิน ดังนี้
1.การกำหนดคุณค่า เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการที่จะได้รับจากการประเมินผล
2.การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาวัตถุประสงค์ของโครงการ
3.การกำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัด เป็นการใช้เกณฑ์ทางวิชาการในการแปลวัตถุประสงค์ของโครงการ
4.การวางแผนดำเนินงาน คือ การพิจาณาแผนการประเมินผล
5.การรวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ
6.การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

หน่วยที่ 9 ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
1.เป้าหมายการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีกี่ประเด็นอะไรบ้าง
ตอบ มี 3 ประเด็น คือ
1.การสร้างความมั่นใจให้พนักงานรับรู้ว่า องค์กรสามารถอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอ
2.ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพ ให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
3.มีความชอบธรรมทางสังคม

2.กลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีขั้นตอนกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.ความเข้าใจและเข้าไปมีส่วนร่วมกับการกำหนดแผนกลยุทธ์ขององค์กร
2.กำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจของฝ่ายพัฒนาบุคลากร
3.กำหนดกลยุทธ์ของตัวบุคลากร
4.กำหนดแผนงาน
5.กำหนดตัวชี้วัดผลงาน
6.กำหนดแนวทางในการจัดทำรายงาน
7.จัดทำแผนการดำเนินงาน

3.ปัจจัยที่กำหนดความต้องการแรงงานในธุรกิจการเกษตรประกอบด้วย ปัจจัยอะไรบ้าง
ตอบ ปัจจัยที่กำหนดความต้องการแรงานในธุรกิจการเกษตร ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลิตของภาคเกษตร และจะเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรามากขึ้น
2.ในอนาคตภาคการผลิตในภาคเกษตรจำเป็นต้องพิจารณาเลือกใช้ปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ หรือเลือกใช้เทคโนโลยีในระดับที่ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดการผลิต
3.ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาความต้องการของตลาด
4.การแข่งขันการค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี
5.ในภาคการผลิตทางการเกษตร จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์
6.มีการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ และเครือข่ายการผลิตในระดับกิจกการขนาดใหญ่
7.การผลิตต้องถูกนำด้วยการตลาด และเน้นอาหารปลอดภัย,มีการตรวจสอบย้อนหลัง,การผลิตที่ต้องรักษาสภาพแวดล้อม และพลังงานทดแทน

4.แนวคิดการจัดองค์กรบริหารธุรกิจยุคใหม่ มีลักษณะอย่างไร
ตอบ แนวคิดการจัดองค์กรบริหารธุรกิจยุคใหม่ มีลักษณะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.คณะกรรมการผู้ถือหุ้น จะเป็นผู้กำหนดนโยบายและเป้าหมายของธุรกิจและถือเป็นการปฏิบัติภารกิจขั้นสูงสูดขององค์กรธุรกิจ
2.คณะกรรมการบริหาร จะเป็นผู้สนองตอบนโยบายธุรกิจของคณะกรรมการผู้ถือหุ้นในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจ
3.ผู้จัดการฝ่ายจะเป็นพนักงานระดับผู้บริหารในองค์กรธุรกิจ ดำเนินการปฏิบัติภารกิจภายใต้การบังคับบัญชาของคณะกรรมการบริหาร มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองตอบต่อนโยบายที่คณะกรรมการผู้ถือหุ้นกำหนดไว้

5.สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรระหว่างประเทศได้แก่ สถาบันใดบ้างให้อธิบายโดยสรุป
ตอบ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรระหว่างประเทศ มีดังนี้
     1.กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษภายใต้สหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์คือ เกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม ต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ และส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
     2.องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีงานสำคัญของสหประชาชาติ คือ ความปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแร่มนุษยชนตลอดทั่วโลก
     3.องค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชน

หน่วยที่ 10 การวางแผน การสรรหาและการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
1.การวางแผนทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญอย่างไรในธุรกิจเกษตร
ตอบ ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร คือ
1.ทำให้องค์การธุรกิจการเกษตรได้บุคลากรที่ตรงกับงานในเวลาที่ต้องการ
2.กำลังคนมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทีเปลี่ยนแปลงไป
3.สามารถปรับกำลังคนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจได้
4.กำหนดทิศทางในการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ได้
    
2.เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตรมีกี่วิธี อธิบายอย่างละเอียดมา 3 วิธี
ตอบ เทคนิคการพยากรณ์ทรัพยากรในธุรกิจการเกษตรมี 9 วิธี เช่น
1.เทคนิคการวิเคราะห์งบประมาณและการวางแผนขององค์การ เป็นเทคนิคการพยากรณ์ทรัพยากรมนุษย์ที่นิยมใช้กันมาก การวิเคราะห์งบประมาณขององค์การจะทำให้องค์การทราบถึงแผนงบประมาณการเงินว่าเป็นอย่างไร และมีงบประมาณการเงินขององค์การเมื่อนำเข้ามาวิเคราะห์รวมกับข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงของแรงงาน
2.เทคนิคการวิเคราะห์การลงทุน เป็นเทคนิคการพยากรณ์ทรัพยากรมนุษย์โดยใช้เปรียบเทียบกับองค์การหรือธุรกิจอื่นที่คล้ายคลึงกันและมีขนาดขององค์การใกล้เคียงกัน
3.เทคนิคการพยากรณ์โดยการจำลองแบบ  เทคนิคการพยากรณ์โดยการจำลองแบบเป็นเทคนิคการพยากรณ์ที่ใช้สำหรับการทดลองให้เหมือนกับสถานการณ์ที่เป็นจริง โดยใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อการจำลองแบบแทนสถานการณ์จริง โดยเป็นสถานการณ์ที่เป็นนามธรรม การจำลองแบบตามสถานการณ์จริงเป็นความพยายามที่จะให้เหมือนกับสถานการณ์จริงที่คาดว่าจะมีกิจกรรมและการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์เกิดขึ้นจริงในอนาคตได้ เทคนิคการพยากรณ์โดยการจำลองแบบมีส่วนช่วยเหลือเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สามารถจำลองการณ์ต่างๆ เกี่ยวข้องกับการทรัพยากรมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้น

3.วิธีการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์การ มีวิธีใดบ้าง และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ตอบ วิธีการสรรหาทรัพยากรมนุษย์มี 2 วิธี คือ
1.การสรรหาบุคลากรภายในองค์การ
2.การสรรหาบุคลากรภายนอกองค์การ
ข้อดี ของการสรรหาบุคลากรจากบุคคลภายในองค์การ คือ การสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์การ
ข้อเสีย ได้แก่ องค์การจะไม่ได้บุคลากรที่มีความเหมาะสมที่สุดกับตำแหน่งงาน ขาดแคลนบุคลากรในระยะยาว การไม่ยอมรับของพนักงานด้วยกันและขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในหน่วยงาน

4.การคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตรโดยอาศัยระบบคุณธรรม ประกอบด้วยหลักเกณฑ์อะไรบ้าง
ตอบ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม มี 4 หลักคือ
1.หลักความเสมอภาค
2.หลักความสามารถ
3.หลักความมั่นคง
4.หลักความเป็นกลางทางการเมือง


5.การทดสอบเพื่อคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์มีการทดสอบด้านใดบ้าง
ตอบ การทดสอบเพื่อคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์มีการทดสอบ ดังนี้
     1.การทดสอบทางจิตวิทยา
     2.การทดสอบความรู้
     3.การทดสอบการปฏิบัติงาน
     4.การทดสอบกราฟการตอบสนอง
     5.การทดสอบทัศนคติ
     6.การทดสอบทางการแพทย์

หน่วยที่ 11 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
1.อธิบายกระบวนการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาพอสังเขป
ตอบ กระบวนการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการดำเนินการที่เป็นลำดับขั้นตอน ตามแนวคิดของ แรนดี้ แอล เดสสิโมเน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1.การประเมินความต้องการ มุ่งลดช่องว่างภายในองค์การ และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเช่นความไร้ประสิทธิภาพ ผลงานของพนักงานตกต่ำ มีคู่แข่งเข้ามาใหม่ การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดความท้าทาย
2.การออกแบบ เป็นขั้นการประเมินความต้องการ กำหนดความต้องการสามารถกำหนดได้อย่างถูกต้องเพื่อให้วัตถุประสงค์ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยในการกำหนดแผนการเรียนรู้ยิ่งขึ้น
3.การนำไปปฏิบัติ มีการกำหนดเป้าหมายและความต้องการการออกแบบมาดีมากเพียงไรก็ตามถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ไม่มีประโยชน์
4.การประเมินผล ขั้นนี้จะช่วยวัดผลและตรวจสอบความสำเร็จของการพัฒนาได้ผลตามความต้องการ

2.ระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วยสิ่งใด อธิบายพอเข้าใจ
ตอบ ระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย หน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ที่สำคัญ คือ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายสำนักงาน และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะประกอบด้วยหน่วยงานย่อยๆ เช่น การคัดเลือกและสรรหา หน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะให้ได้ผลดีต้องศึกษาความต้องการให้แน่ชัด เพื่อเป็นการกำหนดนโยบายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากร

3.ผู้บริหารองค์กรมีความสำคัญอย่างไร และแบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง อธิบาย
ตอบ ผู้บริหารองค์กรแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จและล้มเหลวขององค์การโดยตรง มีหน้าที่กำหนดเป้าหมายและชี้นำทิศทาง ตลอดจนการตัดสินใจ ซึ่งมีผลต่อองค์การ
2.ผู้บริหารระดับกลาง เป็นผู้ที่คอยเชื่อมระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับต้น มีหน้าที่ในการแปรวิสัยทัศน์และพันธะกิจจากผู้บริหารระดับสูงมาสู่ระดับต้น
3.นักบริหารระดับต้นหรือหัวหน้างาน มีความใกล้ชิดกับพนักงาน มีหน้าที่ในการกำกับ ควบคุม และมอบหมายงาน สื่อสารจูงใจพนักงานให้ทำงานเป็นทีมและทำงานอย่างเต็มศักยภาพ

4.ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบมืออาชีพควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบมืออาชีพ มีลักษณะดังนี้
1.Brain มีการวางแผน คิดเป็น สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
2.Eyes มีสายตาที่แหลมคมมองการณ์ไกล มีความสามารถในการทำนายอนาคตที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อองค์กร
3.Ears รับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง กลั่นกรองข้อมูลข่าวสารต่างๆ
4.Mouth มีความเก่งคนโดยเฉพาะปิยวาจาในการเจรจา
5.Lung มีจริยธรรม
6.Heart มีจิตใจที่มีความเมตตา
7.Stomach มีการเลือกย่อย
8.Hands เก่งงาน ทำมากกว่าพูด
9.Briefcase สามารถใช้เทคโนโลยีและหาแหล่งข้อมูล
10.Feet เป็นคนที่มีการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
11.Vehicle เลือกใช้ พาหนะที่เหมาะสม

5.อธิบายหลักการของการฝึกอบรมมาพอสังเขป
ตอบ หลักการของการฝึกอบรมนั้นจะให้บรรลุผลตามต้องการจะต้องจัดการฝึกอบรมและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องยึดหลักการที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.หลักการเสริมสร้างภาวะสมอง การเปิดโอกาสให้ผู้รับการฝึกอบรมมีโอกาสแสดงความคิดเห็น รู้จักการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
2.หลักการเสริมสร้างความเชื่อถือและศรัทธาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
3.หลักการรักษาระดับความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้อยู่ในระดับสูงอยู่เสมอ
4.หลักการเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีในประเด็นหัวข้อต่างๆ
5.หลักการสร้างความเข้าใจในประเด็นที่จะฝึกอบรม

6.เทคนิคการฝึกอบรมด้วยวิธีการบอกกล่าวมีความแตกต่างจากวิธีการกระทำอย่างไร
ตอบ เทคนิคการฝึกอบรมด้วยการบอกกล่าวนั้น วิทยากรจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการอธิบายหรือถ่ายทอดความรู้ทักษะหรือประสบการณ์วิทยากรเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้ เช่น การบรรยาย การสัมมนา เป็นต้น ส่วนวิธีการกระทำ เป็นวิธีที่ให้ความสำคัญกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลางผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้ลงมือกระทำการต่างๆเองโดยอยู่ภายใต้การดูแลของวิทยากรซึ่งอธิบายให้เข้าใจแล้วจึงลงมือกระทำจากการชี้แนะของวิทยากร
7.บอกความหมายของการศึกษาและการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดอยู่ในรูปแบบใด
ตอบ การศึกษา หมายถึงกระบวนการพยายามที่จะทำให้พนักงานพัฒนาด้านความสามารถ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์การ ซึ่งการให้การศึกษาอาจจะกระทำได้ตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง การศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการศึกษานอกระบบ ไม่จำกัดอายุและวิชาที่ต้องศึกษา ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเอง ซึ่งอาจมีผู้สอนก็ได้ในบางครั้ง เป็นการศึกษาระบบทางไกล

8.อธิบายกระบวนการการจัดการความรู้มาพอเข้าใจ
ตอบ กระบวนการจัดการความรู้นั้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ
1.Define เป็นการกำหนดประเภทของทุนทางปัญญาหรือความรู้เพื่อตอบสนองกลยุทธ์หรือการหาองค์ความรู้หลักๆ
2.Create เป็นการศึกษาเพิ่มเติม การสอนงาน การหาจากแหล่งภายนอก
3.Capture หมายถึงการเสาะหาและการจัดเก็บความรู้ในองค์การให้เป็นระบบ
4.Share เป็นการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เผยแพร่ กระจาย ถ่ายโอนความรู้
5.Use เป็นการใช้ประโยชน์ การนำไปประยุกต์ใช้งาน ทำให้เกิดประโยชน์และขยายขีดความสามารถ

หน่วยที่ 12 การบริหารผลิตภาพของทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
1.ให้อธิบายความหมายของการบริหารผลิตภาพของทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
ตอบ ความหมายของการบริหารผลิตภาพของทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร หมายถึง การมุ่งเน้นประสิทธิภาพ เพื่อให้ทราบได้ว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพียงใด ไม่มุ่งเฉพาะการใช้ทรัพยากร การบริหารผลิตภาพนั้นจึงมุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลพร้อมกัน ทรัพยากรมนุษย์มีผลิตภาพที่ดีย่อมส่งผลให้ผลิตภาพขององค์การโดยรวมดีไปด้วย หากองค์การธุรกิจการเกษตรมีระบบการบริหารผลิตภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่ดีแล้วนอกจากจะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบในการแข่งขันแล้วยังมีความสำคัญต่อฝ่ายอื่นๆ อีกด้วย

2.ให้อธิบายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารผลิตภาพของทรัพยากรมนุษย์
ตอบ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารผลิตภาพของทรัพยากรมนุษย์นั้นแบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือ
1.ปัจจัยส่วนบุคคล มีความแตกต่างกันตามภูมิหลังหรือองค์ประกอบด้านต่างๆ เช่น ลักษณะทางกาย ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ ภูมิหลัง ความฉลาดและเชาว์ปัญญา
2.ปัจจัยด้านงาน มีความแตกต่างกันในเนื้องาน ซึ่งงานมีความหลากหลายและมีความน่าสนใจแตกต่างกัน
3.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพเช่น สิ่งแวดล้อมทางกายภาพในที่ทำงาน สิ่งแวดล้อมทางสังคมของงาน

3.ให้สรุปแนวคิดทางทฤษฎีภาวะผู้นำ
ตอบ แนวคิดทางทฤษฎีภาวะผู้นำนั้น ในสังคมย่อมมีบุคคลที่แตกต่างกัน บางคนสามารถทำหน้าที่ผู้นำได้ดี และบางคนก็ไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ และมีการแบ่งภาวะผู้นำไว้ 4 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มทฤษฎีลักษณะเด่นของผู้นำ 2)กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ 3)กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ 4)กลุ่มทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ลักษณะผู้นำที่ประสบความสำเร็จคือลักษณะที่ได้รับการยอมรับจากผู้ตาม และบรรดาคนรอบข้าง ซึ่งลักษณะสำคัญนั้น ได้แก่ ความมุ่งมั่น ความเชื่อมั่นในตนเอง ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิด ความรู้ความเข้าใจต่อธุรกิจ ความสามารถในการจูงใจคน ความยืดหยุ่น และความซื่อสัตย์โปร่งใส
4.ให้อธิบายแนวทางและรูปแบบการสื่อสารภายในองค์การ
ตอบ แนวทางและรูปแบบการสื่อสารภายในองค์การนั้นสามารถถ่ายทอดทั้งจากผู้นำระดับสูงไปสู่พนักงานระดับปฏิบัติการ หรือจากระดับปฏิบัติการสู่ผู้บริหารระดับสูง และการสื่อสารในระดับเดียวกัน การสื่อสารนั้นสามารถถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจตรงกันได้โดยวิธีพื้นฐาน ได้แก่ การสื่อสารด้วยถ้อยคำโดยการพูด การเขียน และการสื่อสารโดยที่ไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น การแสดงอากัปกริยา น้ำเสียง แววตา สีหน้า เป็นต้น

5.ให้สรุปแนวคิดทางทฤษฎีการจูงใจและการประยุกต์
ตอบ แนวคิดทางทฤษฎีการจูงใจและการประยุกต์ เป็นการศึกษาเพื่ออธิบายถึงสาเหตุของการเกิดแรงจูงใจ กระบวนการผลักดันให้เกิดแรงจูงใจ และจะสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้นได้อย่างไร การศึกษาวิจัยด้านการจูงใจมีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับจนมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งสามารถแบ่งทฤษฎีการจูงใจที่สำคัญออกเป็น 2 ช่วง คือ กลุ่มทฤษฎีในยุคต้น และกลุ่มทฤษฎียุคปัจจุบัน

6.ให้อธิบายการบริหารค่าตอบแทนทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
ตอบ การบริหารค่าตอบแทนทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตรนั้นคือ กระบวนการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับงานในธุรกิจการเกษตร โดยคลอบคลุมในเรื่อง การกำหนดนโยบาย การวางแผนการจัดระบบงาน และการควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้ค่าตอบแทน ซึ่งอาจเป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
หน่วยที่ 13 การประเมินทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
1.การแบ่งประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงานใช้เกณฑ์ใดในการแบ่งและแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ เกณฑ์ในการแบ่งประเภทการประเมินผลการปฏิบัติงานมี 2 เกณฑ์ คือ
1)เกณฑ์ด้านวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือการนำผลการประเมินการปฏิบัติงานไปใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และแบ่งประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ 4 ประเภทคือ
     1.การประเมินเพื่อการบรรจุเข้าทำงาน เป็นพนักงานประจำหลังจากการทดลองงาน และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับองค์การ ปรับตัวเข้ากับผู้บังคับบัญชา ทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานและความเหมาะสม
     2.การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความสามารถในการทำงาน การขึ้นเงินเดือนประจำปี
     3.การประเมินผลในช่วงการรักษาการในตำแหน่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของตน
     4.การประเมินขีดความสามารถ ศักยภาพเพื่อการเลื่อนตำแหน่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ พิจารณาความรู้ความสามารถปรับปรุงสิ่งที่ยังบกพร่อง พิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาของพนักงาน และเพื่อวางแผนพัฒนาด้านสายอาชีพ

2)เกณฑ์ด้านกลุ่มเป้าหมายของการประเมิน และสามารถแบ่งผลการประเมินได้ 2 ประเภท คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล และ การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับองค์การ

2.อธิบายขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานมาพอเข้าใจ
ตอบ ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานมีขั้นตอนดังนี้
 1.การกำหนดเป้าหมายของการประเมินผลการปฏิบัติงานฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการต้องเลือกเป้าหมายเฉพาะเจาะจงสำหรับการพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
 2.การกำหนดวิธีการและเกณฑ์ที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงาน คือการพิจารณาเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่าย
 3.การวัดผลการปฏิบัติงาน เป็นการประเมินผลว่าการปฏิบัติงานนั้นได้มาตรฐานที่กำหนดว่าอยู่ในระดับใด
 4.การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นการนำผลของการวัดผลการปฏิบัติงานไปเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดเพื่อประเมินว่าอยู่ในระดับใด
 5.การแจ้งผลการประเมินและการอภิปรายร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน เป็นการนำผลการประเมินมาแจ้งและให้ผู้ปฏิบัติงานได้ชี้แจงหรือทำความเข้าใจเพื่อการปรับปรุงการทำงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์

3.วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่นิยมใช้ในปัจจุบันว่ามีกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะการประเมินอย่างไร
ตอบ วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานที่นิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 วิธีการประเมินผลรายบุคคล
กลุ่มที่ 2 วิธีการประเมินกลุ่ม
กลุ่มที่ 3 วิธีอื่นๆ
ลักษณะการประเมินในกลุ่มที่ 1 วิธีการประเมินรายบุคคลนั้น จะเป็นการประเมิน
บุคคลทีละคนแยกจากกันไม่มีการนำมาเปรียบเทียบกันโดยตรงทันที
ลักษณะการประเมินในกลุ่มที่ 2 วิธีการประเมินกลุ่ม ใช้กับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานหลายคนพร้อมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งอาจจะเรียงลำดับบุคคลหรือวิธีการจัดคู่เปรียบเทียบกัน
ลักษณะการประเมินในกลุ่มที่ 3 วิธีการอื่นๆ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติที่มีลักษณะสอดคล้องสัมพันธ์กับลักษณะงานพิเศษจำเป็นต้องมีรูปแบบวิธีที่เป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น วิธีทดสอบผลงาน วิธีการประเมินแบบสัมภาษณ์เพิ่มเติม
4.อธิบายวิธีแจ้งผลการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบสองมิติ
ตอบ วิธีแจ้งผลการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบสองมิติ หรือ แจ้งแบบปรึกษาหารือ เป็นการสร้างการยอมรับในผลการประเมินตั้งแต่เริ่มต้น ได้ทราบมาตรฐานเป้าหมายของการทำงานปรึกษาร่วมกันช่วยลดข้อขัดแย้งและการเผชิญหน้าได้ในระดับที่สูงมาก วิธีนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน

หน่วยที่ 14 วัฒนธรรมและจริยธรรมขององค์การในธุรกิจการเกษตร
1.วัฒนธรรมองค์การมีกี่ประเภทให้อธิบายแต่ละประเภท
ตอบ  วัฒนธรรมองค์การมมี 4 ประเภท ดังนี้
     1. วัฒนธรรมองค์การแบบเน้นใช้อำนาจ เป็นวัฒนธรรมองค์การที่สะท้อนการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชา พบในสภาพองค์การที่มีการรวมศูยน์อำนาจในการบริหารอยู่ที่ตัวบุคคล โดยรูปแบบวัฒนธรรม ลักษณะแบบนี้ จะพบได้ในองค์การขนาดเล็ก
     2. วัฒนธรรมองค์การแบบที่เน้นใช้บทบาท เป็นวัฒนธรรมองค์การที่มีกระบวนการทำงาน ผ่านตามระบบของสายการบังคับบัญชา มีกฏเกณฑ์ระเบียบต่างๆ เป็นตัวควบคุมกระบวนการทำงานให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
     3. วัฒนธรรมองค์การแบบที่เน้นงาน เป็นวัฒนธรรมที่เน้นผลของงานเป็นหลัก ซึ่งเน้นการทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่ม เครือข่ายอันมีผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง
     4. วัฒนธรรมองค์การ แบบที่เน้นปัจเจกบุคคล เป็นวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการทำงานปัจเจกบุคคล มีการวางระบบ การจัดการ ตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคล
2. กระบวนการกล่อมเกลาทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ อะไรบ้าง
ตอบ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 5 ขั้นตอน คือ
      1. การถ่ายทอดวัฒนธรรม องค์การผ่านระบบการคัดสรร และเลือกบคคลเข้าทำงาน
      2. กระบวนการที่เริ่มพิจารณาทบทวนคุณลักษณะสมาชิกในองค์การตามความเหมาะสม
      3. กระบวนการตอกย้ำ วัฒนธรรมองค์การของสมาชิกใหม่ที่รับเข้ามา และเรียนรู้ปรับตัวให้เข้ากับองค์การในระดับหนึ่ง
      4. กระบวนการเสริมสร้าง วัฒนธรรมองค์การอยู่คู่กับองค์การ และติดตัวไปกับสมาชิกขององค์การ
      6. กระบวนการที่เข้าสู่การผ่องถ่ายโอนวัฒนธรรม องค์การที่รากฝัง อยู่ในสมาชิกแต่ละคนขององค์การ เพื่อไปสู่การรับรู้ของสมาชิกใหม่รุ่นใหม่ ส่งเสริมให้สืบสานวัฒนธรรมได้สืบไป
3. จริยขององค์การ มีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ คือ แนวคิดของการบริหารจัดการองค์การที่อยู่บนพื้นฐานเชิงศิลธรรม คำนึงถึงการกระทำอันเป็นการกระทำที่ดี และการกระทำที่ถูกที่ควร ของการดำเนินกิจการทางธุรกิจ อันส่งผลกระทบต่อกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการที่กำลังดำเนินการอยู่
4. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ สามารถแบ่งได้กี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยบุคคลใดบ้่มาง
ตอบ กลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย กับองค์การทั้งภายในและภายนอกองค์การ สามารถแยกส่วนการวิเคราะห์กลุ่มดังกล่าว ออกเป็น 2 ส่วน 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นปฐมภูมิ ได้แก่ กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับผลประโยชน์ขององค์การ 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุติยภูมิได้แก่ กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ดับผลประโยชน์ขององค์การ อย่างไม่เป็นทางการ โดยเป็นกลุ่มสังคมที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ
5. วิธีเสริมสร้างจริยธรรมในองค์การมีกี่วิธี ให้อธิบายวิธีการแต่ละวิธี โดยละเอียด
ตอบ มี 4 วิธี ดังต่อไปนี้
     1. วิธีการจูงใจ เป็นกระบวนการเสริมสร้างให้สมาชิกในองค์การยึดถือจริยธรรมในการดำเนินงานโดยอาจอยู่ในรูปของการให้รางวัลตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของจริยธรรมที่องค์การตั้งไว้
     2. วิธีการอบรม เป็นการดำเนินการอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างจริยธรรมขององค์การโดยกระบวนการอบรมและส่งเสริมให้สมาชิกในองค์การได้เรียนรู้และตระหนักรวมถึงบรรทัดฐานหรือตัวชี้วัดพื้นฐานของการสร้างองค์การให้ดำรงอยู่บนรากฐานทางจริยธรรม
     3. วิธีการกล่อมเกลาวัฒนธรรมองค์การ เป็นการเสริมสร้างจริยธรรมโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวัฒนธรรมองค์การเป็นไม้อ่อนในการดัดสมาชิกตอบสนองในการคงไว้ของจริยธรรมในองค์การ เพื่อถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
     4. วิธีการลงโทษ เป็นการใช้ไม้แข็ง เพื่อทำให้สมาชิกตระหนักถึงมาตรฐานทางจริยธรรมขององค์การ ซึ่งการลงโทษถือเป็นการปราบปรามไม่ให้เกิดประพฤติ และปฏิบัติโดยมิชอบ ระหว่างสมาชิกในองค์การ

หน่วยที่ 15 การประยุกต์หลักการจัดการการปฏิบัติการและทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการเกษตร
2.จงอธิบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการผลิตสุกรตัวอย่างโดยสังเขป
ตอบ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการผลิตสุกรตัวอย่าง
สำหรับฟาร์มตัวอย่าง การจัดองค์การฟาร์ม มีการดำเนินงานในลักษณะของธุรกิจครอบครัว โครงสร้างองค์การเป็นแบบแบ่งหน้าที่ ช่วยกันดูแลกิจการ สำหรับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตร มีลักษณะเป็นธุรกิจของครอบครัวแบบเจ้าของคนเดียวหรือหลายคนในครอบครัวเดียวกันซึ่งเป็นลักษณะส่วนใหญ่ของธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตร การจัดการทรัพยากรมนุษย์มักเป็นแบบง่ายๆ ไม่มีระเบียบแบบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งทำให้มีข้อดีคือมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน แต่มีข้อเสีย คือ ทำให้ผลการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

3.จงอธิบายการควบคุมในธุรกิจการแปรรูปโคกรณีตัวอย่างโดยสังเขป
ตอบ การควบคุมในธุรกิจการแปรรูปโคกรณีตัวอย่างคือ
1.การควบคุมสินค้าและวัตถุดิบคงเหลือ การควบคุมสินค้าคงคลัง สหกรณ์จะแปรรูปโคตามแผนการผลิตที่กำหนดไว้ล่วงหน้า วัตถุดิบหลักที่ใช้ คือ โคมีชีวิต จะมีการวางแผนให้นำโคขุนเข้าขุนตามปริมาณที่ต้องการ
2.การควบคุมคุณภาพของผลผลิตและวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพของผลผลิต การนำการปฏิบัติการผลิตอาหารที่ดี หรือ GMP มาใช้ในขั้นตอนของกระบวนการแปรรูปโค ธุรกิจการแปรรูปโคได้นำหลักการปฏิบัติต่างๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจการแปรรูป ระบบคุณภาพได้นำมาใช้ในการควบคุมความปลอดภัย โดยเฉพาะสินค้ามีการส่งออกไปยังต่างประเทศ

4.จงระบุปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเลือกตำแหน่งที่ตั้งของร้านค้าปลีก
ตอบ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเลือกตำแหน่งที่ตั้งของร้านค้าปลีก ความสำคัญในการพิจารณาเลือก คือ
1)ข้อพิจารณาทางด้านเศรษฐกิจ
2)ข้อพิจารณาด้านประชากร
3)ข้อพิจารณาทางด้านคู่แข่ง
4)ขอพิจารณาทางด้านสาธารณูปโภค

5.จงระบุปัญหาการบริหารจัดการร้านค้าปลีกและยกตัวอย่างวิธีการป้องกันปัญหาโดยสังเขป
ตอบ ปัญหาการบริหารจัดการร้านค้าปลีกสรุปได้ดังนี้
1.การโจรกรรม
2.การยักยอกสินค้าโดยผู้ส่งสินค้า
3.ความสะเพร่าของพนักงาน
4.การลักขโมยจากบุคคลภายนอก
5.การทุจริตโดยพนักงาน
6.ความผิดพลาดของฝ่ายบัญชี
7.ความผิดพลาดที่เกิดจากการโอนสต๊อกสินค้าจากที่นึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ตัวอย่างในการบริหารจัดการร้านค้าปลีก และวิธีแก้ปัญหา
การโจรกรรมสินค้า มีวิธีการป้องกัน คือ การควบคุมการักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด หน้าต่าง ประตู หลังคา มีการป้องกันที่ดีพอ ควบคุมเงินสดในเครื่องบันทึกเงินสดอย่างเคร่งครัด โดยเงินสดภายในเครื่องควรจะมีไม่เกิน 1,500 บาท ในแต่ละเครื่อง ตรวจตราไฟนีออนให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ จับตาและสังเกตบุคคลที่แสดงอาการพิรุธและเดินไปมาบริเวณหน้าร้าน และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ควรติดไว้ในบริเวณที่เห็นชัด

1 ความคิดเห็น:

  1. พอจะมีกิจกรรมชุดวิชา 60120 หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหรือเปล่า ลงวิชานี้ไว้ ค่อนข้างยาก

    ตอบลบ