วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ท้องฟ้าและปุยเมฆบอกอะไร?

วันนี้บังเอิญไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับลางบอกเหตุ กับ การเกิด แผ่นดินไหว ก็เลยเอามาฝากเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ ที่สนใจเรื่องราวเหล่านี้อยู่เหมือนกัน...เคยสังเกตุไหม บางทีเราดูเมฆแล้วก็จินตนาการไปต่างๆนาๆ เห็นเหมือน รูปสัตว์น่ารักๆ ก็มี เหมือนไดโนเสาร์ก็มี รูปร่างประหลาด ต่างๆ หรือบางทีมองแล้วให้ความรู้สึกน่ากลัว..ก็เคยเห็น..มาลองดูกันนะค่ะ....ว่าเมฆบอกอะไรเราได้บ้าง??

ชนิดของเมฆ
เมฆต่างชนิดเหล่านี้อาจรวมตัวทำให้มี รูปร่างผสมระหว่างเมฆ 2 ประเภท เกิดเป็นเมฆชนิดใหม่ขึ้นหลายชนิด ซึ่งรวมทั้งสิ้นแล้วจะมีเมฆประมาณ 10 ชนิด
เมฆเซอร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus : Cc)



เมฆ ก้อนกระจุกเล็กๆแผ่เป็นแนวสีขาวประกอบขึ้นด้วย ผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ มักเกาะตัวเป็นกลุ่มเรียงกันเหมือนกับ เกล็ดปลาแมกเคอเรลเรียกในภาษาอังกฤษว่า ” mackerel sky ” ส่วนบนของเมฆคิวมูโลนิมบัส มองดูเหมือนกับรูปทั่งน้ำแข็ง

เมฆเซอร์โรสเตรทัส (Cirrostratus : Cs)



เมฆ ที่อยู่สูงมากๆมักขึ้นด้วยคำว่า “เซอร์โร” เมฆเซอร์โรสเตรทัสเกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆเซอร์โรสเตรทัสหรือเมฆอัลโทรเตรทัส ที่อยู่สูงๆ

เมฆนิมโบสเตรทัส (Nimbostratus : Ns)



เมฆ หนาเป็นชั้นชนิดนี้ก่อตัวอยู่ในระดับต่ำๆและอาจมีความหนามาก เมฆนิมโบสเตรทัส อาจทำให้เกิดฝน หรือหิมะตกหนักติดต่อกันนานเป็นชั่วโมงๆ จึงมักเรียกกันว่า “เมฆฝน”

เมฆสเตรโทคิว มูลัส (Stratocumulus : Sc)



ถ้า เรามองเห็นเมฆก่อตัวเป็นม้วนยาวๆ ในระดับความสูงปานกลางล่ะก็ มักแสดงว่าอากาศกำลังจะดีขึ้น เมฆชนิดนี้ก็คือเมฆคิวมูลัสที่ แผ่ออกเป็นชั้นๆนั่นเอง

เมฆอัลโทสเตรทัส (Altostratus : As)



เมฆ ที่อยู่สูงระดับปานกลาง จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “อัลโท” เมฆอัลโทสเตรทัสเป็นผืน เมฆแผ่นที่ประกอบด้วยหยดน้ำ

เมฆอัลโทคิว มูลัส (Altocumulus : Ac)



เมฆ อัลโทคิวมูลัส คือเมฆคิวมูลัสที่เกิดในระดับ ความสูงปานกลาง และมีลักษณะเป็นแผ่น มองเห็นคล้ายกับก้อนสำลีแบนๆ ก้อนเล็กๆมาเรียงต่อๆ กัน เป็นคลื่นหรือเป็นลอน

เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus : Cb)



เมฆ ชนิดนี้มีรูปร่างเป็นหอคอยสูง เสียดฟ้า ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง หรือพายุได้และอาจรุนแรงจนกลาย เป็นพายุทอร์นาโดหรือที่เรียกว่า “เมฆฟ้าคะนอง”ได้ เมฆคิวมูโลนิมบัสขนาดใหญ่ๆ อาจสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์เสียอีก

สีของเมฆ
สีของ เมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อน เมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่าง ระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ

โดยสีของเมฆนั้นสามารถใช้ในการบอกสภาพอากาศได้

- เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบน้ำ แข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัส ที่มีสีเขียวนั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด

- เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยสีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ

- เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก โดยเกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น แต่ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆเป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด









นอกจากนี้ยังมี

ก้อนเมฆแปลกตาบนท้องฟ้า
ความงาม ของ ธรรมชาติ
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์
ท้องฟ้าเปลี่ยนโฉมตามอารมณ์

เสน่ห์ขั้ว โลก “เมฆสีมุก” เหนือท้องฟ้าแอนตาร์กติกา



เมฆสีมุกมีลักษณะคล้ายเลนส์และมีสีสันต่าง ๆ ชัดเจน เช่น สีเขียว ชมพู หรือสีรุ้ง ฯลฯ เหมือนกับกาบหอยมุก (mother of pearl) โดยสามารถมองเห็นสีต่าง ๆ สว่างสวยงามเมื่อดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า โดยแสงอาทิตย์กระทบกับเกล็ดน้ำแข็งและสะท้อนเข้ากับบรรยากาศชั้นสตาร์โต สเฟียร์ ซึ่งกลุ่มเมฆนีเครอัสมักจะปรากฏอยู่ไม่สูงจากพื้นมากนัก อย่างในภาพชิ้นนี้เมฆอยู่ห่างจากพื้นน้ำแข็งเพียงแค่ 8-10 กิโลเมตร


ลักษณะของเมฆที่จะบอกก่อนแผ่นดินไหวมี

1  เมฆเส้นตรง หรือ เมฆรูปงู
2  เมฆ คลื่น
3  เมฆรูปพัด
4  เมฆขนนก
5 เมฆรูปตะเกียง
6  เมฆรูปรัศมี

ซึงเหล่านี้อธิบายไม่ได้ด้วยวิชาอุตุนิยมวิทยา  ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า  ก่อนแผ่นดินไหว จะมีเมฆรูปประหลาด  เกิดประกายแสง มีรุ้งกินน้ำ


**ข้อมูลดีๆ**
ขอขอบคุณ : Allweare9999's Blog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น