วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร

ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร
ให้นักศึกษาลอกโจทย์พร้อมทั้งตอบคำถามลงในกระดาษ A4 ด้วยลายมือของนักศึกษาเอง แล้วจัดเป็นรูปเล่มรายงาน (300 คะแนน)
คำถาม หน่วยที่ 1.
1. การจัดการผลิตผลเกษตร หมายถึงอะไร (5 คะแนน)
ตอบ  กระบวนการต่างๆ ในการกำหนดเป้าหมาย การวางแผนการจัดการด้านกำลังคน การอำนวยการ การประสานงาน และการควบคุมงานอันเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผลิตเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวไปจนถึงมือผู้บริโภค การจัดการผลผลิตจึงมีความสำคัญต่อเกษตรผู้ผลิต ผู้รวบรวมผลิตผลโรงงานแปรรูป และผู้ใช้สุดท้ายในลักษณะที่แตกต่างกันไป

2. กระบวนการจัดการผลิตผลเกษตรประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ 10 ระบบย่อยได้แก่อะไร จงอธิบายโดยสังเขป (10 คะแนน)
ตอบ ได้แก่ 1. ระบบย่อยการจัดการรวบรวมผลิตผล เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผล เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว จะต้องนำผลิตผลการเกษตร เก็บไว้ในยุ้งฉาง โรงเรือน เช่น ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว และถ้าผู้ผลิตทำการผลิตเชิงธุรกิจก็จะทำการรวบรวมอย่างรวดเร็วและถูกวิธีกว่า อาจมีการนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ด้วย
2. ระบบย่อยการจัดการปรับปรุงคุณภาพ ก่อนทำการจำหน่ายผลผลิตเกษตรกรต้องทำการปรับปรุงคุณภาพ เช่น การนวด การสี การกระเทาะเปลือก การลอกหรือปอกเปลือก การตากแดด การอบ การทำความสะอาด ขึ้นอยู่กับผลิตผลแต่ละเภท ซึ่งจำเป็นสำหรับ ผลผลิตประเภทพืชและสัตว์
3. ระบบย่อยการจัดการชั้นคุณภาพ หรือการคัดเกรดเป็นการทำให้ผลิตผลที่ได้มีคุณภาพสม่ำเสมอได้มาตราฐาน ทำให้สะดวกในการซื้อขาย การเก็บรักษาการบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการส่งเข้าแปรรูป
4. ระบบย่อยการจัดการการเก็บรักษา การเก็บรักษามีจุดประสงค์ต่างกัน เช่น เก็บเพื่อรักษาพันธ์ หรือบริโภคเอง และเก็งราคาพ่อค้าคนกลางให้เพียงพอกับการจำหน่ายประหยัดค่าขนส่ง ต้องมีสถานที่ใรการเก็บรักษาที่เป็น อาคาร โรงเรือน ยุ้งฉาง โกดัง
5. ระบบย่อยการจัดการแปรรูปขั้นพื้นฐาน ระบบย่อยนี้นำผลิตมาทำการเปลี่ยนทางกายภาพหรือชีวภาพ โดยอาจมีการเพิ่มเติมผลผลิตอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น หั่น บด บีบ ปั่น ชำแหละ บ่ม อบ ดอง
6. ระบย่อยการจัดการบรรจุหีบห่อ เพื่อช่วยให้การเก็บรักษาขนส่ง สะดวกขึ้นไม่ให้เสียหาย บุบสลาย และรักษาความสะอาด การบรรจุหีบห่อมีประโยชน์ควบคู่กับประโยชน์อย่างอื่น คือ สามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ แหล่งที่มา ผู้ผลิต วิธีนำไปใช้ เวลาหมดอายุ ฯลฯ
7. ระบบย่อยการจัดการจำหน่าย เป็นการกระจายผลิตผล จากแหล่งผลิต ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศ โดยมีช่องทางการตลาดอยู่แล้ว อาจจะมีการขายคราวละมากๆ ขายส่งหรือขายปลีก
8. ระบบย่อยการจัดากรขนส่ง เป็นบริการทางการตลาด เพื่อนำไปแปรรูป โดยจะใส่ภาชนะหรือบรรจุหีบห่อ แล้วบรรทุกไปกับรถขนส่ง โดยมีอุปกรณ์รักษาคุณภาพ เช่น รถห้องเย็น รถแท้งค์
9. ระบบย่อยการจัดการสินเชื่อและประกันภัย ในกรณีที่ราคาสินค้าที่ทำการเก็บเกี่ยว และต้องนำสู่ตลาดแต่ไม่คุ้มทุน มีความจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น ก็จำเป็นต้องนำสินเชื่อสำรองไว้ก่อน
10. ระบบย่อยการจัดการข่าวสารข้อมูล มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับทุกกลุ่ม เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อขาย การเก็บสต๊อก ลักษณะการทำเกี่ยวกับการข่าวสารจะมีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
3. จงบอกเป้าหมาย การจัดการผลิตผลเกษตรทางด้านเศรษฐกิจและด้านคุณภาพโดยสังเขป (5 คะแนน)
ตอบ 1. เป้าหมายการจัดการผลิตผลเกษตรด้านเศรษฐกิจ พิจารณาจากการตอบสนองตามวัตถุประสงค์ในการจัดการผลิตผลเกษตรของกลุ่มบุคคล โดยมากกำหนดรอบการผลิต 12 เดือน ขึ้นอยู่กับฤดูกาลของผลผลิต และเป้าหมายสูงสุดของคุคคลทุกกลุ่ม คือ ต้องการกำไรสูงสุด
2. เป้าหมายทางด้านคุณภาพ พิจารณาจากการตอบสนองวัตถุประสงค์ทางคุณภาพในการดำเนินการจัดการผลิตผลเกษตรของกลุ่มบุคคลต่างๆ ในกระบวนการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือ ทำให้ได้ผลิตผลคุณภาพดี

หน่วยที่ 2
1. ระบบการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป หมายถึง (5 คะแนน)
ตอบ องค์ประกอบในการผลิต ผลิตผลเกษตรที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกระบวนการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป และเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันในทิศทางที่ให้ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูปออกมาในปริมาณ คุรภาพและช่วงเวลาต้องการเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
2. สภาพการผลิต ผลิตผลเกษตรของเกษตรกรโดยทั่วไปมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ( 5 คะแนน)
ตอบ 1. หน่วยผลิตมีขนาดเล็กและกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเเทศ
       2. การผลิตมีประสิทธิภาพต่ำ
       3. ขาดปัจจัยที่จำเป็นในการผลิต
       4. ไม่มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด
3. ระบบการผลิต ผลิตผลเกษตรที่มีการตกลงด้านตลาดมีลักษณะสำคัญอย่างไร ( 5 คะแนน)
ตอบ คือ ระบบการผลิตที่มีการทำข้อตกลง หรือสัญญาล่วงหน้า ระหว่าง ผู้ซื้อ ได้แก่ ผู้แปรรูปกับผู้ขาย ได้แก่ ผู้ผลิตหรือเกษตรกร ทั้งนี้อาจมีการช่วยเหลือล่วงหน้าด้านปัจจัยการผลิต และบริการที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายผู้ซื้อ โดย แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1) ทำข้อตกลงผ่านคนกลาง 2) ทำข้อตกลงตรงกับเกษตรกร
4. ปัจจัยการผลิตหลัก และปัจจัยการผลิตสนับสนุนในการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป ได้แก่ อะไรบ้าง ( 5 คะแนน)
ตอบ - ปัจจัยการผลิตหลัก ได้แก่ ลมฟ้า อากาศ ที่ดิน น้ำ แรงงาน พันธุ์พืช และ สัตว์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และ สัตว์ อาหารสัตว์ เครื่องจักรกล และสินเชื่อเกษตร
       - ปัจจัยการผลิตสนับสนุนในการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป ได้แก่ เทคโนโลยี่การผลิต ความรู้เชิงวิชาการ และความสามารถในการจัดการ

หน่วยที่ 3
1. ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืช คือ ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวและวิธีการเก็บเกี่ยว จงอธิบายระยะเวลาและวิธีการเก็บเกี่ยวพืชผักที่เหมาะสม ( 5 คะแนน)
ตอบ - เวลาในการเก็บเกีบพืชผัก ควรทำในเวลาเช้า เพราะจะทำให้ผลิตผลมีคุณภาพดี ผักที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับความหวาน เช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วลันเตากินฝัก หากเก็บเกี่ยวในตอนบ่ายอุณหภูมิสูง ผักจะไม่ได้คุณภาพ ความหวานจะลดลง ผักใบหากเก็บตอนแสงแดดจัดจะเหี่ยวง่ายถ้าเก็บตอนเช้าไม่ได้ควรเก็บเกี่ยวในตอนเย็นหรือค่ำ การเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนมีผลดีเพราะคัดเลือกคุณภาพที่ดีได้ ระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยช้ำ ตำหนิ บาดแผล เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วต้องรีบนำไปผ่านขั้นตอนในกระบวนการผลิต เพื่อรักษาคุณภาพไว้
      - ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวพืชผัก สรุปได้ 4 ประการ
          1) การนับจำนวนวัน มีอยู่ 2 วิธีการ คือ วิธีแรก นับจำนวนเริ่มปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว แตกต่างกันไปตามชนิดพืชผัก
          2) การเปลี่ยนสีของผล
          3) การเกิดกลิ่น ผักบางชนิด ผลแก่จัดจะส่งกลิ่นหอม เช่น แตงไทย
          4) ขนาด ผักบางชนิดใช้ขนาดเป็นเครื่องวัด เพราะอายุเพิ่มขึ้น ผลก็เพิ่มขึ้นด้วยและในการเก็บเกี่ยวพืชผัก อาจต้องใช้ความชำนาญของผู้เก็บร่วมด้วย
2. หลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวนแล้วควรมีการดำเนินการต่อผลิตผลอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ 1) การจัดโรคแมลงที่ติดมากับผลิตผล
       2) การรักษา
       3) การทำความสะอาด
       4) การลดอุณหภูมิ
       5) การตัดแต่ง
       6) การป้องกันการสูญเสียน้ำ
       7) การคัดคุณภาพ
       8) การคัดขนาด
       9) การบ่มผิว
     10) การเพิ่มสีให้ผลิตผล
     11) การหีบห่อหรือบรรจุ
     12) การควบคุมการงอกและการแตกหน่อ
3. การเก็บรักษาผลไม้เพื่อการแปรรูปทำได้หลายวิธี จงระบุมา 4 วิธี ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) เก็บในอ้งควบคุมบรรยากาศ
       2) เก็บในห้องแบบอากาศหมุนเวียน
       3) เก็บในห้องเย็น
       4) เก็บในอุณหภูมิต่ำมาก
4. การเก็บรักาษผลิตผลสัตว์เพื่อการแปรรูปทำได้หลายวิธี จงระบุมา 4 วิธี ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) ใช้อุณหภูมิต่ำ
       2) ลดปริมาณน้ำในซากลง
       3) ใช้สารเคมี
       4) ใช้อุณหภูมิสูง

หน่วยที่ 4
1. การแปรรูปผลิตผลเกษตร หมายถึงอะไร ( 4 คะแนน)
ตอบ เป็นการนำผลิตผลเกษตรทั้งพืชและสัตว์ เศษเหลือของพืชและสัตว์ ผ่านการผลิตของกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อแปรรูปไปเป็นสินค้าที่เก็บถนอมในสภาพสด หรือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป
2. อาหารกึ่งสำเร็จรูป หมายถึงอะไร ( 4 คะแนน)
ตอบ อาหารที่ผ่านการแปรสภาพแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการถนอมอาหารและอาหารนั้น ยังอยู่ในรูปที่อาจนำไปบริโภคโดยตรงได้ ต้องนำไปคืนรูป และผ่านการปรุงแต่งให้เป็นอาหารที่บริโภคได้
3. จงยกตัวอย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปจากพืชมา 2 ตัวอย่าง และจากสัตว์มา 2 ตัวอย่าง ( 2 คะแนน)
ตอบ  อาหารจากพืช  1) ผัดกาดดองเปรี้ยว  2) กระเทียมดอง
        อาหารจากสัตว์ 1) เป็ดย่างรมควันแห้ง 2) ปลาเนื้ออย่างกรอบ
4. อาหารสำเร็จรูป หมายถึง ( 4 คะแนน)
ตอบ อาหารที่ผ่านการแปรสภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้อาหารที่พร้อมจะใช้บริโภคได้ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง
5. จงยกตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปจากพืชมา 2 ตัวอย่าง และจากสัตว์มา 2 ตัวอย่าง
ตอบ อาหารจากพืช  1) แยมสตอเบอรรี่   2) ผักกาดดองปรุงรส
       อาหารจากสัตว์ 1) หมูทอดกระเทียมพริกไทย 2) หมูหยอง
6. การแปรรูปผลิตผลที่ไม่ใช่อาหารจากพืช หมายถึง ( 4 คะแนน)
ตอบ การนำผลิตผลการเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อมไปแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆที่เป็นการบรรจุของใช้ ของเล่น เครื่องจักรสาน และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น การแปรรูปไม้ไผ่ เป็นตะเกียบ ตะกร้าและการใช้เศษเหลือจากใบตอง เป็นกระทงและภาชนะห่อของ ลำต้นกล้วยเป็นเชือกกล้วย เป็นต้น

หน่วยที่ 5
1. ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร ได้แก่ ปัจจัยอะไรบ้าง จงอธิบาย ( 10 คะแนน)
ตอบ 1) ตลาด เป็นแหล่งรองรับในการจำหน่าย ตั้งแต่ตลาดเล็กในท้องถิ่น และอยู่ใกล้โรงงานมากที่สุด เพื่อดูแนวโน้มในการสร้างรายได้
       2) วัตถุดิบ ผู้จัดตั้งโรงงาน ต้องศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งเพาะปลูกพืช แหล่งเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลิตเก็บเกี่ยว เพื่อประเมินสภาพตนเองว่ามีอำนาจต่อรองในการซื้อวัตถุดิบเพียงใด
       3) ที่ดิน เป็นสถานที่สร้างโกดัง เก็บผลผลิตและเป็นที่เก็บผลิตภัณฑ์จากการแปรรูป ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บริหาร ควบคุมการผลิต และสำรองเพื่อขยายกิจการ
      4) แรงงาน ซึ่งจะต้องใช้ในการแปรรูป ต้องพิจารณาจากลักษณะการผลิตแต่ละประเภท และต้องคำนึงถึง ปริมาณ คุณภาพ และค่าจ้าง
      5) เทคโนโลยีและเครื่องจักรอุปกรณ์ จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตที่รวดเร็ว เพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาด
      6) เงินทุน จะต้องใช้เกี่ยวกับดำเนินการทำงานทั้งหมด ค่าเช่าที่ดินค่าก่อสร้างโรงงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดตั้งโรงงาน
      7) ผู้ประกอบการ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์เพื่อนำปัจจัยต่างๆมาผสมผสานให้สอดคล้อง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
2. การจัดตั้งโรงงานแปรรูป ผลิตผลเกษตรมีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างไร จงอธิบายแต่ละขั้นตอนมาโดยสังเขป ( 5 คะแนน) 
ตอบ การจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลมีขั้นตอนคือ
      1) การศึกษาความเป็นไปได้ ว่าการจัดตั้งโรงงานจะคุ้มทุนและใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ จึงจะมีผลตอบแทนคุ้มค่า 
      2) การวางแผน ในการจัดตั้งโรงงานนั้นจะต้องวางแผนปฏิบัติงานในเรื่องที่จำเป็น เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจ
      3) เรื่องการจัดหาที่ดิน เนื่องจากต้องดูทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม สะดวกในการคมนาคม ขนาดมีความเหมาะสมในการก่อสร้าง คุณภาพหรือสภาพที่ดินเป็นอย่างไร รวมทั้งราคาที่ดิน
     4) การออกแบบโรงงานและส่วนประกอบ เป็นเรื่องทางเทคนิคเฉพาะต้องอาศัยผู้มีความรู้ด้านการเขียนแบบ อีกทั้งต้องกำหนด ตำแหน่งการวางอุปกรณ์เครื่องจักร เพื่อให้ได้ตามความต้องการ
     5) การขออนุญาติก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย โดยขออนุญาตตามขั้นตอนและใช้แบบพิมพ์ต่างๆ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะออกใบรับรองให้และต้องดำเนินกิจการตาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ห้ามทำการอื่นนอกเหนือจากใบอนุญาต
3. ข้อควรพิจารณาในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูป ผลิตผลเกษตรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ ข้อควรพิจารณาในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูป ว่ผลิตผลมี
     1) ความประสงค์ในการใช้ ต้องรู้เป้าหมายว่าจะนำเครื่องจักรมาใช้ ทำอะไรบ้างในขั้นตอนหรือสายการผลิตแบบใด
     2) ประสิทธิภาพ ต้องมีการพิจารณาถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักรว่าจะซื้อเครื่องจักรใหม่ หรือเก่า หรือจะผลมกัน เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในระยะเริ่มต้นของกิจการ
     3) ราคา ต้องพิจารณาเปรียบเทียบราคาเครื่องจักรซึ่งจะแตกต่างกันพอสมควรและการนำเรื่องการบริการในการขาย มาพิจารณาด้วย
     4) เงื่อนไข การซื้อขาย ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขในการขนส่ง การติตั้งการทดสอบ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ อายุการรับประกันและเงื่อนไขการชำระเงินว่าระยะเวลาเท่าใด
     5) ค่าใช้จ่าย ต้องพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบว่าช่วงเวลาเดียวกันมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด และอื่นๆอีกมารวมกันและพิจารณา

หน่วยที่ 6
1. อุตสาหกรรมเกษตรแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างไร จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ แตกต่างในเรื่องที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ วัตถุดิบซึ่งเป็นสิ่งทางชีวภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อม มีเฉพาะฤดูกาลใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ประการที่สอง จะต้องมีคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วย ประการที่สาม จะต้องมีควบคุมป้องกันการเสื่อมเสียของวัตถุดิบ ประการที่สี่ จะต้องมีการจัดการผลิตวัตถุดิบและจัดการกับผลพลอยได้
2. จงอธ่ิบายและยกตัวอย่าง ประเภทของวัตถุดิบอุตสาหกรรมเกษตร ( 5 คะแนน)
ตอบ เป็นผลิตผลเกษตร ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะฤดูกาล วัตถุดิบจะมีปริมาณมากในช่วงระยะหนึ่งแล้วจะหมดสิ้นไป ทำให้เป็นปัญหาในการที่จะนำเอาวัตถุดิบมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดทันเวลา เช่น โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลจะมีระยะเวลาผลิตหรือ เรียกว่า ฤดูหีบอ้อย 120-140 วัน ต่อปีเท่านั้น เนื่องจากขาดวัตถุดิบคืออ้อยที่จะป้องโรงงานได้ตลอดทั้ง่ปี
3. แหล่งของวัตถุดิบอุตสาหกรรมเกษตรได้มาจากที่ใด จงอธิบายมาโดยสังเขป ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) ได้มาจากธรรมชาติ เช่น จากป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากน้ำ ได้แก่่ปปลาและจากพื้นดิน และพื้นน้ำ ได้แก่ แมลงที่ใช้เป็นอาหาร แหล่งทำประมงในอ่าวไทย แถบอันดามันมหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล และแถบทะเลจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นแหล่งประมงที่สำคัญ
       2) วัตถุดิบที่ได้จากการผลิตเพื่อการเกษตร เช่น แป้งมัน แป้งสาลี แป้งข้าวโพด
4. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพวัตถุดิบได้แก่อะไร จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพวัตถุดิบได้แก่ พันธุ์พืชและสัตว์ ปริมาณน้ำภูมิอากาศ การชลประทาน ดินและปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ระบบการปลูกพืช และระบบการเลี้ยงสัตว์ จากปัจจัยของวัตถุดิบจะเห็นว่ามีผลต่อคุณภาพวัตถุดิบทั้งทางตรงและท้องอ้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น