วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สวนผักบนพื้นปูน

สว้สดีค่ะ วันนี้บล็อก Poo nita farm ของเรานำสาระดีๆมาฝากอีกแล้วค่ะ จะนำเรื่องของแปลงผักบนพื้นปูนสำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่จำกัด และแปลงเป็นพื้นปูน ก็สามารถทำการเกษตรปลูกผักไว้รับประทานได้ โดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้การปลูกผักบนดาดฟ้า ทำเกษตรพื้นปูนของสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ค่ะ เมื่อครั้งที่แล้วนำเรื่องของการปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ไปแล้ว ครั้งนี้ก็มาดูเรื่องแปลงผักบนพื้นปูนกันค่ะ ยังไงก็ลองทำดูนะค่ะ ผักเราก็ไม่ต้องซื้อและมีความภูมิใจด้วยค่ะ

แปลงปลูกผัก: เนื่องจากการทำเกษตรบนพื้นปูนจะมีปัญหาเรื่องความร้อน เคล็ดลับการเตรียมแปลงปลูกบนดาดฟ้าจึงใช้กาบมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก และดินเป็นส่วนประกอบรอง บรรจุอยู่ในกระบะไม้ที่ทำขึ้นจากเศษไม้แปลงปลูกขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 4 เมตร และสูง 20-30 เซนติเมตร โดยให้มีช่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้สะดวกกับการทำงาน
ขั้นตอนการทำกระบะปลูก
1.นำไม้ไผ่และไม้หน้าสามมาตีเป็นกรอบสี่เหลี่ยมกว้าง 1.2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 30 เซนติเมตร
2.บุขอบทั้งสี่ด้านของแปลงด้วยแผ่นฟิวเจอร์เพื่อลดการผุพัง ยึดฟิวเจอร์บอร์ดให้ติดกับกรอบไม้
3.ใช้ผ้าใบกางแผ่เข้าไปในกรอบไม้ ขมวดให้

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ บล็อก Poo nita farm (ภูนิตาฟาร์ม) วันนี้นำสาระดีๆมาฝากกันอีกแล้วค่ะ สำหรับผู้ที่มีพื้นที่ไม่มากในการปลูกข้าว เป็นอีกทางเลือกที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงค่ะ วิธีการก็ไม่ยากสักเท่าไหร่ ลองทำกันดูนะค่ะ สำหรับชาวนาฝึกหัดใหม่ และตั้งใจจริง ก็ลองทำแบบง่ายๆ ดูก่อน ซึ่งมีวิธีในการเพาะหลายรูปแบบ คงมีประโยชน์ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ
คนในเมืองที่มีพื้นที่จำกัด แต่ต้องการปลูกข้าวเพื่อบริโภค หากมีพื้นที่ว่างมากพอสามารถทำบ่อปูนสี่เหลี่ยมแบบถาวร ใช้ปลูกข้าวเพื่อการบริโภคเองได้ รูปแบบการปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์นี้ถูกคิดค้นโดย คุณปรีชา บุญท้วม เกษตรกรจังหวัดระยอง ถึงแม้การสร้างบ่อซีเมนต์เพื่อการปลูกข้าวนี้จะต้องลงทุนวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างอยู่บ้างแต่บ่อปลูกข้าวนี้ก็มีความคงทน แข็งแรง ลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่อยู่ได้นาน อีกทั้งใช้น้ำในการปลูกน้อย ปลูกข้าวในบ่อเพียง 3-4 บ่อ ก็สามารถปลูกข้าวเลี้ยงคนได้ 4-5 คน ให้มีข้าวพอกินตลอดทั้งปี นาบ่อ ขนาด

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริก สร้างรายได้ทุกวัน

เกษตรกรหลายพื้นที่มักประสบปัญหาการเพาะปลูกพืชไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน อีกทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่เคยร่วนซุยกลายเป็นดินเหนียวแน่น การระบายน้ำไม่ดี ที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย ไม่ว่าจะมีการใส่ปุ๋ยบำรุงพืชดีเพียงใดก็มักไม่ได้ผล พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น ทางที่ดีก่อนปลูกพืชชนิดใดก็ตามต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดินเพื่อให้เหมาะสำหรับการงอกของเมล็ด การปลูกพืชและการเจริญเติบโตของพืช เช่น การไถ การย่อยดิน และการกำจัดวัชพืช ซึ่งหลากหลายปัญหานะค่ะ วันนี้เราจะนำการปลูกมะกรูดตัดใบมาฝากเพื่อนๆ ผู้ติดตามบล็อก Poo nita farm (ภูนิตาฟาร์ม) ค่ะ เพราะมะกรูดนอกจากจะนำปรุงแต่งรสชาติของอาหารแล้ว ยังสามารถจะแปรรูปได้หลายอย่างรวมทั้งจะปลูกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักของเกษตรกรได้เลยทีเดียว...และมะกรูด ก็เป็นพืชที่ชอบดินที่มีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขังเช่นเดียวกันเพราะฉะนั้นเกษตรกรก็ต้องดูแลเอาใจใส่เพื่อผลผลิตที่ดีค่ะ
วิธีการปลูก
สภาพพื้นที่ปลูกต้นมะกรูดต้องมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง เนื่องจากระยะปลูกมะกรูดมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูก ความกว้างของแปลง