วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร

ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร
ให้นักศึกษาลอกโจทย์พร้อมทั้งตอบคำถามลงในกระดาษ A4 ด้วยลายมือของนักศึกษาเอง แล้วจัดเป็นรูปเล่มรายงาน (300 คะแนน)
คำถาม หน่วยที่ 1.
1. การจัดการผลิตผลเกษตร หมายถึงอะไร (5 คะแนน)
ตอบ  กระบวนการต่างๆ ในการกำหนดเป้าหมาย การวางแผนการจัดการด้านกำลังคน การอำนวยการ การประสานงาน และการควบคุมงานอันเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผลิตเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวไปจนถึงมือผู้บริโภค การจัดการผลผลิตจึงมีความสำคัญต่อเกษตรผู้ผลิต ผู้รวบรวมผลิตผลโรงงานแปรรูป และผู้ใช้สุดท้ายในลักษณะที่แตกต่างกันไป

2. กระบวนการจัดการผลิตผลเกษตรประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ 10 ระบบย่อยได้แก่อะไร จงอธิบายโดยสังเขป (10 คะแนน)
ตอบ ได้แก่ 1. ระบบย่อยการจัดการรวบรวมผลิตผล เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผล เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว จะต้องนำผลิตผลการเกษตร เก็บไว้ในยุ้งฉาง โรงเรือน เช่น ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว และถ้าผู้ผลิตทำการผลิตเชิงธุรกิจก็จะทำการรวบรวมอย่างรวดเร็วและถูกวิธีกว่า อาจมีการนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ด้วย
2. ระบบย่อยการจัดการปรับปรุงคุณภาพ ก่อนทำการจำหน่ายผลผลิตเกษตรกรต้องทำการปรับปรุงคุณภาพ เช่น การนวด การสี การกระเทาะเปลือก การลอกหรือปอกเปลือก การตากแดด การอบ การทำความสะอาด ขึ้นอยู่กับผลิตผลแต่ละเภท ซึ่งจำเป็นสำหรับ ผลผลิตประเภทพืชและสัตว์
3. ระบบย่อยการจัดการชั้นคุณภาพ หรือการคัดเกรดเป็นการทำให้ผลิตผลที่ได้มีคุณภาพสม่ำเสมอได้มาตราฐาน ทำให้สะดวกในการซื้อขาย การเก็บรักษาการบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการส่งเข้าแปรรูป
4. ระบบย่อยการจัดการการเก็บรักษา การเก็บรักษามีจุดประสงค์ต่างกัน เช่น เก็บเพื่อรักษาพันธ์ หรือบริโภคเอง และเก็งราคาพ่อค้าคนกลางให้เพียงพอกับการจำหน่ายประหยัดค่าขนส่ง ต้องมีสถานที่ใรการเก็บรักษาที่เป็น อาคาร โรงเรือน ยุ้งฉาง โกดัง
5. ระบบย่อยการจัดการแปรรูปขั้นพื้นฐาน ระบบย่อยนี้นำผลิตมาทำการเปลี่ยนทางกายภาพหรือชีวภาพ โดยอาจมีการเพิ่มเติมผลผลิตอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น หั่น บด บีบ ปั่น ชำแหละ บ่ม อบ ดอง
6. ระบย่อยการจัดการบรรจุหีบห่อ เพื่อช่วยให้การเก็บรักษาขนส่ง สะดวกขึ้นไม่ให้เสียหาย บุบสลาย และรักษาความสะอาด การบรรจุหีบห่อมีประโยชน์ควบคู่กับประโยชน์อย่างอื่น คือ สามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ แหล่งที่มา ผู้ผลิต วิธีนำไปใช้ เวลาหมดอายุ ฯลฯ
7. ระบบย่อยการจัดการจำหน่าย เป็นการกระจายผลิตผล จากแหล่งผลิต ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศ โดยมีช่องทางการตลาดอยู่แล้ว อาจจะมีการขายคราวละมากๆ ขายส่งหรือขายปลีก
8. ระบบย่อยการจัดากรขนส่ง เป็นบริการทางการตลาด เพื่อนำไปแปรรูป โดยจะใส่ภาชนะหรือบรรจุหีบห่อ แล้วบรรทุกไปกับรถขนส่ง โดยมีอุปกรณ์รักษาคุณภาพ เช่น รถห้องเย็น รถแท้งค์
9. ระบบย่อยการจัดการสินเชื่อและประกันภัย ในกรณีที่ราคาสินค้าที่ทำการเก็บเกี่ยว และต้องนำสู่ตลาดแต่ไม่คุ้มทุน มีความจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น ก็จำเป็นต้องนำสินเชื่อสำรองไว้ก่อน
10. ระบบย่อยการจัดการข่าวสารข้อมูล มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับทุกกลุ่ม เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อขาย การเก็บสต๊อก ลักษณะการทำเกี่ยวกับการข่าวสารจะมีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
3. จงบอกเป้าหมาย การจัดการผลิตผลเกษตรทางด้านเศรษฐกิจและด้านคุณภาพโดยสังเขป (5 คะแนน)
ตอบ 1. เป้าหมายการจัดการผลิตผลเกษตรด้านเศรษฐกิจ พิจารณาจากการตอบสนองตามวัตถุประสงค์ในการจัดการผลิตผลเกษตรของกลุ่มบุคคล โดยมากกำหนดรอบการผลิต 12 เดือน ขึ้นอยู่กับฤดูกาลของผลผลิต และเป้าหมายสูงสุดของคุคคลทุกกลุ่ม คือ ต้องการกำไรสูงสุด
2. เป้าหมายทางด้านคุณภาพ พิจารณาจากการตอบสนองวัตถุประสงค์ทางคุณภาพในการดำเนินการจัดการผลิตผลเกษตรของกลุ่มบุคคลต่างๆ ในกระบวนการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือ ทำให้ได้ผลิตผลคุณภาพดี

หน่วยที่ 2
1. ระบบการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป หมายถึง (5 คะแนน)
ตอบ องค์ประกอบในการผลิต ผลิตผลเกษตรที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกระบวนการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป และเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันในทิศทางที่ให้ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูปออกมาในปริมาณ คุรภาพและช่วงเวลาต้องการเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
2. สภาพการผลิต ผลิตผลเกษตรของเกษตรกรโดยทั่วไปมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ( 5 คะแนน)
ตอบ 1. หน่วยผลิตมีขนาดเล็กและกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเเทศ
       2. การผลิตมีประสิทธิภาพต่ำ
       3. ขาดปัจจัยที่จำเป็นในการผลิต
       4. ไม่มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด
3. ระบบการผลิต ผลิตผลเกษตรที่มีการตกลงด้านตลาดมีลักษณะสำคัญอย่างไร ( 5 คะแนน)
ตอบ คือ ระบบการผลิตที่มีการทำข้อตกลง หรือสัญญาล่วงหน้า ระหว่าง ผู้ซื้อ ได้แก่ ผู้แปรรูปกับผู้ขาย ได้แก่ ผู้ผลิตหรือเกษตรกร ทั้งนี้อาจมีการช่วยเหลือล่วงหน้าด้านปัจจัยการผลิต และบริการที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายผู้ซื้อ โดย แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1) ทำข้อตกลงผ่านคนกลาง 2) ทำข้อตกลงตรงกับเกษตรกร
4. ปัจจัยการผลิตหลัก และปัจจัยการผลิตสนับสนุนในการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป ได้แก่ อะไรบ้าง ( 5 คะแนน)
ตอบ - ปัจจัยการผลิตหลัก ได้แก่ ลมฟ้า อากาศ ที่ดิน น้ำ แรงงาน พันธุ์พืช และ สัตว์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และ สัตว์ อาหารสัตว์ เครื่องจักรกล และสินเชื่อเกษตร
       - ปัจจัยการผลิตสนับสนุนในการผลิต ผลิตผลเกษตรเพื่อการแปรรูป ได้แก่ เทคโนโลยี่การผลิต ความรู้เชิงวิชาการ และความสามารถในการจัดการ

หน่วยที่ 3
1. ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืช คือ ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวและวิธีการเก็บเกี่ยว จงอธิบายระยะเวลาและวิธีการเก็บเกี่ยวพืชผักที่เหมาะสม ( 5 คะแนน)
ตอบ - เวลาในการเก็บเกีบพืชผัก ควรทำในเวลาเช้า เพราะจะทำให้ผลิตผลมีคุณภาพดี ผักที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับความหวาน เช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วลันเตากินฝัก หากเก็บเกี่ยวในตอนบ่ายอุณหภูมิสูง ผักจะไม่ได้คุณภาพ ความหวานจะลดลง ผักใบหากเก็บตอนแสงแดดจัดจะเหี่ยวง่ายถ้าเก็บตอนเช้าไม่ได้ควรเก็บเกี่ยวในตอนเย็นหรือค่ำ การเก็บเกี่ยวโดยแรงงานคนมีผลดีเพราะคัดเลือกคุณภาพที่ดีได้ ระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยช้ำ ตำหนิ บาดแผล เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วต้องรีบนำไปผ่านขั้นตอนในกระบวนการผลิต เพื่อรักษาคุณภาพไว้
      - ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวพืชผัก สรุปได้ 4 ประการ
          1) การนับจำนวนวัน มีอยู่ 2 วิธีการ คือ วิธีแรก นับจำนวนเริ่มปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว แตกต่างกันไปตามชนิดพืชผัก
          2) การเปลี่ยนสีของผล
          3) การเกิดกลิ่น ผักบางชนิด ผลแก่จัดจะส่งกลิ่นหอม เช่น แตงไทย
          4) ขนาด ผักบางชนิดใช้ขนาดเป็นเครื่องวัด เพราะอายุเพิ่มขึ้น ผลก็เพิ่มขึ้นด้วยและในการเก็บเกี่ยวพืชผัก อาจต้องใช้ความชำนาญของผู้เก็บร่วมด้วย
2. หลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวนแล้วควรมีการดำเนินการต่อผลิตผลอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ 1) การจัดโรคแมลงที่ติดมากับผลิตผล
       2) การรักษา
       3) การทำความสะอาด
       4) การลดอุณหภูมิ
       5) การตัดแต่ง
       6) การป้องกันการสูญเสียน้ำ
       7) การคัดคุณภาพ
       8) การคัดขนาด
       9) การบ่มผิว
     10) การเพิ่มสีให้ผลิตผล
     11) การหีบห่อหรือบรรจุ
     12) การควบคุมการงอกและการแตกหน่อ
3. การเก็บรักษาผลไม้เพื่อการแปรรูปทำได้หลายวิธี จงระบุมา 4 วิธี ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) เก็บในอ้งควบคุมบรรยากาศ
       2) เก็บในห้องแบบอากาศหมุนเวียน
       3) เก็บในห้องเย็น
       4) เก็บในอุณหภูมิต่ำมาก
4. การเก็บรักาษผลิตผลสัตว์เพื่อการแปรรูปทำได้หลายวิธี จงระบุมา 4 วิธี ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) ใช้อุณหภูมิต่ำ
       2) ลดปริมาณน้ำในซากลง
       3) ใช้สารเคมี
       4) ใช้อุณหภูมิสูง

หน่วยที่ 4
1. การแปรรูปผลิตผลเกษตร หมายถึงอะไร ( 4 คะแนน)
ตอบ เป็นการนำผลิตผลเกษตรทั้งพืชและสัตว์ เศษเหลือของพืชและสัตว์ ผ่านการผลิตของกลไกทางเทคโนโลยีเพื่อแปรรูปไปเป็นสินค้าที่เก็บถนอมในสภาพสด หรือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป
2. อาหารกึ่งสำเร็จรูป หมายถึงอะไร ( 4 คะแนน)
ตอบ อาหารที่ผ่านการแปรสภาพแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการถนอมอาหารและอาหารนั้น ยังอยู่ในรูปที่อาจนำไปบริโภคโดยตรงได้ ต้องนำไปคืนรูป และผ่านการปรุงแต่งให้เป็นอาหารที่บริโภคได้
3. จงยกตัวอย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปจากพืชมา 2 ตัวอย่าง และจากสัตว์มา 2 ตัวอย่าง ( 2 คะแนน)
ตอบ  อาหารจากพืช  1) ผัดกาดดองเปรี้ยว  2) กระเทียมดอง
        อาหารจากสัตว์ 1) เป็ดย่างรมควันแห้ง 2) ปลาเนื้ออย่างกรอบ
4. อาหารสำเร็จรูป หมายถึง ( 4 คะแนน)
ตอบ อาหารที่ผ่านการแปรสภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้อาหารที่พร้อมจะใช้บริโภคได้ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง
5. จงยกตัวอย่างอาหารสำเร็จรูปจากพืชมา 2 ตัวอย่าง และจากสัตว์มา 2 ตัวอย่าง
ตอบ อาหารจากพืช  1) แยมสตอเบอรรี่   2) ผักกาดดองปรุงรส
       อาหารจากสัตว์ 1) หมูทอดกระเทียมพริกไทย 2) หมูหยอง
6. การแปรรูปผลิตผลที่ไม่ใช่อาหารจากพืช หมายถึง ( 4 คะแนน)
ตอบ การนำผลิตผลการเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อมไปแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆที่เป็นการบรรจุของใช้ ของเล่น เครื่องจักรสาน และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น การแปรรูปไม้ไผ่ เป็นตะเกียบ ตะกร้าและการใช้เศษเหลือจากใบตอง เป็นกระทงและภาชนะห่อของ ลำต้นกล้วยเป็นเชือกกล้วย เป็นต้น

หน่วยที่ 5
1. ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร ได้แก่ ปัจจัยอะไรบ้าง จงอธิบาย ( 10 คะแนน)
ตอบ 1) ตลาด เป็นแหล่งรองรับในการจำหน่าย ตั้งแต่ตลาดเล็กในท้องถิ่น และอยู่ใกล้โรงงานมากที่สุด เพื่อดูแนวโน้มในการสร้างรายได้
       2) วัตถุดิบ ผู้จัดตั้งโรงงาน ต้องศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งเพาะปลูกพืช แหล่งเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลิตเก็บเกี่ยว เพื่อประเมินสภาพตนเองว่ามีอำนาจต่อรองในการซื้อวัตถุดิบเพียงใด
       3) ที่ดิน เป็นสถานที่สร้างโกดัง เก็บผลผลิตและเป็นที่เก็บผลิตภัณฑ์จากการแปรรูป ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บริหาร ควบคุมการผลิต และสำรองเพื่อขยายกิจการ
      4) แรงงาน ซึ่งจะต้องใช้ในการแปรรูป ต้องพิจารณาจากลักษณะการผลิตแต่ละประเภท และต้องคำนึงถึง ปริมาณ คุณภาพ และค่าจ้าง
      5) เทคโนโลยีและเครื่องจักรอุปกรณ์ จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตที่รวดเร็ว เพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาด
      6) เงินทุน จะต้องใช้เกี่ยวกับดำเนินการทำงานทั้งหมด ค่าเช่าที่ดินค่าก่อสร้างโรงงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดตั้งโรงงาน
      7) ผู้ประกอบการ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์เพื่อนำปัจจัยต่างๆมาผสมผสานให้สอดคล้อง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
2. การจัดตั้งโรงงานแปรรูป ผลิตผลเกษตรมีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างไร จงอธิบายแต่ละขั้นตอนมาโดยสังเขป ( 5 คะแนน) 
ตอบ การจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลมีขั้นตอนคือ
      1) การศึกษาความเป็นไปได้ ว่าการจัดตั้งโรงงานจะคุ้มทุนและใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ จึงจะมีผลตอบแทนคุ้มค่า 
      2) การวางแผน ในการจัดตั้งโรงงานนั้นจะต้องวางแผนปฏิบัติงานในเรื่องที่จำเป็น เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจ
      3) เรื่องการจัดหาที่ดิน เนื่องจากต้องดูทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม สะดวกในการคมนาคม ขนาดมีความเหมาะสมในการก่อสร้าง คุณภาพหรือสภาพที่ดินเป็นอย่างไร รวมทั้งราคาที่ดิน
     4) การออกแบบโรงงานและส่วนประกอบ เป็นเรื่องทางเทคนิคเฉพาะต้องอาศัยผู้มีความรู้ด้านการเขียนแบบ อีกทั้งต้องกำหนด ตำแหน่งการวางอุปกรณ์เครื่องจักร เพื่อให้ได้ตามความต้องการ
     5) การขออนุญาติก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย โดยขออนุญาตตามขั้นตอนและใช้แบบพิมพ์ต่างๆ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะออกใบรับรองให้และต้องดำเนินกิจการตาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ห้ามทำการอื่นนอกเหนือจากใบอนุญาต
3. ข้อควรพิจารณาในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูป ผลิตผลเกษตรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ ข้อควรพิจารณาในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูป ว่ผลิตผลมี
     1) ความประสงค์ในการใช้ ต้องรู้เป้าหมายว่าจะนำเครื่องจักรมาใช้ ทำอะไรบ้างในขั้นตอนหรือสายการผลิตแบบใด
     2) ประสิทธิภาพ ต้องมีการพิจารณาถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักรว่าจะซื้อเครื่องจักรใหม่ หรือเก่า หรือจะผลมกัน เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในระยะเริ่มต้นของกิจการ
     3) ราคา ต้องพิจารณาเปรียบเทียบราคาเครื่องจักรซึ่งจะแตกต่างกันพอสมควรและการนำเรื่องการบริการในการขาย มาพิจารณาด้วย
     4) เงื่อนไข การซื้อขาย ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขในการขนส่ง การติตั้งการทดสอบ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ อายุการรับประกันและเงื่อนไขการชำระเงินว่าระยะเวลาเท่าใด
     5) ค่าใช้จ่าย ต้องพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบว่าช่วงเวลาเดียวกันมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด และอื่นๆอีกมารวมกันและพิจารณา

หน่วยที่ 6
1. อุตสาหกรรมเกษตรแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างไร จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ แตกต่างในเรื่องที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ วัตถุดิบซึ่งเป็นสิ่งทางชีวภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อม มีเฉพาะฤดูกาลใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ประการที่สอง จะต้องมีคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วย ประการที่สาม จะต้องมีควบคุมป้องกันการเสื่อมเสียของวัตถุดิบ ประการที่สี่ จะต้องมีการจัดการผลิตวัตถุดิบและจัดการกับผลพลอยได้
2. จงอธ่ิบายและยกตัวอย่าง ประเภทของวัตถุดิบอุตสาหกรรมเกษตร ( 5 คะแนน)
ตอบ เป็นผลิตผลเกษตร ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะฤดูกาล วัตถุดิบจะมีปริมาณมากในช่วงระยะหนึ่งแล้วจะหมดสิ้นไป ทำให้เป็นปัญหาในการที่จะนำเอาวัตถุดิบมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดทันเวลา เช่น โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลจะมีระยะเวลาผลิตหรือ เรียกว่า ฤดูหีบอ้อย 120-140 วัน ต่อปีเท่านั้น เนื่องจากขาดวัตถุดิบคืออ้อยที่จะป้องโรงงานได้ตลอดทั้ง่ปี
3. แหล่งของวัตถุดิบอุตสาหกรรมเกษตรได้มาจากที่ใด จงอธิบายมาโดยสังเขป ( 5 คะแนน)
ตอบ 1) ได้มาจากธรรมชาติ เช่น จากป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากน้ำ ได้แก่่ปปลาและจากพื้นดิน และพื้นน้ำ ได้แก่ แมลงที่ใช้เป็นอาหาร แหล่งทำประมงในอ่าวไทย แถบอันดามันมหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล และแถบทะเลจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นแหล่งประมงที่สำคัญ
       2) วัตถุดิบที่ได้จากการผลิตเพื่อการเกษตร เช่น แป้งมัน แป้งสาลี แป้งข้าวโพด
4. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพวัตถุดิบได้แก่อะไร จงอธิบาย ( 5 คะแนน)
ตอบ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพวัตถุดิบได้แก่ พันธุ์พืชและสัตว์ ปริมาณน้ำภูมิอากาศ การชลประทาน ดินและปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ระบบการปลูกพืช และระบบการเลี้ยงสัตว์ จากปัจจัยของวัตถุดิบจะเห็นว่ามีผลต่อคุณภาพวัตถุดิบทั้งทางตรงและท้องอ้อม

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมประจำชุดวิชา 10103 ทักษะชีวิต

กิจกรรมชุดวิชาทักษะชีวิต รหัส 10103

ชุดวิชานี้เป็นชุดวิชาที่เจ้าของบล๊อกได้สอบถามไปที่อาจารย์ผู้ตรวจกิจกรรม เจ้าของบล๊อกทำคะแนนได้ 18 คะแนน จาก 20 คะแนน ก็เลยนำมาลงไว้ในบล๊อกเผื่อเป็นประโยชน์ค่ะ
เรื่องการสอบถามคะแนนจากทางมหาวิทยาลัยนะค่ะ มีบางคนสงสัยว่าถามได้ด้วยเหรอ เกิดข้อสงสัยต่างๆ เจ้าของบล๊อกขออธิบายหน่อยนะค่ะ ที่นำเฉลยกิจกรรมวิชาที่ตัวเองเรียนและสอบผ่านมาลง มีจุดประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียน เท่านั้นนะค่ะ ไม่ใช่เอากิจกรรมไปลอกแล้วส่งอาจารย์ ขอบอกว่าไม่ควรทำอย่างยิ่ง ขอให้ดูและอ่านและใช้เพื่อเป็นแนวทางจริงๆ แล้วการที่จะขอทราบคะแนนนั้นก็มีขั้นตอนในการขอตรวจสอบคะแนนจากทางมหาวิทยาลัยอยู่แล้วค่ะ ขอให้ไปอ่านในเวปของมหาวิทยาลัย และปฏิบัติตามขั้นตอนก็จะได้คำตอบเองค่ะ (การที่จะเรียน มสธ. เราต้องหาเวลาศึกษาวิธีการข้อปฏิบัติขั้นตอนต่างๆให้ดีและสอบถามในเรื่องที่เราวิเคราะห์แล้วก็จะเป็นการดีสำหรับตัวเราค่ะ)

1.ขอให้นักศึกษาเลือกเทคโนโลยีที่นักศึกษาพบเห็น ได้รับทราบ หรือใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษามา 2 ประเภท โดยให้อธิบายเทคโนโลยีแต่ละประเภทตามประเด็นต่อไปนี้
     -เทคโนโลยีคือ อะไร เทคโนโลยีนั้นครอบคลุมด้านใด เช่น เทคโนโลยีสะอาด เป็นต้น
     -เทคโนโลยีนั้นสามารถผลิตได้ในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร
     -เทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์หรือโทษหรือไม่ อย่างไร

ตอบ  เทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีดังนี้

1. สำหรับเทคโนโลยีที่สามารถพบเห็นได้ อย่างแรกคือ เทคโนโลยีเกี่ยวกับรถยนต์ ซึ่งรถยนต์เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันอย่่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงานในแต่ละวันจำเป็นที่จะต้องใช้รถยนต์ทั้งสิ้น และความหมายของเทคโนโลยีคือ การที่มนุษย์นำเอาทรัพยากรต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่ และการควบคุมสิ่งแวดล้อมนั่นเอง สำหรับเทคโนโลยีของรถยนต์นั้นมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องและมีความทันสมัยเป็นอย่างมากซึ่งจะเห็นได้จากการนำวิวัฒนาการต่างๆมาใช้ในการผลิตรถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ผู้บริโภค ส่วนผู้ผลิตก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค จะต้องให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจสูงสุด และต้องรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ในการผลิตต้องมีการควบคุมถึงของเสียที่เกิดจากการผลิตและมีการจัดการของเสียอย่างถูกต้องถูกสุขลักษณะ ขณะนี้สำหรับการผลิตรถยนต์นั้นสามารถผลิตได้เองในประเทศไทย แต่อาจมีอุปกรณ์ชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนต้องนำเข้ามาเพื่อประกอบให้เป็นรถยนต์ที่ใช้งานได้ ส่วนเรื่องราวของการใช้รถยนต์มีทั้งคุณและโทษเพราะฉะนั้นเราต้องใช้ให้เป็น ใช้ให้ถูกต้อง เช่น ต้องช่วยกันประหยัดน้ำมัน ไม่ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ในขณะที่จอด เพราะจะเกิดควันพิษในอากาศ ไม่ปรับแต่งเครื่องยนต์ซึ่งอาจทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง และที่สำคัญที่สุดต้องเคารพกฏจราจรอย่างเคร่งครัด

2. ประการที่สอง คือ เทคโนโลยี การสื่อสาร นั่นคือโทรศัพท์มือถือ เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องมือ สื่อสารอันนี้มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากซึ่งปัจจับันนั้น โทรศัพท์มือถือใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่รวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็สามารถสื่อสารกันได้ สำหรับโทรศัพท์มือถือนั้นก็สามารถผลิตได้ในประเทศไทยเช่นเดียวกับรถยนต์ อุปกรณ์บางชนิดต้องนำเข้ามาเพื่อประกอบชิ้นส่วน สำหรับการผลิตนั้นก็ต้องคำนึงถึงผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม จะต้องนำอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาทำการผลิต หลีกเลี่ยงที่จะใช้อุปกรณ์ที่จะเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมมาทำการผลิต หลีกเลี่ยงที่จะใช้อุปกรณ์ที่จะเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต จะเห็นได้ว่าขณะนี้ได้มีการผลิตโทรศัพท์มือถือที่เมื่อไม่ใช้งานได้ หรือทิ้งเป็นขยะแต่สามารถย่อยสลาย และงอกเป็นต้นไม้ได้ เนื่องจากใช้วัสดุธรรมชาติในการผลิตตัวเครื่องนั่นเอง จากประโยชน์ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าโทรศัพท์มือถือมีประโยชน์ในชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากเราใช้ไม่ถูกวิธีหรือติดกับวัตถุมากเกินไปก็ให้โทษได้เหมือนกัน เช่น คลื่นของโทรศัพท์ที่อาจทำให้ร่างกายมนุษย์เกิดโรคต่างๆได้ ถ้าใช้มากก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวจากคลื่นโทรศัพท์อีกทั้งเกิดโรคต่างๆที่เกิดมาจากโทรศัพท์มือถืออีกด้วย จะเห็นว่าโทรศัพท์มือถือเป็นภัยเงียบที่มองไม่เห็น เพราะฉะนั้นถ้าหากใช้ก็ให้เกิดประโยชน์และต้องระวังโทษของมันด้วยเช่นกัน

2.จากประสบการณ์ของนักศึกษาที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ใดที่สร้างความทุกข์มากที่สุด ให้นักศึกษาเล่าเหตุการณ์นั้น และหลังจากนักศึกษาเรียนชุดวิชาทักษะชีวติแล้ว นักศึกษาคิดว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปแก้ไขความทุกข์นั้นได้อย่างไร

ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา

     จากประสบการณ์ที่ผ่านมาสิ่งที่ให้ดิฉันเกิดทุกข์ก็คือ การที่เห็นเด็กเยาวชนติดยาเสพติดไม่เรียนหนังสือ เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ของครอบครัวที่เป็นญาติกันในต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้ยาเสพติดได้ขยายวงกว้างไปทั่วไประเทศไม่เว้นแม้ถิ่นที่อยู่ห่างไกลความเจริญหรือชนบท หลานชายกำลังอยู่ในวัยเรียน อายุประมาณ 16-17 เรียนอยู่ชั้น ม.5 ช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้าปล่อยให้ลูกไปเรียนตามปกติแต่เนื่องจากวัยที่อยากรู้อยากลองก็ทำให้หลานชายได้เข้าไปเป็นทาสของยา รวมทั้งเพื่อนๆอีกหลายคนที่เรียนด้วยกัน ทำให้เสียการเรียน ไม่ยอมไปเรียนหนังสือ ไปมั่วสุม ทำความเดือดร้อนให้พ่อแม่ จากเด็กที่เรียบร้อยกลายเป็นเด็กที่หัวดื้อ ทำทุกวิธีเพื่อที่จะได้เงินไปแลกยา กว่าจะเอาตัวเอาใจกลับมาก็ทำให้เสียเวลาเสียอนาคตไปแล้ว จากที่เล่ามา จะเห็นได้ว่า สภาวะแวดล้อมก็เป็นเหตุสำคัญอย่างยิ่งในการการใช้ชีวิต ถ้าหากมีการพูดคุยระหว่างกัน กินข้าวกันภายในครอบครัว อยู่พร้อมหน้ากันทุกวัน ทำการบ้าน ปรึกษาหารือ อีกทั้งได้เห็นการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกหลานภายในครอบครัวอาจจะเห็นถึงสิ่งผิดปกติ และคงจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นก็ได้ การหาเวลาเพื่อดูแลซึ่งกันและกัน พูดคุยกันบ้างระหว่างลูกหลาน คอยตักเตือน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน คงไม่ทำให้เกิดปัญหาอย่างนี้ สำหรับดิฉันแล้วก็จะนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาปรับใช้ในการสอนลูกของดิฉันเพื่อสร้างความอบอุ่นในครอบครัว ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นต่อไป และการที่ได้เรียนวิชาทักษะชีวิตดิฉันได้อ่านหนังสือในบทเรียนซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการคิด การวิเคราะห์ การอ้างเหตุผล การแสวงหาความรู้ รวมถึงการเข้าใจสังคมและการต้องพัฒนาความรู้ของตัวเองเพื่อให้ทันกับยุคแห่งเทคโนโลยี และหากทำอย่างงี้แล้วคงจะไม่เกิดปัญหานี้อีก และที่สำคัญที่สุดปัญหายาเสพติดควรได้รับการแก้ไขโดยด่วน รัฐบาลควรให้ความสำคัญและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เข้าถึงประชาชน กวดขัน ตรวจสอบกันให้มากกว่านี้เพราะถ้าเน้นสถาบันครอบครัวอย่างเดียวคงไม่ได้ผลทั้งหมดต้องร่วมมือกันระว่างรัฐบาลกับประชาชนด้วย ปัญหาสังคมในเมืองใหญ่ๆมีอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นผับแหล่งสถานเริงรมณ์ต่างๆ ก็ต้องให้ความสำคัญตรวจสอบให้เคร่งครัด เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เยาวชนเกิดลุ่มหลง ทำให้สังคมเสื่อมลง และเกิดปัญหาต่างๆก็ตามมาในที่สุด

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เฉลยข้อสอบ มสธ.กิจกรรมประจำชุดวิชา 10141 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต

กิจกรรมประจำชุดวิชา 10141 นี้ ยังไม่ทราบคะแนนนะค่ะ (ทำเองค่ะ) แต่คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับบางคนค่ะงั้นมาดูแนวตอบกันค่ะ
ข้อ 1. ให้นักศึกษาสรุปบทบาทของธาตุ และความสำคัญของน้ำ และสารชีวโมเลกุลในร่างกายมนุษย์
 ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของร่างกายมนุษย์

ตอบ ธาตุชนิดต่างๆ มีเพียง 24 ชนิดที่มีบทบาทสำคัญในร่างกายมนุษย์ ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายมี 4 ชนิดได้แก่ ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์บอน และไนโตรเจน ธาตุที่มีปริมาณน้อยมี 7 ชนิดได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพเทสเซียม ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน โซเดียมคลอรีน และแมกนีเซียม ส่วนธาตุที่มีน้อยมากมี 13 ชนิดคือ เหล็ก ไอโอดีน ทองแดง สังกะสี แมงกานีส โคบอบต์ โครเมี่ยม เซเลเนี่ยม โมลิบดีนัม ฟลูออรีน ดีบุก ซิลิกอน และเวนาเดียม ธาตุเหล่านี้แม้จะมีอยู่น้อยแต่ก็จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ หากขาดธาตุเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคขึ้นได้
1. ธาตุที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสารชีวโมเลกุล และสารประกอบอื่นในร่างกาย สารชีวโมเลกุลในร่างกายมนุษย์ ได้แก่ โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรต และ กรดนิวคลีอิก สำหรับธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารประกอบอื่นในร่างกาย ได้แก่ คลอรีนในรูปของคลอไรด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกรดเกลือที่หลั่งในกระเพาะอาหาร สังกะสีจำเป็นสำหรับทำหน้าที่ของฮอร์โมนธัยรอกซิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาร่างกาย
2. ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของร่างกาย แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นสารประกอบที่แข็งของกระดูกและฟัน ส่วนสังกะสี ทองแดงและแมงกานัส จำเป็นสำหรับการสร้างเนื้อเยี่อเกี่ยวพัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระดูกอ่อน ผิวหนัง หลอดโลหิต
3. ธาตุที่มีบาบาทต่อกระบวนการของร่างกาย บทบาทของธาตุมีหน้าที่ ร่วมกับสารอื่นเป็นโคแฟกเตอร์ ทำหน้าที่ของโลหิตกระบวนการเมแทบอลิซึมของสารอาหาร การทำหน้าที่ของประสาทและกล้ามเนื้อ การขนส่งผ่านเยื่อเซลล์
  3.1 ธาตุที่มีบทบาทในการเป็นโคแฟกเตอร์ เป็นธาตุหรือเป็นองค์ประกอบของสารเฉพาะอย่าง หากไม่มีโคแฟกเตอร์สารนั้นจะไม่สามารถทำหน้าที่เอนไซม์
  3.2 ธาตุที่มีบทบาททำหน้าที่ของโลหิต ได้แก่ เหล็ก ทองแดง ฟอสฟอรัส และแคลเซียม โดยเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ ฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดง ทองแดงมีหน้าที่เคลื่อนย้ายเหล็ก โซเดียมช่วยรักษาสมดุลของเหลวและเกลือแร่ ฟอสฟอรัสช่วยรักษาสมดุลของกรด-เบส ในเลือด และแคลเซียมจำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด
   3.3 ธาตุที่มีบทบาทในกระบวนการเมแทบอบิซึมของสารอาหาร ฟอสฟอรัสช่วยสังเคราะหืและสลายคลูโคส แมกนีเซียมเป็นโคแฟกเตอร์ที่ถ่ายทอดเอนไซม์จากโมเลกุลหนึ่งไปสู่อีกโมเลกุลหนึ่ง ส่วน โพแทสเซี่ยม แคลเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีสเป็นโคแฟกเตอร์สำหรับเอนไซม์สลายคาร์โบไฮเดรต ลิพิด และโปรตีน
   3.4  ธาตุที่มีบทบาทในการทำหน้าที่ของประสาทและกล้ามเนื้อ ได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และทองแดง
   3.5 ธาตุที่มีบทบาทในการขนส่งผ่านเยื่อเซลส์ ได้แก่ แคลเซียมและโซเดียม ช่วยในการเคลื่อนที่ของสารบางอย่างผ่านเยื่อเซลล์ แคลเซียมจึงจำเป็นสำหรับการดูดซึมกลูโคสและกรดอะมีโนจากลำไส้

น้ำและสารชีวโมเลกุลในร่างกายมนุษย์

     ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของมนุษย์รวมตัวกัน อะตอมของธาตุชนิดหนึ่งไปรวมกับธาตุชนิดหนึ่งของธาตุอื่นกลายเป็นโมเลกุล พันธะที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมของธาตุที่ประกอบกันเป็นน้ำ และสารชีวโมเลกุล ได้แก่ โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรต และกรดนิวคลีอิก
     1. น้ำ เกิดจากการรวมตัวของไฮโดรเจนและออกซิเจน น้ำเป็นสารประกอบที่มีมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ ส่วนที่มีน้ำมากที่สุด คือ ระบบหมุนเวียนโลหิต เกลือแร่ที่เป็นเซลล์ได้รับตลอดจนของเสียที่ภ่ายออกก็จะละลายไปกับน้ำ น้ำยังสามารถรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
     2. โปรตีน เป็นสารอินทรีย์ที่มีมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ โปรตีนมีความสำคัญ คือ รักษาสมดุลของน้ำ รักษาสมดุลของกรด-เบส เป็นเอนไซม์ และทำหน้าที่สะสมออกซิเจนในเนื้อเยื่อใช้เมื่อร่างกายต้องการ
     3. ลิพิด มีความสำคัญคือ เป็นแหล่งพลังงานสะสมที่ร่างกายสามารถนำมาทดแทนในกรณีร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรตได้ ลิพิด มี 3 ประเภทคือ
          3.1 ลิพิดธรรมดา ได้แก่ ไขมัน น้ำมัน และสารคล้ายขี้ผึ้ง
          3.2 ลิพิดประกอบ เป็นลิพิดธรรมดาที่มีสารอื่นจับอยู่ด้วย
          3.3 สารที่มีสมบัติคล้ายลิพิด ได้แก่ สเตอรอย
     4. คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดด้วย คาร์โบไฮเดรต แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่ มอโนแซ็กคาไรด์ ไดแซกคาไรด์ และพอลิแซกคาไรด์
          4.1 มอโนแซ็กคาไรด์ เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไม่สามารถเป็นน้ำตาลเล็กลงกว่านี้ได้ ไม่มีกลิ่น รสหวานน้อยกว่าน้ำตาล
          4.2 ไดแซ็กคาไรด์ ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลต่อเชื่อมกัน
          4.3 พอลิแซ็กคาไรด์ ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลจำนวนมาก ช่วยให้อาหารผ่านไปตามทางเดินอาหารได้สะดวก
     5. กรดนิวคลีอิก กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิด คือ กรดดีออกซ์ไรด์นิวคลีอิก และกรดไรโบนิวคลีอิก

ข้อ 2. สภาพของสังคมไทยในด้านความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องและขาดการใช้เหตุผลอยู่มาก เช่นพบต้นกล้วยที่ออกปลีกลางต้น ก็แห่ไปกราบไหว้กันเพื่อขอหวย เชื่อว่าผู้หญิงที่ตั้งท้องนอนขวางประตูจะทำให้คลอดลูกยากเป็นต้น ให้นักศึกษาพิจารณาว่ามีกิจกรรมใดหรือเรื่องใดในท้องถิ่นของท่าน ที่คนในชุมชนดำเนินกิจกรรมในลักษณะที่ขาดความเข้าใจในด้านวิทยาศาสตร์ และให้ท่านวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่มีต่อความเข้าใจ ไม่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์เหล่านั้น โดยให้ระบุเรื่องที่ไม่เข้าใจไม่ถูกต้องมา อย่างน้อย 5 เรื่อง และวิเคราะห์เรื่องเหล่านั้นลงในตารางดังตัวอย่างที่แสดงไว้ (ตัวอย่างเรื่องไม่เข้าใจไม่ลงไว้นะค่ะ ถ้าทำให้ทำลงในตารางเลยค่ะตามตัวอย่าง)


ตอบ เรื่องที่เข้าใจไม่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ และผลการวิเคราะห์ (ยกตัวอย่างมา 5 หัวข้อ)
เรื่องที่เข้าใจไม่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์                       
1. ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืนจะทำให้กวาดเงินกวาดทองออกจากบ้าน 

 ผลวิเคราะห์ของนักศึกษา หรือเหตุผลซ่อนเร้น (ข้อ 1.)
เนื่องจากว่า คนโบราณสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ตอนกลางคืนใช้แสงตะเกียง ทำให้มองไม่เห็นฝุ่นละออง กวาดบ้านแล้วก็ไม่สะอาดจึงเป็นเหตุให้ ไม่ให้กวาดบ้านตอนกลางคืน

2. ห้ามร้องเพลงในครัวจะมีสามีแก่

ผลวิเคราะห์ของนักศึกษา หรือเหตุผลซ่อนเร้น (ข้อ 2.)
เหตุเป็นเพราะว่า เวลาทำอาหาร ถ้าหากร้องเพลงไปด้วยจะทำให้น้ำลายของเราตกลงไปในอาหารทำให้เกิดเชื้อโรคและข้าวปลาอาหารไม่สะอาด

3. ห้ามนอนตอนเย็นจะทำให้ตะวันทับตา และไม่สะบาย

ผลวิเคราะห์ของนักศึกษา หรือเหตุผลซ่อนเร้น (ข้อ 3.)
เมื่อนอนตอนเย็นก่อนตะวันจะตกดิน จะทำให้เราสับสนว่าวันไหนเป็นวันไหน ทำให้งัวเงีย ไม่สดชื่นและอาจทำให้ไม่สะบายได้เนื่องจากไม่ได้กินข้าวเย็นไม่ได้อาบน้ำ

4. ห้ามใส่ชุดดำไปเยี่ยมคนป่วย เพราะไม่เป็นมงคล

ผลวิเคราะห์ของนักศึกษา หรือเหตุผลซ่อนเร้น (ข้อ 4.)
คนไทยโบราณจะถือเรื่องสีเป็นสำคัญเนื่องจากว่าสีดำเป็นสีแห่งความทุกข์โศกและใช้ในงานศพเท่านั้นเมื่อนำมาใส่จะทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่สดชื่น ถ้าใส่ไปเยี่ยมคนป่วยก็จะไม่ดีและไม่เป็นมงคล

5. อย่าตัดเล็บตอนกลางคืนเพราะอายุจะสั้น

ผลวิเคราะห์ของนักศึกษา หรือเหตุผลซ่อนเร้น (ข้อ 5.)
เนื่องจากการตัดเล็บตอนกลางคืนสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าทำให้แสงสว่างไม่เพียงพอ และสมัยก่อนไม่มีกรรไกรตัดเล็บเหมือนปัจจุบัน เวลาตัดอาจพลาดไปโดนเนื้อและทำให้นิ้วเป็นแผล เป็นอันตรายได้

ข้อ 3. ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
          ก. พลังงานทดแทนคืออะไร ได้แก่พลังงานอะไรบ้าง และพลังงานทดแทนในอนาคตที่สำคัญมีอะไรบ้างจงอธิบาย

ตอบ  ก. พลังงานทดแทนคือ พลังงานที่นำมาให้แทนน้ำมัน สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ พลังงานสิ้นเปลืองและพลังงานหมุนเวียน
          เทคโนโลยีพลังงานสิ้นเปลือง ที่สามารถทดแทนน้ำมัน ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และหินน้ำมัน และพลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ประโยชน์สำหรับสำหรับอนาคตได้ ดังนี้
          1. ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กันมากเป็นอันดับสามรองจากน้ำมันและถ่านหิน สำหรับ แหล่งก๊าซในประเทศไทยพบอยู่หลายแห่ง ได้แก่ บริเวณไหล่ทวีปของอ่าวไทย ตั้งแต่ชุมพรจรดแดนมาเลเซีย ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของก๊าซธรรมชาติคือ การขนส่งจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติใช้เป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ และก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะให้เพิ่มมากขึ้น เพราะน้ำมันราคาแพง
          2. ถ่านหินและน้ำมัน ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณมากสุดบนโลก องค์ประกอบที่สำคัญของถ่านหินคือ คาร์บอน ไฮไดรเจน และออกซิเจน ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ขุดขนถ่ายและนำมาให้งานได้มาก ปริมาณที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นลิกไนต์อยู่ทางภาคเหนือ และภาคใต้ การใช้ลิกไนต์ในการผลิตไฟฟ้าจะต้องมีการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมถ่านหินสามารถนำมาท่ำปุ๋ยเคมี ถ่านอัดได้ หินน้ำมัน เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ของซากพืช ซากสัตว์ในหนองบึง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สามารถที่จะกลั่นเป็นน้ำมันดิบเฉลี่ยได้ 60 ล้านต่อตัน จึงนับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่มีขนาดพอเหมาะที่สามารถนำมาพัฒนาใช้ในประเทศได้ในอนาคต
          3. พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่มีความสำคัญมากในอนาคต พลังงานนิวเคลียร์ได้หลักการคิดมากจากไอสไตน์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงสสาร การเปลี่ยนรูปของสสารกับพลังงาน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ พลังงานนิวเคลียร์จากการแตกตัว กับพลังงานนิวเคลียร์แบบรวมตัว
               เทคโนโลยีมีพลังงานหมุนเวียน พลังงานประเภทนี้ใช้แล้วไม่หมดไป ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังความร้อนใต้ภิภพ และพลังงานชีวมวล
          1. พลังงานแสงอาทิตย์ จัดเป็นต้นกำเนิดพลังงาน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาเพื่อนำเอา พลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์มากขึ้นและไม่เกิดมลพิษ
          2. พลังงานน้ำ การนำพลังงานน้ำมาใช้ ในการผลิตไฟฟ้า โดยหลักการเปลี่ยนรูปพลังงานศักย์ เป็นพลังงานจลน์ได้
          3. พลังงานลม เป็นพลังงานที่มีราคาต่ำสุดในปัจจุบัน และใช้ประโยชน์กันมากพอสมควร สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดิบได้ปีล่ะ 8 ล้านลิตร
          4. พลังงานความร้อนใต้พิภพ สะสมอยู่ใต้ผิวโลกเป็นความร้อน ซึ่งมีจำนวนมากในโลกที่ความร้อนใต้พิภพผ่านออกมาสู่ผิวโลกในอัตราที่พอจะผลิตไฟฟ้าได้

ข. นาโนเทคโนโลยี คือ อะไรมีความสำคัญอย่างไร ให้หาตัวอย่างการนำมาใช้ประโยชน์

ตอบ ข. นาโนเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีการจัดการกับวัสดุในระดับอะตอมหรือโมเลกุลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพื่อสร้างอุปกรณ์ เช่น หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีของการสร้างสิ่งของโดยการนำเอาอะตอมมาวางต่อกันทีละตัว เพื่อให้สิ่งที่สร้างขึ้นมามีลักษณะพิเศษต่างจากวัสดุธรรมดา
          นาโนเทคโนโลยี มีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สำคัญทางการแพทย์ วิศวกรรม ส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณะสุข อุตสาหกรรม โครงการอวกาศ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของชาติ
          ตัวอย่างของการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์คือ แผงโซล่าเซลล์นาโน สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ลดการใช้ไฟฟ้า โดยใช้แผงโซล่าเซลล์นาโนแทนพลังงานไฟฟ้าที่เคยใช้ปกติ อีกทั้งก็สามารถประหยัดเงินของเราได้อีกด้วย

ข้อ 4. เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ให้นักศึกษาเลือกเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่มา 3 รายการแล้วอธิบายการทำงาน ประโยชน์และผลกระทบที่ได้รับจากเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่แต่ละรายการนั้น

ตอบ เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ คือ 1. เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใช้สาย อาศัยการรับการส่งข้อมูลผ่านสาย การสื่อสารที่สำคัญคือ สายโทรเลข สายโทรศัพท์ สายเคเบิ้ล 2. เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดไม่ใช้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ การส่ง-รับ สัญญาณ การสื่อสารที่สำคัญได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์ ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือ ดาวเทียมสื่อสาร เทคโนโลยีการสื่อสารร่วมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาททำให้โลกเหมือนมีขนาดเล็กลง เพราะทำให้มนุษย์ทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว บทบาทและผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ คือ การดำเนินธุรกิจ การศึกษา การปกครอง การเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ความมั่นคงของประเทศ วัฒนธรรมการพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โลกส่วนตัว

ตัวอย่างของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่


1. อินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ แม้กระทั่งกลายเป็นสื่อที่จำเป็นของภาครัฐในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารออกไป สู่สังคมภายนอกให้ได้ทราบ นี่คือสภาพแห่งความเป็นจริงของสังคมโลกที่ไม่สามารถจะปฏิเสธได้ หากจะกล่าวถึงอินเทอร์เน็ต ก็คงจะต้องกล่าวถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ควบคู่กันไปด้วยเหตุที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ผ่านทางระบบการสื่อสารเช่นทางสายเคเบิ้ล สารโทรศัพท์ โมเด็ม และดาวเทียม เป็นต้น เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด เราเรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" ซึ่งรวมเอาเครือข่ายต่างๆ จำนวนมหาศาลที่มีอยู่ทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันโดยแต่ละเครือข่ายจะจัดกลุ่มของข้อมูลกันเอง เพื่อสะดวกต่อการที่จะเข้าไปสืบค้นข้อมูล
     ระบบเครือข่าย นิยมเรียกสั้นๆ ว่า "เน็ต" (net) เป็นสื่อที่ทุกคนมีสิทธิ์บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของโดยแต่ละองค์กรหรือหน่วยงานก็จะรับผิดชอบดูแลในส่วนของตนที่เกี่ยวข้องมีผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมากกว่า 100 ร้อยล้านคนทั่วโลกที่เข้ามาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและใช้บริการ ด้วยเหตุผลความต้องการที่แตกต่างกัน สำหรับประโยชน์ของการสื่อสารสมัยใหม่มีดังนี้ คือ เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสาร งานวิจัยและเพื่อการศึกษา เพื่อจัดการเกี่ยวกับธุรกิจการเงิน การซื้อขายสินค้า เพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว เพื่อหาซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น เพื่อเข้าสู่ระบบ เครือข่ายอื่นและแลกเปลี่ยนข้อมูลรับส่งจดหมายเอกสาร ข้อความ ส่วนผลกระทบที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ตก็มีมากมายด้วยกัน เช่น ข้อมูลเท็จ ข้อมูลบิดเบือนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้หลงเชื่อ การเสนอขายสินค้าผิดกฏหมาย เป็นโรคติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่ง มีปัญหาสุขภาพ การขับถ่าย การนอน การออกกำลังกาย จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตมีทั้งคุณและโทษจะต้องรู้จักนำไปใช้ให้ถูกวิธี เราก็จะได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

2. โทรศัพท์มือถือ  เป็นเครื่องโทรศัพท์ไร้สาย เช่นมือถือ PCT หรือโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์อาจเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ยุคดิจิตอล บางครั้งอาจจะไม่คำนึงถึงคุณและโทษอีกทั้งเข้าใจถึงประโยชน์อย่างแท้จริง การทำงานของโทรศัพท์มือถือนั้นมีหลักการเหมือนกับโทรศัพท์บ้านจะแตกต่างกันตรงที่ โทรศัพท์บ้านจะใช้สาย ซึ่งเป็นสายทองแดง แต่ระบบมือถือนั้นจะใช้คลื่นวิทยุแทน การทำงานของโทรศัพท์มือถือภายในเครื่องจะมีชุดกำเนิด ความถี่ ซึ่งเป็นความถี่วิทยุ 1 ชุด ถ้าเราเปล่งคำพูดใส่ไมโครโฟนของโทรศัพท์ สัญญาณเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้าจากนั้นก็จะถูกส่งไปผสมกับคลื่นความถี่ที่โทรศัพท์ผลิตออกมา ซึ่งคลื่นความถี่มีมากมายและแต่ละคลื่นก็มีผู้ให้บริการเป็นรายๆไป ผลกระทบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์มือถือ คือ คลื่นวิทยุจะมีผลต่อเนื้อเยื่อลึกประมาณ 1 ซม. เมื่อเนื้อเยื่อที่ได้รับแรงคลื่นจะแปลงเป็นความร้อนแต่ร่างกายก็จะมีกลไกที่ควบคุมอุณหภูมิเชื่อว่าผลเสียคือเกิดจากความร้อน คลื่นวิทยุมีผลต่อการนอนหลับและการตอบสนองของสมองแต่มีผลกระทบน้อยมาก การขับรถและใช้โทรศัพท์ทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น มีผลต่อการควบคุมการบิน ประโยชน์ของโทรศัพท์มือถือมีหลายอย่าง เช่น เป็นประโยชน์ในการสืบพยานในชั้นศาลใช้เป็นหลักฐานในการถ่ายรูปรู้ตำแหน่งวันเดือนปี อีกทั้งยังสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วรับส่งข้อความภาพและเสียง สามารถทำเกี่ยวกับธุรกิจการเงินได้ ซึ่งเราควรจะเลือกใช้ให้ถูกวิธีและใช้โทรศัพท์อย่างมีสติเพราะมีทั้งคุณและโทษที่อาจจะได้รับดังที่กล่าวมา

3. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้กันมากที่สุด ประโยชน์ของมันคือ การส่งข้อความ ส่งตัวอักษร แฟ้มข้อมูลภาพเสียง ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ ช่วยให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก มีความสะดวกรวดเร็ว นักวิชาการสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และช่วยลดปัญหาในเรื่องของระยะเวลา ระยะทาง
          สำหรับผลกระทบในการใช้ e-mail นั่นคงเหมือนกับการใช้อินเทอร์เน็ต มีการส่งข้อมูลเท็จทางอีเมล์ ขายสินค้าผิดกฏหมายทำให้หลงเชื่อ มีอีเมล์ขยะซึ่งมีไวรัส แอบแฝง พอเปิดแล้วทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ และระบบอาจจะเสีย และผู้อื่นสามารถอ่านจดหมายของเราได้ ไม่ควรจัดเก็บไว้นานควรจะถ่ายโอนออกจากอีเมล์ไว้ในคอมพิวเตอร์ของตนเอง จะเห็นได้ว่าการใช้อีเมล์ในปัจจุบันนั้นมีมากมาย เพื่อที่จะลดระยะเวลาในการส่งข้อมูล เพราะฉะนั้นก็ควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และทันต่อยุคสมัยดิจิตอล เชื่อมโยงระบบกันทั่วโลก

แนวข้อสอบ วิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต ประจำปี 2553

1 .เชื้อเพลิงที่ใช้ในจรวดคือเชื้อเพลิงชนิดใด =เชื้อเพลิงเหลว (ออกซิเจนเหลว,ก๊าสโซลีน)
2 แก็สโซฮอล์ คือ น้ำมันเบนซิน ผสมกับ = เอธานอล
3 เทคโนโลยีจากบนลงล่างคือ = โฟโตลิโธกราฟี
4 ประเทศไทยใช้ทรัพยากรสิ้นเปลื่องมากที่สุดในเรื่องใด= คมนาคม
5 ดาวเทียมอุตุนิยม ที่ใช้ในประเทศไทยคือ = ดาวเทียม GMS ของญี่ปุ่น
6 ภาษา FORTHRAN เกิดขึ้นในยุคใด = ยุคที่ 2
7 อนาล็อคคอมพิวเตอร์ ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แบบผสมผสาน แบ่งตามลักษณะใด =ลักษณะทางข้อมูล
8 ชนิดใดต่อไปนี้เป็นทั้ง input และ output = เครื่องอ่านแผ่นดิสร์
9 ชอฟต์แวร์ระบบปฏิการคือข้อใดต่อไปนี้= ยูนิกซ์
10 ภาษาที่มนุษย์สังงานคอมพิวเตอร์ คือ =
11 โปรแกรม อรรถประโยชน์คือ= Utility
12 ยุคที่มีการใช้ EDGE, GPRS คือยุคใด= 2.5 G
13 เครื่อง PDA แลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์โดย ผ่าน=พอร์ต อินฟาเรต
14 ข้อใดคือโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของเม็ดโลหิตแดง=
15 ร่างกายต้องการพลังงานไม่น้อยกว่า กิโลแคลลอรี=1200 กิโลแคลลอรี
16 การทำเลสิค คือ=
17 ข้อใดสามารถตรวจพบในห้องปฏิบัติการ=
18 คอมพิวเตอร์มีประโยชน์สำหรับแพทย์ในด้านใด=
19 ก๊าสที่สำคัญในการเกิด ภาวะเรือนกระจก=
20 พลังงานจลน์จากมหาสมุทร คือ=
21 ข้อจำกัดของที่อุดหู(ear plug)= ล้างทำความสะอาดทุกวัน
22 คลื่นความถี่ใดสูงที่สุด =EHP
23 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการขาดแคลนน้ำ =
24 ข้อใดไม่ใช่การทำความสะอาดดินอย่างถูกวิธี=
25 บรรยากาศที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มคือ มีก๊าซ ชนิดใด= ไฮโดรเจน มีเธน แอมโมเนีย น้ำ
26 ทฤษฎีใดเป็นของดาวิน=
27 ข้อใดมีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด (เกี่ยวกับ สกุลของเว็บ เช่น .th หรือ .doc ประมาณนี้ จำตัวเลือกไม่ได้)
28 ดาวเทียมไทยคมอยู่ในกลุ่มใด = กลุ่ม จีโอ
29 การตรวจมะเร็งเต้านมข้อใดมีค่าปรกติ = 1
30 วันน้ำเกิดคือ =แรม 15 ค่ำ /ขึ้น15 ค่ำ (คำตอบมาข้อใดข้อหนึ่งเค้าจะเอามาข้อเดียว )
31 วันที่พระจันทร์ขึ้นครึ่งดวงตอน18.00คือวันอะไร= (เกี่ยวกับข้างขึ้นข้างแรม)
32 โลหะชนิดใดไม่ใช่โลหะนอกลุ่มเหล็ก= เหล็กกล้า
33 วงศ์หลายๆวงศ์จัดอยู่ในกลุ่มใด =Order/อันดับ
34 โมเมอร่า คือ กลุ่มใด=
35 บรรพบุรุษของพืชในปัจจุบันคือ = สาหร่ายรูปร่างเป็นสาย
36 สัตว์ชนิดใดใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด =
37 โปรตีนชนิดใดทำหน้าที่สะสมออกซิเจนไว้ใช้เวลาที่ร่างกายต้องการ= ไบโอโกรบิน
38 โปรตีนที่ทำหน้าที่เก็บสารย่อยนิวเคลียส(จำโจทย์ไม่ค่อยได้แต่รู้คำตอบ)= ไลโซโซม
39 สารที่ออกมาจากกระเพาะอาหารพร้อมกรดเกลือที่ช่วยในการย่อยอาหาร คือ=
40 ข้อใดกล่าวถูกต้อง = ลำไส้เล็กทำหน้าที่ย่อยอาหารทุกชนิด และดูดซึม
41 สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเกิดสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มได้อีกคือ= ออกซิเจนในอากาศมีมากเกินไป และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่มากมาย
42 ดอกอีฟนิ่งพริมโรส มีสารชนิดใดที่ช่วยลดไขมันในโลหิตได้=
43 สมุนไพรชนิดใด ลดความดันโลหิต = ดอกคำฝอย
44 ไดออสซิน มีในพืชชนิดใด =หัวกลอยดิบ
45 วันที่กลางวันยาวกว่ากลางคืนคือวันที่เท่าไร= 20มีนาคม
46 หน่วยใดเล็กที่สุด (จำพวก นิวเครียส อิเล็กตรอน โปรตรอน จำไม่ได้ ) =
47 เมื่อเปรียบเทียมขนาดหลอดเท่ากันหลอดชนิดใดประหยัดไฟได้มากที่สุด=
48 การตรวจเซลล์มะเร็งมีหลักการใด = ขนาด รูปร่าง ขอบเขต
49 ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ธาตุอาหารชนิดใด มีปริมาณ ร้อยละ 13=
50 การเลี้ยงปลาในบ่อใต้เล้าไก่ /หมูคือการเลี้ยงแบบใด = ผสมผสาน
51 ก๊าซที่ช่วยให้ผลไม้สุกเร็ว=
52 ข้อใดคือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรณ์ป่าไม้โดยตรง=เป็นเชื้อเพลิง
53 ข้อใดเป็นการใช้ดินที่ผิดประเภท ขุดหน้าดินขาย กับ ปลูกพืชในที่ลาดชัน (อันนี้ไม่แน่ใจ)

ประมาณนี้แหล่ะค่ะ ลองดูนะ อย่างไรก็ตาม ต้องอ่านหนังสือด้วยนะค่ะ